ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้การ, เช่น พูดไม่ได้ความ, ไม่ดี, ใช้การไม่ได้, เช่น ของไม่ได้ความ.
ก. หมายความไปถึง, ได้ความครบอย่างกะทัดรัด.
ก. ศึกษาค้นคว้าหรือค้นหาจนได้ความจริงหรือสิ่งที่ยังไม่เคยมีการพบมาก่อน.
ก. ซักถามให้ได้ความจะแจ้ง.
น. เครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายในที่มีระบบจุดระเบิดนํ้ามันเชื้อเพลิงด้วยการอัดอากาศภายในเครื่องยนต์จนได้ความร้อนสูงมากพอ แล้วจึงฉีดนํ้ามันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยผสมเข้ากับอากาศซึ่งมีอุณหภูมิสูงนั้น เป็นผลให้เกิดการจุดระเบิดนํ้ามันเชื้อเพลิงขึ้น, นํ้ามันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ชนิดนี้ เรียกว่า นํ้ามันดีเซล.
ก. ได้ชื่อเสียง, ได้ความดีความชอบ, ได้รับคำชม, เช่น เขาจัดงานได้เรียบร้อย เลยได้หน้าไปเยอะ.
น. กลอักษรแบบหนึ่ง บังคับคำซ้ำ ๑ คู่ โดยมีคำอื่นคั่นกลาง ๑ คำ ทุกวรรค มีลักษณะเหมือนนกกางปีกบิน เวลาอ่านให้อ่านคำซ้ำที่ละไว้นั้นด้วยจึงจะได้ความครบถ้วน เช่น สองกระษัตริย์ศัลย์ให้รันทด แสนกำสดสุดคิดพิไสมย ต่างองค์ทรงโศกาไลย พระภูวไนยนารถให้หวาดทรวง (ศิริวิบุลกิตติ์) อ่านว่า สองกระษัตริย์กระศัลย์ให้รันทด แสนกำสดสุดคิดสุดพิไสมย ต่างองค์ต่างทรงโศกาไลย พระภูวไนยภูวนารถให้หวาดทรวง.
น. เอกสารแสดงรายการสิ่งของที่ถูกปล้นเพื่อแจ้งแก่เจ้าหน้าที่, เอกสารบันทึกคำให้การของโจทก์และจำเลยซึ่งได้ความจริงทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว เช่น ถ้าแลส่งไปให้ปรับ ๆ มาว่าประการใดแล้วให้ยุกระบัตรพิจารณาดู ในใบสัจซึ่งปรับมาใส่ด้วยบทพระอายการ (สามดวง), บางทีเขียนเป็น ใบสัตย์ ก็มี เช่น หลวงญาณประกาศเทพราชธาดา พร้อมหน้านั่งฟังใบสัตย์อยู่ เชิญบทพระไอยการออกอ่านดู ผู้ปรับทั้งคู่อยู่พร้อมกัน (ขุนช้างขุนแผน).
(ปฺระโหฺยก) น. คำพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม
ก. ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิด ๆ พลาด ๆ.
ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ.
ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ, เลอะเทอะเอาเป็นหลักไม่ได้, เช่น พูดเลอะหลงไหลไม่ได้ศัพท์ (สังข์ทอง).
ก. หมดรูป, ไม่เข้าท่า, ไม่ได้ความ, เช่น แพ้ไม่เป็นท่า.
ว. ทำให้สั้น เช่น กล่าวโดยย่นย่อพอได้ความ
ก. พูดไม่ชัด, พูดไม่ได้ความ.
ก. ติดตามสืบเรื่องราวให้ได้ความชัดเจน.
น. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.