(ทุกขะเวทะนา) น. ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ, ความรู้สึกเจ็บปวดทรมาน.
(เวทะ-) น. ความรู้สึก, ความรู้สึกทุกข์สุข, เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
(เวดทะ-) ก. สังเวชสลดใจ เช่น เรามักเวทนาผู้เคราะห์ร้าย เด็กคนนี้น่าเวทนา.
(-ซวง) น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา (ปกีรณำพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ซื่อให้เสื่อมเท็จ (สุ. สอนเด็ก).
(กฺล้า) ว. แข็ง เช่น เหล็กกล้า, แรง เช่น เวทนากล้า แดดกล้า.
น. ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด, ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ทั้ง ๕.
น. เขต, พื้นที่ที่กำหนดไว้โดยตรงหรือโดยหมายรู้กัน, เช่น ชายแดน ลํ้าแดน, ถิ่นที่มีคน สัตว์ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งประเภทเดียวกันอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น แดนผู้ร้าย แดนเสือโคร่ง แดนกล้วยไข่ แดนโลกีย์, โลก เช่น สตรีใดในพิภพจบแดน ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์ (อิเหนา).
น. กอง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
น. อาหารคือผัสสะ หมายเอาการประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยแห่งเจตสิกอันจะพึงเกิดโดยวิถีมีเวทนาเป็นต้น เป็นประการหนึ่งในอาหารทั้ง ๔ (อีก ๓ อย่าง คือ กวลิงการาหาร อาหารคือคำข้าว มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา และวิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ).
(เพดทะ-) น. เวทนา, ความรู้สึก. (ดู เวทนา).
น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
(รูบ, รูบปะ-) น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ร่าง เช่น โครงรูป, ร่างกาย เช่น รูปตัวคน รูปตัวสัตว์, เค้าโครง เช่น ขึ้นรูป, แบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปรี รูปไข่
ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ว. ลักษณะอาการที่หลุด ขาด หรือลุ่ยออกกะรุ่งกะริ่ง เช่น จมูกแหว่งหูวิ่นเวทนา อนิจจานิจจาเป็นน่ากลัว (สังข์ทอง), มักใช้เข้าคู่กับคำ ขาด เป็น ขาดวิ่น เช่น เสื้อผ้าขาดวิ่น.
น. ชื่อธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม.
(-เพด) ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถาแล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา.
ความคิดเป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ).
(สังเวด, สังเวชะ-) ก. รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้วสังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงก็สังเวช.
ความจำ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
(สะเหฺวย) ก. ได้รับ, ได้ประสบ, เช่น เสวยทุกขเวทนา, ได้รับประโยชน์ เช่น เสวยสิทธิ์.
(-ดูน) ว. เดือดร้อน, ทนทุกขเวทนาทั้งกายและใจ, ในบทกลอนตัดใช้ว่า ดุร ก็มี.