(-ขะเยื่อน) ก. เคลื่อนที่, เลื่อนที่, ย้ายที่, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น หมอห้ามไม่ให้ขยับเขยื้อนเพราะกระดูกหัก.
(ขะเยื่อน) ก. ไหวตัวหรือเคลื่อนที่, ทำให้ไหวตัวหรือให้เคลื่อนที่, (มักใช้แก่ของหนัก) เช่น ตู้ใบนี้หนักมาก ดันเท่าไรไม่เขยื้อนเลย, โดยปริยายหมายความว่า ขยับตัว เช่น เรียกใช้ให้ทำงานเท่าไร ๆ ก็นั่งนิ่งไม่ยอมเขยื้อน.
น. กลุ่มของเซลล์ที่มักมีลักษณะเหมือนกัน ทำหน้าที่ร่วมกัน มีหลายชนิด เช่น เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เป็นเนื้อเยื่อส่วนที่ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเคลื่อนไหวได้ เนื้อเยื่อบุผิว เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่บุผิวนอก บุผิวใน บุโพรง บุท่อ บุต่อมของอวัยวะ.
ว. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น ถามเรื่องหนึ่ง แต่พูดยักเยื้องไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง, ดัดแปลง เช่น ทำยักเยื้อง, เยื้องยัก ก็ว่า.
ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, เยื้องย่าง ก็ว่า.
ว. ยาวนาน, ไม่ใคร่จะจบสิ้นง่าย ๆ, เช่น คดียืดเยื้อ.
ก. แย่งด้วยอาการเช่นฉุด ยุด ดึงไปมา เช่น ยื้อข้อมือ, มักใช้เข้าคู่กับคำ แย่ง เป็น ยื้อแย่ง เช่น หมายื้อแย่งกระดูกกัน.
น. สิ่งที่เป็นแผ่นบางอยู่ตามผิวหรือภายในของร่างกายบางส่วนหรือของสิ่งต่าง ๆ เช่น เยื่อในกระดูก เยื่อหัวหอม เยื่อไม้ไผ่.
น. กุ้งเคย, กะปิ, กะปิที่ทำจากกุ้งเคย.
น. ความเกี่ยวพันแม้จะขาดกันไปแล้ว แต่ก็ยังมีอาลัยเหลืออยู่, ความผูกพันที่ยังตัดไม่ขาด, เช่น เขาทิ้งไปอย่างไม่มีเยื่อใย.
ก. ยาวนาน, ไม่ใคร่จะจบสิ้น, มักใช้ว่า ยืดเยื้อ.
ก. เอี้ยว, ย้ายไป, เดินอย่างไว้ท่าทาง, เช่น เดินเยื้องตัวแล้วซัดแขนอย่างละครรำ.
ว. เฉียงจากจุดตรงข้ามเล็กน้อย เช่น ประตูวิมานเทเวศร์อยู่เยื้องกับประตูเข้ามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ.
ก. เดินอย่างมีท่างาม เช่น นางแบบเยื้องกรายมาทีละคน ๆ
เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายในการตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้).
น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งตั้งวงสูง แขนตึง ระดับไหล่ มืออีกข้างหนึ่งหงายจีบระดับชายพก เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่ตั้งวง.
ก. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, ดัดแปลง, ยักเยื้อง ก็ว่า.
ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, ย่างเยื้อง ก็ว่า.
ก. เอื้อนกล่าวออกมาโดยมีอาการแช่มช้างดงาม.
น. เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว, มูลฝอย.
(เหฺยื่อ) น. อาหารที่ใช้ล่อสัตว์
ตัวรับเคราะห์ เช่น เหยื่อกระสุน.
ก. นั่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งได้นาน ๆ ไม่ลุกหรือขยับเขยื้อนไปไหนง่าย ๆ เช่น แม่คนนี้ก้นหนัก ไปนั่งคุยอยู่บ้านเพื่อนตั้งแต่เช้ายังไม่ยอมกลับ.
น. กลุ่มเล็บของแมวหรือนกเป็นต้นเมื่อขยุ้มเหยื่อ มีเค้าคล้ายกรง.
น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อคอสูง มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, จู้ หรือ อีจู้ ก็เรียก.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lepironia articulata (Retz.) Domin ในวงศ์ Cyperaceae ลำต้นกลม ภายในกลวง และมีเยื่ออ่อนหยุ่นคั่นเป็นข้อ ๆ ใช้สานเสื่อหรือกระสอบ.
ว. ไม่มีแรง, ขยับเขยื้อนไม่ใคร่ได้, เกือบจะหมดกำลังกาย, เช่น เพิ่งหายไข้ใหม่ ๆ จะลุกจะนั่งก็กระดักกระเดี้ย, ไม่ใคร่ไหว เช่น หากินกระดักกระเดี้ย.
น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง เป็นไม้ท่อนยาว ปลายด้านหัวมีสากสำหรับตำข้าว ปลายด้านหางทำเป็นที่เหยียบ เจาะรูที่ด้านข้างเยื้องไปทางปลายด้านหาง และมีไม้เป็นแกนสอดตรึงติดกับเสาหรือหลักให้หมุนได้ เมื่อเหยียบที่ข้างหางและกดลง หัวจะกระดกขึ้น เมื่อปล่อยเท้าหัวก็จะกระแทกลง
แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Alcedinidae หัวโต คอสั้น ปากแหลม ยาว ตรง แบนข้าง และแข็งแรง หากินโดยวิธีพุ่งตัวลงจับเหยื่อเช่นปลาในนํ้าหรือแมลงตามท้องทุ่ง พวกที่มีขนาดเล็กส่วนใหญ่มีสีสวยสะดุดตา เช่น กระเต็นน้อยแถบอกดำ ( Alcedo euryzona Temminck) กระเต็นน้อยสามนิ้ว [ Ceyx erithacus (Linn.) ] พวกที่มีขนาดกลาง เช่น กระเต็นลาย [ Lacedo pulchella (Horsfield) ] กระเต็นอกขาว [ Halcyon smyrnensis (Linn.) ] กระเต็นสร้อยคอสีน้ำตาล [ Actenoides concretus (Temminck) ] และพวกที่มีขนาดใหญ่ เช่น กระเต็นขาวดำใหญ่ [ Megaceryle lugubris (Temminck) ] กระเต็นปักหลักหรือปักหลัก [ Ceryle rudis (Linn.) ].
น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลำกิ่งและระหว่างก้านใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทำเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบก ตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก.
น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า
(กฺลอก) ก. เคลื่อนหรือขยับเขยื้อนกลับไปกลับมาภายในเขตของสิ่งนั้น ๆ เช่น กลอกตา กลอกหน้า, ทำให้เคลื่อนวนกลับไปกลับมา เช่น กลอกแป้งขนมเบื้องญวน กลอกไข่, ทำให้มีอาการเช่นนั้น เช่น กลอกนํ้าร้อนในถ้วยเพื่อให้เย็น.
น. ชื่อเรียกกระเพาะอาหารกระเพาะที่ ๔ ของสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นวัวควาย เยื่อบุภายในมีลักษณะเป็นกลีบห่าง ๆ คล้ายกลีบมะเฟือง.
น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นด้านข้าง ๒ ด้านเป็นคอก ด้านหน้ามีประตูผูกเชือกชักขึ้นลงได้ ด้านหลังชิดตลิ่ง ใช้ตลิ่งเป็นที่กั้น ในคอกสะด้วยกิ่งไม้และโปรยเหยื่อเพื่อล่อให้ปลาเข้าไป, ต้อน ก็เรียก.
น. ชื่องูพิษขนาดเล็กชนิด Calloselasma rhodostoma (Boie) ในวงศ์ Viperidae ตัวยาว ๕๐-๘๐ เซนติเมตร สีน้ำตาลอมแดงลายสีนํ้าตาลเข้ม บนหลังมีลายรูปสามเหลี่ยมสีนํ้าตาลแก่เรียงสลับเยื้องกันเป็นคู่ ๆ จมูกงอน ริมฝีปากเหลือง และมีแนวสีเหลืองพาดบนลูกตาถึงมุมปาก, ตัวที่มีสีคลํ้าเรียก งูปะบุก.
น. ของเค็มทำด้วยเคยกับเกลือโขลกและหมักไว้ ใช้ปรุงอาหาร, เยื่อเคย ก็ว่า.
ก. ยก, ย่าง, เยื้อง, เช่น กะยุบาทไคลคลา (เสือโค), กะยุบาทเบื้องปลายตีน (พิชัยสงคราม).
น. ชื่อปาล์มชนิด Eleiodoxa conferta (Griff.) Burret. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็นช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลำต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทนกาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก หลุมพี.
น. กากที่หยาบ, หยากเยื่อ.
น. ขยะ, เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว, หยากเยื่อ, คุมฝอย หรือ มูลฝอย ก็ว่า.
(เกฺลือก) สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่าเหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู (ม. ร่ายยาว ชูชก).
น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะมีกรดยูริกในเลือดมากเกินไปเป็นผลให้เกิดการตกตะกอนเป็นเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อบริเวณข้อ เช่น ที่ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ข้อเท้า หรือ บริเวณอวัยวะอื่น ทำให้มีอาการบวมและปวด.
ก. เอาเบ็ดไปเกี่ยวเหยื่อ, เอาเหยื่อมาเกี่ยวเบ็ด.
น. เยื่อในหูสำหรับรับเสียง.
(ขะหฺม่อม) น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.