เครื่องหมาย ellipsis หมายถึง จุดเล็ก ๆ สามจุด ซึ่งจะอยู่หลังรายการคำสั่งบางรายการภายใต้เมนูต่าง ๆ จุด 3 จุด นี้ แสดงว่า หากเลือกคำสั่งนี้ จะมีคำถามรายละเอียดเพิ่มเติมให้ตอบในแบบของกรอบสนทนา (dialog box) บางรายการคำสั่งที่ไม่มี 3 จุดนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะปฎิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีกรอบสนทนามาให้เติมเลย
(เซอ'คัมสฺเทินซฺ) { circumstanced, circumstancing, circumstances } n. สถานการณ์, กรณี, สภาวะ, สภาพ, ฐานะ, กาลเทศะ, วิธีการ, โอกาส, สภาพแวดล้อม, รายละเอียด. vt. ให้อยู่ในสภาวะหนึ่งเฉพาะ, ควบคุมหรือนำโดยสถานการณ์, Syn.condition
ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล
คลังข้อมูลหมายถึง ที่หรือแหล่งเก็บข้อมูล หรือแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนมากจะอยู่กับหน่วยงานคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยคอมพิวเตอร์ของกระทรวงเกษตร อาจเป็นคลังข้อมูลในเรื่องของ ผลผลิต เนื้อที่การเกษตร รายละเอียดเกี่ยวกับกสิกร สัตว์ที่ใช้ในการเกษตร สินค้าเกษตร ฯลฯ เป็นต้น
(ดิบรีฟ') vt. สอบถามรายละเอียด, See Also:debriefing n.
(ดี'เทล) n. รายละเอียด, ข้อปลีกย่อย, ส่วนย่อย vt. แจ้งรายละเอียด, แต่งตั้งหรือสั่งให้ปฎิบัติการพิเศษ
(ดีเทลดฺ') adj. ซึ่งมีรายละเอียดมาก, Syn.thorough
เสริมหน้าหมายถึง โปรแกรมหนึ่งโปรแกรมใด หรือคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดที่ซ่อนรายละเอียดของการเข้าถึงข้อมูลเอาไว้ สรุปง่าย ๆ ได้ว่า ตัวโปรแกรมนั้นเองที่มีตัวเสริมหน้า เป็นตัวกันมิให้ใครเข้าถึงข้อมูลได้ นอกจากจะรู้จักคำสั่งต่าง ๆ
(ฟัส'ซี) adj. จู้จี้, ชอบจับผิดในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ , ยุ่ง, เต็มไปด้วยรายละเอียด (โดยเฉพาะมากเกินไป) , ละเอียดลออ., See Also:fussily adv. fussiness n., Syn.dainty, fastidious
ข้อความหลายมิติหมายถึง การเรียกหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการรู้ ให้แสดงบนจอภาพ ซึ่งอาจมีทั้งข้อความที่ใช้อธิบาย หรือบางทีจะมีภาพประกอบ มีเสียง หรือมีการแสดงการเคลื่อนไหว ฯ ใช้มากในโฮมเพจต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต ส่วนมาก คำที่จะมีคำอธิบายเช่นนี้ มักจะเป็นคำที่ขีดเส้นใต้ไว้ หรือไม่ก็เป็นตัวดำหนา เมื่อลากเมาส์ไปวางที่คำเหล่านี้ ตัวชี้ตำแหน่งจะเปลี่ยนเป็นนิ้วชี้ ถ้ากดเมาส์ ก็จะมีรายละเอียดมาอธิบายให้ หรือจะโยงไปหารายละเอียดของเรื่องนั้น ๆ