ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ[เทคโนโลยีการศึกษา]
สารสนเทศศาสตร์[เทคโนโลยีการศึกษา]
สารสนเทศ[เทคโนโลยีการศึกษา]
เทคโนโลยีสารสนเทศ[เทคโนโลยีการศึกษา]
แหล่งสารสนเทศ[เทคโนโลยีการศึกษา]
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์[เทคโนโลยีการศึกษา]
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ[เทคโนโลยีการศึกษา]
ระบบสารสนเทศเืพื่อการจัดการ[เทคโนโลยีการศึกษา]
บริการสารสนเทศแบบออนไลน์[เทคโนโลยีการศึกษา]
องค์การแห่งชาติสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการมาตรฐานสารสนเทศ[เทคโนโลยีการศึกษา]
สาระสังเขปให้ความรู้[เทคโนโลยีการศึกษา]
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
บริการสารสนเทศแบบออนไลน์, Example:<p>บริการสารสนเทศแบบออนไลน์ คือ การให้บริการสารสนเทศผ่านทางระบบออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ผู้จัดการสารสนเทศสามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา สารสนเทศแบบออนไลน์ ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journals) รวมทั้งฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database)[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
รายละเอียดทางบรรณานุกรม[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ชีวสารสนเทศศาสตร์, Example:<p>ชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics) เป็นสาขาที่เกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ทางชีววิทยาการแพทย์ โดยเน้นปัญหาการเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลรหัสพันธุกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับวิทยาศาสตร์การคำนวณ (Computational Science) ช่วยให้การทำงานและวิจัยด้านนี้เป็นไปอย่างก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ <p>ตัวอย่างงานชีวสารสนเทศ ได้แก่ โครงการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ (Human Genome Project) การถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อโรคหรือพืชที่สำคัญ และการผลิตยาใหม่ เป็นต้น <p>ชีวสารสนเทศศาสตร์ได้รับการกล่าวถึงว่าจะมีความสำคัญอย่างมากในศตวรรษที่ 21 บุคลากรด้านชีวสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างมาก มีการเห็นความสำคัญในการจัดให้ชีวสารสนเทศเป็นศาสตร์เฉพาะทางและจัดให้มีการสอนเป็นหลักสูตรขึ้น ในปัจจุบันการพัฒนาบุคลากรด้านนี้สามารถกระทำได้ โดยการสอนความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์การคำนวณแก่บุคลากรด้านชีววิทยาการแพทย์ เช่น นักอณูชีววิทยา นักเคมี แพทย์ เภสัชกร และนักวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ <p>งานหลักของชีวสารสนเทศคือการสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลชีววิทยา (Biological Database) ที่บรรจุข้อมูลบรรณานุกรม การเรียงสายของโปรตีน (Protein Sequence) โครงสร้างโปรตีน (Protein Structure) หน้าที่โปรตีน (Protein Function) หมวดโปรตีน (Pattern/Family) และรหัสพันธุกรรม (Necleotide Sequence) เป็นต้น <p>บรรณานุกรม <p>Available at : http://www.si.mahidol.ac.th/simi/bioinfo/bi_what.html. Accessed July 31, 2012.[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
แหล่งข้อมูลที่กำหนด, Example:ในการลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือ บรรณารักษ์จะต้องทราบว่า จะสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งที่ได้มีการกำหนดร่วมกันซึ่งเป็นหลักการของการลงรายการ ซึ่งหมายถึง แหล่งสำคัญของข้อมูล สำหรับเอกสารตีพิมพ์นั้น แหล่งสำคัญของข้อมูล คือ หน้าปกใน ถ้าไม่มีหน้าปกใน ให้ใช้แหล่งในตัวเล่มซึ่งใช้แทนหน้าปกใน สำหรับเอกสารตีพิมพ์ออกมาโดยไม่มีหน้าปกใน หรือไม่มีหน้าปกในที่ให้รายละเอียดได้ทั้งหมด ให้ใช้ส่วนอื่นของเล่มที่ให้ข้อมูลสมบูรณ์ที่สุด ไม่ว่าส่วนนั้นจะเป็นหน้าปก (ไม่่รวมใบหุ้มปกที่แยกต่างหากออกจากตัวเล่ม) หน้าชื่อเรื่อง (half title page) ชื่อนำเนื้อเรื่อง (caption) การแจ้งตอนท้ายเล่มซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อเรื่อง ผู้แต่ง สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ ปีที่พิมพ์ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือรายอย่างและอาจจะรวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ด้วย ชื่อเรื่องประจำหน้า (running titole) หรือส่วนอื่น ถ้าไม่มีส่วนใดในตัวเล่มให้ข้อมูลที่จะสามารถใช้เป็นหลักในการลงรายการ ให้ใช้ข้อมูลที่จำเป็นจากแหล่งอื่นที่มี ถ้าข้อมูลที่ควรจะปรากฏอยู่ในหน้าปกในไปปรากฏอยู่ในหน้าติดกัน (facing pages) หรือในหน้าถัดๆ ไป จะซ้ำักันหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าหน้าเหล่านี้เป็นหน้าปกใน ให้ใช้การแจ้งตอนท้ายเล่ม (colophon)เป็นแหล่งสำคัญของข้อมูล [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การสื่อสารทางสารสนเทศศาสตร์[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
สารสนเทศ, สนเทศ, สารนิเทศ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ศูนย์สารสนเทศ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
นักเอกสารสนเทศ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ทรัพยากรสารสนเทศ, Example:<p>ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง สื่อหรือวัสดุที่ใช้ในการบันทึกสารสนเทศและความรู้ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. ทรัพยากรสารสนเทศตีพิมพ์ (Printed materials) 2. ทรัพยากรสารสนเทศไม่ตีพิมพ์ (Non-printed materials) และ 3. ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic materials) <p>1. ทรัพยากรสารสนเทศตีพิมพ์ (Printed materials) หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่ผลิตเป็นสิ่งพิมพ์ โดยผ่านกระบวนการตีพิมพ์ เช่น ตำรา หนังสืออ้างอิง รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ นวนิยายและเรื่องสั้น นิตยสารและวารสาร และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น <p>2. ทรัพยากรสารสนเทศไม่ตีพิมพ์ (Non-printed materials) หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่นำเสนอความรู้ผ่านประสาทสัมผัสทางหูและตาเป็นหลัก ซึ่งไม่ผ่านกระบวนการตีพิมพ์ แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ โสตทัศนวัสดุ และวัสดุย่อส่วน <p>3. ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic materials) หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องใช้ระบบแสงเลเซอร์ หรือคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการอ่านหรือฟัง โดยมีชุดคำสั่งระบบจัดการฐานข้อมูล ทำหน้าที่ควบคุมการจัดการและการใช้ฐานข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลซีดี-รอม และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
สารสนเทศศาสตร์[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
นักเอกสารสนเทศ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ, Example:<p>ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ หรือ ระบบการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการที่มีการคัดเลือก ควบคุม โครงสร้างสารสนเทศ การจัดหา การจัดเก็บสารสนเทศเพื่อการเข้าถึงและกระบวนการใด ๆ ในการแสวงหาทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมการค้นหา การดึงสารสนเทศที่เข้าเรื่องจากแหล่งภายในและภายนอก ให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศตามความต้องการ โดยเป็นทั้งระบบที่จัดทำด้วยแรงงานคนและด้วยคอมพิวเตอร์ โดยมีสถาบันบริการสารสนเทศมีบทบาทหน้าที่ในการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศในช่องทางที่เป็นทางการ และเป็นตัวกลางที่สำคัญเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับทรัพยากรสารสนเทศ <p>พัฒนาการของการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ มี 2 ช่วงคือ ช่วงก่อนทศวรรษ 1960 และ ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 <p>1. ช่วงก่อนทศวรรษ 1960 เป็นการพัฒนาระบบจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในรูปสิ่งพิมพ์ของสถาบันบริการสารสนเทศประเภทห้องสมุด การจัดหมวดหมู่ซึ่งพัฒนามาเป็นระบบหมวดหมู่ทศนิยมดิวอี้ และ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน รวมทั้งการจัดทำดรรชนีและสาระสังเขปด้วยระบบมือ การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีระยะแรก มีการพัฒนาเทคโนโลยีไมโครกราฟิก ซึ่งเป็นการถ่ายภาพย่อส่วนสารสนเทศจากสื่อ เช่น กระดาษลงฟิล์ม เทคโนโลยีในการค้นคืนระบบแรก เป็นเทคนิคการทำเครื่องมือค้นประเภทบัตรเจาะบันทึกหัวเรื่อง การทำดรรชนี เช่น ควิก และริเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ทำบัตรรายการ <p>2. ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เป็นพัฒนาการด้านการวิจัยและพัฒนาระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญ เช่น การพัฒนากลุ่มความร่วมมือระหว่างสถาบันบริการสารสนเทศและฐานข้อมูลร่วมขนาดใหญ่ คือ โอซีแอลซี (OCLC : Online Computer Library Center) และอาร์แอลไอเอ็น (RLIN : Research Libraries Information Network) บริการค้นคืนสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เช่น กลุ่มไดอะลอก ออบิต และอินเทร์เน็ตกับการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ <p>บรรณานุกรม <p>มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์. (2545). แนวการศึกษาชุดวิชาการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ : Information storage and retrieval หน่วยที่ 1-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
เทคโนโลยีสารสนเทศ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
สาระสังเขปประเภทให้ความรู้, สาระสังเขปให้ความรู้, Example:หมายถึง สาระสังเขปที่เขียนถึงประเด็นสำคัญๆ จุดเด่นของเนื้อเรื่อง และเป็นการย่อเรื่องให้ผู้อ่านทราบโดยกล่าวถึงบทความหรือต้นฉบับอย่างสมบูรณ์ เป็นสาระสังเขปที่ให้รายละเอียดมากกว่าสาระสังเขปประเภทพรรณนา <p>ตัวอย่างสาระสังเขปประเภทให้ความรู้ จาก ประชากรศึกษา : โครงสร้างและวิธีการนวัตกรรม : รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการภูมิภาค <p>เอกสารฉบับนี้ รายงานรายละเอียดของการประชุมเชิงปฏิบัติการภูมิภาค เรื่อง โครงสร้างและวิธีการนวัตกรรมสู่ประชากรศึกษา จัดโดยองค์การยูเนสโกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่กรุงนิวเดลี ระหว่างวันที่ 23-29 ตุลาคม ค.ศ. 1979 มีผู้เข้าร่วมในการประชุม จำนวน 35 คน จาก 12 ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก การประชุมครั้งนี่้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อช่วยให้ประเทศที่มีโครงการประชากรศึกษาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน 2)เพื่อช่วยให้ประเทศที่เริ่มมีประชากรศึกษาสามารถวางโครงสร้าง วิธีการ ทางเลือกของนวัตกรรมเพื่อประสิทธิผลในการดำเนินการต้้านต่างๆ ของโครงการประชากรศึกษา รายงานนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน ในส่วนแรกจะเป็นบทปริทัศน์และบทวิเคราะห์ของประสบการณ์ของประเทศต่างๆ ทางด้้านโครงการ และวิธีการนวัตกรรมประชากรเพื่อรับสนองโครงการทางประชากรศึกษา โดยจัดกลุ่มประสบการณ์ดังกล่าวภายใต้หัวข้อดังนี้ ก) การพัฒนาและวางแผนโครงการ ข) ความตื่นตัวและการปฐมนิเทศ ค) องค์การทางการบริหารของโครงการการศึกษาของทั้งระบบในและนอกโรงเรียน ทั้งนี้่โดยจัดแบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่มตามประสบการณ์ข้างต้น เพื่ออภิปรายในรายละเอียดของ 4 หัวข้อย่อยของโครงการ คือ (1) การพัฒนาโครงการและการวิจัยและประเมินผล (2) ความตื่นตัว การปฐมนิเทศ และการฝึกอบรม (3) การพัฒนาหลักสูตรและอุปกรณ์ และ (4) การประสานงานระหว่างหน่วยงาน นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ความได้เปรียบเสียเปรียบ และปัญหาของโครงสร้างและวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งเสนอแนะตัวแบบทางเลือก และแบบแผนของโครงการแต่ละหัวข้อ ส่วนที่สองของรายงานประกอบด้วย รายงานเฉพาะประเทศที่แต่ละประเทศได้บรรยายถึงสถานการณ์ประชากรและประสบการณ์นวัตกรรมของประชากรศึกษาของการศึกษาในและนอกโรงเรียน ส่วนที่สามเป็นภาคผนวก <p>กุลธิดา บุญอิต. "การทำสาระสังเขป" ใน เอกสารการสอนชุดวิชา หน่วยที่ 12-15 การวิเคราะห์สารสนเทศฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ระบบสารสนเทศเืพื่อการจัดการ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
องค์การแห่งชาติสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการมาตรฐานสารสนเทศ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การค้นข้อสนเทศ, Example:<p>การค้นข้อสนเทศ หรือ การค้นคืนสารสนเทศ มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อค้นคืนเอกสารทั้งหมดในทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าเรื่องกับความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ออกมา โดยมีเอกสารที่ไม่เข้าเรื่องปะปนออกมาให้น้อยที่สุด การค้นคืนสารสนเทศมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 2 ส่วน คือ <p>1. การจัดทำตัวแทนสาระของเอกสาร และตัวแทนความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ <p>2. การจับคู่เพื่อเปรียบเทียบระหว่างตัวแทนทั้งสองนี้ (ตัวแทนสาระของเอกสาร และตัวแทนความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้) <p>ระบบค้นคืนสารสนเทศ จำแนกประเภทได้หลายวิธี ที่สำคัญคือการจำแนกประเภทของระบบตามประเภทของสารสนเทศที่จัดเก็บและค้นคืนได้ ได้แก่ ฐานข้อมูลบรรณานุกรม ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม ฐานข้อมูลตัวเลข ฐานข้อมูลภาพ และฐานข้อมูลมัลติมีเดีย <p>กระบวนการค้นหาสารสนเทศ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ <p>1. การทำความเข้าใจกับความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ <p>2. การคัดเลือกระบบค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสม <p>3. การกำหนดความต้องการสารสนเทศในรูปแนวคิดและคำค้น <p>4. การกำหนดกลยุทธ์การค้น <p>5. การดำเนินการค้นและทบทวนผลการค้น <p>ปัจจัยสนับสนุนในการค้นหาสารสนเทศ ได้แก่ <p>1. การสัมภาษณ์ผู้ใช้ก่อนการค้นหา เช่น ประเภทของสารสนเทศที่ต้องการ ลักษณะการนำสารสนเทศไปใช้ ระดับความลุ่มลึก และปริมาณของสารสนเทศที่ต้องการ <p>2. เกณฑ์การคัดเลือกระบบค้นคืนสารสนเทศ เช่น ขอบเขต ความทันสมัย ระยะเวลา เนื้อหาสาระ ค่าใช้จ่าย <p>3. เทคนิคสำคัญในการค้นหาสารสนเทศ เช่น การกำหนดคำค้นด้วยศัพท์ควบคุม (Control vocabulary) และศัพท์ไม่ควบคุม (Uncontrol vocabulary) การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคำค้นด้วยตรรกะบูเลียน เทคนิคการตัดคำ และเทคนิคการระบุเขตข้อมูล <p>บรรณานุกรม <p>มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์. (2545). แนวการศึกษาชุดวิชาการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ : Information storage and retrieval หน่วยที่ 1-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การค้นข้อสนเทศข้ามภาษา[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
เครือข่ายสารสนเทศ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
เครือข่ายห้องสมุด, Example:<p>ปัจจุบันหน่วยงานห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ จากสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชน รวมทั้งหน่วยงานราชการ องค์กรวิจัย หลายแห่งในประเทศไทยดำเนินการจัดหาหรือบอกรับทรัพยากรสารสนเทศในรูปสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะฐานข้อมูลออนไลน์วิชาการ เพื่อเป็น แหล่งบริการความรู้ สนับสนุนการเรียนการสอน การศึกษา ค้นคว้าวิจัย แก่บุคลากรในสังกัด ให้สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ตลอดเวลา ซึ่งค่าใช้จ่ายในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมีราคาสูงขึ้นมากตลอดมาอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดภาระแก่ห้องสมุด ในการของบประมาณในการ บอกรับแต่ละปี ห้องสมุดจึงได้พยายามลดค่าใช้จ่ายหลากหลายวิธี และใช้ประโยชน์จากการบอกรับให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น การสร้างเครือ ข่ายความร่วมมือ ในการจัดหาและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ร่วมกัน โดยการหาแนวทางแบ่งปันการใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน เพื่อเป็นการ ประหยัดงบประมาณในการจัดหา และเป็นการใช้ฐานข้อมูลให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า <p>เครือข่ายห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาทุกประเภทในประเทศไทย มีจำนวน 5 เครือข่าย คือ <p>1. เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลาง (Thailinet) <p>2. เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Pulinet) <p>3. เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ <p>4. เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล <p>5. เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ทฤษฎีสารสนเทศ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
นโยบายสารสนเทศ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
บริการสารสนเทศ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การค้นข้อสนเทศข้ามภาษา[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การค้นข้อสนเทศ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ชีวสารสนเทศศาสตร์[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การเปลี่ยนรูป (กลศาสตร์)[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การเปิดเผยข้อมูล[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การรู้สารสนเทศ, Example:<p>หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ <p>สมาคมห้องสมุดแห่งอเมริกัน (American Library Association) ได้กำหนดองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 4 ประการดังนี้คือ [ 1 ] <p>1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการหรือจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เข้าใจถึงความสำคัญของสารสนเทศว่าใช้ประโยชน์และช่วยในการทำงานหรือการเรียนได้ดีขึ้นอย่างไร หมายรวมถึงการรู้ถึงหัวข้อเรื่อง ขอบเขตที่ต้องการ รูปแบบและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ <p>2. ความสามารถในการค้นหาและเข้าถึงสารสนเทศ คือ การรู้ว่าจะได้สารสนเทศที่ต้องการได้จากแหล่งใด และจะค้นคืนอย่างไร <p>3. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ หมายถึง ความสามารถในการสรุปแนวคิดหลักจากสารสนเทศที่รวบรวมมาได้ โดยอาศัยหลักเกณฑ์การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ คือ ความน่าเชื่อถือ ความเที่ยงตรง ความถูกต้อง และความทันสมัย รวมถึงการคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศที่ได้มา <p>4. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่มีอยู่ในการวางแผนและสร้างผลงานของตนเอง และสามารถเผยแพร่ผลงานนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ <p>ขณะที่ Unesco ก็ได้ให้ความสำคัญและเห็นว่าทุกคนควรมีโอกาสที่จะได้รับทักษะ เพื่อความเข้าใจ การมีส่วนร่วม การได้รับผลประโยชน์จากสังคมความรู้ แต่ด้วยการเกิดภาวะที่สารสนเทศเติบโตขึ้นมากจากหลายแหล่ง และอย่างรวดเร็ว ต้องมีการพิจารณาให้มีการใช้สารสนเทศอย่างฉลาด ซึ่งจะช่วยผู้ใช้พัฒนาทักษะ และความเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องการหามีกระบวนการ และการใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำได้ผ่าน 3 รูปแบบ คือ The Big 6, Seven Pillars และ Empowering Eight <p>The Big 6 เป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันมา พัฒนาโดยบรรณารักษ์ชาวอเมริกัน 2 คน คือ ไมค์ ไอเซนเบิร์ก และ บอบ เบอร์โควิทซ์ คือ 1. Task Definition 2. Information-seeking strategies 3. Location and access 4. Use of information 5. Synthesis และ 6. Evaluation <p>Seven Pillars The Information Skills Taskforce of the Standing of National and University Libraries in the United States Kingdom (SCONUL) ได้พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1999 คือ 1. Recognize information need 2. Distinguish ways of addressing gap 3. Construct strategies for locating 4. Locate and access 5. Compare and evaluate 6. Organize, apply and communicate และ 7. Synthesis and create <p>Empowering Eight ผู้เข้าร่วมประชุมในงาน International Workshop on Information Skills for Learning in Columbo, Sri Lanka ได้พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในกลุ่ม South and South East Asia ในปี ค.ศ. 2004 คือ 1. Identify 2. Expore 3. Select 4. Organize 5. Create 6. Present 7. Create และ 8. Apply <p>แหล่งข้อมูล <p>[ 1 ] American Library Association. Association of College and Research Libraries. Information Literacy Competency Standards for Higher Education. http://www.ala.org/ala/mgrps/divs/acrl/standards/informationliteracycompetency.cfm (accessed June 6, 2011). <p>[ 2 ] สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์. (2552). Information Literacy. http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=2834&Itemid=1 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2554) [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ข้อมูลข่าวสารของราชการทางอิเล็กทรอนิกส์[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ความดันของไหลในชั้นหิน , Formation Pore Pressure หรือ Formation Pressure คือ ความดันของไหลในชั้นหิน ของไหลที่แทรกตัวอยู่ในช่องว่างของชั้นหิน ซึ่งอาจเป็นก๊าซ น้ำมัน หรือ น้ำ, Example:จะมีความดันภายในตัวเองที่เกิดจากน้ำหนักตัวของไหลเองและแรงบีบอัด อันเกิดจากน้ำหนักหินกดทับลงมา แล้วทำให้ช่องว่างในหินลดขนาดลง (Compaction) ของไหลที่อยู่ในช่องว่างของหินก็จะออกแรงดันต้านกลายเป็นความดันของไหลในชั้นหิน (formation pore pressure) ในบางครั้งจะเรียกความดันที่เกิดจากของไหลในชั้นหินว่า ความดันชั้นหิน (formation pressure) ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการควบคุมหลุมเจาะ[ปิโตรเลี่ยม]
การสร้างสมทุน[เศรษฐศาสตร์]
สารสนเทศทางเศรษฐกิจ[เศรษฐศาสตร์]
รหัสตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ที่กำหนดมาตรฐานโดยสำนักงานมาตรฐานของสหรัฐเมริกาสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์ต่างๆ, Example:รหัสแอสกีพื้นฐานใช้เพียง 7 บิต 8 บิต เพื่อใช้แทนสัญลักษณ์ภาพกราฟิกต่างๆ ส่วนทางประเทศไทยก็ได้อาศัยส่วนขยายนี้กำหนดเป็นรหัสภาษาไทยไว้ใช้งานด้วย เรียกว่าเป็นรหัส สมอ.[คอมพิวเตอร์]
การปลูกถ่ายเซลล์[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]