(กำมะวิบาก) น. ผลของกรรม.
น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นต้องวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางหรือทำกิจกรรมที่ยาก ๆ เช่น ใช้ปากควานหาสตางค์ในแป้ง สนเข็ม เป่าลูกโป่งให้แตก ใครทำเสร็จและวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.
ว. เปิดกว้างและลึก เช่น สวมเสื้อคอกว้างชะเวิบชะวาบ, ชะเวิกชะวาก ก็ว่า, เปิดเผยอวัยวะบางส่วนที่ควรปกปิด เช่น แต่งตัวชะเวิบชะวาบ.
น. สถานที่ที่ทางทั้ง ๒ ตัดผ่านกัน, สี่แยก.
น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง มี ๒ ประเภท ประเภทหนึ่งระยะทาง ๓, ๐๐๐ เมตร ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๒๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๗ บ่อ ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ อีกประเภทหนึ่งระยะทาง ๒, ๐๐๐ เมตร ใช้สำหรับการแข่งขันประเภทเยาวชน ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๑๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๕ บ่อ ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.
ว. อย่างฉับพลันทันที เช่น โกรธวิบขึ้นมาทันที โมโหวิบ.
น. พิบัติ, ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล, เช่น ทรัพย์สมบัติวิบัติ
ความเคลื่อนคลาด, ความผิด, เช่น อักขราวิบัติ.
ก. ฉิบหาย เช่น ขอจงวิบัติทันตาเห็น.
น. ผล, ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วอันทำไว้แต่อดีต, เช่น กุศลวิบาก กรรมวิบาก.
ว. ลำบาก เช่น ทางวิบาก วิ่งวิบาก.
ว. เต็ม, กว้างขวาง, มาก, ใช้ว่า วิบุลย์ หรือ วิบูลย์ ก็มี.
น. การเขียน อ่าน หรือออกเสียงไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี.
น. ชื่อกลบท วรรคต้นใช้อักษรสูงนำหน้า วรรคที่ ๒ ใช้อักษรกลาง วรรคที่ ๓ ใช้อักษรตํ่า ตัวอย่างว่า สมเด็จพระศิริวิบุลกิตติ์ กำจัดจากโศกวิโยคหา ค่อยตรึกตรองฉลองคุณพระชนมา (ชุมนุมตำรากลอน).
ว. เปิดกว้างและลึก เช่น สวมเสื้อคอกว้างชะเวิกชะวาก, ชะเวิบชะวาบ ก็ว่า.
น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๙ คำ ในแต่ละวรรคให้มีคำซ้ำ ๓ คู่ ในแต่ละคู่มีคำอื่นมาคั่นตำแหน่งละ ๑ คำ เช่น หวั่นหวั่นจิตรคิดคิดไปใจใจหวล อ่อนอ่อนท้อรอรอรวนนวลนวลสมร ท้าวท้าวแนบแอบแอบน้องย่องย่องจร เหนื่อยเหนื่อยนอนขอนขอนไม้ใต้ใต้ไทร (กลบลศิริวิบุลกิตติ์).
(ตฺรียะมก) น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคละ ๙ คำ วรรคหนึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ให้ใช้พยัญชนะที่มีเสียงพ้องกัน ๒ เสียงในแต่ละช่วง เช่น สิ้นอาสัญในอาศรมที่อาศรัย อนาถใจอนาโถโอ้อางขนาง พระองค์เดียวพระอับเปลี่ยวพระองค์นาง ม้วยชีพวางสิ้นชีวาตม์ขาดชีวัง (ศิริวิบุลกิตติ).
น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง สัมผัสสระคำที่ ๕ กับคำที่ ๖ ในแต่ละวรรค เช่น ขอเดชะพระ องค์จงโปรดเศียร ให้สมเพียรโย ธาข้าบาทสนอง (ศิริวิบุลกิติ์), ในศิริวิบุลกิติ์ เรียก สิงห์โตเล่นหาง
น. วงจร ๓ ส่วน ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องกันไป เริ่มจาก กิเลสวัฏ คือ วงจรส่วนกิเลส เป็นผลให้เกิด กรรมวัฏ คือ วงจรส่วนกรรม และเป็นผลให้เกิด วิปากวัฏ คือ วงจรส่วนวิบาก วนเวียนกันไปไม่รู้จบ.
น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง บังคับให้มีคำที่ใช้ไม้ม้วนทุกวรรค ไม่ให้มีคำที่ใช้ไม้มลาย เช่น จักกล่าวถึงมเหษีที่อยู่ใน อรัญใหญ่องค์เดียวอนาถา อนาถใจถึงองค์พระภัศดา ให้โศกาถึงบุตรสุดอาวรณ์ (ศิริวิบุลกิตติ์).
ว. สอง เช่น ลูกเสือสนองคำโคทู ว่าถ้าแม่กู กระทำวิบัติเบียดเบียน (เสือโค).
น. กลอักษรแบบหนึ่ง บังคับคำซ้ำ ๑ คู่ โดยมีคำอื่นคั่นกลาง ๑ คำ ทุกวรรค มีลักษณะเหมือนนกกางปีกบิน เวลาอ่านให้อ่านคำซ้ำที่ละไว้นั้นด้วยจึงจะได้ความครบถ้วน เช่น สองกระษัตริย์ศัลย์ให้รันทด แสนกำสดสุดคิดพิไสมย ต่างองค์ทรงโศกาไลย พระภูวไนยนารถให้หวาดทรวง (ศิริวิบุลกิตติ์) อ่านว่า สองกระษัตริย์กระศัลย์ให้รันทด แสนกำสดสุดคิดสุดพิไสมย ต่างองค์ต่างทรงโศกาไลย พระภูวไนยภูวนารถให้หวาดทรวง.
(นากบอริพัน) น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้ ๒ คำต้นของวรรคต่อไปซ้ำกับ ๒ คำสุดท้ายของวรรคหน้า โดยให้สลับคำกัน เช่น พระปิตุรงค์ฟังบุตรเห็นสุดห้าม ห้ามสุดความคิดบุตรเห็นสุดหาญ หาญสุดไม่หยุดยั้งจะรั้งราญ ราญรั้งนานแน่วเนตรสังเวชบุตร (ศิริวิบุลกิตติ์).
น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๘ คำ บังคับซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ คำ คือ คำท้ายวรรค (คำที่ ๖, ๗ และ ๘) กับ ๓ คำต้นวรรคถัดไป (คำที่ ๑, ๒ และ ๓) และซ้ำเสียงสระวรรคละ ๓ คู่ ในคำที่ ๓ กับ ๔ คำที่ ๕ กับ ๗ และคำที่ ๘ กับคำที่ ๑ ในวรรคถัดไป เช่น กรุงกระษัตริย์ตรัสฟังแค้นคั่งจิตร คิดแค้นใจไหวหวิดในจิตรฉงน จนฉงายกายไฉงใจร้อนรน จนร้าวราญการกระมลจิตรวนเวียน (ศิริวิบุลกิตติ์).
น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคหนึ่ง ๘ คำ แบ่งเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ โดยให้ ๒ จังหวะแรกใช้พยัญชนะเสียงซ้ำ ๒ ตัว และ ๒ จังหวะหลังใช้พยัญชนะเสียงอื่นซ้ำกัน ๒ ตัวในลักษณะเดียวกัน เช่น ข้าสาวข้าวศรีทรวดมีทรงมิ่ง นางแอบแนบอิงสุดถวิลแสนถวิล นมตั้งนั่งเต้าคลอเคล้าแคลคลิ้น ฬ่อหลาลาลินเลิศลินลาดลอย (ศิริวิบุลกิตติ์).
ก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบูลระบัดบัง (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ (อิเหนา)
(บาด, บาดทะ-) น. ตีน, เท้า, เช่น ทวิบาท จตุบาท, ราชาศัพท์ว่า พระบาท.
น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง บังคับเสียงพยัญชนะตัวเดียวใน ๕ คำแรกของทุกวรรค เช่น จอมจักรเจ้าแจ้งเจาะฟังเพราะพร้อง จวนจิตรจ่องจนใจสงไสยสนิท (ศิริวิบุลกิตติ์), โบราณเขียนเป็น เบญจวรรณห้าศรี ก็มี.
ว. ลักษณะที่ครอบครัวเป็นต้นแตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไปเพราะหัวหน้าครอบครัวหรือผู้เป็นหลักเป็นประธานประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต.
(วิบปะติสาน, วิปฺระ-) น. ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ, (ภายหลังที่ได้กระทำผิด หรือเนื่องด้วยการกระทำผิด).
(วิบปะโยก, วิปฺระโยก) น. ความพลัดพราก, ความกระจัดกระจาย, ความจากกัน.
(วิบปะโยก, วิปฺระโยก) ว. เศร้าโศก เช่น วันวิปโยค แม่น้ำวิปโยค.
(วิปฺระลาบ, วิบปะ-) น. การพูดเพ้อ, การพูดพรํ่า
(วิปฺระวาด, วิบปะ-) น. การพลัดพราก, การจากไป, การไปอยู่ที่อื่น.
(วิปะหฺริด, วิบปะหฺริด) ก. แปรปรวน, ผิดปรกติ, ผิดแนวทาง, แปรปรวนไปข้างร้าย, กลับกลายไปข้างร้าย.
(วิปะลาด, วิบปะลาด) ก. คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ เช่น สติวิปลาส ตัวอักษรวิปลาส สัญญาวิปลาส.
(-จินไต) ว. ที่พ้นความคิด, ไม่ควรคิด, (สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑).