วีดิทัศน์, คำว่า วีดิทัศน์ เป็นศัพท์บัญญัติตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า video (อ่านว่า วิ-ดี-โอ). ศาสตราจารย์ ดร. คุณบรรจบ พันธุเมธา เป็นผู้คิดคำนี้ขึ้น โดยเห็นว่า คำว่า “วีติ” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “ความสนุกสนานรื่นเริง” มีเสียงใกล้เคียงกับคำว่า video ในภาษาอังกฤษ เมื่อเติมคำว่า “ทัศน์” ลงไปข้างท้าย ก็อาจจะแปลได้ว่า “เครื่องที่แสดงภาพเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง” คำนี้มักจะเขียนตามคำอ่าน ซึ่งพบว่ามีการใช้สระผิด เช่น เขียนว่า วิดีทัศน์ หรือ วีดิโอ คำที่ถูกต้องคือ วีดิทัศน์ (ว สระอี ด สระ อิ ..) และ วิดีโอ (ว สระอิ ด สระอี ...)[เทคโนโลยีการศึกษา]
หนังสือต้องห้าม[เทคโนโลยีการศึกษา]
หนังสือต้องห้าม, Example:Banned book หมายถึง หนังสือต้องห้าม เป็นหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่ถูกห้ามหรือถูกระงับโดยสถาบันทางศาสนาหรือโดยรัฐบาลด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง เนื่องจากมีเนื้อหาที่ต้องคัดค้านหรือเป็นอันตราย โดยทั่วไปเป็นด้วยเหตุผลทางศาสนา ทางการเมือง หรือทางสังคม (เช่น The Grapes of Wrath, Leaves of Grass การปฏิวัติของจีน หลักลัทธิเลนิน) หนังสือต้องห้ามเป็นหนังสือที่ถูกห้ามนำเข้าไปไว้ในห้องสมุด ร้านหนังสือ หรือห้องเรียน เนื่องจากมีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการโต้แย้ง การท้าทายในทางการเมือง ทางศาสนา หรือทางสังคม ในอดีตหนังสือต้องห้ามหลาย ๆ เล่มถูกเผาหรือถูกปฏิเสธการพิมพ์ การครอบครองหนังสือต้องห้ามถูกมองว่าเป็นการกระทำที่เป็นกบฏ หรือเป็นผู้มีความคิดเห็นนอกรีต ซึ่งบางครั้งอาจมีโทษทางกฎหมายถ้าละเมิด อย่างไรก็ตาม บางครั้งการห้ามก็อาจได้รับการยกเลิกได้เมื่อมีการท้าทายกันในศาล และศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการห้าม[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ที่ใส่พระบรมศพ และพระศพเจ้านาย ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ กับโกศที่พระราชทานสำหรับศพข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์สูง ตามคตินิยมของพราหมณ์ที่เชื่อว่า ต้องตั้งพระศพในท่ายืน, นั่ง, คุกเข่า หรือกอดเข่าประสานมือ เพื่อส่งพระศพและพระวิญญาณเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์ พระโกศสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้ ๒ ประเภท ๑. พระโกศสำหรับทรงพระบรมศพหรือพระศพ ๒. พระโกศพระบรมอัฐิหรือพระอัฐิ, Example:<p><img src="http://stks.or.th/thaiglossary/sites/default/files/re-IM-2009-01.JPG" alt="พระโกศ"> <p>ที่ใส่พระบรมศพ และพระศพเจ้านาย ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์[ศัพท์พระราชพิธี]
ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
เครื่องสูงชนิดหนึ่งมีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่าชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลำดับ สำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ (ชั้นของฉัตรต้องเป็นชั้นคี่ คือ ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น และ ๙ ชั้น)[ศัพท์พระราชพิธี]
กระทำภายหลังจากที่พระสงฆ์สวดบท ภวตุ สพฺพมงฺคลํ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์รูปที่ ๒ จะต้องเป็นผู้กล่าวถวายพระพรลา ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้ คือ "ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล พระชนมสุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เวลานี้สมควรแล้ว อาตมภาพทั้งปวง ขอถวายพระพรลา แด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ขอถวายพระพร"[ศัพท์พระราชพิธี]
ก. ถวายของพระโดยวิธียกส่งให้ตามพิธีการที่กําหนดไว้ เช่น ประเคนอาหาร; ส่งให้ถึงมือ (ใช้ในความแดกดัน) เช่น ต้องเอาไปประเคนให้จนถึงที่; (ปาก) ตี เช่น ประเคนกระบาล ๓ ที[ศัพท์พระราชพิธี]
สถานที่สำหรับพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพมีจำนวน ๔ หลัง อยู่ที่มุมติดกับรั้วราชวัติ ๒ หลัง และที่มุขด้านทิศเหนือและทิศใต้อย่างละ ๑ หลัง[ศัพท์พระราชพิธี]
ประเภทของสัญญาซื้อขายน้ำมันที่ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบในการส่งน้ำมันไปถึงผู้ซื้อ , ประเภทของสัญญาซื้อขายน้ำมันที่ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบในการส่งน้ำมันไปถึงผู้ซื้อ และจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งและค่าประกันภัยแทนผู้ซื้อ[ปิโตรเลี่ยม]
ปริมาณก๊าซที่ผู้ขายจะต้องส่งมอบตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อในแต่ละวัน[ปิโตรเลี่ยม]
การทดสอบหลุมสำรวจหลังจากเจาะได้ถึงความลึกที่ต้องการแล้ว, Example:เพื่อทดสอบว่าชั้นหินนั้นมีน้ำมันหรือก๊าซหรือไม่ หาอัตราการไหลของของไหลในชั้นหินว่ามีลักษณะการไหลอย่างไร ไหลได้มากน้อยขนาดไหน หาความดันดั้งเดิมของชั้นหิน หาคุณสมบัติของชั้นหินที่มีต่อการไหล[ปิโตรเลี่ยม]
อุปกรณ์การเจาะ, อุปกรณ์การเจาะ เช่น ก้านเจาะ ที่หลุดและติดค้างอยู่ในหลุมเจาะซึ่งจะต้องกู้และนำออกจากหลุมเจาะก่อนที่จะทำการเจาะต่อไปได้[ปิโตรเลี่ยม]
สัญญาการซื้อขายน้ำมัน, สัญญาการซื้อขายน้ำมันประเภทที่ผู้ขายรับผิดชอบในการขนถ่ายน้ำมันลงเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือขนถ่าย ความสูญเสียหรือภัยอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบเอง[ปิโตรเลี่ยม]
ความต้องการพื้นฐาน[เศรษฐศาสตร์]
สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้, Example:สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความรู้ ทัีกษะ ประสบการณ์ เ่ทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งความรู้เป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร ยิ่งใช้ ยิ่งมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เมื่อเรียนรู้ได้มากก็สามารถสร้างความรู้ใหม่ได้มากขึ้น ทำให้สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการแข่งขันขององค์กรในปัจจุบันที่ขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์กรในการสร้าง และใช้สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ ในการเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุน ทุ่นระยะเวลาในการผลิตหรือให้บริการใหม่ๆ[การจัดการความรู้]
สินทรัพย์ที่จับต้องได้[การจัดการความรู้]
ปริมาณ (รังสี) ดูดกลืน, Absorbed dose, D<sub>T, R</sub> ปริมาณพลังงานที่วัตถุดูดกลืนไว้เมื่อได้รับรังสี มีหน่วยเป็น เกรย์ ปกติจะระบุชนิดของวัตถุและชนิดของรังสี โดยเขียนเป็นสัญลักษณ์ดังนี้ D<sub>material, radiation</sub> เช่น D<sub>lung, alpha </sub>ยกเว้นรังสีแกมมาอาจไม่ต้องระบุชนิดของรังสี เช่น Dwater (ดู gray, Gy ประกอบ)[นิวเคลียร์]
ระดับต้องปฏิบัติ, ระดับอัตราปริมาณรังสี หรือ ความเข้มข้น<em>กัมมันตภาพ</em> ซึ่งต้องดำเนินการตามมาตรการแก้ไขหรือป้องกันทันที เพื่อไม่ให้บุคคลได้รับรังสีแบบเรื้อรัง หรือกรณีฉุกเฉิน[นิวเคลียร์]
พลังงานยึดเหนี่ยว, พลังงานยึดเหนี่ยวของโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียส มีค่าเท่ากับพลังงานที่น้อยที่สุดสำหรับการแยกนิวเคลียสออกเป็นโปรตอนและนิวตรอน นอกจากนี้ยังหมายถึง พลังงานยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนด้วย ซึ่งมีค่าเท่ากับพลังงานที่ต้องใช้เพื่อแยกอิเล็กตรอนออกมาจากอะตอมหรือโมเลกุล[นิวเคลียร์]
รังสีรักษาระยะใกล้, การรักษาโดยใช้สารกัมมันตรังสีที่เป็นของแข็ง ฝังไว้ในร่างกายใกล้ๆ กับบริเวณที่ต้องการรักษา, Example: [นิวเคลียร์]
การเริ่มดำเนินงาน, กระบวนการทดสอบการทำงานของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการทดลองเดินเครื่องของโรงงานนิวเคลียร์ก่อนได้รับอนุญาตให้เดินเครื่อง เพื่อตรวจสอบว่าตรงตามแบบและเกณฑ์สมรรถนะที่ต้องการ[นิวเคลียร์]
การเปื้อนสารกัมมันตรังสี, สารกัมมันตรังสีทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำ อากาศ หรือเปรอะเปื้อนที่พื้นผิววัสดุ อุปกรณ์ ร่างกาย และหรือบริเวณที่ต้องการใช้งาน ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้[นิวเคลียร์]
พื้นที่ควบคุม, พื้นที่ที่ต้องมีมาตรการป้องกันและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะในการควบคุมการรับรังสีจากการทำงาน หรือจำกัดการเปื้อนของสารกัมมันตรังสีไม่ให้แพร่กระจายออกไปในระหว่างการทำงานเพื่อหลีกเลี่ยง หรือจำกัดโอกาสการได้รับรังสี, Example: [นิวเคลียร์]
ไซโคลทรอน, เครื่องเร่งอนุภาคที่อนุภาคถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้าและถูกควบคุมด้วยสนามแม่เหล็ก ให้วิ่งวนเป็นวงออกไปคล้ายก้นหอย เมื่อได้ความเร็วที่ต้องการ อนุภาคจะถูกปล่อยให้ชนกับวัสดุที่ใช้เป็นเป้า เครื่องเร่งอนุภาคชนิดนี้ใช้ในการวิจัยฟิสิกส์มูลฐาน และการผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ประดิษฐ์ คือ เออร์เนสต์ โอ. ลอว์เรนซ์ (Earnest O. Lawrence) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี พ.ศ. 2482[นิวเคลียร์]
การเลิกดำเนินงาน, กระบวนการด้านบริหารจัดการและด้านเทคนิค เพื่อยกเลิกการควบคุมโรงงานนิวเคลียร์บางส่วนหรือทั้งหมด เนื่องจากไม่มีการใช้งานอีกต่อไป โดยต้องให้มีความปลอดภัยต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว รวมถึงการลดปริมาณนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ตกค้างอยู่ตามวัสดุและสถานที่ต่างๆ หลังจากเลิกดำเนินงาน วัสดุบางส่วนสามารถนำกลับมาแปรใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือจัดเก็บเป็นกากกัมมันตรังสี ส่วนสถานที่ก็สามารถใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้ (ดู commissioning ประกอบ)[นิวเคลียร์]
การขจัดกากกัมมันตรังสี, การดำเนินการเก็บกากกัมมันตรังสีไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่มีการนำกลับมาใช้งานอีก รวมถึงการระบายน้ำและแก๊สจากสถานปฏิบัติการทางรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ดู radioactive discharge ประกอบ)[นิวเคลียร์]
ขีดจำกัดปริมาณรังสี, ค่ากำหนดสูงสุดของปริมาณรังสียังผลหรือปริมาณรังสีสมมูลที่บุคคลอาจได้รับจากการดำเนินกิจกรรมทางรังสี ซึ่งคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านการป้องกันรังสี (International Commission on Radiation Protection, ICRP) ได้กำหนดขีดจำกัดปริมาณรังสีไว้ดังนี้ 1. ผู้ปฏิบัติงาน -ปริมาณรังสียังผลเฉลี่ยไม่เกิน 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปีในระยะเวลา 5 ปีติดต่อกัน โดยในปีใดปีหนึ่งต้องได้รับปริมาณรังสียังผลไม่เกิน 50 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี -ปริมาณรังสีสมมูลที่เลนส์ตา ไม่เกิน 150 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี -ปริมาณรังสีสมมูลที่มือและเท้า หรือที่ผิวหนัง ไม่เกิน 500 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี 2. บุคคลทั่วไป ปริมาณรังสียังผลไม่เกิน 1 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี โดยไม่รวมปริมาณรังสีจากธรรมชาติและปริมาณรังสีจากการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติต้องจำกัดให้ได้รับรังสีน้อยที่สุด (ดู sievert ประกอบ)[นิวเคลียร์]
ระดับต้องปฏิบัติกรณีฉุกเฉิน, อีเอแอล, เกณฑ์แสดงระดับปฏิบัติกรณีฉุกเฉินทางรังสี โดยกำหนดเป็นค่าเฉพาะเพื่อระบุระดับของเหตุการณ์ฉุกเฉินทางรังสี[นิวเคลียร์]
วัสดุเสริมสมรรถนะ, วัสดุที่มีสัดส่วนของไอโซโทปที่ต้องการ ถูกทำให้เพิ่มสูงขึ้นกว่าสัดส่วนที่พบตามธรรมชาติ เช่น ยูเรเนียมตามธรรมชาติจะประกอบด้วยยูเรเนียม-238 ประมาณร้อยละ 99.3 และยูเรเนียม-235 (ซึ่งเกิดฟิชชันได้) ประมาณร้อยละ 0.7 ส่วนยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ จะมีไอโซโทปยูเรเนียม-235 สูงกว่าร้อยละ 0.7 (ดู isotope separation ประกอบ)[นิวเคลียร์]
หีบห่อกากกัมมันตรังสี, ภาชนะที่มีกากกัมมันตรังสีในรูปแบบต่างๆ หลังการปรับสภาพบรรจุอยู่ รวมทั้งวัสดุดูดซับ และ/หรือ วัสดุบุผนังภาชนะ ซึ่งต้องจัดเตรียมให้เป็นไปตามข้อกำหนดว่าด้วยการปฏิบัติงาน การเก็บรักษา การขนส่ง และการขจัดกากกัมมันตรังสี เช่น ถังเหล็กขนาด 200 ลิตร ที่มีกากแก้วกัมมันตรังสีหลังจากปรับสภาพแล้วบรรจุอยู่[นิวเคลียร์]
การขจัดกากกัมมันตรังสี, การดำเนินการเก็บกากกัมมันตรังสีไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่มีการนำกลับมาใช้งานอีก รวมถึงการระบายน้ำและแก๊สจากสถานปฏิบัติการทางรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ดู radioactive discharge ประกอบ)[นิวเคลียร์]
ปฎิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์, ปฏิกิริยาการหลอมตัวของนิวเคลียสเบาภายใต้อุณหภูมิสูงมาก ไปเป็นนิวเคลียสของอะตอมที่หนักกว่า และปลดปล่อยพลังงานออกมา[นิวเคลียร์]
พื้นที่ตรวจตรา, บริเวณที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุม แต่จำเป็นต้องมีการสำรวจรังสีจากการทำงานโดยไม่ต้องมีมาตรการป้องกันและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยเป็นพิเศษ[นิวเคลียร์]
สเป็กต์, เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด ใช้มากในการศึกษาสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) แต่ก็สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยระบบอวัยวะใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเภสัชภัณฑ์รังสีที่ใช้ซึ่งมีครึ่งชีวิตยาวกว่าที่ใช้กับเพ็ต จึงไม่จำเป็นต้องมีไซโคลทรอนอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สเป็กต์มีความละเอียดในการวิเคราะห์ต่ำกว่าเพ็ตมาก, Example: [นิวเคลียร์]
สเป็กต์, เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด ใช้มากในการศึกษาสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) แต่ก็สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยระบบอวัยวะใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเภสัชภัณฑ์รังสีที่ใช้ซึ่งมีครึ่งชีวิตยาวกว่าที่ใช้กับเพ็ต จึงไม่จำเป็นต้องมีไซโคลทรอนอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สเป็กต์มีความละเอียดในการวิเคราะห์ต่ำกว่าเพ็ตมาก[นิวเคลียร์]
วัฒนธรรมความปลอดภัย, พฤติกรรมขององค์กรและบุคคลในองค์กร ที่สะท้อนการได้รับการปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย ทั้งจากการอบรม การเรียนรู้และการถ่ายทอด จนเกิดเป็นนิสัยและเจตคติที่ให้ความสำคัญต่อการระวังป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบัติงานทางนิวเคลียร์และรังสี ย่อมรู้ดีว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้างเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น ต้องติดมาตรปริมาณรับรังสี ต้องใช้เครื่องมือหยิบจับสารกัมมันตรังสี มีวัสดุและอุปกรณ์กำบังรังสีที่พอเพียง รวมทั้งการสวมแว่นตาและหน้ากากกันไอระเหย ให้เหมาะสมตามลักษณะของงาน[นิวเคลียร์]
สารลดผลของรังสี, สารหรือยาลดประสิทธิภาพของรังสีในการทำลายเซลล์ เช่น สารประกอบที่มีกลุ่มซัลฟ์ไฮดริล (sulfhydryl, -SH) ทั้งนี้เซลล์จะต้องมีสารกลุ่มนี้อยู่ในขณะที่ได้รับรังสีจึงจะเกิดผลในการป้องกันการทำลายเซลล์ ถึงแม้เซลล์ได้รับสารนี้ในทันทีหลังการได้รับรังสี ก็จะไม่มีผลในการป้องกันใดๆ[นิวเคลียร์]
สารเภสัชรังสี, เภสัชภัณฑ์รังสี, ผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในรูปของสารประกอบหรือสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสารกัมมันตรังสีเกาะอยู่ในโมเลกุล ซึ่งผลิตขึ้นตามมาตรฐานสากลเภสัชรังสี ใช้ตรวจวินิจฉัยหรือบำบัดรักษา การให้สารเภสัชรังสีแก่ผู้ป่วยกระทำโดยการฉีดหรือกิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสารเภสัชรังสีดังกล่าวจะไปกระจายตัวอยู่ในอวัยวะที่ต้องการตรวจหรือรักษา (target organ) โดยแสดงพยาธิสภาพตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นในอวัยวะนั้นๆ สารเภสัชรังสีที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น <br><sup>99m</sup>Tc-MDP ใช้ตรวจกระดูก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAA ใช้ตรวจปอด</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MIBI ใช้ตรวจกล้ามเนื้อหัวใจ, tumor ทรวงอก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DISIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-BROMIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-HMPAO ใช้ตรวจสมอง</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DTPA ใช้ตรวจสมองและไต</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAG3 ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-Hippuran ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-MIBG ใช้ตรวจต่อมหมวกไต</br> <br>Na13<sup>1</sup>I ใช้ตรวจและรักษาโรคไทรอยด์</br> <br><sup>153</sup>Sm-EDTMP ใช้บรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูก[นิวเคลียร์]
สารเภสัชรังสี, เภสัชภัณฑ์รังสี, ผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในรูปของสารประกอบหรือสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสารกัมมันตรังสีเกาะอยู่ในโมเลกุล ซึ่งผลิตขึ้นตามมาตรฐานสากลเภสัชรังสี ใช้ตรวจวินิจฉัยหรือบำบัดรักษา การให้สารเภสัชรังสีแก่ผู้ป่วยกระทำโดยการฉีดหรือกิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสารเภสัชรังสีดังกล่าวจะไปกระจายตัวอยู่ในอวัยวะที่ต้องการตรวจหรือรักษา (target organ) โดยแสดงพยาธิสภาพตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นในอวัยวะนั้นๆ สารเภสัชรังสีที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น <br><sup>99m</sup>Tc-MDP ใช้ตรวจกระดูก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAA ใช้ตรวจปอด</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MIBI ใช้ตรวจกล้ามเนื้อหัวใจ, tumor ทรวงอก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DISIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-BROMIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-HMPAO ใช้ตรวจสมอง</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DTPA ใช้ตรวจสมองและไต</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAG3 ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-Hippuran ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-MIBG ใช้ตรวจต่อมหมวกไต</br> <br>Na13<sup>1</sup>I ใช้ตรวจและรักษาโรคไทรอยด์</br> <br><sup>153</sup>Sm-EDTMP ใช้บรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูก[นิวเคลียร์]
การถ่ายภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์, เทคนิคการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยให้สารเภสัชรังสีแก่ผู้ป่วย และถ่ายภาพการกระจายตัวของสารเภสัชรังสีในอวัยวะที่ต้องการ ตรวจด้วยเครื่องตรวจและสร้างภาพ เช่น Gamma camera หรือ Single Photon Emission Computed Tomography (SPECT) หรือ Positron Emission Tomography (PET) เพื่อแสดงขนาด รูปร่าง ตำแหน่ง และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยวิธีอื่น <br>ศัพท์ที่ใช้ทางการแพทย์และมีความหมายคล้ายกัน ได้แก่คำว่า radionuclide organ imaging, nuclear scanning</br>, Example: [นิวเคลียร์]
ความบริสุทธิ์ทางเคมีรังสี, ความบริสุทธิ์ของสารประกอบกัมมันตรังสี ซึ่งมีสารกัมมันตรังสีในรูปแบบทางเคมีที่ต้องการ โดยคำนวณจากสัดส่วนกัมมันตภาพของสารกัมมันตรังสีในรูปแบบทางเคมีที่ต้องการต่อกัมมันตภาพของสารประกอบกัมมันตรังสีทั้งหมด <br>ความบริสุทธิ์ทางเคมีรังสี ใช้เป็นค่ากำหนดคุณภาพของสารเภสัชรังสีซึ่งมีสารประกอบกัมมันตรังสีในรูปแบบทางเคมีอื่นๆ เจือปนอยู่น้อยที่สุด ตามมาตรฐานเภสัชตำรับสหรัฐอเมริกา (United States Pharmacopoeia, USP) เภสัชตำรับอังกฤษ (British Pharmacopoeia, BP) และ เภสัชตำรับยุโรป (European Pharmacopoeia, EP) เช่น ในการผลิตสารไอโอดีน-131 (<sup>131I</sup>) ตามเภสัชตำรับสหรัฐอเมริกาต้องมีอัตราส่วนของสารประกอบกัมมันตรังสีในรูปโซเดียมไอโอไดด์ (Na<sup>131</sup>I) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 และสารประกอบกัมมันตรังสีที่มีธาตุไอโอดีนอยู่ในรูปแบบทางเคมีอื่นๆ ไม่เกินร้อยละ 5</br>[นิวเคลียร์]
เย็บกี่, การทำเล่มหนังสือโดยการเย็บด้ายวิธีหนึ่ง มักใช้สำหรับหนังสือที่มีความหนามากและต้องการความทนทานเป็นพิเศษ เช่น หนังสืออ้างอิงต่างๆ, Example:<p>เย็บกี่ <p>เป็นการเย็บอกของยกพิมพ์แต่ละยกด้วยเชือกเส้นเดียวกัน เย็บจากยกพิมพ์หนึ่งไปอีกยกพิมพ์หนึ่งติดต่อกันไปจนจบเล่ม การเย็บกี่นี้สามารถเย็บหนังสือที่เป็นเล่มหนาๆ มีหน้ามากให้เป็นเล่มเดียวกันได้ และสามารถเปิดเล่มหนังสือทุกหน้าให้กางออกได้เต็มที่ หนังสือเย็บกี่นี้จะต้องมีการปิดปกคือนำปกมาผนึกยึดติดกับสันหนังสือเช่นเดียวกับหนังสือเย็บสัน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การเปื้อนสารกัมมันตรังสี, สารกัมมันตรังสีทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำ อากาศ หรือเปรอะเปื้อนที่พื้นผิววัสดุ อุปกรณ์ ร่างกาย และหรือบริเวณที่ต้องการใช้งาน ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้, Example: [นิวเคลียร์]
ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br>[นิวเคลียร์]
การยับยั้งการงอกด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารประเภทพืชหัวด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 0.15 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุมหรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ทำให้เกิดการงอก ยังผลให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานหลายเดือน ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเน่าเสีย อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อยับยั้งการงอก เช่น หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง กระเทียม <br>(ดู food irradiation ประกอบ) </br>[นิวเคลียร์]
การยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแมลงด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารหรือผลิตผลการเกษตรด้วยปริมาณรังสีไม่เกิน 1 กิโลเกรย์ เพื่อทำลายแมลงและยับยั้งการแพร่พันธุ์ ทั้งนี้อาหารหรือผลิตผลการเกษตรจะต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสมเพื่อป้องกันแมลงที่จะมาทำลายหลังการฉายรังสีแล้ว อาหารหรือผลิตผลการเกษตรที่ใช้กรรมวิธีนี้ เช่น มะม่วง มะละกอ เมล็ดโกโก้ ถั่ว ข้าว ข้าวสาลี ปลาแห้ง ปลารมควัน ดอกกล้วยไม้ <br>(ดู food irradiation ประกอบ) </br>[นิวเคลียร์]
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถสูง คิดคำนวณได้เร็วมากกว่าคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ ชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์นี้เดิมที่ตั้งขึ้นเพื่อเรียกคอมพิวเตอร์ Cray-1 ซึ่งเป็นเครื่องที่ผลิตโดยบริษัท Cray Research และต่อมามีผู้พัฒนาเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์อีกมาก รวมทั้งบริษัทคอมพิวเตอร์ในญี่ปุ่นด้วย ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีความเร็วสูงมาก และโดยทั่วไปถือว่าจะต้องเร็วกว่า 300 MFLOPS คือคำนวณเลขจุดลอยตัวได้เกินกว่า 300 ล้านคำสั่งต่อวินาที ซูเปอร์คอมพิวเตอร์นั้นอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงยิ่ง (high performance computer)[คอมพิวเตอร์]
ผิดไวยากรณ์, ความผิดพลาดในโปรแกรมอันเกิดจากการสะกดคำสั่งผิดบ้าง หรือใช้รูปแบบคำสั่งผิดบ้าง โปรแกรมทีเขียนด้วยภาษาระดับสูงนั้นจะต้องนำไปแปลเป็นภาษาเครื่องก่อนจึงจะนำไปใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ ในการแปลนั้นตัวแปลภาษาจะตรวจสอบการใช้ไวยากรณ์ในโปรแกรมนั้นไปด้วย ถ้าหากมีที่ผิดตัวแปลภาษาก็จะรายงานความผิดพลาดให้ทราบ เพื่อที่เราจะได้นำไปพิจารณาแก้ไข[คอมพิวเตอร์]
ระบบ, ที่รวมของส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน มีจุดประสงค์ร่วมกัน และมีขอบเขตโดยแน่ชัด เช่น คอมพิวเตอร์เป็นระบบ เพราะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาตามที่ผู้ใช้กำหนด ร่างกายมนุษย์เป็นระบบเพราะประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ ระบบทั้งหลายต้องรับอินพุดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเข้าไปในระบบ ต่อจากนั้นจึงนำอินพุดเหล่านั้นมาดำเนินการให้เกิดเป็นเอาท์พุต หรือปรับอินพุดหรือการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การนำเอาท์พุดมาพิจารณาแล้วปรับ ดังนี้เรียกว่า การป้อนกลับ (feedback)[คอมพิวเตอร์]