ตัวโกงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
(กฺรมมะ-) น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในราชธานีและปริมณฑล ปราบปรามโจรผู้ร้าย รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความอุกฉกรรจ์และดูแลคุก (เรือนจำ) มหันตโทษ, เวียง หรือ กรมพระนครบาล ก็เรียก
(กัดตุ-, กันตุ-) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก.
(กำมะ-) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก, ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง.
ไม่ตายง่าย ๆ เช่น เขาเป็นสารวัตรกระดูกเหล็ก ผ่านการต่อสู้กับผู้ร้ายมาโชกโชน.
ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า (สามดวง).
ก. กำจัดให้หมดไป เช่น กวาดล้างอันธพาล กวาดล้างโจรผู้ร้าย.
ก. ควบคุมไว้หรือจับกุมไว้ เช่น ตำรวจคุมตัวผู้ร้าย.
น. สิ่งของสำหรับใช้ในการประดิษฐ์ สร้าง หรือทำ, โดยปริยายหมายถึงคนหรือสิ่งที่ใช้ทำประโยชน์อย่างเครื่องมือ เช่น อย่าตกเป็นเครื่องมือของโจรผู้ร้าย, ส่วนเครื่องมือที่มีคม ราชาศัพท์ว่า พระแสง เช่น พระแสงสิ่ว พระแสงกบ พระแสงเลื่อย.
เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า
ก. เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับกุมผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับ ก็ว่า.
น. วิธีไต่สวนพิจารณาคดีนครบาลซึ่งเป็นคดีโจรผู้ร้ายหรือคดีที่มีโทษหลวง เมื่อคนร้ายจนต่อพยานหลักฐานแล้วแต่ยังไม่ยอมรับสารภาพ โดยให้ใช้ได้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น เฆี่ยน แต่ไม่ให้ถึงแก่ชีวิต.
ก. จ้วงใบพายลงในน้ำ แล้ววักไปทางข้างตัวโดยแรงและเร็ว เช่น เขาจ้ำเรือข้ามฟาก, ฟันหรือแทงถี่ ๆ เช่น ผู้ร้ายจ้ำแทง.
(โจน, โจระ-, โจนระ-) น. ผู้ร้ายที่ลักขโมยหรือปล้นสะดมทรัพย์สินผู้อื่นเป็นต้น.
น. ป่าลึกที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น เช่น ดงพญาเย็น, ที่ซึ่งมีต้นไม้อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นหนาแน่น เช่น ดงกล้วย, โดยปริยายเรียกย่านที่มีคนหรือสัตว์ประเภทเดียวกันรวมอยู่ด้วยกันมาก ๆ (มักใช้แก่คนไม่ดีหรือสัตว์ที่ดุร้าย) เช่น ดงผู้ร้าย ดงเสือ.
น. เขต, พื้นที่ที่กำหนดไว้โดยตรงหรือโดยหมายรู้กัน, เช่น ชายแดน ลํ้าแดน, ถิ่นที่มีคน สัตว์ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งประเภทเดียวกันอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น แดนผู้ร้าย แดนเสือโคร่ง แดนกล้วยไข่ แดนโลกีย์, โลก เช่น สตรีใดในพิภพจบแดน ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์ (อิเหนา).
ก. กระโดด เช่น ผู้ร้ายโดดหนีไปทางหน้าต่าง.
ตามหา เช่น ตำรวจติดตามผู้ร้าย.
น. ที่, แดน, ที่อยู่, เช่น ถิ่นเสือ ถิ่นผู้ร้าย ถิ่นไทยงาม.
ก. ติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น ตำรวจประกบตัวผู้ร้าย, คุมตัวอย่างใกล้ชิด เช่น ประกบตัวผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามในการเล่นฟุตบอลเป็นต้น.
ก. เข้าไปให้ใกล้ เช่น ตั้งค่ายประชิด, เข้าถึงตัว, เข้าชิดตัว, เช่น ผู้ร้ายมาประชิดตัว.
หนี เช่น ผู้ร้ายเปิดไปไกลแล้ว.
ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของโรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.
(มาดตฺระ-) น. วิธีการที่ตั้งเป็นกฎ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือกฎหมายเป็นต้น เช่น ใช้มาตรการเด็ดขาด วางมาตรการในการปราบโจรผู้ร้าย
ก. ทวนกลับตามรอยเดิม เช่น ตำรวจย้อนรอยผู้ร้าย.
ก. เกี่ยวเนื่อง เช่น ตำรวจจับผู้ร้ายได้ทำให้โยงใยไปถึงหัวหน้าผู้ก่อการร้าย เรื่องนี้มีปัญหาโยงใยไปถึงอีกเรื่องหนึ่ง.
เอาใจใส่โดยไม่ประมาท, กันไว้ไม่ให้เกิดภัยอันตรายหรือความเสื่อมเสียเป็นต้น, เช่น ระวังตัวให้ดี ระวังโจรผู้ร้าย ระวังถูกล้วงกระเป๋า เวลาข้ามถนนให้ระวังรถ.
เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้างกระเดื่อง เช่น บ้านเมืองสงบราบคาบ ตำรวจปราบโจรผู้ร้ายเสียราบคาบ.
ก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย.
รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัว เช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน
ก. รู้ตัว เช่น ก่อนจะเข้าไปพบเขา ต้องบอกให้รู้เนื้อรู้ตัวเสียก่อน ผู้ร้ายเข้ามาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว.
ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ตำรวจติดตามผู้ร้ายอย่างไม่ลดละ, ละลด ก็ว่า.
ว. ตามสบาย, ไม่มีผู้ขัดขวางจับกุม, เช่น ผู้ร้ายหนีไปอย่างลอยนวล
โดยไม่มีการขัดขืน (ใช้แก่การจับกุม) เช่น ตำรวจจับผู้ร้ายได้โดยละม่อม.
เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือเพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมายความว่า เที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง
น. ลาดเลา, ช่องทาง, เช่น ดูลู่ทางทำมาหากิน ผู้ร้ายหาลู่ทางเข้าไปโจรกรรม.
ก. วิ่งให้เร็วขึ้นเพื่อให้ทัน เช่น ตำรวจไล่กวดผู้ร้าย.
ก. ตามมาอย่างกระชั้นชิด เช่น ผู้ร้ายวิ่งไล่มาติด ๆ.
(สะหฺงบ) ก. ระงับ เช่น สงบจิตสงบใจ สงบสติอารมณ์ สงบศึก, หยุดนิ่ง เช่น คลื่นลมสงบ พายุสงบ, กลับเป็นปรกติ เช่น เหตุการณ์สงบแล้ว, ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น จิตใจสงบ, ไม่กำเริบ เช่น อาการไข้สงบลง ภูเขาไฟสงบ, ไม่วุ่นวาย เช่น บ้านเมืองสงบปราศจากโจรผู้ร้าย.
ก. แสดงบทบาท เช่น สวมบทพระเอก สวมบทบาทผู้ร้าย
ก. เข้าแทนที่คนอื่นโดยทำเป็นทีให้เข้าใจว่าตนเองเป็นตัวจริง เช่น ผู้ร้ายสวมรอยเจ้าของบ้านเข้าไปขโมยของ.
ก. ยํ้า, กำชับ, เช่น เขาสั่งให้ทำงานแล้วสำทับว่าต้องเสร็จใน ๓ วัน, ซ้ำเติม เช่น ลูกถูกแม่ตีแล้วพ่อยังสำทับว่าถ้าทำอีกก็จะถูกตีอีก, ขู่ เช่น ผู้ร้ายสำทับว่า อย่าไปบอกตำรวจมิฉะนั้นจะฆ่าปิดปาก.
ก. รู้สึกตระหนักในความผิดที่ได้ทำไป เช่น ผู้ร้ายสำนึกผิดจึงได้สารภาพ, บางทีก็ใช้ว่า สำนึก เช่น ทำผิดถูกลงโทษแล้วยังไม่สำนึกอีก.
ว. อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น ผู้ร้ายสารภาพจนสิ้นไส้สิ้นพุง
ก. เหยียดขาเลื่อนเท้าไปข้างหน้าโดยไม่งอเข่า เช่น สืบเท้าก้าวเดินไป ตำรวจสืบเท้าเข้าไปประชิดตัวผู้ร้าย.
ว. รุนแรง เช่น เดี๋ยวนี้โจรผู้ร้ายมักกระทำการหนักข้อ.
กำเริบ เช่น โจรผู้ร้ายหนักมือขึ้นทุกวัน.
ก. หลุดไปจากมือ เช่น ปลาหลุดมือไป, โดยปริยายหมายความว่า สูญเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล ตำแหน่งของเขาก็หลุดมือไป, คาดว่าจะได้แต่ไม่ได้ เช่น ตำรวจคาดว่าจะจับผู้ร้ายได้ แต่ไปถึงผิดเวลาไปหน่อยเดียว ผู้ร้ายจึงหลุดมือไปได้.
ว. อาการที่หลบหนีอย่างรีบร้อนโดยไม่หยุดยั้ง เช่น ผู้ร้ายหนีตำรวจหัวซุกหัวซุน.