โรคเอดส์หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม, Example:<p>โรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า human immunodeficiency virus หรือเรียกย่อๆ ว่า HIV (เอชไอวี) โดยเชื้อไวรัสจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวซึ่งมีความสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำลง จึงทำให้ร่างกายติดเชื้อโรคฉวยโอกาสได้ง่าย เช่น เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และโรคต่างๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด <p> <p>เชื้อเอชไอวีติดต่อได้หลายวิธีดังนี้<br/> - การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ทั้งในรักร่วมเพศและรักต่างเพศ<br/> - การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะในผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นที่มักใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน<br/> - การรับเลือดและองค์ประกอบของเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ การผสมเทียม<br/> - ทารกติดเชื้อจากมารดา โดยทารกอาจได้รับเชื้อแพร่มาตามเลือดสายสะดือ หรือติดเชื้อขณะคลอดจากเลือดและเมือกในช่องคลอด หรือติดเชื้อในระยะเลี้ยงดูโดยได้รับเชื้อจากน้ำนม <p> <p>อาการของโรค<br/> ภายหลังได้รับเชื้อในระยะแรกผู้ติดเชื้อบางรายมีอาการไข้และมีต่อมน้ำเหลืองโตตามซอกคอและซอกรักแร้ อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ไม่นานและหายไปได้เอง เมื่อการติดเชื้อดำเนินต่อไปอีกหลายปี ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันเสื่อมลง ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย ต่อมาเริ่มมีอาการ เช่น ไข้เรื้อรัง ท้องร่วงเรื้อรัง มีฝ้าขาวในปาก เมื่อถึงระยะเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น ผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อฉวยโอกาสและจะเป็นมะเร็งชนิดที่ไม่ค่อยพบในคนทั่วไป นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีอาการทางระบบประสาท เช่น เฉื่อยชา ความจำเสื่อม ผู้ป่วยจะมีน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว <p> <p>ระยะตั้งแต่เชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายจนถึงระยะแสดงอาการโรคเอดส์เต็มขั้นจะกินเวลานานหลายปี ในระหว่างนี้ถ้าต้องการจะทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่สามารถทำได้โดยการตรวจเลือด <p> <p>การรักษา<br/> 1. การดูแลผู้ป่วยโดยทั่วไป เช่น การให้อาหารที่เพียงพอ<br/> 2. การรักษาตามอาการ<br/> 3. การรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาส<br/> 4. การให้ยาต้านเชื้อเอชไอวีเพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส<br/> 5. การให้ยากระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน <br> <br>แหล่งข้อมูล<br> ประเสริฐ ทองเจริญ จันทพงษ์ วะสี และรวงผึ้ง สุทเธนทร์. (2539). กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมหรือโรคเอดส์. ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (เล่มที่ 20, หน้า 242-269). กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
เชื้อไวรัสเอชไอวี[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
๑. บัพ, จุดต่อ, ปม, ข้อ ๒. สถานีเชื่อมโยง, ๑. บัพ, จุดต่อ, ปม, ข้อ ๒. สถานีเชื่อมโยง[คอมพิวเตอร์]
ต่อมน้ำเหลือง[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม[TU Subject Heading]
เห็ดหลินจือ[TU Subject Heading]
การตัดต่อมน้ำเหลือง[TU Subject Heading]
ต่อมน้ำเหลือง[TU Subject Heading]
กลุ่มอาการเยื่อบุเมือกและผิวหนังอักเสบ[TU Subject Heading]
การตัดเนื้อตรวจจากต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล[TU Subject Heading]
ต่อมน้ำเหลืองในท้อง[การแพทย์]
กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม, โรคภูมิต้านทานบกพร่อง, ภูมิคุ้มกันบกพร่องภายหลัง, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง, เอดส์, โรคเอดส์, โรคภูมิต้านทานเสื่อม[การแพทย์]
อะโนด, ขั้วบวก, แอโนด[การแพทย์]
ความต้านทานสำหรับใช้งาน[การแพทย์]
ตัดตรวจเนื้อจากต่อมน้ำเหลือง, การตัดต่อมน้ำเหลืองตรวจ, ตัดชิ้นเนื้อตรวจจากต่อมน้ำเหลือง[การแพทย์]
ก้อนนูนแข็งที่ข้อกลางนิ้วพบในโรคข้อเสื่อม[การแพทย์]
ต่อมน้ำเหลืองของหลอดลม[การแพทย์]
ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ, ต่อมน้ำเหลืองที่คอ[การแพทย์]
ต่อมน้ำเหลืองที่คอกลุ่มหลัง[การแพทย์]
ต่อมบริเวณลำคอส่วนหลัง, ต่อมน้ำเหลืองแถวคอ[การแพทย์]
กรดคีโนดีย์ออกซีย์โคลิก, กรดชีโนดีออกซี่โคลิค, กรดคิโนดีออกซิโคลิค[การแพทย์]
ชีโนดีออกซิโคลิลโคเอ[การแพทย์]
ระยะระหว่างหลอดเอกซเรย์กับฟิล์ม[การแพทย์]
เอคิโนเดอร์มาตา, สัตว์, อีคิโนเดอร์มาตา[การแพทย์]
โนดออฟแรนเวียร์, ช่องว่างระหว่างเซลล์ชวานที่หุ้มแอกซอนอยู่เป็นระยะ ๆ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
บัพ, ตำแหน่งของคลื่นในคลื่นนิ่งซึ่งมีการกระจัดเป็นศูนย์ หรือซึ่งตัวกลางไม่มีการสั่น จากรูป ตำแหน่ง N คือ บัพ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ปฏิบัพ, ตำแหน่งของคลื่นในคลื่นนิ่ง ซึ่งมีการกระจัดมากที่สุด หรือซึ่งตัวกลางมีการสั่นมากที่สุด จากรูป ตำแหน่ง A คือ ปฏิบัติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แอโนด, 1. ขั้วไฟฟ้าที่มีปฏิกิริยาออกซิเดชันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้วไฟฟ้าลบในเซลล์กัลวานิก หรือเป็นขั้วไฟฟ้าบวกในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ 2. ขั้วไฟฟ้าซึ่งเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นภายในระบบ เช่น หลอดวิทยุชนิดไดโอดเป็นขั้วซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าบวกเมื่อเทียบกับแคโทด เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เอคไคโนเดอมาตา, ไฟลัมหนึ่งของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ทะเลทั้งหมดลักษณะลำตัวไม่มีส่วนหัวและส่วนท้าย ผิวขรุขระหรือเป็นหนาม เช่น ดาวทะเล เม่นทะเล ปลิงทะเล เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เอไคโนเดิร์ม, สัตว์ในไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไกลโคซีโนดีออกซิโคลิคแอซิด[การแพทย์]
การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองออก[การแพทย์]
ความบกพร่องทางอิมมูน, ภาวะพร่องทางภูมิคุ้มกัน, การขาดภูมิคุ้มกัน[การแพทย์]
ภาวะบกพร่องของภูมิต้านทาน[การแพทย์]
การกดภูมิคุ้มกัน[การแพทย์]
ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ, ต่อมที่ขาหนีบ[การแพทย์]
ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบกลุ่มบนสุด, ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ[การแพทย์]
ต่อมน้ำเหลือง, การตัด[การแพทย์]
ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้[การแพทย์]
ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ[การแพทย์]
ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอด้านนอก[การแพทย์]
ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ[การแพทย์]
ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ, ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ[การแพทย์]