ก. ละเมิด เช่น ภิกษุก้าวล่วงสิกขาบท.
น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน.
(จอระ-) ก. ล่วงไป, ลับไป.
ก. ผ่าน (ใช้แก่เวลาและสถานที่) เช่น เวลาล่วงไปหลายปี ล่วงเข้าเขตเมือง, ผ่านพ้นเกินเข้าไป เช่น ล่วงเข้าไปในเขตหวงห้าม, ล่วงล้ำ ก็ว่า.
ก. แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณีหรือจรรยามารยาทด้วยการลวนลาม ดูหมิ่น สบประมาท เป็นต้น เช่น ไม่ควรล่วงเกินพ่อแม่ด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.
ก. ประพฤติผิดเมียของผู้อื่น.
ก. ผ่านพ้น, บางทีก็ใช้เพียง ล่วง คำเดียว.
ก. รู้เสียก่อน, รู้ทัน, เช่น ล่วงรู้ความลับของผู้อื่น.
ก. ตาย เช่น เขาล่วงลับไปแล้ว.
ก. ผ่านพ้นเกินเข้าไป, บุกรุก, ละเมิด, เช่น ข้าศึกล่วงล้ำชายแดน, บางทีก็ใช้เพียง ล่วง คำเดียว.
ก. ผ่านพ้น เช่น เหตุการณ์ล่วงเลยไปแล้ว ไม่ควรปล่อยวันเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์, บางทีก็ใช้เพียง ล่วง คำเดียว.
ก. บังอาจว่าเขา, กล่าวต่อไปอีกเฉพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
ว. เกินเวลาหรือนอกเวลาที่มีกำหนดไว้ เช่น เงินค่าล่วงเวลา ทำงานล่วงเวลา.
ว. ก่อนกำหนด เช่น ไปล่วงหน้า รับเงินล่วงหน้า.
ก. เอามือสอดเข้าไปในที่ซึ่งเป็นช่องเป็นรู เช่น เดินเอามือล้วงกระเป๋ากางเกง, โดยปริยายหมายความว่า หยั่งเอาความรู้ความคิดที่เขาปิดบังไว้ เช่น ล้วงความลับ ล้วงข้อสอบ.
ก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วงกระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ไม่สุภาพ
ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.
ก. หยิบฉวยเอาสิ่งของเป็นต้นไปโดยพลการ เช่น มาล้วงควักข้าวสาร ถ่าน เกลือของเจ้าของบ้านไป.
ก. บังอาจลักขโมยหรือล่อลวงเอาทรัพย์สินเป็นต้นจากผู้ที่น่าเกรงขาม.
ก. หลอกลวงให้ตายใจเพื่อล้วงเอาความลับเป็นต้น.
ก. ล่วงเกิน, อาจเอื้อม, เช่น การถามเรื่องส่วนตัวถือเป็นการละลาบละล้วง.
ก. สำเร็จ (ในสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามบ้าง) เช่น โครงการนี้ลุล่วงไปด้วยดี.
คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [ กะถินนะกาน ] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่าเทศกาลกฐิน [ เทดสะกานกะถิน ] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [ บอริวานกะถิน ] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [ อะนุโมทะนากะถิน ] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน , ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
ก. เคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากซึ่งเคลื่อนย้ายยาก เช่นเสา เสาเข็ม หรืออื่น ๆ วิธีคือนำไม้หรือวัตถุอื่นที่มีความยาวและแข็งแรงพอ มาปักลงบนพื้นให้ปลายไม้ล้ำเข้าไปใต้วัตถุด้านตรงข้ามกับทิศทางที่ต้องการจะเคลื่อนย้าย แล้วงัดวัตถุนั้นให้เคลื่อนที่.
น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทองโดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์เฝ้าพระบาท (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎรล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราชสุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ (สามดวง).
เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่ง ว่า ปีกลาย.
ก. เข้าไปปะปน, ล่วงเข้าไป.
(กฺลืน) ก. อาการที่ทำให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลำคอลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ ในความหมายเช่นทำให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สำแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.
ดูเหมือนเร็ว ๆ นี้ เช่น ดูกะล่อยกะหลิบเมื่อไม่นานมานี่เอง ล่วงเข้ามาหลายเดือนแล้ว.
ก. ไม่ให้ล่วงพ้นเขตที่กำหนดไว้, กำหนดเขตให้อยู่, เช่น กักตัว, กักกัน ก็ว่า
ก. ไม่ให้ล่วงพ้นเขตที่กำหนดไว้, กำหนดเขตให้อยู่, กัก ก็ว่า.
ก. กระโดด, ข้าม, ผ่าน, ล่วง, พ้น, เช่น มหาโพยมกันลองดศรีรไถงถา (กล่อมช้างของเก่า).
ก. ล่วงลํ้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวหน้าที่ผู้อื่น, เหลื่อมลํ้าไม่เป็นระเบียบ เช่น งานก้าวก่ายกัน.
ว. เกะกะระราน (ใช้แก่กิริยาและวาจาที่กระด้างและล่วงเกินผู้อื่น).
น. การที่จะพูดหรือทำอะไร ให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไรก็อาจมีคนล่วงรู้ได้.
ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินนํ้า, ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ
น. เวลาที่ล่วงไปหยก ๆ, มักใช้ประกอบกับคำ เมื่อ เมื่อแต่ หรือ เมื่อตะ เป็น เมื่อกี้ เมื่อแต่กี้ เมื่อตะกี้ หรือ เมื่อกี๊ เมื่อแต่กี๊ เมื่อตะกี๊.
(เกฺริ่น) ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนำในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิงให้ร้องตอบ
ว. ล่วง เช่น ตกพ่างบุษบนนเกิง ขาดขว้นน (ทวาทศมาส).
ก. แก้ข้อขัดข้องให้ลุล่วงไปชั่วคราว.
ก. แก้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้.
ผู้หญิงที่ถูกล่อลวงมาเพื่อล่วงละเมิดทางเพศ.
ก. ขอไม่ให้เอาโทษในสิ่งที่ได้ล่วงละเมิดหรือล่วงเกิน เช่น เขามาขอขมาญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช, ขอษมา หรือ ขอษมาลาโทษ ก็ว่า.
ก. ขอให้ยกเว้นโทษ, ใช้เป็นคำสุภาพเมื่อรู้สึกว่าจะเป็นการล่วงเกินผู้อื่น.
(ขันทดสะกอน) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทยอย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธ-รสเรณูโรยร่วงลงบนใบอุบล ซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาลก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการโอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร (ม. ร่ายยาว จุลพน).