(ตฺรับ) ก. เอาใจใส่คอยฟังข่าวคราวทุกข์สุขหรือความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สดับ เป็น สดับตรับฟัง, เช่น เคยดัดฤดีตาตื่นตรับ สยงสารสงงคีตขับทรอท่อ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
ก. รับไว้พิจารณา เช่น ผู้บังคับบัญชารับฟังความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา.
ก. รับว่ามีเหตุผลน่าเชื่อถือ, รับว่ามีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้, เช่น เหตุผลที่อ้างมานั้นรับฟังได้.
ก. ฟังด้วยความเอาใจใส่ เช่น สดับตรับฟังพระธรรมเทศนา.
น. กลไกที่ฝ่ายนิติบัญญัติใช้ควบคุมฝ่ายบริหาร เช่น การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือฝ่ายบริหารจะรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น การเปิดอภิปรายทั่วไปที่คณะรัฐมนตรีร้องขอให้มีขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากสมาชิกสภา.
ก. หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่น.
น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานอันดับย่อย Serpentes ในอันดับ Squamata หัวไม่มีรูเปิดสำหรับฟังเสียง ลำตัวเรียวยาว มีเกล็ด ไม่มีขา มีทั้งชนิดที่มีพิษและไม่มีพิษ ที่มีพิษ เช่น งูเห่าไทย ( Naja kaouthia Lesson) ที่ไม่มีพิษ เช่น งูเหลือม [ Python reticulatus (Schneider) ].
น. มาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของระบบรัฐสภาที่ฝ่ายนิติบัญญัติใช้ควบคุมและตรวจสอบฝ่ายบริหาร และฝ่ายบริหารใช้ประโยชน์จากฝ่ายนิติบัญญัติในการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายนิติบัญญัติ.
ว. เอาแต่ใจตัว ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น.
แสวงหาเพิ่มเติม, สดับตรับฟังความเคลื่อนไหวไปเรื่อย ๆ, เช่น ติดตามข่าว
ก. ไม่ยอมรับรู้รับฟัง, ไม่ยอมให้รู้ให้เห็น.
ก. ช่วยสดับตรับฟังและดูแลรักษาแทน.
น. ผู้มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียนมามาก.
ก. รับฟังไว้แต่ไม่เชื่อทั้งหมด.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Rhinocerotidae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่แต่ละขา มี ๓ นิ้ว ขาสั้น ตาเล็กสายตาไม่ดี หูตั้ง ประสาทรับฟังเสียงและดมกลิ่นดีมาก หนังหนา มีทั้งชนิดนอเดียวและ ๒ นอ กินพืช มักนอนในปลัก ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ชนิดที่มีนอเดียว เรียกว่า แรดนอเดียวหรือแรดชวา (Rhinoceros sondaicus Desmarest) และชนิดที่มี ๒ นอ เรียกว่า กระซู่ [ Dicerorhinus sumatrensis (Fischer) ].
(สะดับ) ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง
น. เสียงของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่รัฐบาลควรรับฟัง ในความว่า เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์.
(โสตะทัดสะนะอุปะกอน, โสดทัดสะนะอุบปะกอน) น. อุปกรณ์การสอนสำหรับฟังและดู เช่นวิทยุ โทรทัศน์, ใช้ว่า โสตทัศนูปกรณ์ ก็มี.
น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่สำหรับฟังเสียง
ว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.
น. หูที่รับฟังแล้วตีความไปอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะไปในทางที่ไม่ดี.
ก. รับฟังโดยไม่ขัดคอ, รับฟังไปตามเรื่องตามราวโดยไม่แสดงความคิดเห็น, เช่น ฉันก็เออ ๆ คะ ๆ ไปอย่างนั้นแหละ.