การคัดหนังสือออก[เทคโนโลยีการศึกษา]
การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้[เทคโนโลยีการศึกษา]
เวิล์ดไวด์เว็บ[เทคโนโลยีการศึกษา]
การคัดหนังสือออก, Example:หมายถึง การคัดหนังสือออก หรือการจำหน่ายหนังสือออก หรือการเคลื่อนย้ายทรัพยากรสารสนเทศออก เป็นกระบวนการพิจารณาการคัดเลือกหนังสือ ซึ่งอาจจะเป็นคัดออกอย่างถาวรโดยมีการจำหน่ายออกจากห้องสมุด หรือเพียงแต่การนำออกชั้นให้บริการ โดยจะมีการเก็บหนังสือที่ถูกคัดออกเหล่านี้ไว้ที่ห้องเก็บหรือพื้นที่เก็บหนังสือ แต่อาจจะยังคงมีการให้บริการอยู่ เมื่อมีการร้องขอ <p><b>ทำไมต้องมีการคัดหนังสือออก</b> <p>การคัดหนังสือออกเป็นหน้าที่ที่จำเป็นของห้องสมุดทุกแห่ง เนื่องจากเป็นการดูแลรักษาหนังสือเพื่อให้มีสภาพและเนื้อหาที่เหมาะสมกับการให้บริการในปัจจุบัน เพราะความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุดเปลี่ยนไปตามกาลเวลา การคัดหนังสือออกเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อหนังสือที่มีให้บริการอยู่นั้น ทันสมัยและมีเนื้อหาเหมาะการใช้งาน และเนื่องจากห้องสมุดมีพื้นที่จำกัด จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บหนังสือทุกเล่มไว้ <p><b>ประโยชน์ของการคัดหนังสือออก</b> <p>1. ประหยัดพื้นที่ เนื่องจากห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งหนังสือ วารสาร และสื่ออื่นๆ เป็นจำนวนมาก การที่ห้องสมุดมีแต่การสั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทเข้ามา ทำให้ต้องหาพื้นที่ในการจัดวางทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี <p>2. ประหยัดเวลา ช่วยให้ประหยัดเวลาทั้งของผู้ใช้ เจ้าหน้าที่ เนื่องจากชั้นหนังสือที่หนาแน่นไปด้วยหนังสือที่ไม่จำเป็น จะทำให้เสียเวลาในการหาและหยิบหนังสือ และเป็นการประหยัดเวลาในการทำความสะอาดชั้นหนังสือ <p>3. ทำให้สามารถจัดหาหนังสือที่ดีกว่า ทันสมัยกว่า และเหมาะสมกว่าเข้ามาแทนที่ <p>4. เป็นการรักษาให้มีแต่หนังสือที่จำเป็นต้องใช้อย่างแท้จริง <p>5. เป็นการประเมินหาจุดแข็ง และจุดอ่อนในการจัดหาหนังสือ <p><b>เกณฑ์พื้นฐานของการคัดเลือกหนังสือออก</b> <p>1. ด้านเนื้อหา: มีเนื้อหาไม่ทันสมัย ไม่ได้รับความสนใจอีกต่อไป เนื่องจากอาจจะเคยเป็นเนื้อหาได้รับความนิยมในช่วงเวลาหนึ่ง ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือมีฉบับที่พิมพ์ปรับปรุงใหม่แล้ว หนังสือที่ได้รับไม่ครบชุด หนังสือที่พิมพ์ฉบับเก่าซึ่งมีการพิมพ์ฉบับที่ใหม่กว่า เนื้อหาที่มีความลำเอียง อคติหรือมีอันตรายแฝงอยู่ หรือเป็นหนังสือที่ไม่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนแล้ว <p>2. ด้านการใช้: หมายถึง จำนวนครั้งในการยืมหนังสือ ไม่มีการยืมภายใน 5 ปีล่าสุด <p>3. ด้านจำนวนฉบับซ้ำ: มีจำนวนฉบับซ้ำมากเกินไป สามารถคัดออกและมีเฉพาะเท่าที่จำเป็น <p>4. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ: เช่น ไม่ควรเก็บวารสารที่ไม่ได้จัดทำดรรชนีวารสาร วารสารที่สามารถหาได้ในฐานข้อมูลฉบับเต็ม หนังสือไม่ครบชุด หนังสือที่มีอายุเกิน 20 ปี สารานุกรมที่มีอายุกว่า 10 ปี หนังสือรายปีที่อายุเกินกว่า 2 ปีแต่ให้เก็บฉบับเก่าไว้อย่างน้อย 5 ปี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีคู่มือการใช้งานและมีอายุกว่า 7 ปี <p>5. ด้านสภาพของหนังสือ: หนังสือเล่มนั้นมีสภาพที่เสียหายเกินกว่าการซ่อมแซมหรือไม่ ขาด ปกชำรุด กระดาษเป็นสีเหลือง ขาดหายไปบางหน้า <p>6. เกณฑ์อื่นๆ: หนังสือเล่มนั้นสามารถใช้ผ่านบริการยืมระหว่างห้องสมุด หนังสือเล่มนั้นได้รับการประเมินว่าเป็นหนังสือคลาสสิคที่ยังต้องเก็บไว้ <p><b>หลังจากการคัดหนังสือออก</b> <p>หนังสือที่ได้รับการพิจารณาว่าควรคัดออก อาจถูกนำไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บหนังสือ และยังคงมีกระบวนการการคัดเลือกหนังสือออกอย่างถาวรต่อไป ฐานข้อมูลที่เก็บรายการระเบียนบรรณานุกรมของหนังสือจะถูกเปลี่ยนสถานะเพื่อให้ทราบว่าหนังสือถูกนำไปอยู่ที่ห้องเก็บหนังสือ และสามารถขอใช้บริการได้ <p>หลังจากหนังสือที่ถูกเก็บเกิน 1 ปี ถ้ายังไม่มีการถูกยืมและไม่มีการแนะนำจากบรรณารักษ์ว่าควรจะเก็บไว้ หนังสือนั้นจะถูกคัดออกจากห้องสมุดอย่างถาวร หนังสือที่ถูกคัดออกอย่างถาวรอาจนำไปบริจาคให้กับห้องสมุดแห่งอื่นๆ ที่มีความต้องการหรือสามารถใช้หนังสือนั้นได้อย่างเหมาะสม หรือถูกส่งนำไปเข้าโครงการรีไซเคิล <p><b>บรรณานุกรม:</b> <p>Larson, Jeanette. 2008. CREW: a Weeding Manual for Modern Libraries. [ Online ] : Available: https://www.tsl.state.tx.us/sites/default/files/public/tslac/ld/pubs/crew/crewmethod08.pdf. Accessed: 11-08-2012. <p>Book Weeding. 2012. [ Online ]: Available: http://www.msoe.edu/library/services/weed/ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
เวิล์ดไวด์เว็บ, Example:World Wide Web หรือ WWW หรือ เว็บ <p>เป็นบริการหนึ่งในอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ โดยใช้โปรโตคอลเป็น Http (Hypertext Transfer Protocol) ในการเรียกใช้เอกสารผ่านโปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ <p>ประมาณปี ค.ศ. 1989 Tim Berners-Lee ซึ่งทำงานที่ CERN (European Laboratory for Particle Physics) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้เสนอ URL (Uniform Resource Locator) ซึ่งเป็นวิธีการชี้บอกแหล่งที่อยู่ของเอกสารเพื่อใช้เป็นสากล หลังจากที่ทาง CERN ได้พัฒนาโปรโตคอลพื้นฐานของ WWW แล้ว NCSA (National Center for Supercomputer Applications) ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาโปรแกรมชื่อ Mosaic ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับเรียกดูข้อมูลในเว็บ หลังจากนั้นได้มีผู้พัฒนาโปรแกรมในการเรียกดูเว็บมากขึ้น แต่ละโปรแกรมผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก เว็บจึงเป็นบริการทางอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็เป้นบริการที่ต้องใช้ทรัพยากร (Resources) ของเครื่องมากที่สุดเช่นกัน <p>องค์ประกอบหลักของ WWW <p>1. เว็บเซิร์ฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการเว็บ เครื่องคอมพิวเตอร์ใดที่จะให้บริการเว็บ จะต้องมีการติดตั้งโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ก่อน โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น เรียกว่า HTTP (Hypertext Transfer Protocol) <p>2. เว็บบราวเซอร์ คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับดูข้อมูลในเว็บ ซึ่งนอกจากดูข้อความ (ไฮเปอร์เท็กซ์) ได้แล้ว ยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือฟังเสียง (ไฮเปอร์มีเดีย) ได้ <p>3. HTML (Hypertext Markup Language) เนื่องจากเว็บเป็นข้อมูลในรูปของเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้น ข้อมูลหรือเอกสารจะต้องเขียนในรูปแบบที่เรียกว่า HTML เพื่อทำให้โปรแกรมเซิร์ฟเวอร์และบราวเซอร์สามารถทำงานได้ตามความต้องการ โดยเอกสารที่เขียนในรูปของ HTML ประกอบด้วยชุดคำสั่ง HTML และตัวเนื้อหาของเอกสาร <p>4. URL (Uniform Resource Locator) ยูอาร์แอล เป็นการระบุตำแหน่งของข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ <p>1. โปรโตคอล <p>2. ชื่อเครื่องให้บริการหรือเครื่องแม่ข่าย <p>3. เส้นทางที่บอกที่อยู่ของเอกสารในเครื่องที่ให้บริการ (หรือชื่อไดเร็กทอรี่/ชื่อแฟ้ม) <p>ตัวอย่าง <p>http://www.nstda.or.th <p>โปรโตคอล คือ http ซึ่งหมายถึง โปรโตคอลที่ใช้ในเว็บ จะมีเครื่องหมาย : อยู่ข้างท้าย <p>ชื่อเครื่อง คือ www.nstda.or.th หมายถึง สามารถใช้โปรแกรมบราวเซอร์ดูข้อมุลได้ที่เครื่อง www.nstda.or.th ชื่อเครื่องให้บริการ จะมีเครื่องหมาย // นำหน้า <p>ตัวอย่าง <p>http://www.nstda.or.th/thairesearch <p>โปรโตคอล คือ http ซึ่งหมายถึง โปรโตคอลที่ใช้ในเว็บ จะมีเครื่องหมาย : อยู่ข้างท้าย <p>ชื่อเครื่อง คือ www.nstda.or.th หมายถึง สามารถใช้โปรแกรมบราวเซอร์ดูข้อมุลได้ที่เครื่อง www.nstda.or.th ชื่อเครื่องให้บริการ จะมีเครื่องหมาย // นำหน้า <p>เอกสารที่ต้องการดูอยู่ที่ thairesearch มีเครื่องหมาย / นำหน้าในแต่ละเส้นทาง <p>บรรณานุกรม <p>บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. เทคโนโลยีสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546. <p>ธงชัย โรจน์กังสดาล และ ชาญ อาริยะกุล. "การสืบค้นข้อมูล." ใน อินเตอร์เน็ต : นานาสาระแห่งการบริการ หน้า 87-106. กรุงเทพฯ : สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538. <p>Rojas, Raul, editor. Encyclopedia of Computers and Computer History. Vol. 2. Chicago : Fitzroy Dearborn, 2001.[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
บัตรสมาชิก[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การสอนบนเว็บ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การวิเคราะห์หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้, Example:ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification Syste, - DDC หรือ DC) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่เก่าแก่และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ผู้คิดระบบทศนิยมดิวอี้ คือ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) บรรณารักษ์ชาวอเมริกัน เมื่อปี ค.ศ. 1873 และจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1876 ใช้ชื่อว่า A Classicification and Subject Index for Cataloging and Arranging Books and Pamphlets of a Library โดยครอบคลุมการแบ่งย่อยเนื้อหาวิชาจากเรื่องกว้างๆ ไปจนถึงเนื้อเรื่องเฉพาะ นอกเหนือจากฉบับพิมพ์แล้ว ปัจจุบันคือ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 22 ยังมีเป็นแบบออนไลน์อีกด้วย <p> <p> ลักษณะทั่วไปของระบบทศนิยมดิวอี้ <p> 1. ระบบทศนิยมดิวอี้ เป็นระบบที่คิดขึ้นโดยการแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ตามหลักทฤษฎี (Theoretical systems) กล่าวคือ กำหนดการแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้ในแต่ละหมวดหมู่ โดยคำนึงถึงลำดับพัฒนาการของการเกิดวิชาความรู้ในแต่ละสาขาเป็นสำคัญ เริ่มจาก <p> - ปรัชญา: เป็นเนื้อหาความรู้แรก เป็นเรื่องที่มนุษย์คิดเกี่ยวกับตน คือใคร มาจากไหน ความดีหรือความชั่ว คืออะไร เป็นอย่างไร <p> - ศาสนา: เป็นวิชาที่มนุษย์คิดเกี่ยวกับพระเจ้า พระเจ้าคือใคร จะช่วยให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างไร <p> - สังคมศาสตร์: ถัดจากคิดเกี่ยวกับตัวเอง คือ การที่มนุษย์คิดเกี่ยวกับบุคคลอื่น การอยู่ร่วมกันต้องมีการคิดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้อื่น <p> - ภาษา: การที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับถ้อยคำและการสื่อสารเพื่อการติดต่อ สมาคม <p> - วิทยาศาสตร์: มนุษย์คิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ทำไมจึงเกิด มีการคิด พิสูจน์ ได้ข้อเท็จจริงที่อธิบายปรากฏารณ์ต่างๆ และบันทึกข้อเท็จจริงนั้นๆ ไว้ <p> - วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี: เมื่อมนุษย์นำความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความสุขสบาย <p> - ศิลปะและนันทนาการ: มนุษย์คิดสร้างสรรค์จากความประทับใจของตนเป็นงานเชิงศิลปะ ดนตรี และความบันเทิง <p> - วรรณกรรมหรือวรรณคดี: งานศิลปะที่สร้างขึ้นถูกมนุษย์นำมาถ่ายทอด และบอกเล่าผ่านทางตัวอักษร <p> - ประวัติศาสตร์: มนุษย์บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับคน สถานที่ เหตุการณ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ <p> - ความรู้ทั่วไปหรือเบ็ดเตล็ด: การเอาความรู้อื่นๆ ที่ไม่อาจจัดไว้ในหมวดหมู่อื่นได้ มารวมไว้ด้วยกัน <p> 2. จัดแบ่งหมวดวิชาความรู้ในสาขาต่างๆ โดยเริ่มจากเรื่องทั่วๆ ไป สู่เรื่องที่เฉพาะยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็นชั้น ชั้นละ 10 กลุ่ม จากหมวดใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อย ดังนี้ <p> 2.1 การแบ่งครั้งที่ 1 (First Summary) คือ แบ่งวิชาความรู้ทุกแขนงวิชาของมนุษยชาติออกเป็นหมวดใหญ่ (Main class) 10 หมวด ใช้เลขอารบิกหลักร้อย 0-9 เป็นสัญลักษณ์แทนวิชาความรู้ทั้ง 10 หมวด ดังนี้ <p> 000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และ ความรู้ทั่วไป (Computer science, information & general works) <p> 100 ปรัชญาและจิตวิทยา (Philosophy and psychology) <p> 200 ศาสนา (Religion) <p> 300 สังคมศาสตร์ (Social sciences) <p> 400 ภาษา (Languages) <p> 500 วิทยาศาสตร์ (Science) <p> 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Technology and applied science) <p> 700 ศิลปะและนันทนาการ (Arts and recreation) <p> 800 วรรณคดี (Literature) <p> 900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และชีวประวัติ (History, geography and biography) <p> 2.2 การแบ่งครั้งที่ 2 (Second Summary) คือ การแบ่งหมวดวิชาความรู้หมวดใหญ่แต่ละหมวดออกเป็นหมวดย่อย (Division) 10 หมวด ใช้เลขอารบิกหลักสิบ 0-9 แทนความรู้หมวดย่อย เช่น หมวดใหญ่ 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ แบ่งเป็นหมวดย่อย 10 หมวด คือ <p> 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Technology (Applied sciences) <p> 610 แพทยศาสตร์ (Medical sciences) <p> 620 วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) <p> 630 เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p> 640 คหกรรมศาสตร์ (Home economics) <p> 650 การจัดการ (Management) <p> 660 อุตสาหกรรมเคมี (Chemical engineering) <p> 670 โรงงานอุตสาหกรรม (Manufacturing) <p> 680 โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้เฉพาะอย่าง (Manufacture for specific uses) <p> 690 การก่อสร้าง (Buildings) <p> ดังนั้น หมวดใหญ่ 10 หมวดจึงแบ่งเป็นหมวดย่อยได้ 100 หมวด ดังนี้ <p> 000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และความรู้ทั่วไป (Computer science, information & general works) <p> 010 บรรณานุกรม (Bibliographies) <p> 020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (Library & information sciences) <p>030 หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม (Encyclopedias & books of facts) <p> 040 ยังไม่กำหนดใช้ (No longer used) <p> 050 นิตยสาร วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Magazines, journals & serials) <p> 060 สมาคม องค์การและพิพิธภัณฑวิทยา (Associations, organizations & museums) <p> 070 สื่อใหม่ วารสารศาสตร์ และการพิมพ์ (News media, journalism & publishing) <p>080 รวมเรื่อง (General collections) <p> 090 ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก (Manuscripts & rare books) <p> 100 ปรัชญา (Philosophy) <p> 110 อภิปรัชญา (Metaphysics) <p> 120 ญาณวิทยา ความเป็นเหตุผล ความเป็นมนุษย์ (Epistemology, causation, humankind) <p> 130 จิตวิทยานามธรรม (Paranormal phenomena) <p> 140 แนวความคิดปรัชญาเฉพาะกลุ่ม (Specific philosophical schools) <p> 150 จิตวิทยา (Psychology) <p> 160 ตรรกศาสตร์ ตรรกวิทยา (Logic) <p> 170 จริยศาสตร์ ศีลธรรม (Ethics (Moral philosophy)) <p> 180 ปรัชญาสมัยโบราณ สมัยกลาง ตะวันออก (Ancient, medieval, Oriental philosophy) <p> 190 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ (Modern Western philosophy (19th-century, 20th-century)) <p> 200 ศาสนา (Religion) <p> 210 ศาสนาธรรมชาติ (Natural theology) <p> 220 ไบเบิล (Bible) <p> 230 เทววิทยาตามแนวคิดคริสต์ศาสนา (Christian theology) <p> 240 ศีลธรรมชาวคริสต์ การอุทิศเพื่อศาสนา (Christian moral & devotional theology) <p> 250 คริสต์ศาสนาในท้องถิ่นและระเบียบแบบแผนปฏิบัติ (Christian orders & local church) <p> 260 สังคมชาวคริสต์ เทววิทยาทางศาสนา (Christian social theology) <p> 270 ประวัติคริสต์ศาสนา (Christian church history) <p> 280 นิกายต่างๆ ในคริสต์ศาสนา (Christian denominations & sects) <p> 290 ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่นๆ (Other & comparative religions) <p> 300 สังคมศาสตร์ สังคมวิทยา และ มนุษยวิทยา (Social sciences, Sociology & anthropology) <p> 310 สถิติศาสตร์ (General statistics) <p> 320 รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง (Political science) <p> 330 เศรษฐศาสตร์ (Economics) <p> 340 กฎหมาย (Law) <p> 350 รัฐประศาสนศาสตร์ และวิทยาการทหาร (Public administration) <p> 360 การบริการสังคม และสมาคม (Social services; assoication) <p> 370 การศึกษา (Education) <p> 380 การพาณิชย์ การสื่อสาร การขนส่ง (Commerce, communications, transport) <p>390 ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยา (Customs, etiquette, folklore) <p> 400 ภาษา (Language) <p> 410 ภาษาศาสตร์ (Linguistics) <p> 420 ภาษาอังกฤษ (English & Old English) <p> 430 ภาษาเยอรมัน (Germanic languages; German) <p> 440 ภาษาโรมานซ์ ; ภาษาฝรั่งเศส (Romance languages; French) <p> 450 ภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน (Italian, Romanian, Rhaeto-Romantic) <p> 460 ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส (Spanish & Protugese languages) <p> 470 ภาษาละติน (Italic languages; Latin) <p> 480 ภาษากรีก (Hellenic languages; Classical Greek) <p> 490 ภาษาอื่นๆ (Other languages) <p> 500 วิทยาศาสตร์ (Sciences) <p> 510 คณิตศาสตร์ (Mathematics) <p> 520 ดาราศาสตร์ (Astronomy & allied sciences) <p> 530 ฟิสิกส์ (Physics) <p> 540 เคมี (Chemistry & allied sciences) <p> 550 วิทยาศาสตร์โลก (Earth sciences) <p> 560 บรรพชีวินวิทยา (Paleontology; Paleozoology) <p>570 ชีววิทยา (Life sciences) <p> 580 พฤกษศาสตร์ (Plants) <p>590 สัตววิทยา (Zoological sciences/Animals) <p> 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี (Technology (Applied sciences)) <p> 610 แพทยศาสตร์ (Medical sciences; Medicine) <p>620 วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering & applied operations) <p> 630 เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p> 640 คหกรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัว (Home economics & family living) <p> 650 การจัดการธุรกิจ (Management & auxiliary services) <p> 660 วิศวกรรมเคมี (Chemical engineering) <p> 670 โรงงานอุตสาหกรรม (Manufacturing) <p> 680 สินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักร (Manufacture for specific uses) <p> 690 การก่อสร้าง (Buildings) <p> 700 ศิลปกรรม การบันเทิง (Arts) <p> 710 ภูมิสถาปัตย์ (Civic & landscape art) <p> 720 สถาปัตยกรรม (Architecture) <p> 730 ประติมากรรม (Plastic arts; Sculture) <p> 740 การวาดเขียน มัณฑนศิลป์ (Drawing & decorative arts) <p> 750 จิตรกรรม ภาพเขียน (Painting & paintings) <p> 760 ศิลปะการพิมพ์ ศิลปะกราฟิก (Graphic arts; Printmaking & prints) <p> 770 การถ่ายรูป ภาพถ่าย (Photography & photographs) <p> 780 ดนตรี (Music) <p> 790 การบันเทิง นันทนาการ กีฬา (Recreational & performing arts) <p> 800 วรรณกรรม วรรณคดี (Literature) <p> 810 วรรณคดีอเมริกันในภาษาอังกฤษ (Literature rhetoric & criticism) <p> 820 วรรณคดีภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษโบราณ (English & Old English literatures) <p> 30 วรรณคดีภาษาเยอรมัน (Literatures of Germanic languages) <p> 840 วรรณคดีภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมานซ์ (Literatures of Romance languages) <p> 850 วรรณคดีภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน (Italian, Romanian, Rhaeto-Romanic) <p> 860 วรรณคดีภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส (Spanish & Portugese literature) <p> 870 วรรณคดีภาษาละติน (Italic literature; Latin) <p> 880 วรรณคดีภาษากรีก (Hellenic literatures; Classical Greek) <p> 890 วรรณคดีภาษาอื่นๆ (Literatures of other languages) <p> 900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ (History, geography & biography) <p> 910 ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว (Geography & travel) <p> 920 ชีวประวัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (Biography, genealogy, insignia) <p> 930 ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ (History of ancient world) <p> 940 ประวัติศาสตร์ยุโรป โลกตะวันตก (General history of Europe) <p> 950 ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออก (General history of Asia; Far East) <p> 960 ประวัติศาสตร์แอฟริกา (General history of Africa) <p> 970 ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ (General history of North America) <p> 980 ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้ (General history of South America) <p> 990 ประวัติศาสตร์ส่วนอื่นๆ ของโลก (General history of other areas) <p>จากหมวดย่อย 100 หมวด เลขตัวที่ 2 คือเลขหลักสิบของหมวดย่อยทั้ง 100 หมวด เป็นเลข 0-9 เหมือนๆ กัน เพราะหมวดใหญ่แต่ละหมวดแบ่งเป็น 10 หมวดย่อยเท่าๆ กัน ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของระบบที่ใช้เลขฐาน 10 เป็นหลักในการแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้จากหมวดใหญ่ไปหมวดย่อย และเลขหมู่หมวดใหญ่แต่ละหมวด ต่างก็มีเนื้อหาครอบคลุมวิชาความรู้หมวดย่อยทุกหมวด เช่น หมวด 100 ครอบคลุมวิชาความรู้ในหมวด 110-190 <p> <p>2.3 การแบ่งครั้งที่ 3 (Third Summary) คือ การแบ่งวิชาความรู้ในหมวดย่อยแต่ละหมวดออกเป็นหมู่ย่อย (Section) 10 หมู่ย่อย ตัวอย่าง การแบ่งหมวดย่อย 630 <p> 630 เกษตรศาสตร์ <p> 631 เทคนิค อุปกรณ์ และวัสดุ (Techniques, equipment, materails) <p> 632 ความเสียหายของพืชอันเกิดจากเชื้อโรคและสัตว์ (Plant injuries, diseases, pests) <p> 633 การเพาะปลูกพืชไร่ (Field & plantation crops) <p> 634 การทำสวนผลไม้ ผลไม้ และป่าไม้ (Orchards, fruits, forestry) <p> 635 การทำสวนครัว (Garden crops (Horticulture)) <p> 636 สัตวบาล (Animal husbandry) <p> 637 อุตสาหกรรมนมเนย (Processing dairy & related products) <p> 638 การเพาะเลี้ยงแมลง (Insect culture) <p> 639 การล่าสัตว์ การตกปลา การอนุรักษ์ (Hunting, fishing, comservation) <p> ในแต่ละหมู่ย่อย ยังแบ่งวิชาความรู้ออกไปสู่เรื่องที่เฉพาะมากขึ้นได้อีก โดยการกระจายเลขหลังจุดทศนิยมต่อจากเลข 3 หลักดังกล่าว เช่น <p> หมวด 600 Technology (Applied sciences) เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ <p> 610 Medical sciences Medicine (การแพทย์) <p> 611 Human anatomy, cytology, tissues (กายวิภาคศาสตร์ เนื้อเยื่อ) <p> 630 Agriculture & related technologies (การเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร) <p> 631 Crops & their production (พืชและผลิตผล) <p> 632 Plant injuries, diseases, pests (โรคพืช แมลงศัตรูพืช) <p> 633 Field crops (พืชไร่) <p> 634 Orchards, fruits, forestry (ผลไม้และการทำป่าไม้) <p> .9 Forestry (การทำป่าไม้) <p> .92 Forest economy (ไม้เศรษฐกิจ) <p> .928 Management (การจัดการ) <p> .956 Forestation (การเพาะพันธุ์) <p> .9562 Seeds, seed collecting, seeding (เมล็ดพันธุ์) <p> ตัวอย่าง หนังสือ เรื่อง การปลูกพืชด้วยเมล็ด เลขหมู่ที่กำหนดได้ คือ 634.9562 <p> พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เลขหมู่ที่กำหนดได้ คือ 495.913 <p> ระบบทศนิยมดิวอี้มีตารางช่วย (Auxiliary tables) ซึ่งเป็นตารางย่อยใช้เติมเข้ากับเลขหมู่หนังสือ เพื่อระบุลักษณะเฉพาะของหนังสือมากยิ่งขึ้น ว่าเนื้อเรื่องที่เขียนในลักษณะใด เขียนเป็นภาษาใด เกี่ยวกับพื้นที่หรือท้องถิ่นใด หรือเกี่ยวกับใคร เป็นต้น ช่วยให้สามารถวิเคราะห์เนื้อหาได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ตารางช่วยดังกล่าวมี 7 ตาราง ได้แก่ <p> ตารางที่ 1 ตารางเลขวิธีเขียน (Standard subdivisions) หรือ ตารางย่อยมาตรฐาน ใช้ประกอบกับเลขหลักในแผนการจัดหมู่ได้ทุกหมวดหมู่ แสดงถึงวิธีเขียน เช่น <p> 01- สำหรับหนังสือที่เขียนในเชิงทฤษฎีและปรัชญา <p> 02- สำหรับหนังสือคู่มือ หนังสือภาพ หนังสือที่มีตาราง แผนภูมิ หรือแผนภาพเป็นส่วนประกอบสำคัญ หนังสือนามานุกรม และหนังสือเบ็ดเตล็ดอื่นๆ <p> 03- สำหรับหนังสือพจนานุกรม สารานุกรม บัญชีคำศัพท์ <p> 04- เป็นเลขว่างซึ่งจะกำหนดใช้เพื่อแบ่งย่อยเรื่องเฉพาะของเลขหมู่บางเลขหมู่เท่านั้น <p> 05- สำหรับสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เช่น หนังสือรายปี รายงานประจำปี วารสารและหนังสือพิมพ์ <p> 06- สำหรับเรื่องของสมาคมและชมรมวิชาชีพ รวมทั้งการดำเนินงานของสมาคมหรือชมรมนั้นๆ <p> 07- สำหรับหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อการศึกษาและการสอน เช่น ตำรา งานวิจัย หลักสูตร สมุดแบบฝึกหัด เป็นต้น <p> 08- สำหรับหนังสือที่เขียนถึงประวัติและพรรณนาเรื่องราวของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มอาชีพ <p> 09- สำหรับหนังสือที่เขียนถึงประวัติของเรื่องราวต่างๆ ในยุคสมัยใดยุคสมัยหนึ่ง และเขียนถึงเรื่องราวต่างๆ ในพื้นที่หรือท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง <p> ตัวอย่าง <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ คือ ประวัติของพุทธศาสนา <p> พุทธศาสนา (เลขหมู่คือ 294) <p> วิธีเขียน (เลขจากตารางที่ 1) <p> ประวัติ (-09) <p> เลขหมู่ที่กำหนดจากการเติม ได้เป็น 294.309 <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ เป็น พจนานุกรมทางวิทยาศาสตร์ <p> วิทยาศาสตร์ (500) <p> วิธีเขียน (เลขจากตารางที่ 1) <p> พจนานุกรม (-03) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 503 <p> ตารางที่ 2 ตารางเลขภูมิศาสตร์ (Areas) ใช้ประกอบกับเลขหลักในแผนการจัดหมู่ที่มีคำอธิบายให้เพิ่มเลขภูมิศาสตร์ เพื่อแสดงให้ทราบถึงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องภายในเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นที่ใด ซึ่งอาจจะเป็นทวีป ประเทศ รัฐ เมือง แม่น้ำ มหาสมุทร เป็นต้น <p> -1 เขตภูมิศาสตร์ทั่วๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น เขตมหาสมุทร ทะเล เขตภูมิอากาศ <p> -2 สำหรับหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั่วๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง <p> -3 ดินแดนสมัยโบราณ เช่น เมโสโปเตเมีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ <p> -4 ทวีปยุโรป <p> -5 ทวีปเอเซีย <p> -6 ทวีปแอฟริกา <p> -7 ทวีปอเมริกาเหนือ <p> -8 ทวีปอเมริกาใต้ <p> -9 พื้นที่ส่วนอื่นๆ เช่น หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และดินแดนที่อยู่นอกโลก เช่น อวกาศ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร <p> ตารางที่ 3 ตารางเลขเฉพาะสำหรับหมวดวรรณคดี ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่ในหมวดวรรณคดีเพื่อระบุลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีนั้นๆ <p> -08 สำหรับหนังสือรวมวรรณคดี เฉพาะภาษาของนักเขียนหลายๆ คน <p> -09 สำหรับหนังสือประวัติศาสตร์และวิจารณ์วรรณคดีเฉพาะภาษาของนักเขียนหลายๆ คน <p> -1-8 ลักษณะคำประพันธ์ ได้แก่ <p> -1 กวีนิพนธ์ <p> -2 บทละคร <p> -3 นวนิยาย <p> -4 ความเรียง บทความ <p> -5 สุนทรพจน์ ปาฐกถา <p> -6 จดหมาย <p> -7 เรื่องเชิงล้อเลียนและตลกขบขัน <p> -8 งานเขียนเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เช่น บันทึกประจำวัน บันทึกความจำ สุภาษิตคำคม <p> ตารางที่ 4 ตารางเลขเฉพาะสำหรับหมวดภาษา เป็นตารางเลขย่อยซึ่งกำหนดให้ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่ในหมวดภาษาเฉพาะ เพื่อระบุเรื่องเฉพาะของแต่ละภาษานั้น เช่น ไวยากรณ์ภาษา พจนานุกรมภาษา หลักการอ่าน เขียนภาษา เป็นต้น <p> -1 หลักในการเขียนและพูดภาษาต่างๆ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน <p> -2 นิรุกติศาสตร์ <p> -3 พจนานุกรมภาษา <p> -32-39 พจนานุกรมสองภาษา <p> -5 ระบบโครงสร้างหรือหลักไวยากรณ์ของภาษาที่ใช้เป็นมาตรฐาน <p> -7 ภาษาที่ไม่ได้ใช้เป็นมาตรฐาน เช่น ภาษาถิ่น ภาษาแสลง ภาษาโบราณ <p> -8 ภาษาประยุกต์ (การนำเอาภาษาไปประยุกต์ใช้ในกรณีต่างๆ เช่น การแปล การสอน) <p> ตัวอย่าง <p> เนื่อเรื่องของหนังสือ เป็นพจนานุกรมภาษาไทย <p> ภาษาไทย (495.91) <p> เรื่องเฉพาะทางภาษา (เลขจากตารางที่ 4) <p> พจนานุกรมภาษาเดียว (-3) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 495.913 <p> ตารางที่ 5 ตารางเลขเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ กลุ่มชนชาติ เป็นตารางย่อยที่ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่หรือเลขในตารางอื่นเพื่อแบ่งย่อยเนื้อเรื่องออกไปตามกลุ่มเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ <p> -01 ชนพื้นเมือง <p> -03 กลุ่มเผ่าพันธุ์พื้นฐานของมนุษย์ เช่น คอเคซอยด์ มองโกลอยด์ <p> -1-9 กลุ่มเชื้อชาติของมนุษย์ จัดตามถิ่นกำเนดหรือถิ่นที่อยู่ <p> -1 เชื้อชาติอเมริกันเหนือ <p> -2 เชื้อชาติแองโกล-แซกซอน บริติช อังกฤษ <p> -3 เชื้อชาตินอร์ดดิค เช่น พวกเยอรมัน <p> -4 เชื้อชาติลาตินใหม่ เช่น พวกฝรั่งเศส <p> -5 เชื้อชาติอิตาเลียน <p> -6 เชื้อชาติสเปนและโปรตุเกส <p> -7 เชื้อชาติอิตาลิค เช่น พวกโรมันโบราณ <p> -8 เชื้อชาติกรีก <p> -9 เชื้อชาติอื่นๆ เช่น พวกอินเดียน สลาฟ แอฟริกัน ไทย จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ <p> ตัวอย่าง <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ เรื่อง ประเพณีการแต่งงานของไทย <p> ประเพณีการแต่งงาน (392.5) <p> เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ (เลขจากตารางที่ 5) <p> เชื้อชาติไทย (-9591) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 392.50899591 <p> ตารางที่ 6 ตารางเลขภาษา กำหนดเพื่อใช้กับเลขหมู่ในตารางช่วยอื่น เพื่อระบุภาษาที่ใช้ในการเขียนเนื้อเรื่องของหนังสือแต่ละเล่ม <p> สังเขปตารางเลขภาษา <p> -1 ภาษาอินโด-ยูโรเปียน <p> -2 ภาษาอังกฤษและแองโกล-แซกซอน <p> -3 ภาษาเยอรมัน <p> -4 ภาษาตระกูลโรมานซ์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส <p> -5 ภาษาอิตาเลียน <p> -6 ภาษาสเปนและโปรตุเกส <p> -7 ภาษาตระกูลอิตาลิค เช่น ภาษาลาติน <p> -8 ภาษาตระกูลเฮลเลนิก เช่น ภาษากรีก <p> -9 ภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาฮีบรู เป็นต้น <p> ตัวอย่าง <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ สารานุกรมภาษาไทย <p> สารานุกรมทั่วไป (039) <p> ภาษา (เลขจากตารางที่ 6) <p> ภาษาไทย (-95911) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 039.95911 <p> ตารางที่ 7 ตารางเลขบุคคล เป็นตารางย่อยซึ่งกำหนดให้ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่หรือเลขในตารางช่วยอื่นเพื่อระบุเรื่องย่อยของหนังสือว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในลักษณะใด เช่น กลุ่มอาชีพ เพศ วัย ชนชั้นทางสังคม ฯลฯ ตาราง 7 จะใช้ประกอบกับเลขหมู่ที่มีคำอธิบายให้เติมเลขบุคคลจากตาราง 7 ช่วย (Add "Persons" notation ...) เช่น Add "Person" notation 04-87 from Table 7 to base number 704 e.g. lawyers as artists 704.344; however, class art dealers in 338.7617; description, critical appraisal, wors, biography of artisits in 709.2 <p> สังเขปตารางเลขบุคคล <p> -01 ปัจเจกบุคคล <p> -02 กลุ่มบุคคลทั่วไปไม่ระบุลักษณะเฉพาะทางอาชีพ เพศ วัย และอื่นๆ <p> -03 กลุ่มบุคคลจัดตามภูมิหลังทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ <p> -04 กลุ่มบุคคลจัดตามเพศและความสัมพันธ์ทางเครือญาติ <p> -05 กลุ่มบุคคลจัดตามอายุ <p> -06 กลุ่มบุคคลจัดตามลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ <p> -08 กลุ่มบุคคลจัดตามสภาพทางร่างกายและจิตใจ <p> -09 กลุ่มบุคคลที่ไม่จัดอยู่ในวิชาชีพเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นักวิจัย นักการศึกษา บรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ โดยจะมีตัวเลขแบ่งย่อยอีกตามกลุ่มบุคคลในสาขาวิชาชีพต่างๆ <p> ตัวอย่าง หนังสือเกี่ยวกับจิตรกรรมและมัณฑนศิลป์ของเด็กนักเรียน <p> จิตรกรรมและมัณฑศิลป์ (704.04-.87) <p> เด็กนักเรียน หาเลขเด็กนักเีรียนจากตาราง 7 (-054 4) <p> เลขหมู่ทีเ่กิดจากการเติม 704.0544 <p> บรรณานุกรม <p>Guide to use of Dewey decimal classification : based on the practice of the Decimal Classification Office at the Library of Congress. 1962. Lake Placid Club, N.Y. : Forest Press. <p>OCLC Online Computer Library Center, Inc. Summaries DDC Dewey Decimal Classification. 2003. Rereive from http://www.oclc.org/dewey/resources/summaries/deweysummaries.pdf. <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> ทองหยด ประุทุมวงศ์ และ พรทิยพ์ สุวันทารัตน์. การวิเคราะห์สารนิเทศระบบทศนิยมดิวอี้ ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา การวิเคราะห์สารนิเทศ หน้า 150-217. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
เว็บไซต์[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การพัฒนาเว็บไซต์[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
เว็บเซอร์วิส[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การพัฒนาเว็บไซต์[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การบริหารจัดการผ่านเว็บ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
เครื่องสำรองไฟฟ้า[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การเชื่อมเลเซอร์[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การส่งกำลังไฟฟ้า[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
กำลังรีแอคทีฟ (วิศวกรรมไฟฟ้า)[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
คุณภาพกำลังไฟฟ้า[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
โรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
เว็บดาตาเบส[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
อาวุธเคมี[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ไฟฟ้านิวเคลียร์[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ไฟฟ้าพลังน้ำ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การสละทิ้งหลุมเจาะ, Example:การสละทิ้งหลุมเจาะ เนื่องจากเป็นหลุมแห้งไม่พบปิโตร[ปิโตรเลี่ยม]
การสละทิ้งหลุมที่เจาะพบน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ, Example:การสละทิ้งหลุมที่เจาะพบน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากเป็นหลุมที่ไม่มีสมรรถนะในเชิงพาณิชย์[ปิโตรเลี่ยม]
หลุมประเมินผล, Example:หลุมที่เจาะในพื้นที่ที่ได้มีการเจาะหลุมสำรวจ พบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแล้ว และเจาะหลุมประเภทนี้เพื่อหาขนาด ขอบเขต และประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจของแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินั้น[ปิโตรเลี่ยม]
กะหล่ำดอก[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
หลุมอัดน้ำ หรือ หลุมกำจัดน้ำทิ้ง[ปิโตรเลี่ยม]
การเตรียมหลุมให้พร้อมสำหรับการผลิต[ปิโตรเลี่ยม]
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม, Example:การนำเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซและโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำมาใช้งานเป็นระบบร่วมกัน โดยการนำไอเสียจากโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ซึ่งมีความร้อนสูง (ประมาณ 500 องศาเซลเซียส) ไปผ่านหม้อน้ำ (Heat Recovery Steam Generator) และถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำ ทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอ เพื่อขับกังหันไอน้ำ สำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อไป โดยทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะประกอบด้วยเครื่องกังหันก๊าซ 1-4 เครื่อง ร่วมกับกังหันไอน้ำ 1 เครื่อง โดยมีประสิทธิภาพรวม 40-45% มีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปี และใช้เป็นโรงไฟฟ้าผลิตพลังงานปานกลางถึงระดับฐาน (Medium to Base Load Plant)[ปิโตรเลี่ยม]
โรงไฟฟ้าดีเซล, Example:โรงไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นต้นกำลังไปหมุนเพลาข้อเหวี่ยง เพื่อหมุนเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โรงไฟฟ้าดีเซลเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กสามารถเดินเครื่องได้อย่างรวดเร็ว เหมาะที่จะเป็นโรงไฟฟ้าสำรอง สำหรับจ่ายพลังงานไฟฟ้าในช่วงความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด (peak load period) และในกรณีฉุกเฉิน ส่วนโรงไฟฟ้าดีเซลขนาดใหญ่ ซึ่งมีกำลังการผลิตเครื่องละประมาณ 25 เมกะวัตต์ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลรอบช้า แบบ 2 จังหวะ สามารถใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าฐาน (base load) ได้ด้วย นอกจากนี้โรงไฟฟ้าดีเซลขนาดเล็กยังสามารถทำเป็นโรงไฟฟ้าสำเร็จรูป เคลื่อนย้ายไปติดตั้งยังสถานที่ใหม่ได้โดยไม่ยุ่งยากอีกด้วย โรงไฟฟ้าดีเซลมีประสิทธิภาพ 30-40% และมีอายุการใช้งานโดยทั่วไปประมาณ 20 ปี[ปิโตรเลี่ยม]
หลุมเจาะเอียงไปจากแนวตรง, Example:หลุมเจาะเอียงไปจากแนวตรง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำมันหรือก๊าซมากที่สุด หรือเพื่อหลีกเลี่ยงอุปกรณ์การเจาะที่ติดค้างอยู่ในหลุมเดิม[ปิโตรเลี่ยม]
หลุมพัฒนา, Example:หมายถึง หลุมที่เจาะเพื่อต้องการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หลังจากที่ได้ทำการเจาะหลุมประเมินผลเพื่อพิสูจน์ว่ามีปริมาณสำรองมากเพียงพอที่จะพัฒนาขึ้นมาได้[ปิโตรเลี่ยม]
หลุมสำรวจขอบเขต, Example:หลุมประเมินผล (Appraisal well) ที่เจาะโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาขอบเขตของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม[ปิโตรเลี่ยม]
การปิดหลุม, Example:การทำให้หลุมเจาะอยู่ในสภาพความดันปิด (สภาวะหลุมปิด) เพื่อให้หลุมเจาะปรับสภาพความดันภายในหลุมด้วยตัวของหลุมเจาะเอง[ปิโตรเลี่ยม]
ตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า, Example:ตามแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ กำหนดให้มีการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าในปี 2546 ซึ่งผู้ใช้ไฟไม่จำเป็นต้องซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง แต่สามารถเลือกซื้อจากผู้ค้าปลีก (retails) รายใดก็ได้ โดยผู้ค้าปลีกจะไปซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าผ่านตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า และส่งไปตามสายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันในการขายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟ ทั้งในด้านราคาและคุณภาพบริการ โดยตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้ามีหน้าที่ 2 ประการ คือ - เป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้ค้าปลีก - เป็นกลไกในการบริหารพลังงานไฟฟ้าในระบบไฟฟ้า เช่น การสั่งเดินเครื่องของโรงไฟฟ้า เพื่อให้มีการสั่งเดินเครื่องจากโรงที่มีต้นทุนต่ำที่สุดก่อน[ปิโตรเลี่ยม]
หลุมผลิตปิโตรเลียม, หลุมผลิตปิโตรเลียม[ปิโตรเลี่ยม]
ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก, Example:โครงการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ระบบการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าร่วมกัน (Co-generation) หรือการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง โครงการ SPP แต่ละโครงการจะจำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ แต่เนื่องจาก SPP แต่ละแห่งสามารถขายไฟฟ้าให้ผู้บริโภคที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้โดยตรง กำลังการผลิตของ SPP มักจะอยู่ในระดับ 120-150 เมกะวัตต์ SPP บางโครงการมีขนาดใกล้เคียงกับ IPP แต่ใช้รูปแบบการผลิตเป็นระบบ Co-generation[ปิโตรเลี่ยม]
วันที่เริ่มเจาะหลุม[ปิโตรเลี่ยม]
โรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ, Example:โรงไฟฟ้าที่ใช้เครื่องกังหันไอน้ำเป็นเครื่องต้นกำลังหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไอน้ำที่มีความดันและอุณหภูมิสูงนี้ได้จากการเปลี่ยนสถานะของน้ำในหม้อน้ำ เมื่อได้รับ พลังความร้อนจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในเตาเผา (furnace) ไอน้ำจะถูกส่งไปขับดันกังหันไอน้ำ ซึ่งมีเพลาต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หลังจากนั้นก็จะผ่านไปกลั่นตัวเป็นน้ำที่เครื่องควบแน่น (condenser) และถูกส่งกลับมารับความร้อนใหม่ในหม้อน้ำ เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนสถานะของน้ำให้เป็นไอได้อย่าง รวดเร็ว เมื่อเริ่มเดินเครื่องแต่ละครั้งจนใช้งานได้จะใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 2-3 ชั่วโมง ดังนั้นจึงเหมาะที่จะใช้เป็นโรงไฟฟ้าฐาน (base load plant) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าตลอดเวลา เป็นระยะเวลานานก่อนการหยุดเครื่องแต่ละครั้ง โดยทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำมีขนาดประมาณ 1-1, 300 เมกะวัตต์ สามารถใช้เชื้อเพลิงได้หลายชนิด เช่น ถ่านหิน น้ำมันเตา ก๊าซธรรมชาติ ขยะ ฯลฯ และมีประสิทธิภาพประมาณ 30-35% และมีอายุการใช้งานประมาณ 25 ปี[ปิโตรเลี่ยม]
การแยกก๊าซออกจากน้ำมัน, Example:วิธีการที่แยกเอาก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ออกจากก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมันที่มันปนอยู่[ปิโตรเลี่ยม]
น้ำมันที่แยกเอาก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ออก, Example:น้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติที่ผ่านขบวนการแยกเอาก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ออกแล้ว[ปิโตรเลี่ยม]
ระบบการผลิตน้ำมันจากหลุมเดี่ยว[ปิโตรเลี่ยม]
ระบบการผลิตปิโตรเลียมในทะเลจากหลุมเดี่ยว[ปิโตรเลี่ยม]
การควบคุมหลุมเจาะ, Example:การควบคุมความดันภายในหลุมเจาะให้อยู่ในสภาพสมดุลย์[ปิโตรเลี่ยม]
แท่นหลุมผลิต, Example:แท่นที่ใช้ขุดเจาะหลุมผลิต ภายในแท่นจะประกอบด้วยหลุมผลิต 9 - 12 หลุม หรือมากกว่า และมีอุปกรณ์การผลิตเบื้องต้น เช่น อุปกรณ์แยกสถานะเพื่อทดสอบอัตราการผลิต โดยปิโตรเลียมที่ถูกผลิตขึ้นมาจะผ่านอุปกรณ์การผลิตเบื้องต้นที่นี่ ก่อนส่งไปขบวนการผลิตยังแท่นผลิตต่อไป [ปิโตรเลี่ยม]
การหยั่งธรณีหลุมเจาะ, Example:การเจาะสำรวจปิโตรเลียม มีขั้นตอนการเก็บข้อมูลที่สำคัญ เรียกว่า การหยั่งธรณีหลุมเจาะ (Well logging) เพื่อตรวจวัดคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของชั้นหินและของไหลในชั้นหินในแต่ละช่วงความลึกที่ต้องการหรือตลอดหลุมเจาะ ข้อมูลที่ได้จะนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาชั้นไฮโดรคาร์บอน ลักษณะชั้นหินใต้ดิน ศึกษาและประเมินคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของไหลในชั้นหิน และเพื่อทราบความลึกที่แน่นอนสำหรับการปฏิบัติงานในหลุมเจาะได้ละเอียดถูกต้อง[ปิโตรเลี่ยม]
แท่นเจาะหลุมผลิตในทะเล, Example:สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นแท่นผลิตได้ (Production platform) เมื่อมีการผลิตปิโตรเลียม [ปิโตรเลี่ยม]