(กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น สมัยอยุธยาใช้ขับร้องและบรรเลงตอนโศกเศร้า ต่อมามีผู้นำไปทำเป็นเพลงเถา.
(กฺรม-) น. กรมพระคลังส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ ต่อมาเพิ่มหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก. (ดู กรมพระคลัง ประกอบ).
น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ลักษณะคล้ายพิณ มี ๔ สาย ตั้งเสียงต่างกันเป็น ๒ คู่ เดิมใช้บรรเลงในวงมโหรีเครื่อง ๔ และมโหรีเครื่อง ๖ ในสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ใช้จะเข้บรรเลงแทน.
น. กระดาษที่ใช้ทำว่าว เป็นกระดาษที่เหนียวและไม่โปร่ง ลมรั่วไม่ได้ เดิมใช้กระดาษที่สั่งมาจากเมืองจีน ต่อมาใช้กระดาษจากญี่ปุ่น.
ชื่อเพลงโหมโรงเสภา เดิมเป็นเพลงไทยภาคเหนือสำเนียงลาว ต่อมามีผู้นำมาแต่งขยายเป็นอัตรา ๓ ชั้น โดยใช้ชื่อเดิม.
น. ภาชนะสำหรับใช้ผัดหรือทอดเป็นต้น มีรูปร่างต่าง ๆ ตามปรกติมีก้นลึก ปากผาย ต่อมาอนุโลมเรียกภาชนะที่ใช้ในลักษณะเช่นนั้นแม้มีก้นตื้นหรือแบน ทั้งชนิดที่มีขอบและไม่มีขอบว่า กระทะ เช่น กระทะขนมเบื้อง กระทะโรตี.
น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ ต่อมาเรียก ปัตตาเวีย, ปัจจุบันคือ จาการ์ตา
น. การจำหน่ายที่ดินที่ได้แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจากที่ดินแปลงเดียวหรือแบ่งจากที่ดินหลายแปลงที่มีพื้นที่ติดต่อกัน โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์เป็นค่าตอบแทน และให้หมายความรวมถึงการดำเนินการดังกล่าวที่ได้มีการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยไว้ไม่ถึงสิบแปลงและต่อมาได้แบ่งที่ดินแปลงเดิมเพิ่มเติมภายในสามปี เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปด้วย.
น. ไข้ติดเชื้อเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมอง มีอาการไข้ ซึม คอแข็ง หลังแอ่น และมีผื่นชนิดตกเลือดใต้ผิวหนัง ต่อมาสีของผื่นจะเปลี่ยนเป็นคลํ้า.
น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงแล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็นรอยบุ๋ม, ฝีดาษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว.
(คฺรั่ง) น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด Kerria lacca (Kerr) ในวงศ์ Kerriidae เพศเมียไม่มีปีก ขณะเป็นตัวอ่อนระยะแรกมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา เกาะอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นไม้ เช่น จามจุรี และผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นำไปใช้ทำประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น เชลแล็ก สีย้อมผ้า.
น. ราคาที่กำหนดขึ้นเพื่อซื้อขายทาสในสมัยโบราณ, ต่อมาหมายถึงราคาที่กำหนดขึ้นตามความสำคัญหรือความสามารถของบุคคล.
น. สำนักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมืองซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมืองข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของเมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.
น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้มีสถานที่สอนความรู้วิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิชาช่างไฟฟ้า วิชาช่างเครื่องยนต์ วิชาช่างวิทยุโทรทัศน์ ให้แก่บุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัด เพศ วัย และวุฒิการศึกษา โดยครูที่มีความรู้และยินดีอาสาสมัครสอนให้เป็นวิทยาทาน เปรียบเสมือนพระดาบสในสมัยโบราณที่มีกุศลศรัทธาที่จะถ่ายทอดศิลปศาสตร์ให้แก่ลูกศิษย์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เริ่มดำเนินการโครงการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส และจัดตั้งเป็นมูลนิธิพระดาบสเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการพระดาบส และกิจการของโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส.
(จักกฺริน, จักกฺรี) น. ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์, ต่อมาหมายถึง พระราชา ตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร.
น. ส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง เป็นช่องที่ต่อมาจากปากมดลูก และเป็นทางที่ทารกคลอดออกมา.
น. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง มีที่มาจากตราดาราช้างเผือกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลช้างเผือก.
น. ทำนองเพลงไทยสำเนียงลาว อัตราชั้นเดียว เดิมประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงเดี่ยวลาวแพน เรียกว่า ออกซุ้ม ต่อมามีผู้นำไปบรรเลงต่อท้ายเพลงสำเนียงลาวอื่น ๆ.
น. สูตรหรือตำราดั้งเดิม เช่น ยาหอมต้นตำรับ ต้นตำรับชาววัง, ผู้เป็นต้นคิดประดิษฐ์จนเป็นแบบแผนสืบต่อมา เช่น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เป็นต้นตำรับอาหารไทยหลายอย่าง.
น. หนังสือราชการประจำตัวไพร่หลวงสำหรับบางหมู่บางพวก เดิมเพื่อได้รับการลดหย่อนภาษีอากรต่าง ๆ หรือได้รับยกเว้นการเกณฑ์แรงงานตามที่กำหนดให้ ต่อมาเหลือเพียงการลดหย่อนภาษีอากร.
น. กำแพงล้อม ๓ ชั้น (รวมทั้งคู) เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา (จารึกสยาม), ต่อมาแม้จะเป็นกำแพงชั้นเดียวก็เรียกตรีบูรด้วย เช่น อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร (กำสรวล).
ทางสี่แยก เช่น จีงล่งชางออกใปยณทางตะแลงแกง (พงศ. ประเสริฐ), ต่อมาเลือนไปหมายถึงที่สำหรับฆ่านักโทษในสมัยโบราณ.
(ตาละปัด) น. พัดทำด้วยใบตาล มีด้ามยาว สำหรับพระภิกษุถือบังหน้าในพิธีกรรมเช่นในเวลาให้ศีล ต่อมาอนุโลมเรียกพัดที่ทำด้วยผ้าหรือไหมซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ตาลปัตร ด้วย, ตาลิปัตร ก็ว่า.
น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงแล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็นรอยบุ๋ม เรียกว่า ไข้ทรพิษ, ฝีดาษ ก็ว่า.
น. ประเพณีทางศาสนาอย่างหนึ่งของจีน โดยนำอาหาร ข้าวสาร และเงินใส่กระจาดเล็ก ๆ ทิ้งให้คนยากจนแย่งกันแบบโปรยทาน ต่อมาใช้ทิ้งติ้วหรือสลากสำหรับนำไปขึ้นของแทน.
น. ทูตของเทพ คือสิ่งที่เป็นสัญญาณเตือนให้ระลึกถึงคติธรรมดาของชีวิต เพื่อให้เกิดความสังเวชและรีบเร่งทำความดีด้วยความไม่ประมาท เช่น เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสอุทยานพบเทวทูต ๓ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ทำให้เกิดความสังเวช ต่อมาได้พบเทวทูตที่ ๔ คือสมณะ ทำให้คิดออกบวช.
น. สตรีผู้เนื่องในพระราชวงศ์หรือสตรีสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้านาย, เดิมเรียกว่า ห้าม ต่อมาเรียกว่า นางห้าม หม่อมห้าม และ หม่อม ตามลำดับ.
ไม่กระปรี้กระเปร่า เช่น ทำงานวันแรกดูแข็งขันดี วันต่อมาดูเนือยลงไป, ไม่ประเปรียว เช่น แก่แล้วชักเนือย.
น. เท้าที่มีบัวรอง, หมายเอาเท้าผู้มีบุญอย่างพระพุทธเจ้า นิยมว่าพระพุทธเจ้ามีดอกบัวผุดขึ้นรับพระบาท, ใช้เลือนมาหมายถึงพระบาทของพระมหากษัตริย์ ต่อมาหมายถึง พระมหากษัตริย์ด้วย.
น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงแล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็นรอยบุ๋ม, ไข้ทรพิษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว.
น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยโบราณ ประกอบด้วยเครื่องดีด คือ พิณ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ต่อมาเปลี่ยนพิณ เป็น ปี่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ปี่พาทย์.
น. สิ่งก่อสร้างที่มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านข้างทั้ง ๔ เป็นรูปสามเหลี่ยม มีปลายสุดไปบรรจบกันที่ยอด, ในอียิปต์เดิมใช้เป็นที่ฝังพระศพ ต่อมาบางทีก็ใช้เป็นเทวสถาน, ส่วนพีระมิดที่เม็กซิโกใช้เป็นเทวสถานอย่างเดียว, เรียกสิ่งหรือรูปที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า รูปพีระมิด
น. ชื่อเพลงไทยโบราณ อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน อยู่ในเรื่องทำขวัญ ต่อมาแปลงเป็นทางฝรั่งใช้เป็นเพลงคำนับเมื่อบุคคลสำคัญมาถึงมณฑลพิธี, สำนักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกำหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จพระราชดำเนินหรือเสด็จไปทรงเป็นประธาน และบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลงเป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ.
ที่เผาศพ เดิมผูกหุ่นทำเป็นภูเขาเลียนแบบเขาพระสุเมรุ ซึ่งตั้งที่เผาขึ้นบนนั้น ของหลวงทำเป็นเรือนโถง เครื่องยอดหรือมณฑปครอบที่เผา เรียกว่า พระเมรุ, ต่อมาเรียกที่เผาศพทั่วไปทั้งมียอดและไม่มียอด ว่า เมรุ.
เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัด ต่อมาถูกลดฐานะเป็นอำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขันธ์
น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคำ ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน.
น. วงดนตรีซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่าและเครื่องกระทบเป็นหลัก เดิมใช้เรียกเฉพาะวงของทหาร ซึ่งมีหน้าที่บรรเลงประกอบการเดินแถวหรือยืนแถวประกอบพิธีการต่าง ๆ อย่างพิธีสาบานตนต่อธงชัยเฉลิมพล ต่อมาใช้เรียกวงทั่วไปในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย.
น. วิธีการเขียนจิตรกรรมเป็นลวดลายสีทองบนพื้นลงรักหรือทาชาด เรียกว่า ลายปิดทองรดนํ้า, ต่อมาเรียกสั้นลงเป็น ลายรดนํ้า.
ส. เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคำว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน ๒ ก็ได้ เช่น เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา (ขุนช้างขุนแผน).
น. การรำโดยมีผู้เล่นจับคู่รำตามกันไปเป็นวง, แต่เดิมใช้โทนและร้องเพลงปรบมือให้จังหวะ เรียกว่า รำโทน ต่อมาภายหลังเพิ่มดนตรีประกอบด้วย.
น. ชื่อพันธุ์ของปลากัด (Betta splendensRegan) ในวงศ์ Belontiidae ที่ผ่านการคัดเลือกพันธุ์จากปลากัดป่าแล้วดูแลรักษาและคัดกันต่อมาอีกจนมีลักษณะเด่นพิเศษเพื่อการต่อสู้ คือ มีรูปร่างล่ำสัน ครีบต่าง ๆ สั้น ทำให้ปราดเปรียวและอดทนกว่าปลากัดจีนซึ่งเป็นชื่อปลากัดอีกพันธุ์หนึ่ง ปลาลูกหม้อโดยทั่วไปมีสีแดงเข้ม เขียว ฟ้า หรือน้ำเงิน เหลือบเป็นประกายอยู่ในตัวเดียวกัน
น. ชายฉกรรจ์ซึ่งเป็นราษฎรสามัญที่สมควรต้องสักข้อมือเป็นไพร่หลวงหรือไพร่สมเพื่อรับราชการแผ่นดิน เดิมใช้ความสูง ๒ ศอกคืบเป็นเกณฑ์กำหนด ต่อมาใช้อายุ ๑๘ ปีเป็นเกณฑ์กำหนด เว้นแต่จะได้รับยกเว้น.
ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก.
น. อำนาจหรือสิทธิที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินตามศักดิ์ของแต่ละคน เดิมเป็นการถือครองที่ดินคิดเป็นจำนวนไร่ ต่อมาถือเป็นการกำหนดสถานะ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคนในสังคม เช่น มหาอุปราช มีศักดินา ๑๐๐๐๐๐ เจ้าพระยาจักรี มีศักดินา ๑๐๐๐๐ ภิกษุรู้ธรรม เสมอนา ๖๐๐ ไพร่มีครัว มีศักดินา ๒๐ ยาจก วณิพก ทาส ลูกทาส มีศักดินา ๕ (สามดวง)
(สะหฺมิง) น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่าวิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่า เสือสมิง
(สะหฺยาม, สะหฺยามมะ-) น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
อาการที่ฝูงชนซึ่งรวมตัวกันเพื่อประท้วงเป็นต้นแล้วต่อมาได้แยกย้ายกันไป เช่น กลุ่มชนที่มาประท้วงได้สลายตัวไปหมดแล้ว.
(-สะกฺริด) น. ชื่อภาษาในตระกูลอินเดีย–ยุโรป ซึ่งมีใช้ในวรรณคดีอินเดียโบราณ เช่น คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท ต่อมาใช้ในวรรณคดีของพราหมณ์โดยทั่วไป และในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน, ใช้ว่า สังสกฤต ก็มี.
หนังสือราชการที่เสนาบดีเจ้ากระทรวงลงชื่อและประทับตรากระทรวงส่งไปยังหัวเมือง ซึ่งในสมัยต่อมาเรียกว่า ท้องตรา.