น. ภาชนะสานทึบรูปกลมสูง พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยม, ลักษณนามใช้เปรียบเทียบในความหมายว่า มาก เช่น เขาบ่นไม่รู้กี่กระบุง. ว. มาก เช่น เขาระเบิดความในใจออกมาเป็นกระบุง.
น. ความผิดที่มีผลต่อผู้เสียหายเป็นการเฉพาะตัวโดยตรง และมีกฎหมายกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ในการดำเนินคดีอาญาในความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องฟ้องหรือร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดและเมื่อฟ้องแล้วจะถอนฟ้อง หรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้.
น. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล.
น. ความในใจ เช่น พูดถูกใจดำ แทงใจดำ
น. ผู้ซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจหน้าที่ว่าต่างแก้ต่างแทนคู่ความในคดี, เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย
ก. พูดตรงกับความในใจของผู้ฟัง.
น. ระบบสื่อสารที่ใช้ส่งและรับรูปภาพหรือข้อความในรูปของคลื่นสัญญาณไฟฟ้าผ่านระบบโทรคมนาคม เครื่องส่งในระบบนี้จะกราดเอกสารที่ต้นทางแล้วแปลงข้อมูลเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า ก่อนที่จะส่งผ่านสายไฟฟ้า เส้นใยแก้ว หรือคลื่นวิทยุ ไปยังเครื่องรับที่ปลายทาง ซึ่งจะแปลงคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากลับมาเป็นข้อมูลเอกสารเดิม ก่อนที่จะพิมพ์ออกมาในแผ่นกระดาษ, เดิมใช้ โทรภาพ
ก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก
ก. ตีแผ่ หรือเปิดเผยความลับหรือความในใจออกมา.
ก. บอกความในใจอย่างไม่ปิดบัง, พูดความจริงอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่มีลับลมคมใน.
ก. แก้ถ้อยคำหรือเนื้อความในร่างกฎหมายที่สภารับหลักการแล้ว.
ก. สั่งอย่างหนึ่งไปทำเสียอีกอย่างหนึ่ง, แก้สาระสำคัญหรือข้อความในหนังสือจากอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
น. เครื่องหมายละคำ รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สำหรับละคำที่ประกอบคำหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สำหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่ามีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า “ละ”, หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า “ละถึง”, เปยยาล ก็เรียก.
คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย.
ก. รู้ความลับ, รู้ความในใจ, เช่น พอเขามาตีสนิทก็รู้ไต๋แล้วว่าต้องการอะไร.
ก. รู้ความในหรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นเป็นอย่างดี (มักใช้เกี่ยวกับฐานะการเงิน).
น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บนั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ (ความอยากได้) โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน.
น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง, ใช้กันข้อความในการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏในหนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐานยืนยัน เช่น [ ตรี อมาตยกุล ] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[ x + 4 – 3{ x + 5 – 4(x + 1) } ] = 23, ใช้ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [ Ba2+ ][ F−2 ] = 1.05.10−6, Na2[ Fe(Cn)5(NO) ]·2H2O.
บอกความในใจ เช่น สารภาพรัก.
น. ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่องอรรถคดี, ทนาย หรือ ทนายความ ก็เรียก.