ก. น้อมหลังลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ.
ก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร.
ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ (พิธีทวาทศมาส), บางทีก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง.
ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นอย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, เกรี้ยวกราด ก็ใช้.
ก. แสดงกิริยาท่าทางหรือพูดจาประจบประแจงเกินงาม.
ก. แสดงกิริยาอาการขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวก.
ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นอย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, กราดเกรี้ยว ก็ใช้.
ก. แสดงกิริยาวาจาต่อผู้อื่นโดยขาดสัมมาคารวะ, เหลื่อมลํ้าทางจำนวน.
ว. หรูหราภูมิฐาน (มักใช้แก่กิริยาแต่งตัวหรือการแสดงกิริยาอื่น ๆ ).
ว. หรูหรางามเข้าที (มักใช้แก่กิริยาแต่งตัวหรือการแสดงกิริยาอื่น ๆ ).
โดยปริยายหมายความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์
ก. ทำให้กลัวโดยแสดงกิริยาอาการจะทำร้าย.
แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.
ว. คำนำหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า.
น. คนที่มีฐานะตํ่าต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว.
ก. แสดงกิริยาวาจาเป็นเชิงบังคับให้เป็นไปตามความประสงค์.
แสดงกิริยาหรือปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นักศึกษาเคลื่อนไหวต่อต้านสินค้าต่างประเทศ.
ว. แสดงกิริยาอาการเคอะเขินไม่แนบเนียนเพราะหย่อนความชำนาญเป็นต้น.
ว. แสดงกิริยาโกรธอย่างหมาจะกัด.
สัน. สำหรับต่อความแสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วจึงไป, แสดงความที่เป็นผลเนื่องจากเหตุข้างหน้า เช่น ทำดีจึงได้ดี.
ว. พูดออดอ้อนหรือแสดงกิริยาทำนองนั้นเพื่อให้เขาเอ็นดูเป็นต้น (มักใช้เฉพาะเด็กหรือผู้หญิง).
ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ชะอ้อน ก็ใช้.
แสดงกิริยาเสน่หา เช่น จักปราไสสอง ทรามรัก เล็งพระภักตร์แล้วชมเชย (ม. คำหลวง หิมพานต์).
ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ฉะอ้อน ก็ใช้.
ก. ยกตัวหุ่นชูขึ้นให้แสดงกิริยาท่าทางไปตามบทบาท.
ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูด หรือเขียน เป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.
ช่างพูดและแสดงกิริยาน่ารัก (ใช้เฉพาะเด็กที่สอนพูด).
แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น เมื่อนั้น โฉมนางตะเภาทองผ่องใส ทั้งนางตะเภาแก้วแววไว ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็นเกลียว จึงว่าดูเอาหรือเจ้าไกร ว่าจะไปหาครูสักประเดี๋ยว มิรู้ช่างโป้ปดลดเลี้ยว ไปเที่ยวเกี้ยวชู้แล้วพามา (ไกรทอง).
ก. แสดงกิริยาหรือวาจาชวนวิวาท, รวน ก็ว่า.
ออกเสียงดังเช่นนั้นแสดงกิริยาดูถูกดูหมิ่น.
ก. แสดงกิริยาท่าทางเป็นทำนองอยากติดต่อด้วย
แสดงกิริยาหรือวาจาไม่สมควร ไม่รู้จักที่ตํ่าสูง เช่น อย่าทะลึ่งกับผู้ใหญ่
การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามที่กำหนดเป็นแบบไว้ มีชื่อเรียกต่าง ๆ เช่น ท่ามวยมีท่าจระเข้ฟาดหาง ท่ารำมีท่าพรหมสี่หน้า
ก. แสดงกิริยาหรืออาการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ก. แสดงกิริยาหรืออาการให้ผู้อื่นสำคัญผิด.
ก. แสดงกิริยาโดยใช้มือเพื่อเป็นเครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ก. แสดงกิริยาอาการทางหน้าตา เช่น ทำหน้าทำตาล้อหลอก.
ก. แสดงกิริยาท่าทีหรือคำพูดให้รู้ว่ามีลักษณะนิสัยใจคอหรือชาติตระกูลเป็นอย่างไรเป็นต้น.
ว. บ้าเพราะกินเมล็ดลำโพง มีอาการซึมหรือพูดพล่าม, โดยปริยายหมายความว่า พูดโผงผาง ตึงตัง หรือแสดงกิริยาโมโหโกรธา เช่น พูดจาบ้าลำโพงโป้งไป (คาวี), ทำโมโหโกรธาบ้าลำโพง เที่ยวโป้งโหยงหยาบช้าสาธารณ์ (พิเภกสอนบุตร).
ก. แสดงกิริยาท่าทางแทนถ้อยคำ เช่น ใบ้คำ
ว. พูดจาและแสดงกิริยาเสนอหน้าอย่างเด็ก.
ก. กระทำการหรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการคัดค้านเพราะไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจอย่างยิ่ง เช่น อดข้าวประท้วง เขียนหนังสือประท้วง.
ว. แสดงกิริยาอาการหรือกระทำการใด ๆ ผิดแปลกไปจากปรกติที่เป็นอยู่ในหมู่พวกหรือที่นิยมกันตามประเพณี เช่น แต่งตัวเปิ่น ทำท่าเปิ่น.
(-พะเยิด) ก. แสดงกิริยาหน้าตาพลอยรับรู้เห็นกับเขาด้วย, ไม่แสดงอาการให้ชัดเจนเป็นแต่พยักหน้า หรือทำบุ้ยใบ้ไม้มือเพื่อให้รู้.
ก. แสดงกิริยาพยักพเยิดพร้อมทั้งยิ้มอยู่ในหน้าเป็นเชิงเย้ยหยัน.
(พฺร้อม) ว. คำแสดงกิริยาร่วมกัน เช่น ร้องเพลงพร้อมกัน ปรบมือพร้อมกัน หรือในเวลาเดียวกัน เช่น ไปพร้อมกัน ถึงพร้อมกัน, โดยปริยายหมายความว่า ครบครัน เช่น งามพร้อม ดีพร้อม เตรียมพร้อม, เสร็จ เช่น พร้อมแล้ว.
ก. พูดหรือแสดงกิริยาดูถูกเยาะเย้ยให้ได้อาย ให้เจ็บใจ ให้โกรธ.
ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้เจ็บใจชํ้าใจ โดยย้ำถึงความเสียเปรียบ ความด้อยกว่า หรือความผิดพลาด เช่น เยาะว่า ไหนว่าเก่งนัก ทำไมสอบตก.
ก. ค่อนว่าหรือแสดงกิริยาซ้ำเติมให้ได้อาย ให้ช้ำใจเจ็บใจ ให้โกรธ.
แสดงกิริยาหรือวาจาชวนวิวาท เช่น เขาถูกรวน, ตีรวน ก็ว่า.