ก. ทำตอบด้วยความแค้นหรือเพื่อให้หายแค้น.
ก. อัตคัด, ขัดสน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยากจน เป็น ยากจนข้นแค้น.
ว. ลำบาก, ยากไร้, ฝืดเคือง, ลำบากเพราะถูกบีบคั้นทางใจหรือความเป็นอยู่.
ก. ผูกใจเจ็บและคิดอยากแก้แค้น, เก็บเอาความแค้นเข้าไว้.
น. ผู้ที่เป็นคู่ต่อสู้ขับเคี่ยวกันมาโดยต่างผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ.
น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล Bagarius วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด B. bagarius (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ B. yarrelli Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก.
น. หนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ เป็นต้น ที่มีภาพสินค้าเช่นเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดของสินค้าเพื่อเผยแพร่หรือสำหรับให้ลูกค้าเลือกซื้อ.
ก. ฝืน เช่น แค่นกิน, คะยั้นคะยอ เช่น แค่นให้กิน, ทำไม่เป็นหรือไม่สันทัดแล้วยังอวดดีขืนทำ เช่น แค่นทำ, สะเออะ เช่น ไม่มีเงินยังแค่นแต่งตัวโก้.
ก. เฟ้นหาความชั่วขึ้นมากล่าว, เซ้าซี้จะให้ได้สมประสงค์.
ก. โกรธเจ็บใจอยู่ไม่หาย เช่น แค้นใจ แค้นเคือง.
ก. อาการที่คนหรือสัตว์กินอาหารแล้วติดคอหรือฝืดคอกลืนไม่สะดวก.
ว. ฝืดเคือง, ขัดสน, ขาดแคลน, เช่น เขามีชีวิตอยู่อย่างแร้นแค้นขาดแคลนไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง.
ก. แก้แค้นโดยทำร้ายร่างกายหรือทำลายล้างชื่อเสียงของผู้ที่ทำให้ตนแค้น.
น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า คิดยิ่งแสนแค้นยิ่งศรเสียบทรวงหมอง.
ตกอับ, แร้นแค้น, เช่น ผัวเมียสองคนจนกรองกรอย (สังข์ทอง), ตองตอย ก็ว่า.
ว. งง, ชะงัก, ประหม่า, เช่น นอนกระชงใจคราง ครั่นแค้น (นิ. ตรัง).
ก. ระริกระรี้, ตื่นเต้นแสดงความสนใจเพศตรงข้าม, เช่น พอเห็นหนุ่มหล่อ ๆ มาร่วมงาน สาว ๆ ก็กระดี๊กระด๊ากันเป็นแถว, แสดงท่าทางอย่างเห็นได้ชัดว่าดีใจหรือพอใจมาก เช่น แค่รู้ว่าผู้ชายจะมาสู่ขอลูกสาว ว่าที่แม่ยายก็กระดี๊กระด๊าจนเก็บอาการไม่อยู่, ตื่นเต้นแสดงความดีใจจนเกินงาม เช่น พอรู้ว่าหัวหน้าจะพาไปเที่ยวทะเลก็กระดี๊กระด๊ากันไปทั้งแผนก, กะดี๊กะด๊า หรือ ดี๊ด๊า ก็ว่า.
ว. จำนวนมาก เช่น มีข้าวของเป็นกระบุงโกย.น. ลักษณนามใช้เปรียบเทียบในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น จะไปต่างจังหวัดแค่ ๒ วัน ขนเสื้อผ้ามาตั้งกี่กระบุงโกย.
ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยายเป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.
(กนละ-) น. คำประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น เจ้าโศกแคนแค่นแค้นดั่งแสนศร มารานร่านร้านรอนให้ตักไษย ว่าโอโอ่โอ้กำม์มาจำไกล เวรุชื่อใดจองจ่องจ้องประจาน (กลบทตรีประดับ).
ก. กล้ำกลืนความเจ็บแค้นอย่างแสนสาหัส เช่น แม้จะแค้นหัวหน้าพวกเขาก็ยอมกลืนเลือด เพราะยังต้องพึ่งพาหัวหน้าคนนี้อยู่.
ก. ใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นมาก.
ว. อดทนต่อความลำบากยากแค้น เช่น เขาเคยกินเกลือกินกะปิมาด้วยกัน.
(เกฺรียก) น. ระยะยาวชั่วนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้กางออก เช่น ยาวแค่เกรียก.
ว. สั้น เช่น ควายเขาเกะแค่หู (สิบสองเดือน).
น. ส่วนที่เลวที่สุด เช่น ฝีมือแค่นี้ไม่ได้ขี้ไซ้เขาหรอก.
น. ฝุ่นละอองที่ติดมากับเท้า, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ต่ำค่าที่สุด เช่น เก่งแค่นี้ไม่ได้ขี้ตีนเขาหรอก.
น. เศษสิ่งของเล็ก ๆ หรือละเอียดที่เหลือหรือร่วงจากวัสดุต่าง ๆ, ผง หรือ เศษผง ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า เล็กน้อย, ไม่สำคัญ, เช่น จ่ายเงินแค่นี้เรื่องขี้ผง.
ก. แค้น, เคือง, โกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น โกรธขึ้ง ขึ้งโกรธ ขึ้งเคียด.
(คฺรุ่น) ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น.
ก. อึดอัดใจ, รู้สึกอัดอั้นตันใจ, รู้สึกคับแค้นอยู่ในอกในใจ.
ก. ผูกใจเจ็บ, อาฆาตแค้น, เช่น อนึ่งวิวาทด่าตีกันแล้วต่างคนต่างมาเรือน ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วัน (สามดวง), ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วันหนึ่ง (กฎ. ราชบุรี).
พูดเป็นเชิงโอ้อวด เช่น เรื่องแค่นี้ทำเป็นคุย.
ก. ผูกใจเจ็บคิดจะทำการแก้แค้นให้ได้.
น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคมสมเขาสรวล คำสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
คำค่อนว่าหมายความว่า แต่งตัวเกินพอดี เช่น ไปงานแค่นี้ไม่ต้องซัดชุดหรูก็ได้.
ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น จะไกลแค่ไหน ฉันก็จะดั้นด้นไปหาเธอ, ด้น หรือ ด้นดั้น ก็ว่า.