น. หน่วยหน้า, ตำแหน่งในกีฬาฟุตบอลที่ผู้เล่นมีหน้าที่จู่โจมในการรุกเข้ายิงประตูฝ่ายตรงข้าม.
น. หน่วยหลัง, ตำแหน่งในกีฬาฟุตบอลที่ผู้เล่นมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยิงประตูฝ่ายตน.
ก. ปรับหรือเปลี่ยนวิธีเพื่อให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้หรือฝ่ายตรงข้าม.
ก. ทำให้ขวัญเสีย เช่น พูดข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม.
เร่งความเร็ว เช่น เฆี่ยนมาด้วยความเร็ว ๑๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง, เอาชนะคู่แข่งขันอย่างขาดลอย เช่น เฆี่ยนฝ่ายตรงข้าม ๓ เกมรวด.
น. จุดที่เข้มแข็ง, จุดที่ฝ่ายตรงข้ามจะเอาชนะได้ยาก, ตรงข้ามกับ จุดอ่อน.
น. จุดอ่อนแอ, จุดที่ฝ่ายตรงข้ามจะเอาชนะได้โดยง่าย, ตรงข้ามกับ จุดแข็ง.
น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่นสงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่ายหนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ลูกช่วงที่ทำด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นม้วนเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่นโยนหรือปาใส่กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายที่ถูกปาเป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรำ ผู้แพ้ต้องออกไปรำ ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่หลัง.
(ชะเลย) น. ผู้ที่ถูกฝ่ายตรงข้ามจับตัวได้, (ปาก) สิ่งที่ได้มาโดยไม่รู้เจ้าของหรือเจ้าของลืมทิ้งไว้ เช่น ไก่บ้านใครไม่รู้หลงมาอยู่บ้านเรา เลยยึดไว้เป็นไก่เชลย ฉันเก็บถังเชลยมาได้ใบหนึ่ง.
ตาที่อยู่ตามมุมของกระดานดวด เป็นที่ที่ปลอดภัย ซึ่งหมากไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามกินและสามารถกินหมากของฝ่ายตรงข้ามได้.
ก. โต้กลับไป, ตอบแทนการกระทำของฝ่ายตรงข้าม, แก้แค้น.
น. การเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น โดยขีดเส้นแบ่งเขตระหว่างผู้เล่น ๒ ฝ่าย และจำกัดเขตด้านกว้างและด้านหลังด้วย ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย จำนวนเท่า ๆ กัน คนตี่จะวิ่งออกจากเส้นแบ่งเขตโดยกลั้นใจร้องเสียง “ตี่” ตลอดเวลาที่เข้าไปอยู่ในเขตตรงข้าม พยายามใช้มือฟันฝ่ายตรงข้ามให้มากที่สุด และพยายามวิ่งกลับเข้าเขตของตนให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องพยายามไม่ให้ถูกฟัน และหาโอกาสจับคนตี่ไว้มิให้กลับไปได้, ตี่จับ หรือ ตี่เสียง ก็เรียก.
ก. ประกอบพิธีเพื่อทำร้ายฝ่ายตรงข้ามโดยใช้เวทมนตร์คาถาเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เข้าไปอยู่ในตัวของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นต้น, ทำคุณทำไสย ก็ว่า.
ก. ประกอบพิธีเพื่อทำร้ายฝ่ายตรงข้ามโดยใช้เวทมนตร์คาถาเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เข้าไปอยู่ในตัวของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นต้น, ทำคุณไสย หรือ ทำคุณ ก็ว่า.
น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๕ คน ผู้เล่นแต่ละฝ่ายต้องพยายามโยนลูกบอลลงในห่วงตาข่ายของฝ่ายตรงข้าม นับคะแนนตามจำนวนครั้งที่โยนลูกลงห่วงได้.
(ปอระ-) น. ข้าศึก, ศัตรู, ฝ่ายตรงข้าม.
ก. ติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น ตำรวจประกบตัวผู้ร้าย, คุมตัวอย่างใกล้ชิด เช่น ประกบตัวผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามในการเล่นฟุตบอลเป็นต้น.
ก. ใช้เรือรบหรือทุ่นระเบิดเป็นต้นปิดที่ปากอ่าวของฝ่ายตรงข้าม ไม่ให้เรือเข้าออก.
น. การเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง โดยมีผู้เล่น ๒ คน ผลัดกันเป่ายางรัดของวงเล็ก ๆ ให้เกยทับยางของฝ่ายตรงข้าม.
น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่งที่เล่นในน้ำ โดยมีผู้เล่นซึ่งเป็นนักว่ายน้ำฝ่ายละ ๗ คน พาลูกบอลด้วยการโยนหรือขว้างลูกบอลให้เข้าประตูของฝ่ายตรงข้าม.
น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๑๑ คน รวมทั้งผู้รักษาประตู ผู้เล่นแต่ละฝ่ายต้องเตะลูกบอลให้เข้าประตูของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายที่ได้ประตูมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ, เรียกลูกกลมทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น หนัง ยาง พลาสติก ภายในมีลมอัด ใช้ในการเล่นฟุตบอล ว่า ลูกฟุตบอล.
น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง เล่นครั้งแรกที่โรงเรียนรักบี้ ประเทศอังกฤษ แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย โดยปรกติเล่นฝ่ายละ ๑๕ คน แต่ที่เล่นฝ่ายละ ๗ คนก็มี ผู้เล่นแต่ละฝ่ายพยายามแย่งลูกรักบี้ไปวางพ้นแนวประตูฝ่ายตรงข้าม แล้วนำมาเตะ ณ แนวจุดเตะเพื่อให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายที่ได้คะแนนมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ, เรียกเต็มว่า รักบี้ฟุตบอล, เรียกลูกหนังที่มีลักษณะกลมรีใช้ในการเล่นรักบี้ ว่า ลูกรักบี้.
ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตแดนของผู้อื่น เช่น รุกที่ดิน ทำไร่รุกเข้าไปในเขตหวงห้าม, บุกเข้าไปในเขตของฝ่ายตรงข้ามเพื่อให้ได้ชัยชนะ เช่น กองทัพรุกฝ่ายตรงข้าม ฟุตบอลทีมนี้เป็นฝ่ายรุกอยู่ตลอดเวลา
ก. รู้วิธีของคู่ต่อสู้หรือฝ่ายตรงข้าม.
ก. อาการที่ถูกฝ่ายตรงข้ามเตะซ้ายเตะขวาเลี้ยงไว้ไม่ให้ล้ม เช่น นายแดงถูกเตะล้มไม่ลง
ก. เคลื่อนที่ฝ่าเรื่อยเข้าไป เช่น ลุยน้ำ ลุยโคลน ลุยไฟ ลุยป่า ขับรถลุยเข้าไปในฝูงคน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลุยงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด หัวหน้าสั่งลูกน้องลุยฝ่ายตรงข้าม.
ก. กระทำสิ่งที่ไม่สุจริต ใช้เล่ห์อุบายให้เกิดผลร้ายแก่ผู้อื่นหรือทำลายฝ่ายตรงข้าม.
น. การเล่นวิ่งแข่งโดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายส่งคนวิ่งอ้อมหลักของฝ่ายตรงข้ามทีละคน โดยวิธีรับช่วงไม้หรือผ้าต่อ ๆ กันไป ฝ่ายที่วิ่งเร็วกว่า ใช้ไม้หรือผ้าที่ถืออยู่ตีฝ่ายตรงข้ามได้ เป็นฝ่ายชนะ.
น. ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งกลางของแถวหน้าในการเล่นฟุตบอลทำหน้าที่ยิงประตูเป็นสำคัญ บางครั้งอาจลงมาช่วยเซนเตอร์ฮาล์ฟซึ่งอยู่ในตำแหน่งกลางของแถวกลางและพาลูกขึ้นไปในแดนฝ่ายตรงข้ามด้วย.
ก. ใช้อำนาจเวทมนตร์บังคับให้ทหารในกองทัพของฝ่ายตรงข้ามหลับ.
เริ่มส่งลูกให้ฝ่ายตรงข้ามรับ เช่น ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายได้เสิร์ฟก่อน.
ว. ที่น้อยใจหรือผิดหวังที่ลงแรงไปแล้วแต่ไม่ได้ผลสมประสงค์ เช่น เสียแรงไว้วางใจให้รู้ความลับของบริษัท กลับเอาไปเปิดเผยให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ได้.
น. ฝ่ายตรงข้ามที่เข้ามาทำทีเป็นพวกเพื่อบ่อนทำลาย.
ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจมากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่าย ปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
ว. มุ่งให้ได้ชัยชนะฝ่ายตรงข้าม, มุ่งความเจริญ.
ว. ที่มุ่งให้เกิดความสุขความเจริญหรือได้ชัยชนะฝ่ายตรงข้าม เช่น โห่เอาฤกษ์เอาชัย.
น. กีฬากลางแจ้งชนิดหนึ่ง เล่นในสนามหรือบนลานนํ้าแข็งก็ได้ ผู้เล่นแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๑๑ คน ทั้ง ๒ ฝ่ายพยายามใช้ไม้ตีลูกให้เข้าไปในประตูของฝ่ายตรงข้าม.