(-ผฺลุบ-โผฺล่) ก. อาการที่ผลุบลงแล้วโผล่ขึ้น เช่น ปลากะผลุบกะโผล่ขึ้นมาหายใจ, อาการที่ผลุบเข้าไปแล้วโผล่ออกมา เช่น มากะผลุบกะโผล่อยู่หลังเวทีทำไม, จม ๆ ลอย ๆ เช่น ขอนลอยน้ำกะผลุบกะโผล่, โดยปริยายหมายความว่า ไปหรือมาไม่สม่ำเสมอ เช่น ถ้าจะมาช่วยงานก็ขอให้มาสม่ำเสมอ อย่ากะผลุบกะโผล่ มาบ้างไม่มาบ้าง, ผลุบโผล่ ๆ หรือ ผลุบ ๆ โผล่ ๆ ก็ว่า.
(ผฺลุ) ว. เสียงดังอย่างเสียงของอ่อนน่วมตกลง เช่น มะละกอสุกหล่นลงมาดังผลุ.
(ผฺลุง) ว. อาการที่ทิ้งหรือปาสิ่งของไปโดยเร็ว เช่น ทิ้งผลุง, อาการที่กระโดดไปโดยเร็ว ในคำว่า โดดผลุง, เสียงอย่างเสียงของหนักตกนํ้า.
(ผฺลุด) ก. หลุดเข้าหรือออกโดยเร็ว, มุดเข้าหรือออกโดยเร็ว.
(ผฺลุน) ก. ไปหรือมาอย่างกะทันหัน เช่น นั่งคุยกันอยู่ดี ๆ ก็ผลุนออกไป อยู่ ๆ เขาก็ผลุนเข้ามาในห้อง.
(-ผฺลัน) ก. ทำไปโดยทันทีทันใดไม่ยับยั้งรั้งรอ เช่น พอพูดจบเขาก็ผลุนผลันออกไป.
(ผฺลุบ) ก. ที่ดำลง มุดลง หรือลับหายเข้าไปโดยรวดเร็วทันที เช่น นกผลุบเข้ารัง หนูผลุบเข้าไปในรู.
(-ผฺลับ) ว. ลุกลน, ไม่เรียบร้อย, เช่น เขาเป็นคนผลุบผลับ ชอบทำของแตกบ่อย ๆ.
(-โผฺล่) ว. อาการที่ผลุบลงแล้วโผล่ขึ้น เช่น กวนน้ำให้ขุ่น เดี๋ยวปลาก็ผลุบ ๆ โผล่ ๆ มาให้จับ, อาการที่ผลุบเข้าไปแล้วโผล่ออกมา เช่น มาผลุบโผล่ ๆ อยู่แถวนี้ จะหาใครหรือ, จม ๆ ลอย ๆ เช่น ขอนลอยน้ำผลุบ ๆ โผล่ ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ไปหรือมาไม่สมํ่าเสมอ เช่น เขาอาสามาช่วยงานบ้าน แต่ทำผลุบ ๆ โผล่ ๆ มาบ้างไม่มาบ้าง, กะผลุบกะโผล่ ก็ว่า.
(ผฺลุย) ว. อาการที่เชือกหรือปมหลุดโดยเร็ว.
ก. อาการที่สิ่งที่แออัดกันอยู่หรือถูกกีดกั้นผลุดหรือหลุดออกมาโดยแรง เมื่อสิ่งกีดกั้นแตกหรือพังทลายลง เช่น ถูกแทงไส้ทะลัก น้ำทะลักออกจากเขื่อน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สินค้าที่กักตุนทะลักออกมา.
(ผฺลัวะ) ว. อาการที่ผลุนผลันเข้าไปหรือออกมาอย่างรวดเร็ว เช่น เปิดประตูผลัวะเข้าไป
(พฺลอมแพฺลม) ว. วาบแวบ, ผลุบโผล่, ประปราย, ไม่สมํ่าเสมอ, เช่น หญ้าขึ้นพลอมแพลม.
ว. ผลุบ ๆ โผล่ ๆ, ไม่เห็นถนัด.