หน่วยความจำเชิงเสียงเป็นหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้สายหน่วงเสียง (acoustic delay line) ซึ่งใช้ปรอทหรือ ควอร์ทซ์ (quartz) เป็นสื่อ
หน่วยความจำช่วย <คำแปล>หมายถึงหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (เพิ่มไปจากหน่วยความจำหลัก) เช่น จานบันทึก เมื่อใดที่ต้องการใช้ ก็ให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำมาเก็บในเครื่อง จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม แล้วเก็บลงใหม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำแบบฟองหมายถึง หน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ใด้แม้ว่าไฟฟ้าจะดับไปแล้วก็ตาม นิยมใช้กันมากสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดวางตัก (laptop) หรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ที่ไม่มีเนื้อที่มากพอที่จะมีฮาร์ดดิสก์ได้
หน่วยความจำแบบซีซีดีย่อมาจาก charge coupled device memory (หน่วยความจำแบบอุปกรณ์ถ่ายเทประจุ) หมาย ถึงหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่ทำจากซิลิคอนชิป (silicon chip) ซึ่งสามารถเปลี่ยนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปเป็นประจุไฟฟ้า และสามารถบันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก (disk) ได้ เหมาะสำหรับงานที่เรียกใช้ข้อมูลในหน่วยความจำตามลำดับ (sequential) หน่วยความจำชนิดนี้ทำงานช้ากว่าแรม (RAM) แต่เร็วกว่าแบบแม่เหล็ก
(คะเมม'มะระเบิล) adj. น่าฉลอง, สมควรจะได้รับการฉลอง, ซึ่งควรระลึกถึง
(คะเมม'โมเรท) { commemorated, commemorating, commemorates } vt. เป็นที่ระลึก, ฉลอง, เป็นอนุสรณ์, กล่าวระลึกถึง., See Also:commemorator n., Syn.memorialize, celebrate
(คะเมมมะเร'เชิน) n. การระลึก, การฉลอง, พิธีฉลอง, ที่ระลึก, สิ่งที่เป็นอนุสรณ์
(คะเมม'เมอระโท'รี) adj. ดูcommemorative
หน่วยความจำปกติใช้เรียก 640 กิโลไบต์แรกของหน่วยความจำ (RAM) ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม และเครื่องเลียนแบบไอบีเอ็ม (IBM compatibles) ที่กำหนดว่าต้องมีหน่วยความจำอย่างน้อย 640 เค (เป็นมาตรฐานที่กำหนดไว้นานแล้ว)
หน่วยความจำส่วนขยายหมายถึง หน่วยความจำที่เพิ่มเข้ามาภายหลัง วิธีเพิ่มหน่วยความจำแบบนี้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบดอส นิยมใช้อยู่ก่อนจะมีการนำชิป (chip) 80286 มาใช้ หน่วยความจำนี้เป็นหน่วยความจำต่างหากที่บริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ทำเป็นรายการแถมให้ เพิ่มจากหน่วยความจำ 640 K ที่ใช้อยู่เดิม ไม่ใช่นำหน่วยความจำเดิมมาทำให้ใหญ่ขึ้น เป็นหน่วยความจำคนละหน่วย แต่คอมพิวเตอร์สามารถเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำนี้ได้รวดเร็ว จนทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนกับว่าเป็นหน่วยความจำเดียวกัน
ชื่อโปรแกรมขยายหน่วยความจำใช้ตัวย่อว่า EMM (อีเอ็มเอ็ม) เป็นชื่อของโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) โปรแกรมหนึ่งที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำให้หน่วยความจำมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผลเป็นชิป (chip) เบอร์ 80386 หรือ 80486
หน่วยความจำส่วนเพิ่มหมายถึง หน่วยความจำชุด 80286, 80386 และ 80486 ซึ่งขยายแล้ว จุได้มากว่า 1 เมกะไบต์
ข้อกำหนดหน่วยความจำแบบขยายใช้ตัวย่อว่า XMS (อ่านว่า เอกซ์เอ็มเอส) เป็นมาตรฐานการจัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำแบบหนึ่งที่ยอมให้โปรแกรมระบบดอส เข้าถึงส่วนความจำขยายได้ โปรแกรมในดอสที่จัดการเรื่องนี้ มีชื่อว่า Himem.Sys
หน่วยความจำภายนอกหมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) ในคอมพิวเตอร์ เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) เพราะราคาถูกกว่ามาก ถึงจะไม่เปิดไฟ ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ หน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีที่พอจะนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปเก็บไว้ได้หมด (ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งแพงมาก) เพื่อช่วยประหยัด เราอาจเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง หรือหน่วยความจำช่วย (auxiliary storage) นี้ก่อน และจะดึงไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้มีความหมายเหมือน external storage, secondary memory และ auxiliary storage
หน่วยความจำสูงหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำที่มีขนาดระหว่าง 640 K ถึง 1 เมกะไบต์ดู memory ประกอบ
เขตปฏิบัติการหน่วยความจำสูงใช้ตัวย่อว่า HMA หมายถึงขนาดของหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบดอส (เดิมมี 64 K) ที่สามารถนำมาขยายเพิ่มขึ้นให้เกิน กว่า 1 เมกะไบต์ได้
(อิมมิมอ'เรียล) adj. เก่าแก่หรือโบราณมากจนจำไม่ได้.
(อิน มะมอ'เรียม) เพื่อระลึกถึง
หน่วยความจำหลักหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main storage
(เมม'โม) n. ข้อเขียนเตือนความจำ, =memorandum (ดู) pl. memos
(เมม'วาร์, เมม'วอร์) n. บันทึกชีวิตและประสบการณ์ของคน ๆ หนึ่ง, ประมวลรายงานเรื่องทางวิทยาศาสตร์หรือวิชาอื่น ๆ , บันทึกความจำ, ชีวประวัติบุคคล, See Also:memoirist n.
(เมมเมอระบิล'เลีย) n., เรื่องหรือเหตุการณ์ที่ควรจำ
(เมมมะแรน'ดัม) n. บันทึกความจำ, บันทึก, หนังสือบริคณห์สนธิ, ข้อความที่บันทึกไว้, เอกสารข้อสัญญา, จดหมายเหตุ, สารหรือหนังสือไม่เป็นทางการ (โดยเฉพาะระหว่างพนักงานบริษัท) pl. memorandums, memoranda, Syn.note, reminder
(มะมอ'เรียล) n. สิ่งเตือนความจำ, ที่ระลึก, อนุสรณ์, เครื่องระลึกถึง, จดหมายเหตุ adj. เตือนความจำ
(เมม'มะไรซ) vt. จำ, จำใส่ใจ, ท่องจำ., See Also:memorizable adj. memorization n. memorizer n.
(เมม'มะรี) n. ความจำ, ความทรงจำ, บุคคลหรือสิ่งที่จำไว้, หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ pl. memories
แผนที่แสดงการใช้หน่วยความจำหมายถึงแผนที่หรือแผนผังที่แสดงถึงการใช้หน่วยความจำส่วนที่เรียกว่า แรม (RAM) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายกับแผนที่แสดงที่ตั้งจังหวัดต่าง ๆ ในแต่ละประเทศนั้นเอง สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องนี้เลยก็ได้
โปรแกรมในหน่วยความจำหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนที่เก็บเอาไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่เราไม่รู้ไม่เห็น และไม่สามารถเรียกมาดูได้ โดยมากเป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ต่าง ๆ เช่น โปรแกรมตัวขับเมาส์ (mouse driver) เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้บางทีเรียกว่า TSR (terminate and stay residnts)
หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่
หน่วยความจำไม่ลบเลือนหมายถึง หน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ข้อมูลในนั้นจะไม่ลบหายไป แม้ว่าจะปิดกระแสไฟแล้วก็ตาม เช่น หน่วยความจำประเภทอ่านอย่างเดียว (ROM) เป็นต้น ดู memory ประกอบ
ใช้ตัวย่อว่า PMMU (อ่านว่า พีเอ็มเอ็มยู) หมายถึง ชิป (chip) หรือวงจรตัวหนึ่งในคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ขยายหน่วยความจำเสมือน (virtual memory)
Personal Computer Memory Card International Association สมาคมระหว่างประเทศเพื่อ บัตรความจำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้ตัวย่อว่า PCMCIA (อ่านว่า พีซีเอ็มซีไอเอ) แต่เดิมหมายถึงแผ่นวงจรที่ใช้บันทึกข้อมูล มีลักษณะเหมือนการ์ด ขนาดเท่าบัตรเครดิต (ยาว 8.5 ซม. กว้าง 5.4 ซม.) ต่อมาได้มีการพัฒนาให้นำมาใช้สอยได้มากขึ้น เช่น ใช้เป็นฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ก็ได้ เป็นการ์ดเพิ่มหน่วยความจำก็ได้ เป็นการ์ดแฟกซ์ หรือโมเด็มก็ได้ โครงสร้างของการ์ดนี้เป็นชิป (chip) ใช้เสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก ๆ เช่น โน้ตบุ๊ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ บางด้าน
หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มใช้ตัวย่อว่า RAM (อ่านว่า แรม) เป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่มหมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) "แรม" จะหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ขายทั่วไปมักจะต้องมีข้อความบอกว่า มีแรมขนาดใด ยิ่งมีแรมมาก ก็จะยิ่งทำงานได้เร็ว ในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ที่วางขายทั่วไปจะมีแรมประมาณ 1 - 8 เมกะไบต์ ปัจจุบันโปรแกรมสำเร็จใหญ่ ๆ หลายโปรแกรม เจาะจงว่าจะต้องใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มีแรมอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ดู read only memory เปรียบเทียบ
หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวใช้ตัวย่อว่า ROM (อ่านว่า รอม) แปลว่าหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว หมายถึงหน่วยความจำลักษณะหนึ่งที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลออกมาได้อย่างเดียวเท่านั้น จะบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้เลย หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บคำสั่งเบื้องต้นต่าง ๆ ไว้ และจะเก็บอยู่ตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในรอม ก็จะไม่สูญหายไปไหนดู RAM เปรียบเทียบ
หน่วยความจำใช้งานชั่วคราวหมายถึง เรจิสเตอร์เอนกประสงค์ชุดหนึ่งหรือตำแหน่งซึ่งใช้เป็นที่เก็บคำสั่ง (instruction) หรือผลลัพธ์ที่เกิดในขณะนั้นจากการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์หรือตรรกะ ข้อมูลในหน่วยความจำชุดนี้จะเข้าถึง (access) ได้เร็วกว่าในหน่วยความจำหลักมากมีความหมายเหมือน cache memoryดู register ประกอบ
ใช้ตัวย่อว่า SIMM (อ่านว่า ซิม) หมายถึงแผงวงจรขนาดเล็ก ที่บรรจุชิปจำนวนมากมาย ใช้เป็นหน่วยความจำได้ เหมาะที่จะใช้เมื่อต้องการเพิ่มหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ เพราะเพียงนำแผ่นวงจรซิมนี้มาเสียบเข้าไปในช่องเสียบ (slot) ในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นดู single in-line processor เปรียบเทียบ
upper memory block หน่วยความจำส่วนบนใช้ตัวย่อว่า UMB (อ่านว่า ยูเอ็มบี) หมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำที่อยู่ตอนบน ที่อาจเก็บไว้ใช้งานเฉพาะอย่าง ทำให้เหมือนกับมีหน่วยความจำมากขึ้น โปรแกรมในระบบดอส (DOS) ที่ชื่อ EMM 386. EXE เป็นผู้จัดการสร้างส่วนนี้ในหน่วยความจำให้
หน่วยความจำภาพหมายถึง ส่วนหนึ่งของแรม (RAM) ที่ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่คอมพิวเตอร์กำลังแสดงผลอยู่บนจอภาพ ปกติ หน่วยความจำส่วนนี้ของพีซีจะใช้เนื้อที่กว่า 640 Kมีความหมายเหมือน video RAMดู RAM ประกอบ
หน่วยความจำเสมือนหมายถึง การเขียนโปรแกรมให้ใช้หน่วยความจำได้มากกว่าที่เครื่องมีอยู่ เป็นต้นว่า คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำหลัก 8 เมกะไบต์ แต่สามารถใช้ได้เสมือนมีหน่วยความจำ 1 กิกะไบต์ เป็นต้น การที่จะทำเช่นนี้ได้ย่อมขึ้นกับระบบปฏิบัติการ (operating system) และตัวเครื่อง (hardware) ด้วย