(ทะ-) ก. อาการที่สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย เช่น กองทรายทลาย, พังหรือทำให้พัง เช่น กำแพงทลาย ทลายกำแพง, มักใช้เข้าคู่กับคำ พัง เป็น พังทลาย, โดยปริยายหมายความว่า ล้มเหลว ไม่ได้ดังหวัง เช่น ความฝันพังทลาย วิมานทลาย.
น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Neuropeltis racemosa Wall. ในวงศ์ Convolvulaceae ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ผลเล็ก มีปีกบางล้อมรอบเป็นแผ่นกลม.
น. คนที่แสดงกิริยาเอะอะตึงตัง.
(กฺรุ) น. เรียกบ่อที่ใช้อิฐเป็นต้นเรียงเป็นผนังบ่อเพื่อกันดินทลาย ว่า บ่อกรุ.
ก. ล้มหรือทำให้ล้มลง เช่น ต้นไม้โค่น โค่นต้นไม้, ทลายลง เช่น ยอดปรางค์โค่น, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้หมดไปหรือสิ้นไป เช่น โค่นอำนาจ.
(จะระ-) ว. ตะแคง เช่น เท้าล้มจระแคง ทลายพุงพัง (สุธนู).
(ฉะหฺลาย) ก. สลาย, แตกพัง, ทลาย, ละลาย.
เศษหิน ดิน แร่ และอินทรียวัตถุที่เกิดจากกระบวนการผุสลายและพังทลาย วัสดุเหล่านี้ถูกน้ำ ลม หรือธารน้ำแข็งพามาสะสม.
(ถะหฺล่ม) ก. ยุบหรือทำให้ยุบลง เช่น แผ่นดินถล่ม, ทำให้พังทลายหรือล่มจม เช่น ถล่มด้วยปืนใหญ่.
ก. อาการที่สิ่งที่แออัดกันอยู่หรือถูกกีดกั้นผลุดหรือหลุดออกมาโดยแรง เมื่อสิ่งกีดกั้นแตกหรือพังทลายลง เช่น ถูกแทงไส้ทะลัก น้ำทะลักออกจากเขื่อน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สินค้าที่กักตุนทะลักออกมา.
น. บ่อที่ใช้อิฐเป็นต้นเรียงเป็นผนังบ่อเพื่อกันดินทลาย.
ว. ยับเยิน, พัง, ทลาย, เช่น หลังคาเปิง ด่าเสียเปิง.
ก. ทลาย เช่น บ้านพัง ตึกพัง, ทำให้ทลาย เช่น พังบ้าน พังประตู.
ก. ย่น, ยู่ยี่, เช่น ผ้ายับ เสื้อยับ กระดาษยับ, อาการซึ่งแสดงความเสียหายมาก หรือเสียรูปจนถึงชํ้าชอก พังทลาย ป่นปี้ ปู้ยี่ปู้ยำ ยู่ยี่ เป็นต้น เช่น รถถูกชนยับ บ้านพังยับ.
ว. เอียงจนเสียรูปโดยมีอาการทำท่าจะทลายลง เช่น ห้องแถวเย้จวนจะพัง, เฉ, ไม่ตรง, เบนหรือเอียงไป, เช่น เขียนหนังสือแถวเย้.
ว. รวนหรือซวนเซมีอาการจะหลุดหรือทลายลง เช่น ฟันโย้เย้ เรือนโย้เย้, ไม่ตรงรูป เช่น เขียนหนังสือโย้เย้.
ก. กิริยาที่ตั้งอยู่แล้วเอนลงหรือทอดลงถึงพื้นหรือทลายลง เช่น ต้นไม้ล้ม ล้มตัวลงนอน ตึกล้ม, ทำให้มีอาการเช่นนั้น เช่น ล้มจอมปลวก ถูกผลักล้มลง, ตั้งอยู่ไม่ได้ เช่น กิจการล้ม ธนาคารล้ม โรงเรียนล้ม
ว. ที่ตั้งอยู่แล้วเอนลงหรือทอดลงถึงพื้นหรือทลายลง เช่น ไม้ล้มข้ามได้ คนล้มอย่าข้าม
(-ลาน) ว. ย่อยยับ, แตกทลาย, พังทลาย.