(กฺล่อง) น. ภาชนะใส่สิ่งของรูปกลมหรือเหลี่ยมมีฝาปิด, สิ่งที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สำหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กล่องไม้ขีดไฟ, กลักไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
(กฺลัก) น. สิ่งที่ทำเป็นรูปคล้ายกระบอกสำหรับบรรจุของเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ, ซองยาสูบทำด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สำหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กลักไม้ขีดไฟ, กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
น. เครื่องสำหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือสลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออกมีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก.
(ขะหฺนอน) น. สถานที่ซึ่งตั้งอยู่ในเส้นทางเข้าออกเมืองหรือเขตแดน เพื่อตรวจคนเข้าออก ผู้ลักลอบผ่านด่าน สิ่งของหรือสินค้าต้องห้าม และเรียกเก็บภาษีอากรสินค้า, ที่คอยเหตุและคนแปลกปลอม.
(ขะหฺยาบ) น. เครื่องกันแดดและฝนที่เลื่อนเข้าออกจากประทุนเรือได้.
น. ชื่อกำไลที่ทำด้วยเงินหรือทองเกลี้ยง ๆ หัวท้ายรีดเป็นลวด ทำเป็นห่วงสอดไขว้กันเพื่อรูดเข้าออกได้, กำไลคู่ผี ก็เรียก.
ปัจจุบันเรียกกระจกเงามีกรอบ ๒ ชั้น สำหรับเอนเข้าออกได้ ตั้งบนโต๊ะเครื่องแป้ง.
น. วิธีกำหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดีหรือฤกษ์ร้าย.
(ฉะหฺนวน) น. ทางเดินซึ่งมีเครื่องกำบัง ๒ ข้าง สำหรับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายฝ่ายในเสด็จขึ้นลงหรือเข้าออก.
น. ที่ว่างซึ่งเป็นทางเข้าออกได้ เช่น ช่องเขา ช่องหน้าต่าง ช่องลม, ที่ว่างซึ่งเป็นที่กำหนดเฉพาะ เช่น จอดรถให้ตรงช่อง ช่องซื้อตั๋ว ช่องจ่ายเงิน
น. ประตูที่เจาะกำแพงพระราชวังหรือกำแพงเมือง เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพดานโค้งมนบ้าง โค้งแหลมบ้าง อยู่ใต้แนวใบเสมาลงมา เป็นช่องทางสำหรับคนสามัญเข้าออก, เขียนเป็น ช่องกุฎ ก็มี เช่น ซุ้มทวารบานสุวรรณชมพูนุท ประตูลักช่องกุฎสลับกัน (อิเหนา).
ก. สกัดทางเข้าออก เช่น ตำรวจใช้เครื่องกีดขวางดักทางจราจร
น. ที่สำหรับกัก ตรวจ คอยระวังเหตุ และป้องกันช่องทางที่จะผ่านเข้าออก เช่น ด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านศุลกากร ด่านกักสัตว์
น. ปากทางเข้าออก อย่างทางเข้าบ่อนการพนันเป็นต้น เช่น ดูต้นทาง.
เรียกเสาไม้ขนาดใหญ่ ๒ เสาที่แขวนห้อยอยู่กลางประตูเพนียดให้ช้างเข้าออก ว่า เสาโตงเตง, ประตูเข้ามีเสาโตงเตง ๒ ชั้น ส่วนประตูออกมีเสาโตงเตงชั้นเดียว, เรียกประตูเพนียดที่มีเสาโตงเตง ว่า ประตูโตงเตง.
ก. ให้ระบายเข้าออกได้ (มักใช้แก่อากาศหรือนํ้า)
ก. ลาดตระเวนช่องทางเข้าออกที่ชายแดน.
(ทฺรอม-) น. ชื่อแตรประเภทหนึ่ง มีท่อลมสวมซ้อนกันและบังคับเสียงโดยวิธีชักท่อลมเลื่อนเข้าออก, ลักษณนามว่า ตัว.
(ทะวาระบด) น. ทางเข้าออก เช่น อันกำแพงเชิงเทินป้อมปราการที่ล้อมกรุง รวมทั้งทวารบถทางเข้านครเล่า (กามนิต).
น. ที่สำหรับเครื่องบินขึ้นลง ประกอบด้วยลานจอดเครื่องบิน ลู่เครื่องบินขึ้นลง โรงเก็บอุปกรณ์การบิน หอบังคับการบิน ที่ทำการของเจ้าหน้าที่ และที่พักผู้โดยสารเข้าออกเป็นต้น, (ปาก) สนามบิน.
น. ทางหรือถนนซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้เดินทางได้รวดเร็วและปลอดภัย มีการควบคุมและกำหนดจุดให้ยานพาหนะเข้าออกเฉพาะที่ และไม่มีทางอื่นตัดผ่านในระดับเดียวกัน.
น. พื้นที่หรือที่ดินที่ไม่มีทางเข้าออก.
ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ
น. ผู้เป็นหัวหน้าด่านทางน้ำหรือทางบก สำหรับตรวจตราผู้คนเดินทางผ่านเข้าออก หรือตรวจสิ่งของที่ผิดกฎหมาย.
น. เชือกที่ทำเป็นวงสำหรับคล้อง รูดเข้าออกได้, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่ทำให้ติดข้องอยู่ เช่น บ่วงมาร.
น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนันบางชนิด อย่างถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า เช่น ถูกประตูเดียว กิน ๓ ประตู
น. ประตูสำหรับควบคุมระดับนํ้าที่ไหลเข้าออก.
ต้นทางสำหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก
ก. กันหรือกั้นไว้ไม่ให้เผยออก เช่น ปิดฝาหม้อ, กันหรือกั้นไว้ให้เข้าออกไม่ได้ เช่น ปิดถนน
ก. ใช้เรือรบหรือทุ่นระเบิดเป็นต้นปิดที่ปากอ่าวของฝ่ายตรงข้าม ไม่ให้เรือเข้าออก.
โบสถ์หรือวิหารที่มีผนังทึบตันรอบด้านมีช่องทางเข้าออกเฉพาะประตูด้านหน้าแห่งเดียว เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีที่เชื่อว่าจะทำให้ขลังยิ่งขึ้น.
ว. มีรอยแตกหรือมีรูซึ่งเกิดจากความชำรุดที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นเข้าออกได้ เช่น เรือรั่ว ท่อประปารั่ว หลังคารั่ว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ข่าวรั่ว ข้อสอบรั่ว.
เดินระผ่านเสาหรือหลักที่ปักไว้เป็นแถวเพื่อหาทางเข้าออกเป็นต้น เช่น เราะรั้ว.
วิธีกำหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดีหรือฤกษ์ร้าย เรียกว่า จับลมปราณ.
น. ลมที่ปอดสูบเข้าออกทางจมูกหรือทางปาก.
ก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือวกวนอ่านไม่เข้าใจ.
น. รั้วสี่เหลี่ยมภายในเพนียด ใช้ล้อมช้าง ทำด้วยซุงเป็นต้น ๆ ปักเรียงรายเว้นระยะพอให้คนลอดเข้าออกได้ มีไม้ตีพาดเสาเหล่านั้นให้ยึดติดกันโดยรอบ.
น. ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออกวกวนอาจทำให้หลงทางได้, เรียกสั้น ๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี, เรียกสิ่งที่ทำคล้ายคลึงเช่นนั้นในงานเทศน์มหาชาติหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ เพื่อความสนุก ว่า เขาวงกต, โดยปริยายหมายถึงวกวนหาทางออกไม่ได้.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Tapirus indicus Desmarest ในวงศ์ Tapiridae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ จมูกและริมฝีปากบนยื่นยาวออกมาคล้ายงวงยืดหดเข้าออกได้ ขนลำตัวตั้งแต่หัว คอ ไหล่ และขาหน้าสีดำ ขาหลังไปจดก้นสีดำ ส่วนที่เหลือกลางลำตัวตั้งแต่สันหลังลงมาถึงท้องมีสีขาว ขอบหูสีขาว หางสั้น ลูกเกิดใหม่ตัวมีลายสีขาวขาดเป็นท่อน ๆ ทอดไปตามความยาวลำตัว กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, ผสมเสร็จ ก็เรียก.
น. เสาไม้ขนาดใหญ่ ๒ เสาที่แขวนห้อยอยู่กลางประตูเพนียดให้ช้างเข้าออก, ประตูเข้ามีเสาโตงเตง ๒ ชั้น ส่วนประตูออกมีเสาโตงเตงชั้นเดียว, โตงเตง ก็ว่า.
น. ช่องฝาบ้านหรือเรือนเป็นต้นที่เปิดปิดได้ สำหรับรับแสงสว่างหรือให้อากาศถ่ายเทได้ แต่มิใช่ทางสำหรับเข้าออก.
เครื่องหมายสัญญาณให้รถไฟแล่นเข้าออกได้
ส่วนแห่งสิ่งของที่ทำไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง
ว. ไม่มีลมเข้าออก, ไม่โปร่ง, เช่น อากาศอับ, ไม่เคลื่อนไหว เช่น ลมอับ
(-นะ-) น. ลมหายใจเข้าออก ในคำว่า อานาปานัสสติ.
ที่ที่ไขนํ้าเข้าออกได้ สำหรับเก็บเรือหรือซุง.