(ขะยํ่า) ก. เอาปากงับกัดอย่างแรง, โดยปริยายหมายถึงการทำร้ายด้วยวาจาหรือการกระทำอย่างรุนแรง.
น. ใบอนุญาตให้จับจองที่ดินที่ทางราชการออกให้แก่ผู้จับจองที่ดินโดยกำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วภายใน ๒ ปี.
(ผะหฺยํ่าผะเหฺยอ) ก. ปํ้า ๆ เป๋อ ๆ เช่น ทำหาวเรอพูดผยํ่าเผยอ (พงศ. เลขา).
น. รอยดำ ๆ คล้ายถูกอะไรกัดเป็นรอยชํ้า ปรากฏตามร่างกายเป็นแห่ง ๆ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดอย่างไร โบราณถือว่าถูกผีพรายกัดยํ้าเอา แต่ไม่ถึงกับเข้าเป็นแผล.
ก. เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ เช่น ย่ำโคลน ย่ำเลน, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
ก. ตีกลองถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลา.
ก. ย่ำดินโคลนพื้นนาที่จะตกกล้าให้อ่อนเหลว, ย่ำเทือก ก็เรียก.
ก. จมเขี้ยว เช่น เด็กถูกสุนัขกัดย่ำเขี้ยว.
ก. ตีกลอง ฆ้อง หรือระฆังถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาในเวลาค่ำ (ราว ๑๘ นาฬิกา).
ก. ตีฆ้องถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลา.
ก. เดินไปเรื่อย ๆ เพราะไม่มีรถหรือค่ารถเป็นต้น เช่น เงินหมดกระเป๋าเลยต้องเดินย่ำต๊อกกลับบ้าน.
ก. เหยียบหนัก ๆ ซ้ำ ๆ อยู่กับที่.
ก. ไม่ก้าวหน้า, ไม่รุดหน้า, เช่น ทำงานมาหลายปีแล้ว ยังย่ำเท้าอยู่กับที่ ไม่ได้เลื่อนตำแหน่งเสียที.
ก. ยํ่าดินโคลนพื้นนาที่จะตกกล้าให้อ่อนเหลว, ย่ำขี้เทือก ก็เรียก.
ก. ย่ำกันไปมาจนเปื้อนเปรอะเลอะเทอะเหมือนเปรอะด้วยขี้เทือก.
ก. ตีกลอง ฆ้อง หรือระฆังถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาสำหรับเปลี่ยนยาม, ถ้ากระทำในเวลาเช้า เรียกว่า ย่ำรุ่ง (ราว ๖ นาฬิกา), ถ้ากระทำในเวลาค่ำ เรียกว่า ย่ำค่ำ (ราว ๑๘ นาฬิกา).
ก. เบียดเบียน เช่น ย่ำยีศาสนา, บีบคั้น, ข่มเหง, เช่น ย่ำยีจิตใจ, บดขยี้ เช่น ยกกองทัพไปย่ำยีประเทศอื่น.
ก. เหน็ดเหนื่อยมาก, ลำบากมาก, เช่น ทำงานย่ำแย่ ถูกใช้เสียย่ำแย่.
ก. ตีกลอง ฆ้อง หรือระฆังถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาในเวลาเช้า (ราว ๖ นาฬิกา).
น. เวลารุ่งเช้าราว ๖ นาฬิกา.
น. เวลาโพล้เพล้พลบค่ำ, สนธยา ก็ว่า.
ก. พูดหรือทำซํ้า ๆ (เพื่อเน้นให้แน่น ให้กระชับ ให้มั่นคง) เช่น พูดยํ้า ยํ้าหัวตะปู.
ว. อาการที่กัดเบา ๆ เพียงให้บุบหรือเป็นรอยช้ำ เช่น หมากัดย้ำ แต่ไม่เข้า เคี้ยวพอย้ำ ๆ.
ก. สอดนอตที่ปลายข้างหนึ่งบานลงในรูแผ่นโลหะ ๒ แผ่นที่ซ้อนให้รูตรงกัน ทำให้นอตร้อนจัดแล้วตอกย้ำให้ปลายบานอย่างดอกเห็ด ซึ่งเมื่อปล่อยให้เย็น นอตจะหดตัวรัดโลหะ ๒ แผ่นนี้ให้แนบกันสนิท.
(-เหฺยอ) ว. เลอะเทอะ, หลงลืม.
ก. ละเมิดให้เสียหาย, ย่ำยีด้วยความดูถูก เช่น อย่าเหยียบย่ำคนจน.
น. เอกสารซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่ดินว่างเปล่า มีเงื่อนไขให้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น เรียกว่า ใบเหยียบยํ่า.
น. เรียกไม้ที่ปักขึ้นกลางลานสำหรับผูกควายหรือวัวให้ย่ำนวดข้าวไปรอบ ๆ ว่า เสาเกียด.
(คฺระ) คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำคำหรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง (หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมายความว่า ครึ้มครึ้ม) คระโครม (หมายความว่า โครมโครม).
คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ.
คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น.
คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.
ก. ย่ำถี่ ๆ เช่น ทหารซอยเท้าอยู่กับที่ เด็กซอยเท้าแสดงความไม่พอใจเมื่อไม่ได้ของเล่น
กิริยาที่ผู้รำละครใช้ส่วนหน้าของฝ่าเท้าย่ำซ้ำ ๆ โดยส้นเท้าไม่แตะพื้น ขณะอยู่ในท่าย่อเข่า.
น. นํ้าสกปรกที่เจิ่งนอง เมื่อย่ำหรือแช่เท้าอยู่นาน ๆ จะทำให้เป็นโรคคันที่ง่ามเท้า.
น. ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที, โบราณเขียนเป็น บาตร ก็มี เช่น ย่ำรุ่งสองนาลิกา เสษสังขยาห้าบาตร (ตะเลงพ่าย).
(ปะถมมะ-) น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา.
(ปัดฉิมมะ-) น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
น. เวลาย่ำค่ำ, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, พลบ ก็ว่า.
ว. ลักษณะที่มีฟองมาก เช่น แกงบูดเป็นฟองฟอด ย่ำน้ำโคลนเป็นฟองฟอด.
ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงย่ำโคลนดังฟอดแฟด
ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้เจ็บใจชํ้าใจ โดยย้ำถึงความเสียเปรียบ ความด้อยกว่า หรือความผิดพลาด เช่น เยาะว่า ไหนว่าเก่งนัก ทำไมสอบตก.
น. ละครที่มีบทสำหรับร้องแทรก ส่วนที่ร้องเป็นการย้ำเนื้อหาที่พูดด้วยบทไว้แล้ว ถ้าตัดการร้องเหลือแต่การพูดก็ยังเป็นละครพูดได้.
ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละอย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชักเลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ
คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ว เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ว่อนว่อน กร่อนเป็น วะว่อน วาบวาบ กร่อนเป็น วะวาบ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.
น. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน
น. ไม้ที่ปักขึ้นเป็นหลักกลางลาน สำหรับผูกควายหรือวัวให้ย่ำนวดข้าวไปรอบ ๆ, เกียด ก็ว่า.
ดื้อรั้นไม่ยอมเปลี่ยนความคิดง่าย ๆ, หัวเห็ดย้ำ ก็ว่า เช่น มหาชนโดยมากเขาทำกันอย่างไร เราก็ต้องทำอย่างนั้น ที่จะไปหัวเห็ดย้ำให้ผิดกาลเทศะอย่างจีน ๆ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย (ลักวิทยา).