(-เหฺม่น) ก. เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ เช่น กระเหม่นตา
เขม้น เช่น กระเหม่นตรับตัว (เสือโค).
น. ชื่อไข้ที่เป็นผื่นตามตัวเหมือนมดกัด มีหัวสีขาว เวลาเป็นทำให้ตัวร้อนจัด.
น. เวลารวยคนมาห้อมล้อม ประจบประแจง เวลาจนคนพากันหน่ายหนี.
น. สารอินทรีย์ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว ทำเป็นลูกกลม มีกลิ่นไม่ชวนดม ใช้ใส่ตู้หนังสือเป็นต้นเพื่อกันแมลงบางชนิด.
น. สีที่เจือสีดำเพื่อลดประกายสดใสให้คล้ำลง อย่างสีแดงเจือสีดำ เป็นสีแดงเลือดหมู.
ว. มีลักษณะมัว ๆ หรือคล้ำ ๆ (ใช้แก่สี) เช่น สีฟ้าหม่น สีเขียวหม่น.
ว. ไม่ผ่องใส, ไม่สบายใจ, ไม่เบิกบาน, เช่น หน้าตาหม่นหมอง จิตใจหม่นหมอง, หมองหม่น ก็ว่า.
ว. ไม่ผ่องใส, ไม่สบายใจ, ไม่เบิกบาน, หม่นหมอง ก็ว่า.
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Litsea glutinosa (Lour.)C.B. Rob. ในวงศ์ Lauraceae ใบรูปรี มีขนนุ่ม ดอกสีเหลืองอ่อน.
ว. มีกลิ่นไม่ดี, ตรงข้ามกับ หอม.
ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด.
ว. มีกลิ่นเหม็นคล้ายอาหารบูด.
น. ส้มเขียวหวานที่ยังอ่อนอยู่ ใช้ปรุงอาหารได้ เรียกว่า ส้มเหม็น.
(-เกฺรียม) ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้ว่า เกรียมกรม ตรมเตรียม หรือ เตรียมตรม ก็มี เช่น จักขานความที่เกรียมกรม (กฤษณา).
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centipeda minima (L.) A. Braun et Asch. ในวงศ์ Compositae ขึ้นตามพื้นที่ลุ่มตํ่า แฉะ ต้นเตี้ยติดดินคล้ายต้นผักเบี้ย ใบเล็กเว้าข้างทั้ง ๒ ด้าน ปลายใบแหลมคล้ายสามง่าม ใบมีกลิ่นเหม็น ใช้ทำยาได้ แต่เป็นพิษต่อปศุสัตว์, กระต่ายจันทร์ สาบแร้ง หญ้ากระจาม หญ้าจาม หรือ เหมือดโลด ก็เรียก.
น. ชื่อพืชเบียนชนิด Sapria himalayana Griff. ในวงศ์ Rafflesiaceae เกิดตามป่าดิบ เกาะเบียนที่รากเครือเขานํ้า ( Tetrastigma lanceolarium Planch.) ดอกรูปกระโถนปากแตร กลิ่นเหม็น กลีบดอกสีนํ้าตาลแดงประเหลือง ใช้ทำยาได้.
น. ไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดำ ๆ กลิ่นเหม็น, กำแพ้ง ก็ว่า.
(-แหฺม็บ) ว. หายใจแผ่ว ๆ แสดงว่าจวนจะหมดกำลัง, (โบ) เขียนเป็น กระแหมบ ก็มี เช่น กระแหมบกระเหม่นทรวง (อนิรุทธ์).
น. กลิ่นเหม็นแสดงว่าจวนจะบูด เช่น แกงมีกระไอจวนจะบูดแล้ว, สะไอ ก็ว่า.
ว. มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจวนจะบูด เช่น ข้าวเหม็นกระไอ, สะไอ ก็ว่า.
(กฺลิ่น) น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น แกงหม้อนี้เริ่มมีกลิ่น, โดยปริยายหมายความว่า ลักษณะไม่น่าไว้วางใจ เช่น เรื่องนี้ชักมีกลิ่น การประมูลครั้งนี้เริ่มส่งกลิ่น.
น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cydnidae ลำตัวยาว ๔-๑๒ มิลลิเมตร รูปร่างรูปไข่ ส่วนใหญ่มีสีนํ้าตาลแก่อมดำหรือดำ มักบินเข้าหาแสงไฟ เมื่อจับต้องตัวจะปล่อยกลิ่นฉุนเหม็นติดมือ บางทีคล้ายกลิ่นอุจจาระของคน ที่พบบ่อย ได้แก่ ชนิด Geotomus pygmaeus (Dallas).
น. ดินขาว, ใช้เรียกสีขาวหม่น ว่า สีขาวกะบัง.
น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Turdidae ปากยาวปานกลางปลายแหลม หางยาวกว่าลำตัวมาก เช่น กางเขนบ้าน [ Copsychus saularis (Linn.) ] ส่วนบนลำตัวสีดำ ส่วนล่างตั้งแต่อกลงไปสีขาวหม่น ปีกมีลายพาดสีขาว มักอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ กินแมลง, ภาคกลางเรียก กางเขน, พายัพเรียก จีแจ๊บ, อีสานเรียก จี่จู้, ปักษ์ใต้เรียก บินหลา, กางเขนดง [ C. malabaricus (Scopoli) ] ปาก หัว หลัง อก และปีกของตัวผู้สีดำเหลือบ หลังส่วนล่างติดโคนหางสีขาว อกส่วนล่างไปจนถึงหางสีน้ำตาลแดง หางยาว ด้านบนสีดำ ใต้หางและขอบหางสีขาว ขาสีน้ำตาลอมชมพู ตัวเมียสีจางไม่สดใสเท่าตัวผู้และหางสั้นกว่า.
น. แก๊สพิษชนิดหนึ่ง มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า มีสูตร H2S เกิดขึ้นจากการเสื่อมสลายของสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยกำมะถัน ในธรรมชาติมักมีปรากฏละลายอยู่ในบ่อนํ้าร้อนและในแหล่งนํ้าแร่บางแห่ง.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tradescantia zebrina Hort ex Bosse ในวงศ์ Commelinaceae ลำต้นเรียว และเป็นปล้อง ๆ เลื้อยไปตามดิน ใบสีเขียวหม่น ใบด้านบนมีแถบสีเทาคาดตามยาว ด้านล่างสีม่วงแดง ดอกสีชมพู.
น. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทำลายขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดนํ้าส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทำลายถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ นํ้ามันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก.
น. ไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดำ ๆ กลิ่นเหม็น, กระแพ้ง ก็ว่า.
น. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทำยา ทำดินปืน ฯลฯ, สุพรรณถัน ก็ว่า
ก. ระทมใจจนหม่นไหม้ เช่น จักขานความที่เกรียมกรม (กฤษณา), ใช้เป็น กรมเกรียม ตรมเตรียม หรือ เตรียมตรม ก็ได้.
(ขะหฺมวน) น. ชื่อหนอนแมลงพวกด้วงที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา ตัวหนอนมักมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน มีขนปกคลุม ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Dermestes maculatus De Geer ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลำตัวยาว ๗-๙ มิลลิเมตร ตัวสีดำ ท้องสีขาวหม่นและมีเส้นสีดำพาดตามขวาง.
(ขะมิ่น) น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Oriolidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ขาว ตัวผู้และตัวเมียมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียสีหม่นไม่สวยงาม ทำรังเป็นรูปถ้วยตามง่ามไม้สูง ๆ กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำหรือขมิ้นเหลืองอ่อน ( Oriolus chinensis Linn .) ขมิ้นแดง [ O. traillii (Vigors) ] ขมิ้นขาว ( O. mellianusStresemann) .
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Homalium tomentosum (Vent.) Benth. ในวงศ์ Flacourtiaceae ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน กลิ่นเหม็น.
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Serissa japonica (Thunb.) Thunb. ในวงศ์ Rubiaceae ใบเล็กรูปไข่ เมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวเล็ก ๆ เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ดัดหรือไม้ประดับ.
น. ชื่อไข้ชนิดหนึ่ง มีอาการคล้ายไข้ข้าวใหม่น้อย.
น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด Scolopsis ciliatus (Lacepéde) ในวงศ์ Nemipteridae ลำตัวป้อม แบนข้างปานกลาง พื้นลำตัวสีเขียวหม่น มีแถบสีขาวเด่นพาดตามยาวใกล้แนวสันหลังข้างละเส้น ระหว่างตาและแผ่นกระดูกใต้ตามีหนามแหลม ๑ อัน ชี้ไปทางด้านหน้า ขอบด้านนอกของขากรรไกรบนจักเป็นฟันเลื่อย พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๑๓ เซนติเมตร.
น. เมือกเหงื่อไคลที่ติดอยู่ตามรักแร้ มีกลิ่นเหม็น.
(ขะเหฺม่น) ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้, กระเหม่น ก็ว่า
กลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด เรียกว่า เหม็นเขียว.
ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างเนื้อเน่าที่ค้างหลายวัน, โขลง ก็ว่า.
(โขฺลง) ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างเนื้อเน่าที่ค้างหลายวัน, โขง ก็ว่า.
น. ชื่อแก๊สพิษชนิดหนึ่ง มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า. (ดู ก๊าซไข่เน่า, แก๊สไข่เน่า).
(-คฺลุ้ง) ก. คลุ้ง, เหม็นคล้ายกลิ่นของเค็มปนกับของเน่า, เช่น ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง (โลกนิติ).
(คฺลํ้า) ว. ค่อนข้างดำ, ไม่ผ่องใส, หม่นหมอง, เช่น ผิวคลํ้า หน้าคลํ้า.
มีกลิ่นตลบ (มักใช้แก่กลิ่นเหม็น).