น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลำคลอง หรือทะเล
ตำบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือในบริเวณที่เคยเป็นบาง เช่น บางใหญ่ บางคูเวียง บางกรวย, โดยปริยายหมายถึง ทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง.
ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติ ว่า ผมบาง, เรียกผู้ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอาย ว่า หน้าบาง, ตรงข้ามกับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะอง ว่า เอวเล็กเอวบาง หรือ เอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลำบากไม่ได้เพราะไม่เคยชิน ว่า คนผิวบาง.
ว. ใช้ประกอบหน้านามหมายความว่า ไม่ใช่ทั้งหมด คือ เป็นส่วนย่อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของส่วนรวม เช่น บางคน บางพวก บางถิ่น บางสิ่ง, ลาง ก็ใช้.
น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงโหมโรง.
ว. เห็นเป็นระยะห่าง ๆ กัน หรือหนาแน่นน้อยกว่าที่ควรเป็น.
ว. บางเวลา, บางคราว, บางครั้ง, บางหน, ลางที ก็ใช้.
น. บงสุ์, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, (โบ) ใช้ว่า บางษุ ก็มี เช่น มหาบางษุกุลพัษตรจีวรา (นันโท), เมื่อน้นนนางก็ลูบบทบางษุบาท (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
ว. น้อยลง, ทุเลาลง, เบาบาง ก็ว่า.
บางทีเขียนเป็น กาหลาป๋า เช่น มีพระคลังพิมานอากาษไว้กระจกเทศพรมเทศ เครื่องแก้วมาแต่เทศกาหลาป๋า ๑ (คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม)