น. เครื่องกินที่ไม่มีของสดคาว.
ก. กินเครื่องกระยาบวชในลัทธิพิธี เช่นพิธีตรุษ, ใช้เข้าคู่กับคำ ถือศีล เป็น ถือศีลกินบวช, กินในเวลาตามกำหนดของการถือพรตในลัทธิศาสนา.
ว. ที่มีอายุตั้งแต่ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ถือว่าอุปสมบทเป็นภิกษุได้.
ก. ประพฤติพรตตามลัทธิศาสนาต่าง ๆ
ถือศีลอดตามคติศาสนาอิสลาม.
น. ผู้ที่ได้เข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆ เช่น ภิกษุ สามเณร บาทหลวง.
ก. ถือเพศเป็นภิกษุสามเณรหรือนักพรตอื่น ๆ.
น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทำด้วยกล้วย ต้มกับกะทิและน้ำตาล.
ก. หลอก, ล่อลวง, ทำอุบายให้หลงเชื่อ, เช่น ถูกเขาบวชเช้าบวชเย็นรํ่าไป (อิเหนา ร. ๕).
ก. นำดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาผู้ใหญ่ที่นับถือเพื่อลาไปบวช.
ก. ไปถือเพศเป็นพระหรือนักพรตอื่น ๆ
ทางศาสนาอิสลาม หมายถึง เลิกถือศีลอด.
น. การทำบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชนิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทำเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน คนใช้ เป็นต้น.
(กะมันทะ-) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ ว่า ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง (เสือโค).
น. ของมีรูปกลม กลวง ยาวเรียวแหลม, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น หยอดในกรวยใบตอง ว่า ขนมกรวย, กระทงมีฝาเป็นกรวยครอบ ข้างในใส่หมากหรือเมี่ยงสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และคู่สวดในการบวชนาค เรียกว่า กรวยอุปัชฌาย์และกรวยคู่สวด
น. ที่อยู่ของนักบวชเช่นพระภิกษุ, เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่ เช่น วัดกะดีทอง (สามดวง)
น. ที่อยู่ของนักบวชเช่นพระภิกษุ, เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่, โบราณเรียกว่า กะดี
ก. พึ่งพาผลบุญจากผู้ที่บวชเป็นพระภิกษุสามเณร เช่น ถ้ามีลูกชายก็จะได้บวชให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลือง.
น. ขนมทำด้วยแป้งข้าวเจ้า นวด ปั้นเป็นตัวยาว ๆ หัวแหลมท้ายแหลม ต้มให้สุกแล้วคลุกกับมะพร้าวทึนทึกขูดผสมเกลือ เป็นเครื่องกระยาบวช.
น. ขนมทำด้วยแป้งข้าวเจ้า นวดทำเป็นแผ่นแบน ๆ ต้มให้สุกแล้วคลุกกับมะพร้าวทึนทึกขูดผสมเกลือ เป็นเครื่องกระยาบวช
ก. เคี้ยวกิน (ใช้แก่นักบวช).
น. เรียกอาหารการกินของนักบวช ว่า ของขบฉัน.
(ขฺรัว) น. คำเรียกภิกษุที่มีอายุมาก หรือที่บวชเมื่อแก่ หรือฆราวาสผู้เฒ่า.
ก. ขอไม่ให้เอาโทษในสิ่งที่ได้ล่วงละเมิดหรือล่วงเกิน เช่น เขามาขอขมาญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช, ขอษมา หรือ ขอษมาลาโทษ ก็ว่า.
ก. กล่าวตอบในเวลาที่พระคู่สวดสวดถามคุณสมบัติและโรคต้องห้ามเป็นภาษาบาลีในที่ประชุมสงฆ์ แล้วนาคผู้ขอบวชเป็นภิกษุตอบรับหรือปฏิเสธเป็นภาษาบาลีเช่นกัน.
น. ชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ.
น. ชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้ว.
นุ่งห่ม (ใช้แก่นักบวช) เช่น ครองจีวร ครองผ้า
(คะรุกาบัด) น. อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เมื่อภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที แม้กลับมาบวชใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ.
(คะรึหัด) น. ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช, ฆราวาส, ภาษาปากใช้ว่า กระหัด.
ปัจจุบันหมายถึงพระคุณของพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา เช่น บวชตอบแทนค่าน้ำนม.
น. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็นพระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะมนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวชเรียกว่า บาทหลวง, เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก.
(คะราวาด) น. คนผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือนักบวช.
การพิธีหรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน เช่น งานบวช งานปีใหม่.
น. ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง ๓ หน, ใช้พูดเป็นเชิงตำหนิว่า เป็นคนที่ไม่น่าคบ.
น. นักบวช เช่น ท้าวธคือไกรษรงามสง่า เสด็จเข้าป่าเปนชี (ม. คำหลวง วนประเวศน์)
น. นักบวชจำพวกหนึ่ง ถือเพศเปลือยกาย, โดยปริยายใช้เรียกคนที่ไม่นุ่งผ้า.
น. ชีในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ที่ปฏิญาณตนว่าจะบวชตลอดชีวิต ต้องอยู่แต่ในสำนักของตน จะออกไปติดต่อกับบุคคลอื่นแม้แต่ญาติของตนก็ไม่ได้.
น. ยาย้อมฟัน ทำจากกะลามะพร้าวเผาไฟแล้วบดให้ละเอียด ใช้สีเพื่อให้ฟันดำเป็นมัน เช่น เอาชี่สีฟันเป็นมันขลับ กระจกส่องเงาวับดูจับแสง (ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วบวชเณร), สี้ ก็เรียก.
น. กุลบุตรที่บวชเป็นสามเณรเนื่องในพิธีเผาศพ.
น. กุลบุตรที่บวชเป็นสามเณรต่อท้ายพิธีบวชพระ.
(ดะบัดสะ-) น. ผู้ประพฤติความเพียร, ฤษี, เพศหญิงว่า ดบัสวินี, เขียนเป็น ดบัศวี ก็มี เช่น รอยมึงบยำชีหน้าหนวด นักบวชด้วยดบัศวี แต่ก่อนฤๅ (ม. คำหลวง ชูชก).
โดยปริยายเรียกชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ ว่า คนดิบ, (โบ) เรียกศพที่ฝังไว้ไม่นิยมเผาเช่นผีตายโหง ว่า ผีดิบ, เรียกผีชนิดหนึ่งเป็นศพเดินได้ ว่า ผีดิบ, เรียกดงที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มอยู่ทั้งปี ว่า ดงดิบ.
(-ระถี) น. นักบวชนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล.
พระภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกไม่อาจกลับมาบวชใหม่ได้.
ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น), ที่ใช้สั้น ๆ ว่า ถึงมรณภาพ หรือ มรณภาพ ก็มี.
ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น), มรณภาพ ก็ว่า, ใช้เต็มว่า ถึงแก่มรณภาพ.
ก. ประพฤติปฏิบัติตนเยี่ยงนักบวชหรือผู้ครองเรือน เช่น ถือเพศเป็นฤๅษี ลาจากสมณเพศมาถือเพศเป็นคฤหัสถ์.