น. ระบบขนาดใหญ่ของดาวฤกษ์ ประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์ เนบิวลา และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ กาแล็กซีมากกว่า ๑, ๐๐๐ ล้านกาแล็กซีรวมกันเป็นเอกภพ, ทางช้างเผือก ถือเป็นกาแล็กซีหนึ่ง.
ใช้ในการต่อของให้ราคาตํ่า ถือเป็นลางบอกว่าจะขายไม่ได้ราคาดีต่อไป.
น. ผู้ถือเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย, ผู้ทำการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค.
(คะรุ) ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ั แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย ุ แทน.
น. คลื่นในมหาสมุทรที่มีช่วงคลื่นยาวสมํ่าเสมอและยอดเรียบเคลื่อนตัวมาจากแหล่งกำเนิดที่อยู่ไกลมาก ชาวเรือถือเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าจะเกิดพายุ.
น. สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และกำหนดการกระทำของตนเอง.
น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับนาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [ “ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจำนวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทำนาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทำนาในที่เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จำนวนโคขึ้นตั้งเป็นอัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทำหรือมิทำจึงต้องเสียหางข้าว” พงศ. ร. ๒ ].
ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ
น. เรียกทองคำที่มีเกณฑ์สำหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัต ว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะอื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคำ ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
น. ทองชนิดหนึ่ง โบราณเข้าใจกันว่ามีสีเนื้อดำ นับถือเป็นของวิเศษ.
น. แนวทางตามที่เห็นที่ยึดถือเป็นแบบอย่างได้.
น. หลักและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ.
น. ทำนองที่ฆ้องวงใหญ่บรรเลงโดยไม่พลิกแพลง ถือเป็นทำนองหลักของเพลงนั้น, เนื้อเพลง หรือ ลูกฆ้อง ก็เรียก.
น. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ, ปทัสถาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า.
น. สิ่งที่กำหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดำเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ
น. หลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐาน, บุคคลหรือสิ่งที่ถือเป็นแบบได้.
น. กระดาษแผ่นหนึ่งที่ผนึกต่อเข้ากับตั๋วเงิน ในกรณีที่ไม่มีที่ในตั๋วเงินที่จะสลักหลังได้ต่อไป แต่การสลักหลังในใบประจำต่อครั้งแรกต้องเขียนคาบบนตั๋วเงินเดิมบ้างบนใบประจำต่อบ้าง ใบประจำต่อถือเป็นส่วนหนึ่งของตั๋วเงินนั้น.
น. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
น. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
น. การเวียนขวา โดยให้สิ่งที่เรานับถือหรือผู้ที่เรานับถือเป็นต้นอยู่ทางขวาของผู้เวียน.
ว. ถือเป็นเรื่องที่ตนควรทำให้, เอาเป็นธุระ ก็ว่า.
น. สิ่งที่กำหนดถือเป็นแนวดำเนิน เช่น วางแผน, แบบ, ตำรา, เช่น แผนโบราณ แผนปัจจุบัน.
น. พยานบุคคลซึ่งให้การในเรื่องที่ตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้มาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น รวมตลอดถึงข้อความที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุก็ถือเป็นพยานบอกเล่า.
ไม้สำหรับยึดกันครากมีกรอบถือเป็นต้น.
น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.
น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากร ตัวละครทุกตัวจะร้องแทนพูด เนื้อเรื่องมีความจริงจังหนักหน่วง ถือเป็นละครชั้นสูงของชาวตะวันตก.
ก. ถือเป็นเจ้าของ, อยู่ในครอบครอง, เช่น มีเงิน มีลูก, ประกอบด้วย เช่น อริยสัจ ๔ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค, ปรากฏ เช่น มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้า, เกิด เช่น มีโรคระบาด, คงอยู่ เช่น มีคนอยู่ไหม.
ว. ถือเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้, ถือเป็นสาระไม่ได้.
ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา (ขุนช้างขุนแผน)
ว. คำรับ (ถือเป็นคำไม่สุภาพ).
น. อย่าง, แบบอย่าง, เช่น จงเอาเยี่ยงกา อย่าถือเป็นเยี่ยงอย่าง.
ก. แสดงกิริยาหรือวาจาเพื่อความสนุก เช่น พูดล้อเล่นอย่าถือเป็นจริงจัง, หลอกเล่น ก็ว่า.
ก. ล่วงเกิน, อาจเอื้อม, เช่น การถามเรื่องส่วนตัวถือเป็นการละลาบละล้วง.
น. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง เช่น ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกถือเป็นคนวงนอก, ตรงข้ามกับ วงใน.
เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่แสดงว่าเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวนั้นไม่น่าเชื่อถือเป็นต้น.
น. อำนาจหรือสิทธิที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินตามศักดิ์ของแต่ละคน เดิมเป็นการถือครองที่ดินคิดเป็นจำนวนไร่ ต่อมาถือเป็นการกำหนดสถานะ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคนในสังคม เช่น มหาอุปราช มีศักดินา ๑๐๐๐๐๐ เจ้าพระยาจักรี มีศักดินา ๑๐๐๐๐ ภิกษุรู้ธรรม เสมอนา ๖๐๐ ไพร่มีครัว มีศักดินา ๒๐ ยาจก วณิพก ทาส ลูกทาส มีศักดินา ๕ (สามดวง)
น. พิธีดื่มเหล้าองุ่นแดงและกินขนมปังที่เสกแล้ว ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายแทนเลือดและเนื้อที่พระเยซูทรงเสียสละไถ่บาปให้มนุษย์และมีเลือดเนื้อเดียวกับพระองค์.
(สะนา-) น. ผู้ได้รับนํ้าสรงในพิธีสนานหลังจากจบการศึกษาแล้ว ซึ่งตามคติชีวิตของชาวฮินดูถือเป็นการสิ้นสุดชีวิตขั้นที่ ๑ ในอาศรม ๔ คือ พรหมจารี และย่างเข้าขั้นที่ ๒ คือ คฤหัสถ์.
น. สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เช่น คณะกรรมการลงมติรับหลักการตามที่มีผู้เสนอ.
น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริงเป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย
คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่าย ปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
ถือเป็นสำคัญ เช่น เจรจาเอาถ้อยคำ เอาพี่เอาน้อง
ว. ถือเป็นเรื่องที่ตนควรทำให้, เป็นธุระ ก็ว่า.
ก. ถือเป็นเรื่องเป็นราว เช่น เจ้าของเขาจะเอาเรื่อง.
ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามาใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์.