(อะบรี'วิเอท) vt. ย่อ, เขียนย่อ, คำย่อ, การย่อ -abbreviator n., -abbreviation n. ตัวอย่าง: *The word "inch" is abbreviated "in" คำว่า "inch" ถูกย่อเป็น "in"* (แบบ 1, 18)
(แอ็ค) ตอบรับ รับรู้ ย่อมาจากคำว่า acknowledge ใช้ในความหมายของการรับรู้ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะมีการถ่ายโอนข้อมูลให้แก่กันและกัน เท่ากับเป็นการรับรู้ว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ และพร้อมที่จะรับการถ่ายโอนข้อมูลจากกัน
(แอค' โรนิม) n. คำย่อจากพยัญชนะตัวแรกหลายคำ. -acronymic adj. คำย่อรัสพจน์หมายถึง คำย่อที่เกิดจากการนำอักษรตัวแรก หรือกลุ่มอักษรบางตัวมาสร้างขึ้นเป็นคำใหม่ประกอบด้วยอักขระตั้งแต่สองตัวขึ้นไป นิยมออกเสียงเหมือนคำปกติ เช่น DOS ซึ่งเอาอักษร D มาจากคำว่า Disk อักษร O มาจาก คำ Operating และ S มาจากคำว่า System คำนี้จะอ่านออกเสียงว่า "ดอส" แทนที่จะอ่านว่า ดีโอเอส คำย่อประเภทนี้ นิยมใช้กันมากใน วงการคอมพิวเตอร์ เช่น BASIC ซึ่งย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code ก็อ่านว่า "เบสิก"
(เอไอ) abbr. 1. ย่อมาจากคำว่า aortic insufficiency 2. ย่อมาจากคำว่า artificial intelligence แปลว่า ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึงแขนงการศึกษาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แขนงหนึ่งที่พยายามจะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์
(แอล' กอล) n. Algo (rithmic) L (anguge) เป็นภาษาหนึ่งในการทำ programming ของระบบคอมพิวเตอร์ ย่อมาจากคำว่า ALGOrithmic Language เป็นภาษาที่ใช้ ในการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันนี้ ภาษานี้เกือบจะไม่มีใช้แล้ว เพราะเป็นภาษาที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน แต่ก็ถือกันว่าเป็นต้นตระกูลของ ภาษาปาสกาล (Pascal)
(เอที) เป็นคำย่อที่บริษัทไอบีเอ็มนำมาใช้แทนคำว่า advanced technology ซึ่งแปลว่า เทคโนโลยีขั้นสูงนั่นเอง เมื่อสมัยที่ไอบีเอ็มผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ชุดใหม่ที่ใช้ชิปหมายเลข 80286 ได้ตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ที่ออกสู่ตลาดรุ่นนั้นว่า " IBM AT "
(เบ'ซิค) 1. adj. เกี่ยวกับฐาน, เกี่ยวกับด่าง 2. เป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่งใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษาเบสิกนี้เขียนง่าย ๆ เหมาะกับผู้เริ่มต้นเรียน คำว่า BASIC นั้นย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code แปลได้ว่า รหัสคำสั่งที่เป็นสัญลักษณ์เอนกประสงค์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อเริ่มนำออกใช้ใหม่ ๆ ภาษานี้มีข้อจำกัดมาก ในปัจจุบันแม้จะมีการพัฒนาภาษานี้ไปไกลแล้ว แต่นักทำโปรแกรมทั่วไปมักจะดูถูกว่า เป็นภาษาสำหรับผู้เริ่มต้น และไม่นิยมนำมาใช้ในการเขียนโปรแกรมใหญ่ ๆ ข้อดีของภาษานี้ก็คือ จะทราบที่ผิดและแก้ไขได้ทันที
(บูท) { booted, booting, boots } n. รองเท้าหุ้มข้อเท้า, รองเท้าบู๊ท, เครื่องหุ้มคล้ายปลอก, ฝาครอบป้องกัน, ปลอกหุ้มเบาะ, โครงรถ, เครื่องรัดทรมานข้อเท้า, การเตะ, การถีบ, การปลดออก vt. สวมรองเท้าบู๊ท, เตะ, ถีบ เริ่มต้นใหม่เริ่มเครื่องใหม่หมายถึง การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นทำงาน (ว่ากันว่า คำ "boot" นี้ มาจากคำว่า "bootstrap" เบื้องหลังการใช้คำ ๆ นี้ อยู่ที่การขู่ว่า ถ้าไม่ทำงานแล้วละก็ โดนรองเท้าบู๊ตแน่ ๆ เลย) การเริ่มเครื่องใหม่นั้น โดยปกติ เมื่อกดสวิตช์เปิดแล้ว คอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นทำงานด้วยการอ่านจานบันทึกในหน่วยบันทึก A: ถ้าในหน่วยบันทึก A: ไม่มีจานบันทึก ก็จะไปอ่านจานบันทึก C: (จะไม่สนใจหน่วยบันทึก B: เลย) ถ้ามีจานบันทึกใน A: จานบันทึกนั้นจะต้องมีคำสั่งระบบ (แฟ้มข้อมูล command.com) อยู่ คอมพิวเตอร์จึงจะเริ่มต้นทำงานต่อไปได้ ถ้าจานบันทึกใน A: ไม่มีคำสั่งระบบ จะมีรายงานบนจอภาพว่าเป็น "non-system disk" ในกรณีเช่นนี้ต้องเปลี่ยน แผ่น A: หรือดึงแผ่น A: ออก แล้วเริ่มต้นใหม่จาก หน่วยบันทึก C: (ถ้ามี) อนึ่ง การเริ่มเครื่องใหม่นั้น ทำได้ 2 วิธี วิธีแรกเริ่มด้วยการเปิดสวิตช์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ได้อธิบายแล้ว เรียกว่า "cold boot" อีกวิธีหนึ่งที่ใช้เมื่อมีการเปิดเครื่องอยู่ก่อนแล้ว แต่ต้องการเริ่มเครื่องใหม่ หรือเครื่องเกิดขัดข้องหรือค้าง (hang) ให้ กดแป้น CTRL +ALT +DEL เรียกว่า "warm boot"
(บัก) { bugged, bugging, bugs } n. แมลง, เชื้อจุลินทรีย์, ความบกพร่อง, แฟน, คนคลั่ง, เครื่องดักฟัง, ความคลั่ง, เหยื่อตกปลาที่คล้ายแมลง vt. รบกวน, ติดตั้งเครื่องดักฟังในที่ลับ, Syn.fault, defect จุดบกพร่องหมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมอันเนื่องมาจากคำสั่งในโปรแกรมนั้นเอง ซึ่งทำให้การทำงานของโปรแกรมไม่ถูกต้อง มีข้อผิดพลาด หรือไม่ราบรื่นเท่าที่ควร นอกจากปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมแล้ว อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับตัวเครื่องก็ได้ คำนี้มาจากคำ bug ที่แปลว่า ตัวด้วง ตัวแมลง ที่ชอบทำให้คอมพิวเตอร์สมัยก่อนเสีย เกิดการลัดวงจรขึ้น การแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม จึงใช้คำว่า "debug"
(ซีมอส) ย่อมาจากคำว่า complementary metal-oxide semiconductor หมายถึง วงจรที่ออกแบบไว้เป็นพิเศษ เพื่อการประหยัดกระแสไฟ วงจรซีมอสนี้มักจะใช้ในของชิ้นเล็ก ๆ เช่น นาฬิกาข้อมือ เครื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์ขนาดวางตัก (laptop) หรือส่วนที่เก็บวันเวลา (date/time) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป
(คอน) 1. { conned, conning, cons } v. ต่อต้าน, แย้ง, เรียนรู้, ศึกษา, ตรวจสอบอย่างระมัดระวัง, จำไว้, นำเรือ, ถือพวงมาลัยเรือ n. การต่อต้าน, การโต้เถียง, ผู้คัดค้าน, ผู้ลงบัตรคัดค้าน, นักโทษ, วัณโรค adj. ซึ่งหลอกให้เชื่อ 2. ย่อมาจากคำว่า CONsole ซึ่งศัพท์บัญญัติฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ส่วนเฝ้าคุม ในวงการคอมพิวเตอร์ มักจะหมายถึง อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ส่วนที่เป็นแป้นพิมพ์และจอภาพ เป็นต้นว่า คำสั่ง COPY CON:autoexec.bat เป็น คำสั่งที่นำมาใช้เมื่อต้องการนำข้อความที่เราพิมพ์จากแป้นพิมพ์และมองเห็นบนจอภาพ (โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมประมวลผลคำ) คัดลอกเข้าไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ชื่อว่า autoexec.bat เมื่อพิมพ์ข้อความที่ต้องการเสร็จแล้ว ให้กด CTRL+Z หลังจากนั้น ในคอมพิวเตอร์ก็จะมีแฟ้มข้อมูลชื่อ autoexec.bat ซึ่งบรรจุข้อความที่พิมพ์ไว้นั้น
(ซียูเอ) ย่อมาจาก คำว่า Common User Access ซึ่งหมายถึง ตัวชี้นำ (guidelines) ที่ เครื่องไอบีเอ็มสร้างขึ้นมา ใช้เพื่อทำให้การเข้าสู่โปรแกรมมีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน แม้แต่เครื่องแมคอินทอชก็ใช้ตัวชี้นำนี้
(ดีดีที) ในความหมายทั่วไป คำนี้หมายถึง "ยาฆ่าแมลง" นำมาใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ เป็นคำแสลงหมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในโปรแกรมในกรณีที่มีมาก ๆ (ทั้งนี้เพราะในการเขียนโปรแกรมนั้น เราเรียกจุดบกพร่องในโปรแกรมว่า แมลง หรือ bug โดยปกติแล้ว การแก้ไขธรรมดา ๆ จะใช้คำว่า debug)
(ดีแอลแอล) ย่อมาจากคำว่า dynamic link library มักใช้เป็นนามสกุล (file type) ของโปรแกรมย่อยในระบบวินโดว์ และโอเอส/ทู โดยเฉพาะโปรแกรมเฉพาะงาน (routine) ที่มีโปรแกรมตั้งแต่สองโปรแกรมขึ้นไปแบ่งกันใช้หรือใช้ร่วมกันได้ เช่น Icon.dll, shell32.dll
(ดอค) n. ดูdoctor, คำสั้น ๆ ที่ใช้เรียกนายแพทย์ ทันตแพทย์ หรือสัตวแพทย์ abbr. II-deoxycorticosterone ด็อก <คำอ่าน>ย่อมาจากคำว่า document มักใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลหรือ แฟ้มเอกสาร (.doc) ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรม Microsoft Word ซึ่งเป็นโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) แฟ้มเอกสารประเภทนี้จะประกอบด้วยข้อความที่เป็นตัวหนังสือ อาจมีภาพด้วยหรือไม่ก็ได้
การตรวจสอบ (โปรแกรม) นอกเครื่องหมายถึง การตรวจสอบดูชุดคำสั่งในเชิงตรรกะ และการใช้รหัสคำสั่งจากผังงาน (flowchart) และคำสั่งข้อเขียน เพื่อดูว่า ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นถูกต้องหรือไม่ก่อนที่จะนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขสมมติใส่เข้าไปก็ได้ ในบางครั้ง ใช้คำว่า การไล่สอบบนโต๊ะทำงาน (desk check)
(อีเอ็มเอส) ย่อมาจาก expanded memory specification บางครั้งก็เรียกชื่อเต็มเลยว่า LIM-EMS ย่อมาจากคำว่า Lotus-Intel Microsoft Expanded Memory Specification อีเอ็มเอสนั้นเป็นโปรแกรมที่ขยายตัวประมวลผล 8088 ที่มีหน่วยความจำ 640 K ให้มีเนื้อที่มากขึ้น เพื่อให้มีที่พอบรรจุโปรแกรมโลตัส 1-2-3 ซึ่งเป็นโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) ขนาดใหญ่ ลงไปในหน่วยความจำที่มีขนาดเพียง 640 K ได้ ในปัจจุบัน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้โปรแกรมอีเอ็มเอสนี้แล้ว เพราะหน่วยความจำของไมโครคอมพิวเตอร์รุ่น ใหม่ ๆ มีขนาดใหญ่กว่าสมัยก่อนมาก
(แป้นพิมพ์) แป้นหลีกมาจากคำว่า ESCape key ซึ่งเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีไว้เพื่อสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ได้สั่งให้เครื่องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว เป็นต้นว่า สั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูล ถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ให้กดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะเลิกทำ คล้าย ๆ กับการกดเมาส์ที่ " cancel " โดยปกติ แป้นนี้มักจะอยู่แถวบนสุดทางด้านซ้ายของแผงแป้นอักขระ
(อีเอสดีไอ) ย่อมาจากคำว่า enhanced small device interface ใช้เป็นมาตรฐานในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็นตัวประสานที่ใช้กับจานบันทึกแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ (hard disk)
อีเอกซ์อีย่อมาจากคำว่า executable file ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลในระบบดอสและ โอเอส/ทู แฟ้มที่มีนามสกุลดังกล่าวนี้ จะเป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวโปรแกรมแท้ ๆ และจะเป็นตัวปฏิบัติการ แฟ้มข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนั้นจะเป็นเพียงแฟ้มประกอบ เช่น โปรแกรมสำเร็จ Microsoft Excel จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายสิบแฟ้ม แต่แฟ้มที่เป็นตัวปฏิบัติการคือแฟ้ม Excel.exe ถ้ากดเมาส์ที่ชื่อแฟ้มข้อมูลนี้ก็จะเท่ากับเป็นการสั่งเรียกโปรแกรมนั้นให้เริ่มทำงาน มีลักษณะคล้ายแฟ้มข้อมูลที่นามสกุล .COM
(เอค'ซิท, เอค'ซิท) n. ทางออก, ประตูฉุกเฉิน, การจากไป, การลงจากเวที, การตาย. vi. ออกไป, จากไป, ลงจากเวที, ตาย. -make one's exit ออกไป, จากไป, Syn.outlet, ออกทางออกหมายถึงคำสั่งที่ผู้ใช้โปรแกรมใช้ เมื่อต้องการหยุดหรือเลิกใช้โปรแกรมนั้นเพื่อกลับออกไปสู่ระบบปฏิบัติการ operating systems หลังจากที่ใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมต่าง ๆ ของแมคอินทอชมักจะใช้คำว่า Quit แทน ซึ่งก็มีความหมายเหมือนกัน ในระบบวินโดว์ของพีซี ทุกโปรแกรมจะมีคำสั่งนี้ไว้ให้เลือกใต้เมนู File ซึ่งเป็นคำสั่งกลับออกไปยังระบบวินโดว์นั้นเอง
(แฟคซฺ) n. การถอดแบบหรือทำสำเนาด้วยวิทยุหรือโทรเลข แฟกซ์ (โทรสาร) ย่อมาจากคำว่า facsimile เป็นระบบสื่อสารข้อมูล ที่เป็น เอกสารและภาพที่ส่งมาในรูปของสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายโทรศัพท์ เครื่องรับ/ส่งแฟกซ์หรือโทรสารนั้น หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ ส่งและรับข้อความหรือภาพ ผู้รับและผู้ส่งจะต้องใช้กระดาษ เป็นสื่อ ปัจจุบัน เราอาจจะต่อสายแฟกซ์ผ่านโมเด็มเข้าสู่ เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ในกรณีเช่นนี้ จะเป็นการส่งหรือรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เลย ไม่ต้องใช้กระดาษ คล้ายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(เอฟซีซี) ย่อมาจากคำว่า Federal Communication Commission (แปลว่า คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่มีหน้าที่ควบคุมในเรื่องการสื่อสาร โดยเฉพาะการควบคุมสัญญาณความถี่ของคลื่นวิทยุ
ช่องไฟเท่ากันหมายถึง การพิมพ์ตัวอักษรแต่ละตัวโดยกำหนดให้มีช่องไฟ กว้างเท่า ๆ กัน บางทีใช้คำว่า monospaced โดยปกติ จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด และเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) ชนิดราคาถูก ๆ จะพิมพ์หรือให้ภาพตัวอักษรที่มี ความกว้างเท่ากันหมด ตรงข้ามกับคำ fixed pitch นี้ เราจะใช้คำว่า proportional pitch เครื่องพิมพ์ดี ๆ จะต้องปรับ ขนาดของตัวอักษรไม่ให้เท่ากัน เช่น ตัว I, L, T ไม่ควร จะกว้างเท่ากับ O, W, M ILT OWM
n. เครื่องพับ, คนพับกระดาษ, ที่เก็บกระดาษเอกสาร กล่องแฟ้มข้อมูลโฟลเดอร์หมายถึง ที่รวมกลุ่มแฟ้มข้อมูล เป็นศัพท์ที่ใช้เฉพาะกับเครื่อง แมคอินทอช (พีซี ใช้ program group) มีสัญรูปเหมือนกล่องมีสีเหลือง อนึ่ง ภายใต้เมนู File จะมีคำสั่งให้สร้างโฟลเดอร์ใหม่ได้ คือ New folder เมื่อใช้ คำสั่งนี้แล้ว จะได้สัญลักษณ์ใหม่มาอีกอันหนึ่ง ข้างล่างจะมีคำว่า "untitled folder" ลากสัญรูปแฟ้มข้อมูลที่ต้องการให้อยู่กลุ่มเดียวกันไปรวมไว้ภายในโฟลเดอร์นี้ เวลาต้องการเรียกใช้ จะช่วยให้หาได้ง่ายและสะดวก ควรจะตั้งชื่อโฟลเดอร์ใหม่นี้เสียด้วย
(ฟอร์แทรน) เป็นชื่อภาษาระดับสูง (high level language) ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง สร้างขึ้นเป็นภาษาแรก ๆ เพื่อให้นัก คณิตศาสตร์ใช้ได้สะดวก และรวดเร็ว ย่อมาจากคำว่า FORmular TRANslator ซึ่งก็แปลได้ว่า ตัวแปลสูตรคณิตศาสตร์ นั่นเอง โปรแกรมภาษาฟอร์แทรนนั้น สามารถนำไปใช้กับ เครื่อง คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ได้หลายยี่ห้อ โดยแทบจะไม่ต้อง ปรับ แก้เลย ก่อนหน้าที่จะมีการใช้ภาษานี้ นักเขียนโปรแกรม รู้จัก แต่ภาษาแอสเซมบลี (Assembly)
(จีบี) ย่อมาจากคำว่า gigabyte (อ่านว่า กิกะไบต์) เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230) หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ฯ
(แฮค' เคอร์) n. ผู้ที่ทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ, ผู้ที่สนใจเรียนรู้คอมพิวเตอร์อย่างจริงจังจนเกินไป, คำนี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกพวกที่มีความชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์ไปในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น แอบขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย หรือแอบแก้ตัวเลขในธนาคารเพื่อถอนเงินออกมาใช้เอง คำว่า hack อาจหมายถึงการแอบปรับแก้หรือดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ก็แก้แล้วยิ่งกลับทำให้แย่ลง
abbr. hearingdistance, hodgkin's disease, heart disease, hemodialysis <คำย่อ>เอชดี <คำอ่าน>ย่อมาจากคำว่า high density แปลว่า ความหนาแน่นสูง ใช้บอกคุณสมบัติจานบันทึก (diskette) เช่น จานขนาด 5.25นิ้ว ถ้าเป็นจานชนิด HD จะมีความจุถึง 1.2 เมกะไบต์ ส่วนจานบันทึกความหนาแน่นสูงขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจุถึง 1.44 เมกะไบต์ โดยปกติ จะมีป้ายพิมพ์บอกไว้บนจานบันทึกประเภทนี้ถ้าเป็นขนาดธรรมดาจะใช้คำว่า DD ดู DD เปรียบเทียบ
ความจุสูงใช้เรียกจานบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง (high density) เช่น จานขนาด 5.25นิ้ว ถ้าเป็นจานชนิด ที่มีความหนาแน่นสูง จะมีความจุถึง 1.2 เมกกะไบต์ ส่วนจานบันทึกความหนาแน่นสูงขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจุถึง 1.44 เมกกะไบต์ โดยปกติ จะมีป้ายพิมพ์บอกไว้บนจานบันทึกประเภทนี้ ถ้าเป็นขนาดธรรมดาจะใช้คำว่า DD ดู high density ประกอบ
ความหนาแน่นสูงใช้ตัวย่อว่า HD (อานว่า เอชดี) ใช้บอกคุณสมบัติจานบันทึก (diskette) เช่น จานขนาด 5.25นิ้ว ถ้าเป็นจานชนิด HD จะมีความจุถึง 1.2 เมกกะไบต์ ส่วนจานบันทึกความหนาแน่นสูงขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจุถึง 1.44 เมกกะไบต์ โดยปกติ จะมีป้ายพิมพ์บอกไว้บนจานบันทึกประเภทนี้ ถ้าเป็นขนาดธรรมดาจะใช้คำว่า DD ดู DD เปรียบเทียบ
(เอชเอ็มเอ) ย่อมาจากคำว่า high memory area (เขตปฏิบัติการหน่วยความจำสูง) หมายถึงขนาดของหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบดอส (เดิมมี 64 K) ที่สามารถนำมาขยายเพิ่มขึ้นให้เกิน กว่า 1 เมกะไบต์ได้
แป้นกดกลับตำแหน่งต้นเป็นแป้นพิมพ์แป้นหนึ่งในแผงแป้นอักขระ มีคำว่า Home อยู่บนแป้น เมื่อกดแป้นนี้จะเป็นการบังคับให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) กลับไปสู่จุดเริ่มต้นของบรรทัดใหม่ หรือจุดเริ่มต้นบรรทัดบนสุดของเอกสารหน้าหนึ่ง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโปรแกรมแต่ละโปรแกรมด้วย
(ฮิว) n. สี, ฉวี, แบบอย่าง, สีหน้า, เสียงร้องโวยวาย, เสียงเจี๊ยวจ๊าว , ความเข้ม/จางของสีหมายถึง ความลดหลั่นของความเข้มของสี มีความหมายคล้ายคำว่า shade
(ไอ/โอ) ย่อมาจากคำว่า input/output แปลว่า รับเข้า/ส่งออก หมายถึง 1. การนำข้อมูลเข้าในเครื่องคอมพิวเตอร์ และการแสดงผล2. อุปกรณ์ที่ใช้นำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์แสดงผลก็ได้
ไอบีเอ็ม เอทีเป็นชื่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่บริษัทไอบีเอ็มผลิตขึ้น และนำออกสู่ตลาดในราวปี ค.ศ.1984 เครื่องนี้ใช้ตัวประมวลผลIntel 80286 คำว่า เอที ย่อมาจากคำว่า Advanced Technology ซึ่งแปลตรง ๆ ตัวได้ว่า เทคโนโลยีขั้นสูง
ไอบีเอ็ม เอ็กซ์ทีเป็นชื่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่บริษัทไอบีเอ็มพัฒนาหลังจากที่ผลิตพีซีแล้วเป็นไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) อยู่ในตัวเครื่องเลย (ไม่แยกออกต่างหากจากตัวเครื่องแบบแต่ก่อน) คำว่า XT ย่อมาจาก extended technology ซึ่งก็แปลว่าเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งนั่งเอง บริษัทไอบีเอ็มผลิต XT หลังจาก PC แล้วต่อไปก็ผลิต AT ดู IBM AT ประกอบ
แป้นแทรก <คำแปล>เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีคำว่า Insert หรือ Ins อยู่บนแป้น การกดแป้นนี้จะทำให้สามารถพิมพ์ตัวอักษรแทรกเข้าไปโดยที่ตัวอักษรที่อยู่ถัดไปจะถอยให้ (ถ้าไม่กดแป้นนี้ อักษรตัวใหม่ที่พิมพ์จะทับตัวเก่า ทำให้ตัวเก่าหายไป) อย่างไรก็ตาม แป้นนี้เป็นแป้นเปิด/ปิด (on/off) หมายความว่า กดแป้นนี้ครั้งแรก จะเปลี่ยนให้เป็นภาวะแทรก แต่ถ้ากดอีกครั้งหนึ่ง ก็จะเปลี่ยนกลับไปเป็นภาวะเดิม คือภาวะพิมพ์ทับ บางทีใช้ Ins keyดู insert mode ประกอบ
(ไอเอสดีเอ็น) ย่อมาจากคำว่า integrated services digital network (แปลว่า โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล) สายโทรศัพท์ ISDN ก็คือสายที่สามารถใช้ส่งข้อมูล ส่งคลื่นโทรทัศน์ และส่งคลื่นเสียง ได้ในสายเดียวกัน (ถ้าใช้สายชนิดนี้ คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องใช้โมเด็ม)
(แอลซีดี) ย่อมาจากคำว่า liquid crystal display (จอภาพผลึกเหลว) ใช้ทำจอภาพ มีลักษณะเป็นของเหลวใสเหมือนแก้วเจียรนัย อัดอยู่ระหว่างเนื้อแก้วสองชั้น เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงจากภายนอก จะสะท้อนแสงออกมาเป็นมุมต่าง ๆ ใช้เป็นตัวแสดงอักขระและภาพ คอมพิวเตอร์ขนาดวางตักนิยมใช้จอภาพชนิดนี้ จอภาพนี้แม้จะใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมาก แต่จะชัดเจนดี นิยมใช้กับเครื่องคำนวณที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ด้วย
(เอ็มบี) ย่อมาจากคำว่า megabyte เท่ากับหนึ่งล้านไบต์ (ตัว B ใหญ่ ใช้แทนคำว่า byte ส่วน b เล็กใช้แทน bit หรือ binary digit) ดู byte ประกอบดู Mb เปรียบเทียบ
เอ็มเอสดอสย่อมาจากคำว่า Microsoft disk operating system เป็นชื่อระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีที่บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้ผลิตขึ้น และได้พัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เรื่อย ๆ จนปัจจุบันเป็นรุ่น (version) 6.21 แล้ว รุ่นใหม่นี้สามารถป้องกันไวรัสได้ถึงกว่า 8, 000 ชนิด ไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม และเครื่องเทียบเคียงไอบีเอ็ม (IBM compatibles) เกือบทั้งหมดใช้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS นี้ (ระบบปฏิบัติการของบริษัทไอบีเอ็มเอง มีชื่อเรียกว่า IBM DOS แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่า MS-DOS)
การทำโปรแกรมเชิงวัตถุหมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้
(โอโอพี, อุป) ย่อมาจาก object-oriented programming หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้
พีซีส่วนบุคคลย่อมาจากคำว่า personal computer (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ทำขึ้นไว้ใช้เป็นการเฉพาะหรือส่วนบุคคล ส่วนมากจะหมายถึงไมโครคอมพิวเตอร์ (ก่อนหน้านี้ จะมีขายก็แต่คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ซึ่งเน้นในเรื่องของการเคลื่อนย้ายได้สะดวก และมีราคาถูกพอที่จะซื้อหามาใช้เป็นของส่วนตัวได้ ปัจจุบัน มีการผลิตซอฟต์แวร์สำเร็จ (packaged software) สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดนี้กันมาก โปรแกรมเหล่านี้ใช้ง่าย เหมาะกับงานทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นงานบ้าน งานส่วนตัว เช่น งานพิมพ์ สมุดบันทึกประจำวัน บัญชีรับจ่าย จึงทำให้พีซีเป็นที่นิยมทั่วไป ดู microcomputer ประกอบ
ส่วนบุคลากรในวงการคอมพิวเตอร์ หมายถึง บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น นักเขียนโปรแกรม (programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (systems analyst) วิศวกร (engineer) ผู้เตรียมข้อมูล (data entry) รวมไปถึงผู้ควบคุมเครื่อง (operator) อย่างไรก็ตาม สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว คำว่า "ผู้ใช้เครื่อง" (user) จะถูกรวมอยู่ในบุคลากรคอมพิวเตอร์ด้วย
(พอลลีมอร'ฟิสซึม) n. ภาวะที่มีหลายรูปแบบ, See Also:polymorphistic adj. โพลิมอฟิซึม <คำอ่าน>ในโปรแกรมเชิงวัตถุ object-oriented programming หมายถึง การใช้ชื่อเหมือนกันให้หมายถึงกระบวนการคนละอันในเนื้อหาที่ไม่เหมือนกัน เป็นต้นว่า คำว่า "แสดงผล" display อาจใช้หมายถึงการแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นกราฟ เป็นภาพ เป็นตารางจัดการ เป็นภาพเคลื่อนไหว เป็นเสียง ฯ รวมทั้งการแสดงบนจอภาพ บนกระดาษ วิธีการเช่นนี้ ใช้กันในเรื่องของโปรแกรมเชิงวัตถุ
หน่วยประมวลผลมีความหมายเหมือน processor เป็นส่วนที่เรียกกันว่า "สมอง" ของคอมพิวเตอร์ ตรงกับคำว่าหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) ทำหน้าที่ประมวลผลต่าง ๆ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เปรียบเทียบ ฯ
(โพรเซส'เซอะ) n. ผู้ดำเนินการ, ผู้แปรรูป, เครื่องจัด, ตัวประมวลผลเป็นส่วนที่เรียกกันว่า "สมอง" ของคอมพิวเตอร์ ตรงกับคำว่าหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) ทำหน้าที่ประมวลผลต่าง ๆ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เปรียบเทียบ ฯ ดู process ประกอบ
(เรค'เคิร์ด) n. บันทึก, การบันทึก, สำนวน, สิ่งที่บันทึกไว้, ประวัติ, เอกสาร, หลักฐานที่บันทึกหรือเก็บไว้, จานเสียง, แผ่นเสียง, เทปบันทึก vt., vi. (รีคอร์ด') บันทึก, ลงบันทึก adj. เป็นบันทึก, เกี่ยวกับบันทึก, ยอดเยี่ยม, ทำลายสถิติ, ตีกว่าคนอื่น ๆ ทั้งหมด, -Phr. (on record เป็นที่รู้กัน) ระเบียนบันทึก1. หมายถึงหน่วยหนึ่งของข้อมูลที่บันทึกไว้ในฐานหรือคลังข้อมูลโดยปกติ ระเบียนหนึ่งจะประกอบด้วยเขตข้อมูล (field) 1 เขตขึ้นไป เช่น ระเบียนของพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยเขตข้อมูล 10 เขต มี ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเข้าทำงาน เงินเดือนที่ได้รับ ตำแหน่งปัจจุบัน ฯ เป็นต้น ดู field ประกอบ2. ในอีกความหมายหนึ่ง แปลว่า บันทึกเก็บในหน่วยความจำหรือในสื่อที่ใช้เก็บข้อมูลชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น จานบันทึก (ในภาษาอังกฤษ มักใช้คำว่า write แทนมากกว่า)