ก. ขยับใบหูแสดงอาการตั้งใจฟัง ใช้แก่สุนัข เช่น พอมีเสียงอะไรแกรกกราก เจ้าตูบจะยืดคอกระดิกหูฟัง
น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ.
น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน.
ก. แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ, มิดเมี้ยน ก็ว่า.
ก. วุ่นวายใจ, แสดงอาการวุ่นวายไม่เป็นสุข.
ก. กระวนกระวาย, วุ่นวายใจ, แสดงอาการวุ่นวายไม่เป็นสุข, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวนด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน (ม. ร่ายยาว สักบรรพ).
(กฺราบ) ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผาก จดลงกับพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็นคำแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน.
(กฺริยา, กะริยา) น. คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม.
ว. แสดงอาการเจ้าชู้อย่างไก่แจ้.
ว. แสดงอาการให้รู้ว่าอยากได้.
ก. ทำอาการมีพิรุธขึ้นเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง.
(แกฺล้ง) ก. ทำให้เดือดร้อนรำคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทำเป็นปวดฟัน, จงใจทำ พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย
ก. ใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง เช่น โกงเงิน, แสดงอาการดื้อไม่ยอมทำตาม เช่น เด็กโกง ม้าโกง.
ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทำอะไรเขาไม่ได้.
ก. แสดงอาการเหยียดหยามทั้งด้วยวาจาและสายตา.
ก. แสดงอาการให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว เช่น ผู้ใหญ่ขู่เด็ก งูขู่ฟ่อ ๆ.
(คฺร้าน) ว. มีความรู้สึกไม่อยากจะทำหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใด ๆ, ตามปรกติเมื่อใช้พูดมักมีคำ ขี้ ประกอบหน้า เช่น ขี้คร้าน และมักใช้เข้าคู่กับคำ เกียจ เป็น เกียจคร้าน ขี้เกียจขี้คร้าน หมายความว่า ไม่อยากทำงาน.
(คฺลั่ง) ก. แสดงอาการผิดปรกติอย่างคนบ้า, เสียสติ
ก. กลัดกลุ้มในใจจนแสดงอาการอย่างคนบ้า.
เรียกใบหน้าที่แสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้าขึ้นมองดู ว่า หน้าคว่ำ
ว. อาการที่หัวงุดลงมาแสดงอาการผิดหวังเป็นต้น.
ก. แสดงอาการร่าเริง, คึก, ลำพอง
ก. ยืนชิดข้างหลังผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่หรือด้านหัวผู้ใหญ่ที่นอนอยู่ ถือว่าแสดงอาการไม่เคารพ เรียกว่า ยืนคํ้าหัว.
ก. แสดงอาการนับถือ เช่น เคารพผู้ใหญ่ เคารพธงชาติ
ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทำอะไรเขาไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข่นเขี้ยว เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
ก. แสดงอาการอยากได้หรือไม่อยากเสียจนเกินควร.
เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจเป็นต้น ว่า หน้างอ.
ก. แสดงอาการโกรธเคืองหรือไม่พอใจเพื่อให้เขาง้อ, ทำจริตสะบัดสะบิ้ง.
ว. ยื่นออกไปเกินปรกติจนปลายโน้มลง, โน้มไปทางหน้า เช่น สวมชฎางํ้าหน้า, เรียกหน้าที่มีสีหน้าแสดงอาการโกรธไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจเป็นต้น ว่า หน้างํ้า.
ว. เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจเป็นต้น ว่า หน้าเง้า.
ว. เย่อหยิ่งแสดงอาการลบหลู่.
ก. แสดงอาการเป็นปรกติไม่สนใจไยดีต่อสิ่งหรือเหตุการณ์ที่ประสบ เช่น ถูกด่าว่าก็เฉย.
ว. นิ่งอยู่ไม่แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา เช่น นอนเฉย.
ว. แสดงอาการเฉยเมยไม่สนใจใยดี เช่น เขาแสดงอาการชาเย็นกับฉันโดยไม่รู้สาเหตุ, เย็นชา ก็ว่า.
ก. พูดหรือแสดงอาการเป็นเชิงดูหมิ่นหรือเหยียดหยามผู้อื่นที่ขัดสนหรือยากจนกว่า.
ก. พูดหรือแสดงอาการเป็นเชิงดูหมิ่นหรือเหยียดหยามผู้อื่นที่รู้สึกว่าต่ำต้อยหรือไร้ความสามารถ.
ก. ตกใจจนพูดไม่ออก, แสดงอาการงงงัน.
ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า.
ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า.
ตายักษ์ในภาพเขียนหรือรูปปั้นที่แสดงอาการโกรธ เหมือนตาของจระเข้.
น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว.
น. ตาที่แสดงอาการเชื่อมซึม เช่น เมากัญชาจนตาเชื่อม
ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า.
ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า.
ตายักษ์ในภาพเขียนหรือรูปปั้นที่แสดงอาการดุร้าย.
น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอดไมตรีในทางชู้สาว, ตาเล็กตาน้อย ก็ว่า.