หนังสืออ้างอิงเฉพาะวิชา[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
หนังสืออ้างอิงทั่วไป[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
บริการตอบคำถาม[เทคโนโลยีการศึกษา]
หนังสืออ้างอิง[เทคโนโลยีการศึกษา]
รายการโยง, <p>รายการโยง</p>[เทคโนโลยีการศึกษา]
หนังสืออ้างอิง, Example:<p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110328-reference-book-1.jpg" Title="Reference book" alt="Reference book"> <p>หนังสืออ้างอิง คือ หนังสือที่มุ่งเสนอเรื่องราวความรู้พื้นฐาน ข้อเท็จจริงต่างๆ ในหลายสาขาวิชาอย่างกว้างขวาง แต่กระทัดรัด ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งเล่มแต่ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าเฉพาะเนื้อหาบางส่วนที่ต้องการเท่านั้น โดยเป็นหนังสือที่เขียนและรวบรวมขึ้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิและเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ เนื้อหาจึงเป็นที่น่าเชื่อถือและใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้ ขณะที่รูปเล่มส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่ และหนากว่าหนังสือทั่วๆ ไป รวมถึงมีการพิมพ์ออกมาเป็นชุดๆ พร้อมทั้งมีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงเนื้อหาของผู้อ่าน เช่น การเรียงตามลำดับอักษร เหตุการณ์ เขตภูมิศาสตร์ หมวดหมู่ นอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษเพื่อความสะดวกในการค้นหาเนื้อหา เช่น อักษรนำเล่ม คำนำนาง ดัชนีหัวแม่มือ สารบัญ ดัชนี ส่วนโยง <p>ประเภทของหนังสืออ้างอิง แบ่งได้ 2 ประเภทหลัก คือ เนื้อหาวิชา และ หน้าที่ <p>1. เนื้อหาวิชา คือ หนังสืออ้างอิงทั่วไป ที่ให้ข้อเท็จจริงในสาขาวิชาต่างๆ อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดสาขาวิชา ซึ่งตรงข้ามกับหนังสืออ้างอิงเฉพาะสาขาวิชา ที่ให้ข้อเท็จจริงเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง <p>2. หน้าที่ คือ หนังสืออ้างอิงที่ให้ข้อเท็จจริงภายในเล่ม และ หนังสืออ้างอิงที่เป็นเครื่องชี้โยงไปหาข้อเท็จจริงในเล่มอื่น เช่น ดัชนีวารสารและบรรณานุกรม <p>หนังสืออ้างอิงประเภทต่างๆ <p>พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ เช่น ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2549. <p>สารานุกรม เช่น โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โครงการ, 2548- <p>หนังสือรายปี เช่น สยามออลมาแนค : สารนิเทศและปูมปฎิทินการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และข้อมูลสำคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัทสยามบรรณ, 2527- <p>อักขรานุกรมชีวประวัติ เช่น คณะกรรมการรวบรวมและค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ ฯลฯ ของพระบาทสม เด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. อักขรานุกรมนามสกุลพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์, 2534. <p>นามานุกรม เช่น สีดา สอนศรี. นามานุกรมหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การระหว่างประเทศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2528- <p>หนังสืออ้างอิงภูมิศาสตร์ เช่น Britannica Altas. Chicago : Encyclopedia Britannica, 1987. <p>หนังสือคู่มือ เช่น ทวี แก้วมณี, ธนญา ตรึงตราจิตกุล, ชัยยา ศรีอำไพ. หนังสือคู่มือมาตรฐานและการทดสอบเครื่องเรือน. กรุงเทพฯ : ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องเรือนและคอมโพสิท สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 2549. <p>ดัชนีวารสาร เช่น ธำรงค์ ชูทัพ, สุดาวรรณ เครือพานิช. ดัชนีวารสารการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2535. <p>บรรณานุกรม เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สำนักหอสมุด. บรรณานุกรม ดร.ป๋วย. [ กรุงเทพฯ ] : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529. <p>แหล่งข้อมูล: <p>Reitz, Joan M. ODLIS Online Dictionary for Library and Information Science. ABC-CLIO http://www.abc-clio.com/ODLIS/odlis_h.aspx (accessed MArch 27, 2011). <p>เพชรรัตน์ บริสุทธิ์. หนังสืออ้างอิง. สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. http://human.tru.ac.th/elearning/tec_ban/tinfo04/index.html (สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2554). [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
บรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า, Example:Reference librarian หมายถึง บรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า มีหน้าที่ให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าหาคำตอบที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องการ และช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากหนังสือและวัสดุต่าง ๆ ของห้องสมุด <p> คุณสมบัติของบรรณารักษ์บริการตอบคำถามฯ <p> ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาศ ชวลิต ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดีของบรรณารักษ์บริการตอบคำถามฯ ไว้ดังนี้ <p> - มีความรู้เกี่ยวกับหนังสืออ้างอิงเป็นอย่างดี มีความเข้าใจและคุ้นเคยกับแหล่งความรู้ที่มีอยู่ในห้องสมุด <p> - มีมนุษยสัมพันธ์อันดี <p> - มีความสนใจในวิชาการต่างๆ หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ <p> - มีความอดทน พากเพียร <p> - มีไหวพริบดีในการรวบรวม วิเคราะห์ปัญหาว่าอยู่ในแนวใด ควรหาคำตอบจากแหล่งใด <p> - มีความจำดี <p> - มีจินตนาการดี รู้จักการยืดหยุ่น ไม่ฝังความคิดไว้ในด้านเดียว <p> - ช่างสังเกต รอบคอบ <p> - ตัดสินใจดี รู้จักเลือกแหล่งคำตอบที่เหมาะสม <p> - รู้จักวิธีการพูดคุย ซักถามอย่างเป็นกันเองกับผู้ใช้ <p> - กระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือผู้ใช้อยู่เสมอ <p> การให้บริการของบรรณารักษ์บริการตอบคำถามฯ นอกจากการให้บริการที่โต๊ะให้บริการตอบคำถามแล้ว ยังสามารถให้บริการโดยทางโทรศัพท์ โดยทางอี-เมล์ หรือโดยผ่านการสนทนาทางออนไลน์ อย่างไรก็ตาม บทบาทของบริการตอบคำถามในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้ห้องสมุดสามารถใช้ Google และเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทางออนไลน์ได้มากขึ้น ดังนั้น บรรณารักษ์บริการตอบคำถามอาจไม่ต้องตอบคำถามหรือเก็บข้อมูลมากเหมือนในอดีต แต่ควรเน้นที่การให้คำแนะนำผู้ใช้ให้รู้จักวิธีค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ หรือช่วยแนะนำแหล่งความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้ในการค้นคว้าวิจัยต่อไป [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
บริการตอบคำถาม[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
รายการโยง[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ดูเพิ่มเติมที่, Example:<p>เป็นรูปแบบหนึ่งของการรายการโยง (Cross reference) เพื่อแสดงการเชื่อมโยงคำ 2 คำที่ใช้เป็นคำหลักตามที่มีการกำหนดใช้ โดยคำดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในลักษณะคำที่แคบกว่า หรือ กว้างกว่า เพื่อควบคุมการใช้คำศัพท์ที่กำหนดให้เป็นมาตรฐาน เป็นแบบฉบับ และมีความสม่ำเสมอ ในการใช้รูปแบบของคำซึ่งเป็นจุดเข้าถึงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งนี้เพื่อให้การค้นหาและเข้าถึงรายการทรัพยากรสารสนเทศมีประสิทธิภาพ <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/see-also.jpg" Title="See also reference" alt="See also reference"> <p>ตัวอย่างข้างต้น Lighting ดูเพิ่มเติมที่ Exterior lighting หมายถึง Lighting คือคำที่กำหนดให้ใช้ โดยสามารถดูคำว่า Exterior lighting เพิ่มเติม ซึ่งเป็นคำที่กำหนดให้ใช้เช่นเดียวกัน แต่เป็นคำที่มีความหมายแคบกว่า[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ดูที่, Example:<p>เป็นรูปแบบหนึ่งของการรายการโยง (Cross reference) เพื่อแสดงการเชื่อมโยงคำที่ไม่ใช้เป็นคำหลักสู่คำที่ใช้เป็นคำหลักตามที่มีการกำหนดใช้ เพื่อควบคุมการใช้คำศัพท์ที่กำหนดให้เป็นมาตรฐาน เป็นแบบฉบับ และมีความสม่ำเสมอ ในการใช้รูปแบบของคำซึ่งเป็นจุดเข้าถึงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งนี้เพื่อให้การค้นหาและเข้าถึงรายการทรัพยากรสารสนเทศมีประสิทธิภาพ <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/see.jpg" Title="See reference" alt="See reference"> <p>ตัวอย่างข้างต้น Labor unions ดูที่ Trade-unions หมายถึง Labor unions ไม่ใช่คำที่กำหนดให้ใช้ โดยคำที่กำหนดให้ใช้ คือ Trade-unions [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร[เศรษฐศาสตร์]
สิทธิพิเศษทางพิกัดอัตราศุลกากร[เศรษฐศาสตร์]
การเลือกของผู้บริโภค[TU Subject Heading]
การเลือกอาหาร[TU Subject Heading]
หนังสืออ้างอิง[TU Subject Heading]
บริการตอบคำถาม[TU Subject Heading]
สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร[TU Subject Heading]
ดัชนีความพอใจการย้ายถิ่น, Example:เอาจำนวนผู้ย้ายถิ่นจากพื้นที่ ก ไปยังพื้นที่ ข เป็นตัวตั้ง หารด้วย อัตราส่วนของจำนวน ผู้ย้ายถิ่นทั้งหมดต่อกำลังสองของประชากรทั้งประเทศ [สิ่งแวดล้อม]
ระบบศิทธิประโยชน์ทั่วไปทางภาษีศุลกากร, Example:แนวคิดที่เกิดจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วย การค้าและการพัฒนา (ดู UNCTAD) ครั้งที่ 2 ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2511 ที่มีมติให้มีโครงการให้มีสิทธิประโยชน์เป็นพิเศษแก่สินค้าออกที่สำคัญของ ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อเพิ่มรายได้จากการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนา และเร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศเหล่านั้นโดยประเทศพัฒนาแล้ว จะลดหรือยกเว้นภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับสินค้าออกที่สำคัญบางชนิดของประเทศ กำลังพัฒนาจำนวนหนึ่ง หลักการนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้กับประเทศกำลังพัฒนาทุกประเทศโดยทั่วไป มิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงเพียงบางประเทศดังที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ [สิ่งแวดล้อม]
ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป " มีที่มาจากการประชุมว่าด้วยการค้าและการพัฒนาขององค์การ สหประชาชาติ (UNCTAD) เมื่อปี พ.ศ. 2510 ภายใต้ระบบนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถส่ง สินค้าไปขายแข่งขันในประเทศพัฒนา โดยการยกเว้นหรือลดหย่อนอัตราภาษีขาเข้าให้แก่สินค้าที่อยู่ในข่ายได้รับ สิทธิพิเศษ โดยไม่เรียกร้อง ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ "[การทูต]
ระบบสากลว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าในระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน[การทูต]
ขอบเขตอำนาจหน้าที่[การทูต]
รายการโยง, Example:Cross-reference หมายถึง รายการโยง เป็นส่วนที่แนะนำให้ไปอ่านเรื่องที่ต้องการจาก เรื่อง ชื่อเรื่องหรือรายการอื่นในหนังสือเล่มนั้น การโยงในหนังสืออ้างอิงมี 2 แบบ คือ <p> ก) การโยงแบบ “ดูที่” (see) แนะให้ดูเรื่อง ชื่อ หรือรายการที่ปรากฏในที่อีกแห่งหนึ่งจึงจะพบคำตอบที่ต้องการ เช่น สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ดูที่ วารสาร <p> ข) การโยงแบบ “ดูเพิ่มเติมที่” (see also) แนะให้ดูเรื่อง ชื่อ หรือรายการที่ปรากฏในที่อีกแห่งหนึ่ง เพื่ออ่านคำอธิบายเพิ่มเติม เช่น pamphlet ดูเพิ่มเติมที่ vertical file[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การอ้างอิงระหว่างกัน[การบัญชี]
ความสัมพันธ์กับวิธีวิเคราะห์อ้างอิง[การแพทย์]
คิวเวตต์อ้างอิง[การแพทย์]
อีเลคโตรดอ้างอิง, อิเล็กโตรดอ้างอิง, อีเล็คโตรดอ้างอิง, ขั้วไฟฟ้าอ้างอิง[การแพทย์]
วัตถุมาตรฐานอ้างอิงของเอนไซม์[การแพทย์]
การประเมินผลโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน[การแพทย์]
การประเมินผลโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติวิสัย[การแพทย์]
อาหาร, การเลือกบริโภค, อาหาร, การเลือก[การแพทย์]
Terms of Reference, ขอบเขตของงาน[เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ]
ขั้วไฟฟ้ามาตรฐาน, ขั้วไฟฟ้าที่กำหนดขึ้นให้เป็นมาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบหาค่าศักย์ไฟฟ้าของครึ่งเซลล์ต่าง ๆ บางครั้งเรียกว่าขั้วไฟฟ้าอ้างอิง เช่น ขั้วไฟฟ้าไฮโดรเจนมาตรฐาน ขั้วไฟฟ้าคาโลเมลอิ่มตัว เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ขั้วไฟฟ้าอ้างอิง, ดู standard electrode[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
กรอบอ้างอิง, โคออร์ดิเนตที่ใช้เป็นหลักเทียบในการบอกตำแหน่งหรือการย้ายตำแหน่งของวัตถุเมื่อเวลาใดเวลาหนึ่ง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
กรอบอ้างอิงเฉื่อย, กรอบอ้างอิงซึ่งอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวสัมพัทธ์กับโลก[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ศูนย์บรรณนุกรมนานาชาติสำหรับการวิจัยเกี่ยวกับ[การแพทย์]
สถาบันมาตรฐาน, ห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน[การแพทย์]
คำถามที่ต้องการข้อเท็จจริงทันที, Example:คำถามที่ต้องการข้อเท็จจริงทันที (Ready Reference) หมายถึง <br>1) เป็นคำถามที่บรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าสามารถตอบได้รวดเร็วในเวลาเพียง 1-2 นาที คำถามเหล่านี้เป็นคำถามง่าย ๆ ที่ต้องการคำตอบสั้น ๆ ทันที เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เป็นต้น ซึ่งบรรณารักษ์อาจใช้หนังสืออ้างอิงเพียง 1-2 เล่ม เท่านั้นในการค้นหาคำตอบ ได้แก่ สมพัตสร (Almanac) หนังสือรายปี คู่มือ และนามานุกรม (Directories) <br>2) หนังสืออ้างอิงที่ทำขึ้นสำหรับตอบปัญหาสั้น ๆ ใช้ง่าย เปิดหาคำตอบได้สะดวก มีคำตอบพร้อมที่จะใช้ได้ทันที เช่น พจนานุกรม นามานุกรม อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ เป็นต้น หนังสืออ้างอิงเหล่านี้ให้ตั้งอยู่ใกล้กับโต๊ะบริการตอบคำถามมากกว่าอยู่ในชั้นหนังสืออ้างอิง[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การสัมภาษณ์เพื่อการอ้างอิง, Example:การสัมภาษณ์เพื่อการอ้างอิง (Reference interview) หมายถึง การหารายละเอียดจากผู้ที่มาใช้บริการช่วยการค้นคว้า เพื่อให้บรรณารักษ์ทราบแน่ชัดถึงความต้องการในการค้นคว้าของผู้ที่มาใช้บริการ เพื่อทราบพื้นความรู้ของลูกค้า และเพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความสามารถในการใช้หนังสืออ้างอิงของผู้ที่มาใช้บริการ เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้นระหว่างบรรณารักษ์อ้างอิงและผู้ที่มาใช้บริการช่วยการค้นคว้า เพื่อตรวจสอบความต้องการข้อมูลของบุคคล ซึ่งอาจจะแตกต่างจากคำถามอ้างอิงที่ตั้งคำถามเป็นครั้งแรก เพราะผู้ใช้บริการอาจจะไม่พูดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพบกันแบบตัวต่อตัว ความอดทนและความสามารถในการติดต่อของบรรณารักษ์ เพื่อให้ผู้ใช้ให้รายละเอียดมากที่สุด การสัมภาษณ์เพื่อการอ้างอิงอาจเกิดขึ้นโดยทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ (ผ่านทางอีเมล์) ตามคำร้องขอของผู้ใช้ <br> แต่บรรณารักษ์อ้างอิงที่ได้รับการฝึกอบรมดีแล้ว บางครั้งจะเป็นฝ่ายเริ่มต้นการสื่อสารถ้าผู้ใช้ลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ การหารายละเอียดจากการสัมภาษณ์เพื่อการอ้างอิงนี้ เพื่อให้ฝ่ายบรรณารักษ์ได้รับความกระจ่างมากพอที่จะสามารถหาคำตอบมาให้ผู้ใช้ได้ดีที่สุด[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]