วัสดุ, สิ่งของต่างๆ ที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น รูปภาพ บัตรคำ แผนภูมิ ฟิล์มภาพยนต์ เทปบันทึกเสียง ฟิล์มสตริป[เทคโนโลยีการศึกษา]
อุปกรณ์, เครื่องมือต่างๆ ที่นำมาช่วยในการใช้วัสดุให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น เครื่องเล่นจานเสียง เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายฟิล์มสติรป เป็นต้น[เทคโนโลยีการศึกษา]
สื่อการเรียนการสอน, คำนี้นักการศึกษาบางท่านใช้คำว่า "สื่อการเรียน" เพราะเห็นว่าสื่อต่างๆ ที่เรานำมาใช้นั้นเพื่อการศึกษา หรือเพื่อช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่วนนักการศึกษาบางท่านจะใช้คำ "สื่อการสอน" เพราะเห็นว่าสื่อต่างๆ นั้น เป็นตัวถ่ายทอดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน<br />สื่อการเรียนการสอนนี้ ได้มีนักการศึกษาได้ให้ความหมาย หรือคำจำกัดความไว้หลายท่านด้วยกัน แต่พอจะสรุปความได้คือ "สื่อการเรียนการสอน" หมายถึง วัสดุ เครื่องมือ ตลอดจนถึงวิธีการต่างๆ ที่จะเป็นตัวช่วยถ่ายทอดความรู้ จากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน[เทคโนโลยีการศึกษา]
เทคโนโลยีการศึกษา, การประยุกต์เอาระเบียบวิธีการ แนวความคิดต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนผลิตผลอันเกิดจากผลของวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น[เทคโนโลยีการศึกษา]
สมาคมแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งทำการกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคในการทดสอบคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในธุรกิจน้ำมัน[ปิโตรเลี่ยม]
การผสมผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมเข้าด้วยกัน, Example:เพื่อให้ได้ชนิดและคุณภาพของน้ำมันตามความต้องการของตลาดและมีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนด[ปิโตรเลี่ยม]
การปรับเทียบพลังงานชนิดต่างๆ, การปรับเทียบพลังงานชนิดต่างๆ เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ให้เทียบเท่าน้ำมันดิบ, Example:ตัวอย่างเช่น ก๊าซธรรมชาติ 1 ล้านลูกบาศก์ฟุต เทียบเท่าน้ำมันดิบ 174.4 บาร์เรล หรือ ก๊าซธรรมชาติเหลว 1 บาร์เรล เทียบเท่าน้ำมันดิบ 0.9096 บาร์เรล หรือ ถ่านหินลิกไนท์ 1 เมตริกตัน เทียบเท่าน้ำมันดิบ 2.053 บาร์เรล[ปิโตรเลี่ยม]
โรงกลั่นน้ำมันประเภท Hydro skimming Refinery ที่มี cracking เพิ่มเข้ามา, โรงกลั่นน้ำมันประเภท Hydro skimming Refinery ที่มี cracking เพิ่มเข้ามา ซึ่งจะทำหน้าที่แตกตัวโมเลกุลของสารไฮโดรคาร์บอนต่างๆให้เป็นน้ำมันที่มีคุณค่าสูง, Example:โรงกลั่นน้ำมันประเภทนี้จะให้ผลิตภัณฑ์น้ำมันหนัก เช่น น้ำมันเตา น้อยกว่าที่ผลิตได้จากโรงกลั่นน้ำมันประเภท Hydro skimming เพราะน้ำมันหนักที่กลั่นได้จะถูกทำให้แตกตัวที่หน่วย cracking เปลี่ยนสภาพเป็นน้ำมันเบาชนิดต่างๆ ที่มีมูลค่าสูงขึ้น[ปิโตรเลี่ยม]
เอพีแอล ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงภาษาหนึ่งซึ่งคิดค้นขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชื่อ เคนเนท ไอเวอร์สัน แห่งบริษัทไอบีเอ็ม ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ หลากหลายมาใช้แทนคำสั่งในภาษานี้พร้อมกันนั้นก็เพิ่งคำสั่งแปลกๆ ที่ภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ไม่มีใช้ลงไปด้วย ทำให้ภาษานี้ซับซ้อนและไม่ได้รับความนิยมนัก ทั้งๆ ที่เป็นภาษาที่มีสมรรถนะสูงมาก[คอมพิวเตอร์]
รหัสตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ที่กำหนดมาตรฐานโดยสำนักงานมาตรฐานของสหรัฐเมริกาสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์ต่างๆ, Example:รหัสแอสกีพื้นฐานใช้เพียง 7 บิต 8 บิต เพื่อใช้แทนสัญลักษณ์ภาพกราฟิกต่างๆ ส่วนทางประเทศไทยก็ได้อาศัยส่วนขยายนี้กำหนดเป็นรหัสภาษาไทยไว้ใช้งานด้วย เรียกว่าเป็นรหัส สมอ.[คอมพิวเตอร์]
ความรู้ที่อยู่ภายนอก, ความรู้ที่สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น หนังสือ คู่มือ ตำรา เอกสารต่างๆ คนทั่วไปสามารถเข้าถึงความรู้ประเภทนี้ได้ง่าย[การจัดการความรู้]
การเฝ้าสังเกตพื้นที่, การเฝ้าสังเกตปริมาณรังสี หรือการเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากการตรวจวัดพื้นที่ในสถานปฏิบัติการทางรังสี ณ ตำแหน่งต่างๆ[นิวเคลียร์]
การสำรวจพื้นที่, ขั้นตอนเบื้องต้นในการหาพื้นที่เพื่อเป็นที่ตั้งสถานปฏิบัติการทางนิวเคลียร์หรือทางรังสี โดยสำรวจข้อมูลและปัจจัยต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ เพื่อพิจารณาผลกระทบที่อาจมีต่อความปลอดภัยของสถานปฏิบัติการ และคัดสถานที่ที่ไม่เหมาะสมออก[นิวเคลียร์]
กลุ่มอาการทางไขกระดูก, กลุ่มอาการป่วยจากการได้รับรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจากภายนอกทั่วร่างกายในระยะเวลาสั้นๆ ปริมาณตั้งแต่ 1 เกรย์ ขึ้นไป ทำให้เกิดการลดลงของเม็ดเลือดและก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย โลหิตจาง ร่างกายติดเชื้อง่าย เลือดไหลไม่หยุด (ดู Radiation syndrome, Gastrointestinal syndrome และ Cerebrovascular syndrome ประกอบ)[นิวเคลียร์]
การเริ่มดำเนินงาน, กระบวนการทดสอบการทำงานของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการทดลองเดินเครื่องของโรงงานนิวเคลียร์ก่อนได้รับอนุญาตให้เดินเครื่อง เพื่อตรวจสอบว่าตรงตามแบบและเกณฑ์สมรรถนะที่ต้องการ[นิวเคลียร์]
แกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, บริเวณส่วนกลางเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ประกอบด้วย เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แท่งควบคุม สารหน่วงนิวตรอน และโครงสร้างที่รองรับอุปกรณ์ต่างๆ[นิวเคลียร์]
การเลิกดำเนินงาน, กระบวนการด้านบริหารจัดการและด้านเทคนิค เพื่อยกเลิกการควบคุมโรงงานนิวเคลียร์บางส่วนหรือทั้งหมด เนื่องจากไม่มีการใช้งานอีกต่อไป โดยต้องให้มีความปลอดภัยต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว รวมถึงการลดปริมาณนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ตกค้างอยู่ตามวัสดุและสถานที่ต่างๆ หลังจากเลิกดำเนินงาน วัสดุบางส่วนสามารถนำกลับมาแปรใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือจัดเก็บเป็นกากกัมมันตรังสี ส่วนสถานที่ก็สามารถใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้ (ดู commissioning ประกอบ)[นิวเคลียร์]
รังสีนอกร่างกาย, รังสีที่มนุษย์ได้รับจากแหล่งกำเนิดรังสีที่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น รังสีคอสมิก และรังสีจากต้นกำเนิดรังสีชนิดต่างๆ (ดู source ประกอบ)[นิวเคลียร์]
หีบห่อกากกัมมันตรังสี, ภาชนะที่มีกากกัมมันตรังสีในรูปแบบต่างๆ หลังการปรับสภาพบรรจุอยู่ รวมทั้งวัสดุดูดซับ และ/หรือ วัสดุบุผนังภาชนะ ซึ่งต้องจัดเตรียมให้เป็นไปตามข้อกำหนดว่าด้วยการปฏิบัติงาน การเก็บรักษา การขนส่ง และการขจัดกากกัมมันตรังสี เช่น ถังเหล็กขนาด 200 ลิตร ที่มีกากแก้วกัมมันตรังสีหลังจากปรับสภาพแล้วบรรจุอยู่[นิวเคลียร์]
เครื่องสำรวจรังสี, อุปกรณ์ชนิดเคลื่อนย้ายได้ ที่ใช้ตรวจหาและวัดรังสี เพื่อใช้สำรวจปริมาณรังสีในพื้นที่ต่างๆ หรือที่ตัวบุคคล เพื่อตรวจสอบการแผ่รังสี และ การเปื้อนสารกัมมันตรังสี[นิวเคลียร์]
การกลายพันธุ์เกิดเอง, การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์สิ่งมีชีวิต ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น แสงแดด อุณหภูมิ หรือเกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการสร้างและซ่อมแซมดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้น[นิวเคลียร์]
ต้นกำเนิดรังสี, แหล่งกำเนิดรังสี, วัสดุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สามารถแผ่รังสีชนิดก่อไอออนออกมา ไม่ว่าจะเป็นการแผ่รังสีด้วยการแปลงนิวเคลียสของตัวเองหรือด้วยวิธีอื่นๆ เช่น สารกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสีชนิดต่างๆ[นิวเคลียร์]
ต้นกำเนิดรังสี, แหล่งกำเนิดรังสี, วัสดุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สามารถแผ่รังสีชนิดก่อไอออนออกมา ไม่ว่าจะเป็นการแผ่รังสีด้วยการแปลงนิวเคลียสของตัวเองหรือด้วยวิธีอื่นๆ เช่น สารกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสีชนิดต่างๆ, Example: [นิวเคลียร์]
การถ่ายภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์, เทคนิคการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยให้สารเภสัชรังสีแก่ผู้ป่วย และถ่ายภาพการกระจายตัวของสารเภสัชรังสีในอวัยวะที่ต้องการ ตรวจด้วยเครื่องตรวจและสร้างภาพ เช่น Gamma camera หรือ Single Photon Emission Computed Tomography (SPECT) หรือ Positron Emission Tomography (PET) เพื่อแสดงขนาด รูปร่าง ตำแหน่ง และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยวิธีอื่น <br>ศัพท์ที่ใช้ทางการแพทย์และมีความหมายคล้ายกัน ได้แก่คำว่า radionuclide organ imaging, nuclear scanning</br>, Example: [นิวเคลียร์]
ผลผลิตการแยกสลายด้วยรังสี, สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีสารใดๆ เช่น การฉายรังสีอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และ เกิดการแยกสลาย ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียรและทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหารได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง[นิวเคลียร์]
อาร์ไอเอ, เทคนิคการหาปริมาณสารต่างๆ ในสิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ โดยใช้สารประกอบติดฉลากรังสีเป็นตัวติดตามผลของปฏิกิริยาจำเพาะระหว่างสารก่อภูมิต้านทาน(antigen) และสารภูมิต้านทาน(antibody)[นิวเคลียร์]
นิเวศวิทยารังสี, การศึกษาผลกระทบของสารกัมมันตรังสีที่มีในธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นต่อระบบนิเวศ สารกัมมันตรังสีอาจมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและสมบัติทางเคมีของตัวมันเอง และมีวัฏจักรการเคลื่อนย้ายในระบบนิเวศภายในกลุ่มหรือระหว่างกลุ่มของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต (หิน ดิน น้ำ และอากาศ) ในสภาวะแวดล้อมต่างๆ กัน เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต ส่งผลกระทบทางชีววิทยาและการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ[นิวเคลียร์]
ต้นกำเนิดรังสี, วัสดุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สามารถแผ่รังสีชนิดก่อไอออนออกมา ไม่ว่าจะเป็นการแผ่รังสีด้วยการแปลงนิวเคลียสของตัวเองหรือด้วยวิธีอื่นๆ เช่น สารกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสีชนิดต่างๆ[นิวเคลียร์]
เย็บกี่, การทำเล่มหนังสือโดยการเย็บด้ายวิธีหนึ่ง มักใช้สำหรับหนังสือที่มีความหนามากและต้องการความทนทานเป็นพิเศษ เช่น หนังสืออ้างอิงต่างๆ, Example:<p>เย็บกี่ <p>เป็นการเย็บอกของยกพิมพ์แต่ละยกด้วยเชือกเส้นเดียวกัน เย็บจากยกพิมพ์หนึ่งไปอีกยกพิมพ์หนึ่งติดต่อกันไปจนจบเล่ม การเย็บกี่นี้สามารถเย็บหนังสือที่เป็นเล่มหนาๆ มีหน้ามากให้เป็นเล่มเดียวกันได้ และสามารถเปิดเล่มหนังสือทุกหน้าให้กางออกได้เต็มที่ หนังสือเย็บกี่นี้จะต้องมีการปิดปกคือนำปกมาผนึกยึดติดกับสันหนังสือเช่นเดียวกับหนังสือเย็บสัน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br>[นิวเคลียร์]
ความปลอดภัยจากรังสี, การป้องกันหรือลดอุบัติเหตุต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากต้นกำเนิดรังสี หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น โดยมีมาตรการบรรเทาผลแก่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ประชาชน และสิ่งแวดล้อมภายหลังจากที่เกิดเหตุขึ้น, Example: [นิวเคลียร์]
ระบบ, ที่รวมของส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน มีจุดประสงค์ร่วมกัน และมีขอบเขตโดยแน่ชัด เช่น คอมพิวเตอร์เป็นระบบ เพราะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาตามที่ผู้ใช้กำหนด ร่างกายมนุษย์เป็นระบบเพราะประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ ระบบทั้งหลายต้องรับอินพุดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเข้าไปในระบบ ต่อจากนั้นจึงนำอินพุดเหล่านั้นมาดำเนินการให้เกิดเป็นเอาท์พุต หรือปรับอินพุดหรือการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การนำเอาท์พุดมาพิจารณาแล้วปรับ ดังนี้เรียกว่า การป้อนกลับ (feedback)[คอมพิวเตอร์]
เพ็ต, เทคนิคการถ่ายภาพการทำงานของอวัยวะด้วยวิธีกราดวิเคราะห์โพซิตรอนที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีที่มีครึ่งชีวิตสั้นมากซึ่งผลิตจากไซโคลทรอนเข้าไปในกระแสเลือด เช่น การตรวจการทำงานของสมอง จะใช้กลูโคสซึ่งฝังตรึงด้วยสารกัมมันตรังสี ฟลูออร์-18 เพื่อแสดงการทำงานของสมองส่วนต่างๆ เป็นภาพสามมิติที่มีสีสันแตกต่างกัน ข้อดีของเทคนิคนี้ คือ สามารถแสดงผลได้รวดเร็วในเวลาน้อยกว่า 1 นาที นอกจากนี้ยังสามารถใช้วินิจฉัยด้านอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด เนื้องอก และด้านลิ่มเลือดหรือโรคลมต่างๆ[นิวเคลียร์]
แรงนิวเคลียร์, แรงที่ยึดอนุภาคต่างๆ ภายในนิวเคลียสของอะตอมเข้าไว้ด้วยกัน[นิวเคลียร์]
กลุ่มอาการทางระบบเลือด, กลุ่มอาการป่วยจากการได้รับรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจากภายนอกทั่วร่าง กายในระยะเวลาสั้นๆ ปริมาณตั้งแต่ 1 เกรย์ ขึ้นไป ทำให้เกิดการลดลงของเม็ดเลือดและก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย โลหิตจาง ร่างกายติดเชื้อง่าย เลือดไหลไม่หยุด (ดู Radiation syndrome, Gastrointestinal syndrome และ Cerebrovascular syndrome ประกอบ)[นิวเคลียร์]
ส่วนย่อยต่างๆ ที่มาประกอบกันเป็นส่วนใหญ่, Example:คำที่มักเขียนผิด คือ รายลเอียด[คำที่มักเขียนผิด]
วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่งซึ่งกล่าวถึงสมบัติทางกายภาพของสารต่างๆ และพลังงาน, Example:คำที่มักเขียนผิด คือ ฟิสิก[คำที่มักเขียนผิด]
ความเหลื่อมล้ำ (ช่องว่าง) ในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้, ความเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ ภายในประเทศ ที่มีโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้แตกต่างกัน เช่น ระหว่างประชากรในเมือง ใหญ่กับประชากรในชนบท ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีเพศ อายุ ต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของผู้พิการ ที่อาจน้อยกว่าบุคคลทั่วไปอีกด้วย หรืออาจะไปเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในประเทศต่างๆ เพราะประเทศที่มั่งคั่ง จะมีความพร้อมมากกว่าประเทศยากจน[Assistive Technology]
ระบบ (คอมพิวเตอร์) ขนาดเล็กที่อยู่ในเครื่องใช้ต่างๆ เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หม้อหุงข้าว เตาอบ รถยนต์ ระบบแบบฝังตัวนี้ภายในทำงานโดยอาศัยไมโครโพรเซสเซอร์และตัวรับสัญญาณ ระบบสื่อสาร และระบบควบคุมที่เชื่อมต่อ และทำงานโดยการควบคุมโดยโปรแกรม[Assistive Technology]
ระบบภูมิสารสนเทศ, ระบบภูมิสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่รู้จักกันมากขึ้น สำหรับ หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ และติดตามทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากร ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ระบบภูมิสารสนเทศได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่ การรับรู้จากระยะไกล (Remote sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS - Global Positioning System) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS - Geographic information Systems )[Assistive Technology]
ระบบภูมิสารสนเทศ, ระบบภูมิสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่รู้จักกันมากขึ้น สำหรับ หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ และติดตามทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากร ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ระบบภูมิสารสนเทศได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่ การรับรู้จากระยะไกล (Remote sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS - Global Positioning System) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS - Geographic information Systems )[Assistive Technology]
การสำรวจระยะทางไกล, การบันทึกหรือการได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัตถุ พื้นที่เป้าหมายด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูล (sensor) จากระยะไกล โดยทั่วไปมักจะหมายถึงดาวเทียมถ่ายภาพวัตถุบนพื้นโลกซึ่งจะสามารถวัดสี ความร้อน ความเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกได้[Assistive Technology]
ระบบแยกข้อมูลภาพจากดาวเทียมเป็นภาพหลายช่วงคลื่น, ระบบแยกข้อมูลภาพจากดาวเทียมเป็นภาพหลายช่วงคลื่น เพื่อแยกแยะลักษณะต่างๆบนพื้นดิน โดยทั่วไปจะใช้ ๗ ช่วงคลื่น และทำให้สามารถจำแนกชนิดของวัตถุบนพื้นดินได้งาน เช่น ดิน พืชพรรณ ความแข็งแรงของพืช ชนิดของพืชพรรณ ปริมาณของมวลชีวภาพ (biomass) จำแนกแหล่งน้ำ บอกความชื้นของดิน แยกระหว่างเมฆกับหิมะ แสดงแหล่งพลังงานความร้อน และจำแนกชนิดของหิน[Assistive Technology]
กวีนิพนธ์ไทยในโอกาสต่างๆ[TU Subject Heading]
คารีโอไทป์ การนำโครโมโซมขนาดต่างๆ มาเรียงกัน, Example:การนำโครโมโซมขนาดต่างๆ มาเรียงกัน โดยจำแนกตามรูปร่างลักษณะ ขนาด และตำแหน่งของเซนโทรเมียร์ที่เหมือนกัน[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ส่วนต่างๆ ของอาคาร, Example:ส่วนของอาคารที่จะต้องแสดงรายการคำนวณการรับ น้ำหนักและกำลังต้านทาน เช่น แผ่นพื้น คาน เสา และรากฐานเป็นต้น [สิ่งแวดล้อม]
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ[การทูต]
องค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว[การทูต]
แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียน เป็นเอกสารที่รวบรวมรายการกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐสมาชิกอาเซียนจะทำร่วมกันเพื่อสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียนภายในปี 2558 แผนงานฯ ได้รับการรับรองโดยผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยแผนงาน มีวิสัยทัศน์ 3 ประการ ให้อาเซียนเป็น(1) ประชาคมที่มีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน (2)เป็นประชาคมที่สงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับ ประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน และ (3)เป็นประชาคมที่มีพลวัตรและร่วมมือปฎิสัมพันธ์กับโลกภายนอก[การทูต]
Convention on Prohibitions or Restrictions on the Use od Certain Conventional Weapons Which May Be Deemed to Be Excessively Injurious or to Have Indiscriminate Effects = อนุสัญญาห้ามอาวุธตามแบบบางชนิดที่ก่อให้เกิดการบาด เจ็บร้ายแรงเกินความจำเป็นหรือก่อให้เกิดลโดยไม่จำกัดเป้าหมาย มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการห้ามหรือหารจำกัดการใช้อาวุธตามแบบบางชนิดที่ก่อให้ เกิดผลกระทบร้ายแรงด้านมนุษยธรรม โดยสาระสำคัญของการ คอบคุมอาวุธตามแบบแต่ละชนิดจะถูกกำหนดไว้ในพิธีสารแต่ละฉบับต่างหาก ซึ่งในชั้นนี้ มีพิธีสาร 5 ฉบับ และรัฐต่างๆ สามารถเลือกยอมรับพิธีสารต่อท้ายอนุสัญญาฯ ฉบับใดก็ได้อย่างน้อยจำนวน 2 ฉบับ[การทูต]