การฉายรังสี[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
รังสีพื้นหลัง, รังสีจากสิ่งแวดล้อมซึ่งมีที่มาจากหลายแหล่ง เช่น รังสีคอสมิกจากอวกาศ รังสีจากสารกัมมันตรังสีตามธรรมชาติที่มีอยู่ในดิน น้ำ อากาศ อาหาร รวมทั้งที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ (ดู natural exposure ประกอบ)[นิวเคลียร์]
การแผ่รังสีเซเรนโกฟ, ปรากฏการณ์เรืองแสงเมื่ออนุภาคที่มีประจุเคลื่อนผ่านวัสดุโปร่งใส ด้วยความเร็วที่สูงกว่าความเร็วของแสงในวัสดุนั้น เช่น ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หรือเครื่องฉายรังสีแกมมาแบบสระน้ำ จะเห็นการแผ่รังสีนี้เป็นแสงเรืองสีฟ้า พาเวล อเล็กเซวิช เซเรนโกฟ (Pavel Alexsejevich Cerenkov) เป็นคนแรกที่อธิบายปรากฏการณ์นี้[นิวเคลียร์]
รังสีคอสมิก, รังสีจากอวกาศซึ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก มีองค์ประกอบโดยประมาณ ได้แก่ โปรตอนร้อยละ 87 รังสีแอลฟาร้อยละ 11 รังสีอนุภาคหนักที่มีเลขเชิงอะตอมระหว่าง 4 ถึง 26 ร้อยละ 1 และ อิเล็กตรอนร้อยละ 1[นิวเคลียร์]
รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กที่ประสาน และมีอันตรกิริยาต่อกัน เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุ รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ รังสีเหล่านี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง และสามารถผ่านสุญญากาศได้[นิวเคลียร์]
หัวรบเพิ่มสมรรถนะรังสี, อีอาร์ดับเบิลยู, หัวรบที่เป็นลูกระเบิดนิวตรอน (ดู neutron bomb ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์]
รังสีนอกร่างกาย, รังสีที่มนุษย์ได้รับจากแหล่งกำเนิดรังสีที่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น รังสีคอสมิก และรังสีจากต้นกำเนิดรังสีชนิดต่างๆ (ดู source ประกอบ)[นิวเคลียร์]
บริเวณรังสีสูงมาก, บริเวณที่มีการแผ่รังสีปริมาณสูงมากซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณนั้นที่ระยะห่าง 1 เมตร จากต้นกำเนิดรังสี หรือ พื้นผิวที่รังสีทะลุผ่านได้รับปริมาณรังสีดูดกลืนเกิน 5 เกรย์ ในเวลา 1 ชั่วโมง การรับรังสีปริมาณสูงมากมักจะวัดในหน่วยของปริมาณรังสีดูดกลืน เนื่องจากให้ค่าการวัดที่แม่นยำกว่าการวัดปริมาณรังสีสมมูล, Example: [นิวเคลียร์]
รังสีเทอร์มัล, รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกจากลูกไฟจากการระเบิดทางนิวเคลียร์ ซึ่งมีอุณหภูมิสูงมาก รังสีเทอร์มัลอยู่ในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต รังสีอินฟราเรด และแสงสว่าง คิดเป็นร้อยละ 35 ของพลังงานทั้งหมดจากการระเบิด[นิวเคลียร์]
รังสีจากพื้นโลก, รังสีจากสารกัมมันตรังสีที่มีอยู่บนพื้นโลก เป็นรังสีที่มนุษย์ได้รับจากภายนอกร่างกายปีละประมาณ 410 ไมโครซีเวิร์ต ส่วนที่มีผลเป็นปริมาณรังสีต่อมนุษย์คือรังสีแกมมา ซึ่งปลดปล่อยมาจากนิวไคลด์รังสีที่มีกำเนิดมาพร้อมกับโลก (ดู Primordial radionuclides) ได้แก่ สารกัมมันตรังสีในอนุกรมยูเรเนียม อนุกรมทอเรียม และสารกัมมันตรังสีโพแทสเซียม (K-40)[นิวเคลียร์]
ผลไม่ชัดเจน , ผลของรังสีที่คาดคะเนจากข้อมูลทางสถิติของผู้ที่ได้รับรังสี โดยโอกาสเกิดผลกระทบจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณรังสี แต่ความรุนแรงของผลกระทบไม่ขึ้นกับปริมาณรังสี เช่น โอกาสของการเกิดมะเร็งจะเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับปริมาณรังสีสูงขึ้น[นิวเคลียร์]
ต้นกำเนิดรังสี, แหล่งกำเนิดรังสี, วัสดุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สามารถแผ่รังสีชนิดก่อไอออนออกมา ไม่ว่าจะเป็นการแผ่รังสีด้วยการแปลงนิวเคลียสของตัวเองหรือด้วยวิธีอื่นๆ เช่น สารกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสีชนิดต่างๆ, Example: [นิวเคลียร์]
การจับยึดแบบปล่อยรังสี, กระบวนการจับยึดทางนิวเคลียร์โดยนิวเคลียสแล้วแผ่เฉพาะรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาทันที เช่น เมื่อนิวเคลียสจับยึดนิวตรอนแล้วปล่อยรังสีแกมมาออกมา[นิวเคลียร์]
รังสีนิวเคลียร์, การแผ่รังสีของนิวเคลียส, รังสีในรูปของอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสี เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมา <br>(ดู radiation ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br>[นิวเคลียร์]
สัญลักษณ์เตือนภัยจากรังสี, สัญลักษณ์สากลที่กำหนดขึ้นเพื่อเตือนให้ทราบว่ามีรังสี หรือให้ระวังรังสี ประกอบด้วยใบพัด 3 แฉก สีม่วง หรือสีดำ อยู่บนพื้นสีเหลือง สัญลักษณ์นี้ใช้ติดที่ภาชนะบรรจุวัสดุกัมมันตรังสี หรือบริเวณที่มีรังสี[นิวเคลียร์]
รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br>[นิวเคลียร์]
กลุ่มอาการป่วยจากรังสี, กลุ่มอาการที่ปรากฏเมื่อมนุษย์ได้รับรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจากภายนอกทั่วร่างกายในระยะเวลาสั้นๆ มี 3 กลุ่มอาการขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับ ได้แก่ กลุ่มอาการทางไขกระดูกหรือกลุ่มอาการทางระบบเลือด กลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร และกลุ่มอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง ทุกกลุ่ม จะแสดงอาการเป็น 3 ระยะ คือ <br>-ระยะเริ่มต้น (prodromal stage) มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย</br> <br>-ระยะแอบแฝง (latent stage) เป็นระยะที่ไม่แสดงอาการ</br> <br>-ระยะแสดงอาการที่แท้จริง (manifest illness stage) มีอาการที่แสดงถึงความเสียหายของอวัยวะ</br> <br>(ดู bone marrow syndrome, cerebrovascular syndrome และ gastrointestinal syndrome ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
การทำหมันแมลงด้วยรังสี, การฉายรังสีแมลงในระยะใดๆ ของการเจริญเติบโต เพื่อทำให้เป็นหมัน โดยแมลงตัวเมียไม่สามารถผลิตไข่ หรือตัวผู้ไม่สามารถสร้างสเปิร์ม หรือสเปิร์มไม่แข็งแรงไม่สามารถผสมกับไข่ได้ หรือแมลงไม่สามารถจับคู่ผสมพันธุ์ได้ หรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้วไม่ฟักออกเป็นตัว เนื่องจากการกลายของเซลล์สืบพันธุ์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิด ระยะการเจริญเติบโตของแมลง และปริมาณรังสีที่ใช้ <br>(ดู sterile insect technique (SIT) ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์]
การยับยั้งการงอกด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารประเภทพืชหัวด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 0.15 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุมหรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ทำให้เกิดการงอก ยังผลให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานหลายเดือน ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเน่าเสีย อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อยับยั้งการงอก เช่น หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง กระเทียม <br>(ดู food irradiation ประกอบ) </br>[นิวเคลียร์]
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี, เจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการป้องกันรังสีที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย และได้รับการแต่งตั้งจากผู้รับใบอนุญาตให้ดูแลด้านความปลอดภัยทางรังสีตามข้อกำหนด[นิวเคลียร์]
ความปลอดภัยจากรังสี, การป้องกันหรือลดอุบัติเหตุต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากต้นกำเนิดรังสี หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น โดยมีมาตรการบรรเทาผลแก่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ประชาชน และสิ่งแวดล้อมภายหลังจากที่เกิดเหตุขึ้น, Example: [นิวเคลียร์]
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี, เจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการป้องกันรังสีที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย และได้รับการแต่งตั้งจากผู้รับใบอนุญาตให้ดูแลด้านความปลอดภัยทางรังสีตามข้อกำหนด[นิวเคลียร์]
การป้องกันรังสี, การดำเนินการตามกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการ และวิธีปฏิบัติ ซึ่งกำหนดขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย เพื่อควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีและประชาชนทั่วไปได้รับรังสีชนิดก่อไอออนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ALARA: as low as reasonably achievable)[นิวเคลียร์]
การชักนำให้เป็นหมันในรุ่นลูกด้วยรังสี, การใช้รังสีชักนำให้แมลงศัตรูพืชในกลุ่มผีเสื้อเป็นหมันแบบไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะถ่ายทอดความเป็นหมันแบบสมบูรณ์ในรุ่นลูก โดยไม่ทำให้พฤติกรรมและความสามารถในการผสมพันธุ์เสียไป ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมประชากรแมลงอีกวิธีหนึ่ง <br>วิธีการนี้ประสบความสำเร็จใน หนอนเจาะสมอฝ้ายสีชมพู (pink bollworm) และหนอนทำลายแอปเปิล (codling moth) โดยใช้รังสีแกมมาที่ปริมาณ 80-200 เกรย์ </br> <br> (ดู sterile insect technique ประกอบ) </br>[นิวเคลียร์]
กีฏวิทยารังสี, วิชากีฏวิทยาแขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาผลของรังสีต่อแมลง ได้แก่ การใช้รังสีเพื่อกำจัดแมลงในผลผลิตการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อควบคุมประชากรแมลงโดยปล่อยแมลงที่เป็นหมันด้วยรังสีไปในธรรมชาติ และเพื่อปรับปรุงผลผลิตของแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตไหม <br>(ดู radiation disinfestation, sterile insect technique, radiation induced F1-sterility ประกอบ) </br>[นิวเคลียร์]
ปริมาณรังสี, ปริมาณรังสีที่วัตถุหรือสิ่งมีชีวิตได้รับ <br>(ดู absorbed dose, committed dose, effective dose, equivalent dose และ exposure dose ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
การยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแมลงด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารหรือผลิตผลการเกษตรด้วยปริมาณรังสีไม่เกิน 1 กิโลเกรย์ เพื่อทำลายแมลงและยับยั้งการแพร่พันธุ์ ทั้งนี้อาหารหรือผลิตผลการเกษตรจะต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสมเพื่อป้องกันแมลงที่จะมาทำลายหลังการฉายรังสีแล้ว อาหารหรือผลิตผลการเกษตรที่ใช้กรรมวิธีนี้ เช่น มะม่วง มะละกอ เมล็ดโกโก้ ถั่ว ข้าว ข้าวสาลี ปลาแห้ง ปลารมควัน ดอกกล้วยไม้ <br>(ดู food irradiation ประกอบ) </br>[นิวเคลียร์]
ชีววิทยารังสี, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาผลของรังสีชนิดก่อไอออนต่อสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่การดูดกลืนรังสีจนถึงผลที่แสดงออกมาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว รวมถึงศึกษาปฏิกิริยาและความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสี[นิวเคลียร์]
บริเวณรังสี, บริเวณที่มีรังสีในปริมาณที่กำหนดไม่ว่ารังสีนั้นจะมาจากวัสดุกัมมันตรังสี หรือ เครื่องกำเนิดรังสี <br>ปริมาณรังสีที่กำหนดตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 เท่ากับหรือมากกว่า 25 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมงที่ระยะ 30 เซนติเมตรจากต้นกำเนิดรังสี</br>[นิวเคลียร์]
หน่วยที่ใช้วัดปริมาณรังสีดูดกลืน, หน่วยเดิมที่ใช้วัดปริมาณรังสีดูดกลืน โดย 1 แร็ด มีค่าเท่ากับ 100 เอิร์ก (erg) ต่อกรัมของมวลสาร ปัจจุบันใช้หน่วยเกรย์แทน โดย 1 เกรย์ เท่ากับ 100 แร็ด[นิวเคลียร์]
รังสี, การแผ่รังสี, พลังงานที่แผ่จากต้นกำเนิดรังสีผ่านอากาศหรือสสาร ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ความร้อน แสงสว่าง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา หรือเป็นกระแสของอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น รังสีคอสมิก รังสีแอลฟา รังสีบีตา อนุภาคนิวตรอน อนุภาคโปรตอน[นิวเคลียร์]
รังสีพรอมต์, รังสีที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในตอนเริ่มต้นของกระบวนการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือหลอมนิวเคลียส โดยไม่รวมรังสีที่เกิดจากผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส และจากปฏิกิริยาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในภายหลัง[นิวเคลียร์]
รังสีนิวเคลียร์, การแผ่รังสีของนิวเคลียส, รังสีในรูปของอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสี เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมา <br>(ดู radiation ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
รังสีในธรรมชาติ, รังสีที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น รังสีคอสมิก[นิวเคลียร์]
อาหารฉายรังสี, อาหารที่ผ่านการฉายรังสีด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดสารกัมมันตรังสี หรือมีรังสีตกค้างแต่ประการใด จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อการพาณิชย์ภายในประเทศจะต้องมีฉลากแสดงข้อความ และเครื่องหมายว่าผ่านการฉายรังสีแล้ว พร้อมทั้งระบุวัตถุประสงค์ของการฉายรังสี ชื่อ ที่ตั้ง ของผู้ผลิต และผู้ฉายรังสี วัน เดือน ปี ที่ฉายรังสี, Example: [นิวเคลียร์]
รังสีชนิดก่อไอออน, รังสีหรืออนุภาคใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตอนที่มีความเร็วสูง รังสีเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต <br>(ดู beta particle ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
รังสีในร่างกาย, รังสีจากต้นกำเนิดรังสีใดๆ ที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ รวมทั้งที่ร่างกายได้รับจาก น้ำ อาหาร อากาศ การบำบัดรักษาทางการแพทย์ การปฏิบัติงานทางรังสี และจากอุบัติเหตุทางรังสี[นิวเคลียร์]
บริเวณรังสีสูง, บริเวณที่มีการแผ่รังสีปริมาณสูงซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณนั้นที่ระยะห่าง 30 เซนติเมตรจากต้นกำเนิดรังสี หรือ พื้นผิวที่รังสีทะลุผ่านได้รับปริมาณรังสีสมมูลเกิน 1 มิลลิซีเวิร์ต ในเวลา 1 ชั่วโมง[นิวเคลียร์]
คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านการป้องกันรังสี[นิวเคลียร์]
การฉายรังสีอาหาร, การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งผลิตอย่างถูกสุขลักษณะและบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่เหมาะสม ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรือลำอิเล็กตรอนจากเครื่องเร่งอนุภาค ด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม เพื่อฆ่าเชื้อโรคหรือพยาธิ ยับยั้งการทำลายหรือแพร่พันธุ์ของแมลง ยืดอายุการเก็บรักษา ยับยั้งการงอก และชะลอการสุก[นิวเคลียร์]
การฉายรังสีแกมมา[นิวเคลียร์]
รูปแบบการกระจายคลื่นของสายอากาศ[TU Subject Heading]
สถาปัตยกรรมกับการแผ่รังสีดวงอาทิตย์[TU Subject Heading]
ผลกระทบของรังสี[TU Subject Heading]
การฉายรังสี[TU Subject Heading]
การแผ่รังสี[TU Subject Heading]
เคมีการแผ่รังสี[TU Subject Heading]