ซีดี-รอม[เทคโนโลยีการศึกษา]
การลงรายการที่เครื่องสามารถอ่านได้, Example:MAchine - Readable Cataloging คือ รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ เป็นรูปแบบมาตรฐานสากลเพื่อการจัดเก็บ สื่อสาร แลกเปลี่ยน และถ่ายโอนข้อมูลรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศและรายการที่เกี่ยวข้อง จัดทำขึ้นโดยหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) เมื่อปี ค.ศ. 1966 <p>โครงการมาร์กเป็นโครงการนำร่อง (MARC (MAchine-Readable Cataloging) Pilot Project) ที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก Council on Library Resources มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มาร์กวัน (MARC I) เพื่อบันทึกข้อมูลทางบรรณานุกรมในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ และแจกจ่ายออกไปยังห้องสมุดสมาชิกจำนวน 16 แห่งทุกสัปดาห์ในรูปแบบของเทปแม่เหล็ก เพื่อนำไปผลิตรายการ รายการหนังสือในรูปแบบเล่ม และรายการบรรณานุกรมเฉพาะสาขา ต่อมาในปี ค.ศ. 1967 จึงได้มีการนำรูปแบบมาร์กทู (MARC II) เข้ามาช่วยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศในทุกรูปแบบ ระหว่างห้องสมุดที่มีการใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่างกัน ในปี ค.ศ. 1971 โครงการมาร์กได้เริ่มต้นขยายไปสู่งานที่เขียนด้วยตัวอักษรโรมันและงานในรูปแบบอื่นๆ ไม่เฉพาะหนังสือเท่านั้นโดยไม่จำกัดภาษา <p>ในทศวรรษ 1980 ยูเอสมาร์ก (USMARC) ซึ่งเป็นมาร์กเวอร์ชั่น American ได้แบ่งเป็นเวอร์ชั่น Canadian ซึ่งเรียกว่า CANMARC หลังจากมีการแก้ไขและปรับปรุงทั้ง 2 รูปแบบ คือ USMARC และ CANMARC แล้วในปี ค.ศ. 1997 ได้มีการรวม 2 รูปแบบเข้าด้วยกันอีกครั้งและแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ตรงตามความต้องการที่เฉพาะของผู้ใช้มากยิ่งขึ้น และเรียกรูปแบบนี้ว่า มาร์ก 21 (MARC 21) ซึ่งสื่อถึงศตวรรษที่ 21 รับผิดชอบโดย Network Development and MARC Standards Office, Library of Congress ร่วมกับ The Standards and the Support Office, The Library and Archives Canada การแก้ไขปรับปรุงมาสู่มาร์ก 21 คือ การปรับข้อกำหนดหน่วยข้อมูลย่อยในมาร์ก ให้ครอบคลุมการทำรายการสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เหมาะกับการสื่อสารในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น และใช้งานร่วมกับหลักเกณฑ์การลงรายการแบบแองโกลอเมริกัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง (Anglo-American Cataloguing Rules 2nd ed., 1998 Revision-AACR 2) <p>โครงสร้างรายการ MARC21 แบ่งเป็น 3 ส่วน <p><img src="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/20120504-MARC.jpg" width="640" higth="200" alt="MAchine Readable Cataloging"> <p>ส่วนนำระเบียนหรือป้ายระเบียน (Leader หรือ record label) มีประโยชน์ในการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ในการประมวลผล เป็นส่วนแรกเริ่มของระเบียนข้อมูลที่บันทึกอยู่ในรูปของรหัส มีความยาวคงที่จำนวน 24 อักขระ เช่น <p>1. จำนวนอักขระในระเบียน <p>2. สถานภาพของระเบียน เช่น ระเบียนใหม่ <p>3. ประเภทของระเบียน เช่น ระเบียนของหนังสือ <p>4. ระดับทางบรรณานุกรม <p>5. จำนวนอักขระของตัวบ่งชี้ <p>6. จำนวนอักขระของเขตข้อมูลย่อย <p>ส่วนนามานุกรมระเบียนหรือตารางระบุตำแหน่งเขตข้อมูล (record directory) ช่วยให้คำสั่งค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เป็นส่วนที่ 2 ที่ระบุว่าในระเบียนมีเขตข้อมูลอะไรบ้าง แต่ละเขตข้อมูลมีความยาวเท่าไร ตำแหน่งเริ่มต้นที่ตำแหน่งใด ทำให้คอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลในระเบียนได้อย่างรวดเร็ว <p>ส่วนเขตข้อมูล (Variable field) เขตข้อมูลในการลงรายการประกอบด้วย <p>1. ส่วนเขตข้อมูลควบคุม (variable control field) ประกอบด้วยเขตข้อมูลที่กำหนดความยาวคงที่ <p>2. ส่วนเขตข้อมูลสำหรับและบันทึกและสืบค้น (variable data field) ไม่จำกัดความยาวหรือไม่คงที่ ใช้ลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศส่วนต่างๆ <p>การระบุรหัสการจัดการข้อมูลที่ลงรายการ ซึ่งประกอบด้วย <p>1. เลขประจำตัวเขตข้อมูล (tag number) <p>2. ตัวบ่งชี้ (indicator) <p>3. รหัสเขตข้อมูลย่อย (subfield code) <p>เลขประจำเขตข้อมูล (Tag number) เป็นเลข 3 หลัก แบ่งเป็น 10 กลุ่ม <p>0XX เขตข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมและระบุเลขเรียกวัสดุสารสนเทศ <p>1XX เขตข้อมูลรายการหลัก <p>2XX เขตข้อมูลชื่อเรื่องและการแจ้งความรับผิดชอบ ฉบับพิมพ์ การพิมพ์ การจำหน่าย ฯลฯ <p>3XX เขตข้อมูลลักษณะรูปร่าง <p>4XX เขตข้อมูลชื่อชุด <p>5XX เขตข้อมูลหมายเหตุ <p>6XX เขตข้อมูลหัวเรื่อง <p>7XX เขตข้อมูลรายการเพิ่มที่ไม่ใช่หัวเรื่อง และชื่อชุด <p>8XX เขตข้อมูลรายการเพิ่มชื่อชุด <p>9XX เขตข้อมูลที่สงวนไว้ให้หน่วยงาน กำหนดใช้ภายในได้ <p>ตัวบ่งชี้ (indicator) เป็นรหัส 2 ตัวแรกของแต่ละเขตข้อมูล มีค่า 0-9 หรือเว้นว่าง (blank) หรือมีสัญลักษณ์เป็น # ใช้เพื่อประมวลผลการสืบค้นและแสดงผล เช่น <p>100 0 สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ <p>มี indicator ตัวแรกเป็น 0 หมายความว่า ชื่อผู้แต่ง ลงรายการด้วยชื่อต้น เช่น ชื่นคนไทย หรือหากตัวบ่งชี้แรกเป็น 1 หมายความว่า ชื่อผู้แต่งลงรายการด้วยชื่อสกุลที่เป็นคำเดียว เป็นต้น <p>รหัสเขตข้อมูลย่อย (subfield code) แต่ละเขตข้อมูลจะประกอบด้วยเขตข้อมูลย่อย เช่น <p>260 $aปทุมธานี :$bศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, $c2552 <p>เขตข้อมูลย่อย a หมายถึง สถานที่พิมพ์ <p>เขตข้อมูลย่อย b หมายถึง สำนักพิมพ์/หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดพิมพ์ <p>เขตข้อมูลย่อย c หมายถึง ปีที่พิมพ์ <p>ตัวอย่างเขตข้อมูลย่อยของเขตข้อมูล 100 <p>100 $a Personal name (NR) <p>100 $b Numeration (NR) <p>100 $c Titles and other words associated with a name (R) <p>100 $d Dates associated with the name (NR) <p>100 $e Relator term (NR) <p>100 $g Miscellaneous information (NR) <p>100 $j Attribution qualifier (R) <p>100 $k Form subheading (R) <p>100 $l Language of a work (NR) <p>100 $n Number of part/section of a work (R) <p>100 $p Name of part/section of a work (R) <p>100 $q Fuller form of name (NR) <p>100 $t Title of a work (NR) <p>100 $u Affiliation (NR) <p>100 $0 Authority record content number (R) <p>100 $4 Relator code (R) <p>100 $6 Linkage (NR) <p>100 $8 Field link and sequence number (R) <p> รายการอ้างอิง <p>Bryne, Deborah J. MARC Manual : Understanding and Using MARC Records. Englewood, Colo. : Libraries Unlimited, 1991. <p>Library of Congress. Network Development and MARC Standards Office. MARC21 Format for Bibliographic Data. http://www.loc.gov/marc/bibliographic/ Accessed: 12-02-2-12 <p>มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์. เอกสารการสอนชุดวิชา การวิเคราะห์สารสนเทศ 13312 หน่วยที่ 8-11. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. นนทบุรี : สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 <p>อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://stks.or.th/th/knowledge-bank/28-library-science/1821-20120303-marc21.html[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
หนังสือและการอ่าน[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ซีดี-รอม[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
รายการนิติบุคคล[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
เครื่องอ่านไมโครฟิล์ม[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
บริการแนะนำการอ่าน[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
หัวเรื่อง[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ไวรัสหัวเหลือง[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
สารตะกั่ว[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
คอมกรีตผสมเสร็จ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
แท่นหลุมผลิต, Example:แท่นที่ใช้ขุดเจาะหลุมผลิต ภายในแท่นจะประกอบด้วยหลุมผลิต 9 - 12 หลุม หรือมากกว่า และมีอุปกรณ์การผลิตเบื้องต้น เช่น อุปกรณ์แยกสถานะเพื่อทดสอบอัตราการผลิต โดยปิโตรเลียมที่ถูกผลิตขึ้นมาจะผ่านอุปกรณ์การผลิตเบื้องต้นที่นี่ ก่อนส่งไปขบวนการผลิตยังแท่นผลิตต่อไป [ปิโตรเลี่ยม]
ความดันของของไหลที่ปากหลุมหลังจากที่มีการปิดหลุม, Example:การปิดหลุม (Shut-in) ในระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ระดับความดันที่ปากหลุมจะอ่านได้จากเครื่องวัด (gauge) ที่ wellhead[ปิโตรเลี่ยม]
ผู้นำการจัดจำหน่าย[เศรษฐศาสตร์]
หัวรบเพิ่มสมรรถนะรังสี, อีอาร์ดับเบิลยู, หัวรบที่เป็นลูกระเบิดนิวตรอน (ดู neutron bomb ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์]
เครื่องอ่านได้[คอมพิวเตอร์]
เย็บกี่, การทำเล่มหนังสือโดยการเย็บด้ายวิธีหนึ่ง มักใช้สำหรับหนังสือที่มีความหนามากและต้องการความทนทานเป็นพิเศษ เช่น หนังสืออ้างอิงต่างๆ, Example:<p>เย็บกี่ <p>เป็นการเย็บอกของยกพิมพ์แต่ละยกด้วยเชือกเส้นเดียวกัน เย็บจากยกพิมพ์หนึ่งไปอีกยกพิมพ์หนึ่งติดต่อกันไปจนจบเล่ม การเย็บกี่นี้สามารถเย็บหนังสือที่เป็นเล่มหนาๆ มีหน้ามากให้เป็นเล่มเดียวกันได้ และสามารถเปิดเล่มหนังสือทุกหน้าให้กางออกได้เต็มที่ หนังสือเย็บกี่นี้จะต้องมีการปิดปกคือนำปกมาผนึกยึดติดกับสันหนังสือเช่นเดียวกับหนังสือเย็บสัน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
อ่าน, Example:รับข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุต แล้วนำมาเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อใช้งาน[คอมพิวเตอร์]
หัวอ่าน/บันทึก, Example:อุปกรณ์ในเครื่องขับจานแม่เหล็กสำหรับใช้อ่านข้อมูลจากจาน และบันทึกข้อมูลลงในจาน เมื่อเราบันทึกแฟ้มลงในจานแม่เหล็ก หัวอ่าน/บันทึกจะปล่อยประจุไฟฟ้าลงบนจานกำลังหมุน ทำให้อนุภาคแม่เหล็กบนจานจัดเรียงตัวใหม่ เมื่อต้องการข้อมูลจากจาน หัวอ่าน/บันทึกก็จะตรวจดูลักษณะการจัดเรียงตัวของจุดแม่เหล็กบนจาน แล้วเปลี่ยนเป็นพัลส์ไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้[คอมพิวเตอร์]
หน่วยความจำรอมควบคุมการส่งข้อมูล, Example:หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว หน่วยความจำสำหรับเก็บคำสั่งไว้อย่างถาวร คำสั่งที่เก็บไว้จะไม่ลบเลือนหายไป แม้ว่าไฟฟ้าจะดับ หน่วยความจำนี้ปกติเป็นชิปที่ผู้ผลิตได้บรรจุคำสั่งเอาไว้อย่างถาวร คำสั่งทั่วไปที่เก็บอยู่ในรอมได้แก่ BIOS (Basic Input/Output System) หรือโปรแกรมที่ช่วยการส่งข้อมูลระหว่างตัวประมวลผลกับอุปกรณ์รับเข้า/ส่งออก ข้อมูลตัวแปลภาษาเบสิก และคำสั่งอื่นๆ ตามแต่ผู้ิผลิตจะเห็นว่าสมควร[คอมพิวเตอร์]
สเปรดชีต แผ่นตารางทำการ, Example:เนื้อที่ขนาดใหญ่ในโปรแกรมสำหรับบรรจุตารางข้อมูลและสูตรคำนวณ แนวตั้งหรือสดมภ์ของตารางนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เริ่มจาก A, B, C เรื่อยไป และแนวนอนก็มหมายเลขกำกับตั้งแต่ 1, 2, 3 เรื่อยไป ช่องข้อมูล ข้อความ หรือสูตรคำนวณเมื่อบรรจุข้อมูลและสูตรแล้ว โปรแกรมสเปรดชีตจะคำนวณค่าที่เกี่ยวข้องให้โดยอัตโนมัติ และถ้าหากเราเปลี่ยนค่าข้อมูลในช่องใดช่องหนึ่งไป ค่าในช่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะเปลี่ยนไปโดนอัตโนมัติเช่นกัน ผลก็คือสเปรดชีตมีประโยชน์มากในการคำนวณด้านต่างๆ นอกจากนั้นเรายังอาจใช้โปรแกรมสเปรดชีตจัดทำกราฟต่างๆ หรือใช้บันทึกข้อมูลต่างๆได้ด้วย[คอมพิวเตอร์]
เครื่องอ่าน (อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล)[คอมพิวเตอร์]
น้ำมันไร้สารตะกั่ว[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
หัวเรื่องระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
หัวเรื่องย่อย[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง, เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง เขียนทับศัพท์เป็น โอซีอาร์[คอมพิวเตอร์]
เครื่องชี้ด้วยศีรษะ, เครื่องชี้ด้วยศีรษะ มีสองความหมาย แบบแรก คือก้านชี้ ที่สวมกับศีรษะเพื่อให้ผู้พิการทางกายสามารถชี้ เปิดหน้ากระดาษหรือกดสวิทช์ได้โดยไม่ต้องใช้มือ (headstick) แบบที่สองหมายถึงการควบคุมโดยศีรษะ ซึ่งทำงานโดยการใช้กล้องถ่ายภาพวิดีโอหรือ อินฟราเรด ถ่ายภาพผู้พิการ และติดตามความเคลื่อนไหวของศีรษะ แล้วนำสัญญาณความเคลื่อนไหวมาบ่งบอกความต้องการ โดยทั่วไป มักจะมีการติดจุดเครื่องหมายที่ติดกับหน้าผากของผู้ใช้คอมพิวเตอร์[Assistive Technology]
เครื่องชี้ด้วยศีรษะ, เครื่องชี้ด้วยศีรษะ มีสองความหมาย แบบแรก คือก้านชี้ ที่สวมกับศีรษะเพื่อให้ผู้พิการทางกายสามารถชี้ เปิดหน้ากระดาษหรือกดสวิทช์ได้โดยไม่ต้องใช้มือ (headstick) แบบที่สองหมายถึงการควบคุมโดยศีรษะ ซึ่งทำงานโดยการใช้กล้องถ่ายภาพวิดีโอหรือ อินฟราเรด ถ่ายภาพผู้พิการ และติดตามความเคลื่อนไหวของศีรษะ แล้วนำสัญญาณความเคลื่อนไหวมาบ่งบอกความต้องการ โดยทั่วไป มักจะมีการติดจุดเครื่องหมายที่ติดกับหน้าผากของผู้ใช้คอมพิวเตอร์, Example:ความหมายเดียวกับ Headpointer[Assistive Technology]
โปรแกรมอ่านจอภาพ, ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่อ่านข้อความทั้งที่เป็นเนื้อหาและคำสั่งของโปรแกรม เพื่อแปลงเป็นคำอ่านที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนตาบอดใช้งานคอมพิวเตอร์[Assistive Technology]
ช่วงราคา, Example:การเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์สำหรับการเสนอซื้อ เสนอขายบนกระดานหลักและกระดานย่อย ซึ่งช่วงราคาจะขึ้นอยู่กับระดับราคาของแต่ละหลักทรัพย์ ดังนี้ - ต่ำกว่า 2 บาท ช่วงราคา 0.01 บาท - ราคาตั้งแต่ 2 บาท แต่ต่ำกว่า 5 บาท ช่วงราคา 0.02 บาท - ราคาตั้งแต่ 5 บาท แต่ต่ำกว่า 10 บาท ช่วงราคา 0.05 บาท - ราคาตั้งแต่ 10 บาท แต่ต่ำกว่า 25 บาท ช่วงราคา 0.10 บาท - ราคาตั้งแต่ 25 บาท แต่ต่ำกว่า 50 บาท ช่วงราคา 0.25 บาท - ราคาตั้งแต่ 50 บาท แต่ต่ำกว่า 100 บาท ช่วงราคา 0.50 บาท - ราคาตั้งแต่ 50 บาท แต่ต่ำกว่า 100 บาท ช่วงราคา 0.50 บาท - ราคาตั้งแต่ 200 บาท แต่ต่ำกว่า 400 บาท ช่วงราคา 2.00 บาท - ราคาตั้งแต่ 400 บาท แต่ต่ำกว่า 800 บาท ช่วงราคา 4.00 บาท - ราคาตั้งแต่ 800 บาท ช่วงราคา 6.00 บาท -ดังนั้น หากผู้ลงทุนต้องการจะเสนอซื้อ/ขายหลักทรัพย์ใด จะต้องดูราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายของหลักทรัพย์นั้นด้วย เพื่อจะได้เสนอราคาซื้อขายได้ตรงตามช่วงราคา เช่น หลักทรัพย์ ABC มีราคา ซื้อขายครั้งสุดท้ายที่ 110 บาท ผู้ลงทุนจะต้องเสนอซื้อ เสนอขายเพิ่มขึ้นหรือลดลงจาก 110 บาทครั้งละ 1 บาท เช่น 111 บาท หรือ 109 บาท เป็นต้น [ตลาดทุน]
ผู้นำแรงงานสตรี[TU Subject Heading]
ตะกั่ว, Example:โลหะสีเทาเข้ม ค่อนข้างอ่อน เกิดอยู่ในแร่หลายชนิดที่สำคัญ คือ กาลีนา (PbS) การถลุงตะกั่วมักได้โลหะเงินออกมาด้วยเล็กน้อย ตะกั่วสะสมในร่างกายและทำลายสุขภาพของคนเราได้เมื่อมีมากถึงระดับหนึ่ง โดยพิษของตะกั่วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดแดง มีผลกระทบต่อระบบประสาท และทำให้เกิดอันตรายต่อไตได้[สิ่งแวดล้อม]
อะโดเบ อิมเมจเรดดี[TU Subject Heading]
การเย็บปักถักร้อยลูกปัด[TU Subject Heading]
ลูกปัด[TU Subject Heading]
งานลูกปัด[TU Subject Heading]
หนังสือและการอ่าน[TU Subject Heading]
ขนมปัง[TU Subject Heading]
ผู้นำท้องถิ่น[TU Subject Heading]
ความเป็นผู้นำทางการทหาร[TU Subject Heading]
ความเป็นผู้นำชุมชน[TU Subject Heading]
การปรุงอาหาร (ขนมปัง)[TU Subject Heading]
รายการนิติบุคคล (การทำรายการ)[TU Subject Heading]
ศพ (กฎหมาย)[TU Subject Heading]
ความเป็นผู้นำทางการศึกษา[TU Subject Heading]
แผ่นตารางทำการอิเล็กทรอนิกส์[TU Subject Heading]
เครื่องหว่านปุ๋ย[TU Subject Heading]
ลูกปัดแก้ว[TU Subject Heading]
นามส่วนราชการ (การทำรายการ)[TU Subject Heading]