ว. โดดเดี่ยว, เฉพาะตัวเอง, ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น.
ว. เฉพาะตน, ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น, เช่น อยู่กันตามลำพัง, ฝ่ายเดียว เช่น ต้องต่อสู้กับข้าศึกแต่ลำพัง.
(กฺราน) ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
(กฺลม) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ปี่พาทย์ทำตอนตัวละครที่เป็นเทพเจ้าหรือเจ้าเงาะเหาะโดยลำพัง และใช้เป็นเพลงบรรเลงในเวลาเทศน์มหาชาติประจำกัณฑ์สักบรรพ.
น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor Kerr ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในหมู่กวางในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนงข้างละ ๓ กิ่ง ผลัดเขาปีละครั้ง มักแยกอยู่ตามลำพังยกเว้นฤดูผสมพันธุ์จึงจะรวมกลุ่ม กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน, กวางม้า ก็เรียก.
ว. อ่อนกำลังจนแทบไม่อาจทรงตัวได้ตามลำพัง, ปวกเปียก ก็ว่า.
ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึงความ แลโดยอำเภอลำพัง (สุธน).
น. ควายป่าที่แตกฝูงออกมาอยู่ตามลำพัง.
(-ปฺละ) น. ควายที่เจ้าของปล่อยให้เที่ยวไปตามลำพัง.
(โคฺร่ง) น. ชื่อเสือชนิด Panthera tigris (Linn.) ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดำตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบนพื้นดิน มักอยู่ลำพังตัวเดียว ยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้า, ลายพาดกลอน ก็เรียก.
(-เหฺว่า) น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Eudynamis scolopacea (Linn.) ในวงศ์ Cuculidae ตัวเล็กกว่ากาเล็กน้อย ตาแดง หางยาว ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายจุดสีขาวพาดตลอดลำตัว วางไข่ให้นกชนิดอื่นฟัก มักหากินตามลำพัง กินแมลงและผลไม้, กาเหว่า ก็เรียก.
ว. คนเดียวเท่านั้น, แต่ลำพังผู้เดียว, เช่น อยู่เดียวดาย.
ว. แต่ลำพังตัวโดยไม่มีใครหรืออะไรร่วมด้วย เช่น มาเดี่ยว ทำเดี่ยว ไล่เดี่ยว เทียมเดี่ยว, เรียกการเล่นกีฬาบางชนิดซึ่งมีผู้เล่นข้างละคน เช่น เทนนิสประเภทเดี่ยว แบดมินตันประเภทเดี่ยว.
ว. เดี่ยว, ลำพัง, เช่น มาคนเดียวโดกเดก.
ว. เดียวเท่านั้น, อยู่ตามลำพังไม่เกี่ยวข้องกับใคร.
น. ชื่อแมลงหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ อันดับ Hymenoptera มีความยาว ๑.๕ เซนติเมตรขึ้นไป มีปีก ๒ คู่ ลักษณะเป็นแผ่นบางใส ปีกคู่หลังเล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน ช่วงต่อระหว่างปล้องอกกับปล้องท้องคอดกิ่ว เพศเมียมีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทำให้เจ็บปวดอาจถึงตายได้ และสามารถต่อยได้หลายครั้งต่างกับผึ้ง บางชนิดอยู่อย่างลำพัง แต่บางชนิดรวมกลุ่มทำรังอยู่เป็นฝูง ที่สำคัญได้แก่ วงศ์ Vespidae เช่น ต่อหัวเสือ [ Vespa affinis (Linn.) ] ต่อหลุม ( V. mandarinia Smith) นอกจากนี้ยังมีต่อในวงศ์อื่น ๆ เช่น ต่อกาเหว่า หมาร่า ต่อแมงมุม.
ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลำพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า.
ก. กระทำการใด ๆ ตามลำพังตัวคนเดียวโดยไม่พึ่งพาอาศัยผู้อื่น อาจพลั้งพลาดได้.
ก. ถึงกำหนดจะเป็น เช่น ถึงคราวมีบุญ ถึงคราวตกอับ, ถ้าใช้ตามลำพัง มักหมายไปในทางไม่ดี เช่น เขาถึงคราวแล้ว.
น. ชื่อเหยี่ยวขนาดกลาง ในสกุล Accipiter วงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสีนํ้าตาลลายกระขาว มักอยู่ตามลำพัง เกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน [ A. trivergatus (Temminck) ]เหยี่ยวนกเขาชิครา [ A. badius (Gmelin) ] เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น [ A. gularis (Temminck & Schlegel) ].
(ปฺละ) ว. เรียกควายที่เจ้าของปล่อยให้เที่ยวไปตามลำพังว่า ควายปละ.
ว. อ่อนกำลังจนแทบไม่อาจจะทรงตัวได้ตามลำพัง, กะปวกกะเปียก ก็ว่า.
น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด หลายสกุล วงศ์ย่อย Scolopacinae ในวงศ์ Scolopacidae ปากยาวแหลม ปลายปากโป่ง ลำตัวป้อม มีลายสีนํ้าตาลและขาว ขาสั้น มักอยู่ตามลำพัง หากินในเวลาพลบคํ่าและกลางคืน ใช้ปากแทงหาอาหารจำพวกหนอนและไส้เดือนในดินลักษณะคล้ายกับการจิ้ม เช่น ปากซ่อมหางเข็ม [ Gallinago stenura (Bonaparte) ] ปากซ่อมดง ( Scolopax rusticola Linn.) ปากซ่อมเล็ก [ Gallinago minima (Brünnich) ], ปากส้อม ก็เรียก.
น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Rostratula benghalensis (Linn.) ในวงศ์ Rostratulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกปากซ่อม ปากยาวแหลม วงรอบเบ้าตาและหางตาสีขาว ตัวสีนํ้าตาลลาย ตัวเมียมีขนาดใหญ่และสีเข้มสวยกว่าตัวผู้ เมื่อออกไข่จะปล่อยให้ตัวผู้ฟักไข่ตามลำพัง ทำรังเป็นแอ่งบนพื้นดิน อาศัยอยู่ตามท้องทุ่งที่แฉะ ๆ กินแมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก.
ว. อาการที่ลอยสูง เด่น หรืออยู่ตามลำพัง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ลอย เป็น ลอยฟ่อง, เช่น หมาตายลอยฟ่อง ลูกโป่งลอยฟ่องอยู่บนท้องฟ้า.
น. ส่วนที่เล็กที่สุดของสารซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพัง และทั้งยังคงรักษาสมบัติต่าง ๆ ของสารนั้นไว้ได้ด้วย โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุ, เดิมเรียกว่า อณู.
(วิวาหะ-) น. “การพาออกไป” หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะต้องถูกนำไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้, การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลำพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น.
ว. แต่ลำพัง ๒ คน โดยเฉพาะในที่ลับหูลับตาคนอื่น (มักใช้แก่ชายหนึ่งและหญิงหนึ่งที่อยู่ด้วยกันตามลำพัง).
ว. อาการที่เดินขย่มตัวหัวสั่นหัวคลอนไปตามลำพัง, โดยปริยายหมายถึงเดินอยู่ตามลำพัง
ว. เสียงอย่างเสียงแมวตัวผู้ร้องหาแมวตัวเมีย, โดยปริยายหมายความว่า โดดเดี่ยว, เหงาอยู่ตามลำพัง, เช่น ปล่อยให้นั่งหง่าวอยู่คนเดียว.
น. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำอิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และหน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว.
(อัดตะ-) น. ความเห็นส่วนตัว, ความเห็นโดยลำพังตน, เช่นในคำว่า อัตโนมัตยาธิบาย คือ อธิบายตามความเห็นของตน. (ป. อตฺตโน ว่า ของตน + มติ ว่า ความเห็น).
คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่าย ปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
(เอกะ-, เอกกะ-) น. ฝ่ายเดียว หมายถึงประเทศที่ปลีกตัวปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลำพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วมหรือรับรู้ด้วย.
ตามลำพัง, เฉพาะตน, เช่น ไปกันเอง