ว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว
อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับไม่หลวมพอครือ ๆ กัน.
ก. เสียเพียงเล็กน้อยไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องเสียมากกว่าเดิม เช่น ตอนที่เบรกรถยนต์เริ่มไม่ดี ก็ไม่รีบไปซ่อม พอเบรกแตกไปชนต้นไม้เข้า เลยต้องเสียค่าซ่อมมาก เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย.
ก. รู้สึกน้อยใจเนื่องจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นคุณค่าหรือความตั้งใจดีของตนเป็นต้น เช่น เขาอุตส่าห์เอาของมาให้แต่ไม่รับ ทำให้เขาเสียน้ำใจ.
ก. ร้องไห้ เช่น ละครเรื่องนี้เศร้าจริง ๆ ทำให้ฉันต้องเสียน้ำตา คนเลว ๆ อย่างนี้ตายไปก็ไม่น่าจะเสียน้ำตาให้.
ก. มีนิสัยไม่ดี เช่น พ่อแม่มีลูกคนเดียว จึงตามใจจนลูกเสียนิสัย เอาแต่ใจตัวเอง.
(-เสียน) ว. คับแคบ, ลำบาก, ฝืดเคือง, ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียร.
(กะเสียน) ก. สิ้นไป (ใช้เกี่ยวกับการกำหนดอายุ) เช่น เกษียณอายุราชการ.
(กะเสียน-) ก. ครบกำหนดอายุรับราชการ, สิ้นกำหนดเวลารับราชการหรือการทำงาน, พูดสั้น ๆ ว่า เกษียณ ก็มี.
(กะเสียน) น. ข้อความที่เขียนแทรกไว้เช่นในใบลาน, ข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคำสั่ง หรือหนังสือราชการ เรียกว่า หัวเกษียน.
(ขะเสียน) น. เกษียร, นํ้านม.
ก. แอบไปหรือแอบมาทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ให้ใครรู้ เช่น ดอดมาหยิบเงินไปตั้งแต่เมื่อไร บอกให้เฝ้าบ้าน ก็ดอดไปเที่ยวกลางคืนเสียนี่.
ให้ทำอย่างหนึ่งแต่กลับไปทำอีกอย่างหนึ่ง เช่น ใช้ให้ไปซื้อของทะลึ่งไปว่ายน้ำเสียนี่.
คำประกอบท้ายคำเพื่อเน้นความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่.
ก. พบปะ มักใช้เข้าคู่กับคำ พบ เป็น พบพาน หรือ พานพบ เช่น ไม่ได้พบพานเสียนาน
(มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน, มิคะสิระ, มิกคะสิระ) น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.
(มิคะ-, มิกคะ-, มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน) น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.
ว. รกมาก เช่น สวนรกเรื้อไม่ได้ดูแลเสียนาน.
ก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คำแวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.
ก. ขาดการฝึกฝนเสียนาน เช่น ไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศสมานานเลยเรื้อไป, ห่างไปนาน เช่น เรื้อเวที เรื้อสังเวียน.
ก. ถนอมน้ำใจ, ประคับประคองไว้ไม่ให้เสียน้ำใจ.
(เสียน) น. หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร)
ก. เสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก เช่น พระองค์ช่างเชื่อฟังคำคนชั่วโฉด ชาวเมืองมันกล่าวโทษพลอยโกรธตอบ เสียกำแล้วจะซ้ำกอบกระมังหนา (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
ก. เสียน้อยไปก่อนแล้วจะได้มากในภายหลัง เช่น เสียหนึ่งนิ่งไว้นานไปคงได้สอง เสมือนหนึ่งของท่านหายมีที่ไว้ ข้าพเจ้าคงจะหามาให้ไม่ให้เดือดร้อน ยอมเสียกำไปก่อนนั่นแหละ จึงจะได้กอบ (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหนมา, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา
(อาสิระ-, -เสียนระ-) น. การอวยพร.