(เอบีซี) ย่อมาจาก Atanasoff-Berry Computer ว่ากันว่า เป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก (หนังสือบางเล่มว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกมีชื่อว่า ENIAC) ศาสตราจารย์ John Atanasoff แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา และ Clifford Berry เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องเอบีซีนี้เมื่อราวทศวรรษ 1940 ABEND การหยุดงานผิดปกติ <คำแปล>ย่อมาจาก abnormal end of task หมายถึงการหยุดงานที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้มีคำสั่งให้หยุดในโปรแกรมหรือชุดคำสั่งมักจะเกิดขึ้น เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสั่งให้ปฏิบัติงานหนึ่งงานใด แล้วไม่ยอมปฏิบัติ อาจจะเป็นเพราะเครื่องเสีย หรือโปรแกรมผิดพลาด
(แอกนอส' ทิซิซึม) n. ทฤษฎีที่ไม่มีใครที่อาจจะรู้ได้
(แอน' นะลอก) n. ของที่คล้ายกัน, ค่าที่มีความต่อเนื่องกันโดยตลอด, เชิงอุปมาน หมายถึง การแทนปริมาณแดสงจำนวนโดยการวัดในลักษณะต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ความเร็วของรถยนต์ ซึ่งวัดได้จากความเร็วของการหมุนของวงล้ออาจจะแทนได้ด้วยจำนวนเลข ดู digital เปรียบเทียบ
แฟ้มข้อมูลแอสกี <คำแปล>หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ไม่ใช่โปรแกรม มีตัวอักขระที่ใช้เป็นรหัสแอสกีทั้งหมด บางที เรียกว่า " text file " แฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ด สตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน (ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้ว) ส่วนมากจะใช้ศัพท์นี้เมื่อต้องการเปลี่ยน (convert) แฟ้มข้อมูลของโปรแกรมหนึ่งเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่นจาก Word Perfect เป็น Microsoft Word ในกรณีเช่นนี้ อาจจะมีเมนูให้เลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น text file หรือ ASCII file หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าเปลี่ยนเป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายใต้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน นิยมใช้กันมากในระบบสื่อสารและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล
รหัสแท่ง <คำแปล>หมายถึง รหัสที่ประกอบด้วยเส้นหลายเส้นที่มีขนาดความกว้างต่าง ๆ กัน มักจะมีอยู่บนสินค้านานาชนิด นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เครื่องอ่านรหัสแท่งจะอ่านได้ด้วยการปล่อยให้แสงผ่าน แล้วนำรหัสเหล่านี้มาแยกออกว่า เป็นรหัสของสินค้าอะไร ราคาเท่าใด บางบริษัทอาจจะใช้เป็นตัวควบคุมบัญชีพัสดุได้ด้วย
การประมวลผลเชิงกลุ่มหมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นตัวควบคุม ในการประมวลผลแบบนี้ เราจะต้องจัดรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกเป็นกลุ่มไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้วจึงจัดรวบรวมเป็นรายงาน หรือสรุปผลอีกทีหนึ่ง วิธีการประมวลผลแบบนี้ทำง่าย ประหยัด และตรงไปตรงมา แต่อาจจะช้าไปบ้าง เพราะต้องรอให้ข้อมูลเรียบร้อยก่อน ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (on line proessing) ซึ่งหมายถึงการที่เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูลดู on line processing ประกอบ
(บีบีเอส) ย่อมาจาก bulletin board system หรือที่แปลว่า ระบบแผงข่าว เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น บีบีเอสของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย)
(บิไลคฺ') adj. บางที, อาจจะ
ระบบการบริการเครือข่ายที่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีผลประโยชน์ร่วมให้ส่งและรับข้อมูลหรือได้รับซอฟแวร์ เป็นต้น ระบบแผงข่าวศูนย์รวมข่าวใช้ตัวย่อว่า BBS (อ่านว่า บีบีเอส) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น ระบบแผงข่าวของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย)
(ซีเอไอ) ย่อมาจาก computer-aided instruction หรือ computer assissted instruction (การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน
(แคน'เซิล) { cancelled, cancelling, cancels } vt., n. (การ) ยกเลิก, ขีดฆ่า, ทำให้เป็นโมฆะ, หักกลบลบหนี้. vi.ชดเชย., See Also:canceler n. ดูcancel canceller n. ดูcancel หมายถึง การยกเลิกคำสั่งที่สั่งไปแล้ว อาจจะเนื่องมาจากได้สั่งการผิดลงไปด้วยความพลั้งเผลอ หรือมีการเปลี่ยนใจ ในระบบวินโดว์ คำสั่งบางคำสั่งจะมีการถามเพื่อให้มีการย้ำเตือน corfir mation เช่นเมื่อสั่งลบ ย้าย ฯ ในกรณีเช่นนี้ จะมีปุ่มคำสั่งนี้ไว้ให้เลือกทุกครั้ง มีคู่กับปุ่ม OK เพื่อให้มีโอกาสแก้ไขหรือเปลี่ยนใจได้ ถ้าไม่ต้องการยกเลิก ให้กดที่ปุ่ม OK
ผ้าหมึกพิมพ์หมายถึง แถบผ้าหมึกที่ใช้ในเครื่องพิมพ์แบบกระทบ (impact printer) ผ้าหมึกนี้จะเป็นตัวทำให้ตัวหนังสือชัดหรือจาง ถ้าเมื่อใด ตัวหนังสือที่พิมพ์จาง ลองตรวจสอบดูผ้าหมึกพิมพ์ เพราะผ้าหมึกพิมพ์อาจจะเก่า ให้จัดการเปลี่ยนใหม่
(ซีจีเอ) ย่อมาจาก color gragphic adapter แปลว่า ตัวปรับสำหรับภาพกราฟิก ที่จะมองเห็นบนจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวปรับนี้เป็นมาตรฐานจอภาพของเครื่องไอบีเอ็ม แต่ภาพที่ปรากฏให้เห็นบนจอนั้นยังดูแข็ง ๆ ไม่ได้ผสมกลมกลืนสนิท ดูแล้วอาจจะปวดศรีษะได้ คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จึงพัฒนาตัวปรับสีนี้ใหม่ มีชื่อ เรียกว่า EGA หรือ VGA ดู EGA และ VGA ประกอบ
1. Pref. อยู่ทางด้านใกล้ 2. (สิส) ย่อมาจาก CompuServe Information Services หมายถึง งานบริการข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตามสาย (on line) การใช้บริการดังกล่าว กำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะสะดวก รวดเร็วกว่าการหาข้อมูลด้วยตนเอง (ว่ากันว่า การที่ใช้เครื่องหมาย $ แทนตัว s ธรรมดา อาจจะเพื่อบ่งบอกให้รู้ว่า รายการนี้ขอฟรี ๆ กันไม่ได้ จะต้องมีการจ่ายค่าบริการ) ดู CompuServe ประกอบ
ใบลงรหัสคำสั่งแบบพิมพ์ลงรหัสเป็นแบบฟอร์มสำหรับเขียนโปรแกรมภาษาฟอร์แทรน หรือภาษาระดับสูง (high level language) อื่น ๆ แบบฟอร์มนี้จะมี 80 คอลัมน์อาจจะทำให้ดูเป็นสีต่าง ๆ หรืออาจจะเป็นสีเดียวแต่กำหนดให้มีระดับสีต่างกัน อ่อนบ้าง เข้มบ้าง เพื่อให้ดูง่าย เมื่อเวลานำมาเจาะข้อมูลจะได้กำหนดคอลัมน์ได้สะดวกขึ้น
การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อมผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์หมายถึง คำสั่งคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง ๆ ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) หรือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ฯ คำ "โปรแกรม" นี้ อาจจะเรียกเป็นชื่ออื่นก็ได้ เช่น ซอฟต์แวร์ (software) หรือ แอพพลิเคชัน (application) โปรแกรมนั้น แบ่งได้เป็นหลายประเภท ประเภทแรกคือประเภทที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการ กับอีกประเภทหนึ่งมีคนทำสำเร็จรูปไว้ขาย เช่น โปรแกรมสำหรับวาดภาพ (graphics) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) โปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) นอกจากนั้น ยังมีโปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีบางส่วนติดตั้งมาจากโรงงานที่ผลิตเลย และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่จะทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานให้ประสานกัน สรุปว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทุกอย่าง แต่คนเขียนคำสั่งต้องเข้าใจขั้นตอน วิธี (algorithm) และภาษาที่จะใช้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเขียนสั่งเครื่องให้ทำงานได้
ใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอนความหมายเดียวกับ computer assissted instruction
ใช้ตัวย่อว่า CAI (อ่านว่า ซีเอไอ) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง หรือเรียนได้เป็นรายบุคคล การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน แต่ไม่ใช่เป็นครูผู้สอนความหมายเดียวกับ computer aided instruction
บัตรควบคุมหมายถึง บัตรซึ่งบรรจุข้อความที่เป็นภาษาควบคุมงานซึ่งได้มีการกำหนดไว้เป็นรหัสเป็นการเฉพาะ เพื่อใช้ในโอกาสต่าง ๆ กัน หรือใช้กับงานชนิดต่าง ๆ เช่น บัตรควบคุม อาจจะเป็นตัวบอกว่า โปรแกรมหรือชุดคำสั่งชุดต่อไปจะเป็นภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล หรือภาษาอื่น ๅ บัตรควบคุมอาจทำให้รู้ได้ว่างานนี้เป็นงานของนิสิต หรือเป็นงานของนักวิจัยทั่วไป เพราะบางทีอาจมีการกำหนดข้อห้ามบางอย่างสำหรับงานของนิสิตไว้ในระบบ ปัจจุบัน ไม่ค่อยมีการใช้บัตรแล้ว คำนี้จึงไม่มีที่ใช้ไปด้วยดู card (บัตร)
แฟ้มข้อมูลหมายถึง ข้อสนเทศหรือข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ในสื่อที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กไม่ว่าจะเป็นจานบันทึกธรรมดา หรือจานบันทึกแข็ง (hard disk) ก็ตาม ข้อสนเทศที่นำไปเก็บนั้น จะถูกนำไปเก็บไว้เป็นเรื่อง ๆ ไป อาจจะเป็นข้อมูล หรือภาพ (graphics) ก็ได้ แต่ละเรื่องต่างก็ต้องมีชื่อเป็นของตนเอง ที่ต้องไม่ซ้ำกัน เรียกว่า "แฟ้มข้อมูล"
(ดิสคฺ) { disked, disking, disks } n. แผ่นกลม, แผ่นเสียง, จานกลม. vt. พรวนดินด้วยคราดกลม., Syn.disc, circle จานบันทึกหมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะกลม เหมือนจาน มีอยู่ 3 ชนิด1. จานอ่อน floppy disk มีลักษณะอ่อน บรรจุในซองกระดาษ มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว การเก็บรักษาค่อนข้างยาก จุข้อมูลได้ประมาณสามแสนหกหมื่นถึงหนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร 2. จานบันทึกอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะแข็งกว่าเพราะห่อหุ้มด้วยพลาสติกแข็ง มีขนาดเล็กกว่าแบบแรก มักเรียกกันว่า diskette มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว จุข้อมูลได้สูงสุดถึง 1.44 ล้านตัวอักษร ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากกว่าแบบแรก เพราะเก็บรักษาได้ง่ายกว่า3. จานบันทึกแข็งหรือที่นิยมเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ hard disk มักจะบรรจุไว้ในกล่องพร้อมกับหน่วยขับ drive แล้วเก็บอยู่ภายในตัวเครื่องเลย ฮาร์ดดิสก์นั้นมีความจุสูงมากประมาณ 100-800 ล้านตัวอักษร เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีประสิทธิภาพสูงและราคาลดลงทุกวัน ปัญหาเรื่องการเก็บรักษาเกือบจะไม่มีเลย แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับไวรัสได้นอกจาก 3 ชนิดที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น จานบันทึกที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ mainframe ที่เรียกว่าชุดจานบันทึก disk pack ซึ่งจะมีแกนยึดติดกันตรงกลาง, จานแสงหรือจานเลเซอร์ optical or laser disk, จานวีดิทัศน์ vedio disk, จานบันทึกอัดแน่น compact disk ซึ่งล้วนแต่มีความจุสูงมาก ปัจจุบันจานบันทึกได้รับความนิยมมากกว่าสื่อบรรจุข้อมูลอื่น เพราะราคาถูก ใช้ซ้ำได้ และการค้นคืนข้อมูลทำได้รวดเร็วกว่าสื่อชนิดอื่น
การรวมจุดสีหมายถึง การใช้จุดสีอื่นแทนสีบางสีที่จอภาพไม่สามารถแสดงได้ เช่น ใช้จุดสีขาวและดำผสมกันแทนสีเทาอ่อน/แก่ หรือใช้จุดสีขาวและแดงแทนสีชมพู และอาจจะใช้ประโยชน์ในการทำเส้นโค้งให้ดูเรียบขึ้น (มีส่วนที่เห็นเป็นรอยหยัก ๆ ลดลงได้)
(ดีแรม) ย่อมาจาก dynamic random access memory (แปลว่าแรมแบบพลวัต) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็น ระยะ ๆ มิฉะนั้น อาจจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ
อัตราความผิดพลาดหมายถึง มาตรฐานการวัดคุณภาพของวงจร หรือระบบถ่ายโอนข้อมูล การคำนวณโดยใช้วิธีการ นำจำนวนข้อผิดพลาดของข้อมูล หารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด หรืออาจจะคิดเป็น อัตราต่อหน่วยเวลาก็ได้
อักขระหลีกตัวอักขระบนแป้นพิมพ์ที่เมื่อกดแล้ว ทำให้ตัวอักขระอื่น ๆ ที่ตามมา ต้องแปลความต่างไป จากตัวอักขระที่ใช้มาก่อนหน้านี้ ตัวอย่าง เช่น จะใช้อักขระหลีก เพื่อกำหนดความหมายว่า ตัวอักขระที่จะใช้ต่อไปนั้น จะต้องใช้รหัสแปลความแตกต่างไปจากรหัสแปลความที่เคยใช้ก่อนหน้านี้ หรืออาจจะถือว่า อักขระเหล่านั้นไม่ใช่ข้อมูลอีกต่อไป แต่เป็นอักขระเพื่อการควบคุมเท่านั้น เป็นต้น
(แฟคซิม'มะลี) n. สำเนา, vt. อัดสำเนา, ถอดแบบ โทรสารโทรภาพใช้ตัวย่อว่า FAX เป็นระบบสื่อสารข้อมูล ที่เป็น เอกสารและภาพที่ส่งมาในรูปของสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายโทรศัพท์ เครื่องรับ/ส่งแฟกซ์หรือโทรสารนั้น หมายถึง อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายเครื่องโทรศัพท์ ใช้ส่งและรับข้อความหรือภาพ ผู้รับและผู้ส่งจะต้องใช้กระดาษเป็นสื่อ ปัจจุบัน เราอาจจะต่อสายแฟกซ์ผ่านโมเด็มเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ในกรณีเช่นนี้ จะเป็นการส่งหรือรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เลย ไม่ต้องใช้กระดาษ คล้ายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(แฟคซฺ) n. การถอดแบบหรือทำสำเนาด้วยวิทยุหรือโทรเลข แฟกซ์ (โทรสาร) ย่อมาจากคำว่า facsimile เป็นระบบสื่อสารข้อมูล ที่เป็น เอกสารและภาพที่ส่งมาในรูปของสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายโทรศัพท์ เครื่องรับ/ส่งแฟกซ์หรือโทรสารนั้น หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ ส่งและรับข้อความหรือภาพ ผู้รับและผู้ส่งจะต้องใช้กระดาษ เป็นสื่อ ปัจจุบัน เราอาจจะต่อสายแฟกซ์ผ่านโมเด็มเข้าสู่ เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ในกรณีเช่นนี้ จะเป็นการส่งหรือรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เลย ไม่ต้องใช้กระดาษ คล้ายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(ไฟลฺ) { filed, filing, files } n. แผงหรือแฟ้มเก็บเอกสาร, ปึกเอกสาร, เอกสารเป็นเรื่อง ๆ หนึ่ง, หมวดเอกสาร, แถวเรียง, ตารางเรียง, ตะไบ, คนเจ้าเล่ห์. -Phr. (on file ซึ่งจัดไว้เป็นเครื่อง ๆ ในแฟ้มเก็บเอกสาร) . vt. จัดเข้าแฟ้ม, เก็บเอกสาร, ยื่นคำร้อง. vi. เดินเป็นแถวตรง, ยื่น หมายถึง ข้อสนเทศหรือข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ในสื่อที่มีคุณสมบัติเป็น แม่เหล็กไม่ว่าจะเป็นจานบันทึกธรรมดา หรือจานแข็ง (hard disk) ก็ตาม ข้อสนเทศที่นำไปเก็บนั้น จะถูกนำไปเก็บไว้เป็นเรื่อง ๆ ไป อาจจะเป็นโปรแกรม ข้อมูล หรือภาพ (graphics) ก็ได้ แต่ละเรื่องต่างก็ต้องมีชื่อเป็น ของตนเอง ที่ต้องไม่ซ้ำกัน เรียกว่า "แฟ้มข้อมูล"
ชื่อแฟ้ม (ข้อมูล) แฟ้มข้อมูลก็ดี โปรแกรมหรือชุดคำสั่งก็ดี จะต้องมีชื่อที่ ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ได้เมื่อ ต้องการ เรียกใช้ระบบปฏิบัติการแต่ละระบบ จะมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลไว้ เป็นต้นว่า ระบบดอสและวินโดว์ มีข้อกำหนดว่า ชื่อของแฟ้ม ข้อมูล จะต้องยาวไม่เกิน 8 ตัวอักขระ (ตัวอักษรหรือตัวเลข) ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ต้องไม่มีช่องว่าง ฯ และที่สำคัญที่สุด คือตั้งชื่อเป็นภาษาไทยไม่ได้โดยเด็ดขาด นอกจากนั้น อาจจะต้องมีนามสกุล (filetype) ซึ่งต้องประกอบด้วย 3 ตัวอักษร ส่วนระบบของแมคอินทอช มีข้อจำกัดน้อยกว่านั้น มาก เช่น จะใช้ภาษาไทยก็ได้
จานบันทึกอยู่กับที่เป็นชื่อที่ใช้เรียกฮาร์ดดิสก์ (hard disk) อีกชื่อหนึ่ง เพราะโดยปกติ เราไม่อาจจะถอดจานบันทึกแข็งนี้ ออกจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่าง จานบันทึกแบบธรรมดา (floppy disk) ที่สามารถถอดหรือดึงออกได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดดิสก์ที่ดึงเข้าออก ได้ก็มี ใช้อยู่ บ้าง แม้ว่าจะไม่เป็นที่นิยมนัก ฮาร์ดดิสก์ชนิดนั้น เรียกว่า removable hard disk ดู removable hard disk ประกอบ
(กิโก) ย่อมาจาก garbage in , garbage out พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแปลว่า เข้าผิด ออกผิด แต่ถ้าแปลตามตัวจะได้ว่า ขยะเข้า ขยะออก เป็นคำกล่าวที่ใช้เตือนสติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ว่า ถ้าใส่ข้อมูลที่ไร้คุณค่าลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องก็มิอาจจะทำให้ข้อมูลนั้นมีค่าขึ้นมาได้เลย อีกนัยหนึ่ง เป็นการบอกให้นักคอมพิวเตอร์มือใหม่รู้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หาใช่สิ่งมหัศจรรย์ที่จะเนรมิตข้อมูลเลว ๆ ให้เป็นสารสนเทศ (information) ดี ๆ ได้ ถ้าใส่ขยะ (ข้อมูลเลว ๆ) เข้าไป ก็จะได้ขยะ (สารสนเทศเลว ๆ) ออกมา
หัวพังหมายถึง การที่หัวอ่านและบันทึกข้อมูลไม่อาจทำงานได้อย่างปกติ มักจะเกิดขึ้น เมื่อมีฝุ่นละอองจับเกาะ หรือจานบันทึกเป็นรอย ซึ่งอาจจะทำให้หัวอ่านพังไปด้วย
(เอชเอฟเอส) ย่อมาจาก hierarchical file system (แปลว่า ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลตามลำดับชั้น) เป็นระบบที่ช่วยทำให้จัดเก็บแฟ้มข้อมูลเป็นกลุ่ม วิธีการเก็บแบบนี้ เป็นการเก็บแฟ้มข้อมูลไว้ในโฟลเดอร์ (folder) เราจะเห็นสัญรูป (icon) ของโฟลเดอร์ต่าง ๆ นี้บนจอภาพ และเมื่อเปิดเข้าไปในแต่ละโฟลเดอร์ ก็จะมองเห็นแฟ้มข้อมูล หรืออาจจะมีโฟลเดอร์ย่อย (subfolder) อยู่ภายในโฟลเดอร์อีกทีหนึ่ง การเก็บแฟ้มในระบบนี้ ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายกว่าเรื่อง สารบบ (directory) และสารบบย่อย (subdirectory) ของดอส เพราะเห็นภาพชัดเจนกว่า
ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลตามลำดับชั้นใช้ตัวย่อว่า HFS เป็นระบบที่ช่วยทำให้จัดเก็บแฟ้มข้อมูลเป็นกลุ่ม วิธีการเก็บแบบนี้ เป็นการเก็บแฟ้มข้อมูลไว้ในโฟลเดอร์ (folder) เราจะเห็นสัญรูป (icon) ของโฟลเดอร์ต่าง ๆ นี้บนจอภาพ และเมื่อเปิดเข้าไปในแต่ละโฟลเดอร์ ก็จะมองเห็นแฟ้มข้อมูล หรืออาจจะมีโฟลเดอร์ย่อย (subfolder) อยู่ภายในโฟลเดอร์อีกทีหนึ่ง การเก็บแฟ้มในระบบนี้ ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายกว่าเรื่อง สารบบ (directory) และสารบบย่อย (subdirectory) ของดอส เพราะเห็นภาพชัดเจนกว่า
(เจซีแอล) ย่อมาจาก job control language ที่แปลว่า ภาษาควบคุมงาน หมายถึง คำสั่งที่จะกำหนดระบบการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดต่อผ่านทางระบบปฏิบัติการ (operating system) ว่า จะทำงานต่าง ๆ อย่างไร ใช้รหัสใดเพื่อสื่อสารให้ระบบปฏิบัติการควบคุมการทำงานให้ อาจจะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การเรียกหาแฟ้มข้อมูลบางแฟ้ม รวมทั้งการใช้อุปกรณ์รับข้อมูลหรืออุปกรณ์แสดงผลชนิดใด
ภาษาควบคุมงานใช้ตัวย่อว่า JCL หมายถึง คำสั่งที่จะกำหนดระบบการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดต่อผ่านทางระบบปฏิบัติการ (operating system) ว่า จะทำงานต่าง ๆ อย่างไร ใช้รหัสใดเพื่อสื่อสารให้ระบบปฏิบัติการควบคุมการทำงานให้ อาจจะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การเรียกหาแฟ้มข้อมูลบางแฟ้ม รวมทั้งการใช้อุปกรณ์รับข้อมูลหรืออุปกรณ์แสดงผลชนิดใด
(ไล'อะเบิล) adj. โน้มเอียง, โน้มน้าว, อาจจะ, ง่ายต่อ, รับผิดชอบ (ตามกฎหมาย)
ภาษาเครื่องหมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ไม่ควรเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้เลย เพราะอาจจะทำให้หมดกำลังใจไปเลย อาจจะพอเปรียบได้ว่า เลขฐานสองนั้นก็เหมือน ๆ กับตัวโน้ต เพลง (ภาษาดนตรีก็เข้าใจยากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาเครื่องนี้สักเท่าใดดอก) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่ว่าเราจะสั่งให้เครื่องทำงานด้วยโปรแกรมภาษาอะไรก็ตาม ตัวแปลโปรแกรม (compiler) ก็จะต้องทำหน้าที่แปลภาษาที่เราใช้ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง (execute) นั้น ๆ ได้
โปรแกรมหลักในการเขียนโปรแกรม หากมีบางส่วนของโปรแกรมที่มักจะต้องเขียนซ้ำกันบ่อย ๆ อาจจะใช้วิธีเขียนส่วนที่ซ้ำนี้แยกออกเป็นอีกโปรแกรมหนึ่งต่างหาก เรียกว่าโปรแกรมย่อย (subprogram) ส่วนโปรแกรมเดิมเรียกว่าเป็นโปรแกรมหลัก ในโปรแกรมหลักนี้ จะมีคำสั่งเรียกโปรแกรมย่อยมาใช้เมื่อใดก็ได้ บ่อยเท่าใดก็ได้ เป็นการช่วยประหยัดเวลาในการเขียนซ้ำ
ตัวประมวลผลร่วมคณิตศาสตร์หมายถึง แผ่นวงจรพิเศษหรืออาจเป็นชิปที่สร้างไว้เพื่อให้ทำหน้าที่เฉพาะในการคำนวณ เพื่อช่วยเสริมหน่วยประมวลผลอีกชั้นหนึ่ง ซอฟต์แวร์บางตัวจะมีคำสั่งเรียกเอาตัวประมวลคณิตนี้มาใช้โดยอัตโนมัติ ฉะนั้น ถ้านำโปรแกรมนั้นมาใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีตัวประมวลชนิดนี้ ก็อาจจะมีปัญหาได้
(เมย์) auxv. อาจจะ, อาจ, คงจะ, สามารถจะ, บางที, ขอให้ n. =maiden (ดู)
(เม'บี) adv. บางที, อาจจะ, เป็นไปได้
รหัสช่วยจำหมายถึง วิธีการเรียกชื่อย่อของสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อช่วยให้นึกถึงชื่อเต็มของสิ่งนั้นได้ดี เช่น อาจจะกำหนดตัวอักษรตัวแรกของคำไว้ใช้เป็นข้อคำสั่ง เช่น การกดแป้น Alt + F + S เป็นรหัสช่วยจำแทนคำสั่งเรียกเมนู File และเลือกคำสั่ง Save ในการเขียนโปรแกรมบางทีก็ใช้วิธีการนี้ได้ เช่น ถ้าคำใดยาว ก็อาจใช้ตัวย่อได้ เช่น STO แทน store เป็นต้น
(โม' เดม) n. โมเด็ม อุปกรณ์สื่อสารข้อมูลชนิดหนึ่งซึ่งแปลงสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เป็นสัญญาณที่ส่งผ่านสายโทรศัพท์ได้ และแปลงสัญญาณที่มาจากสายโทรศัพท์ได้ และแปลงสัญญาณที่มาจากสายโทรศัพท์กลับเป็นสัญญาณสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ย่อมาจาก MOdulator-DEModulator ความเร็วในการทำงานของโมเด็มมีตั้งแต่ 1, 200, 2, 400, 9, 600 และ 14, 400 การจะใช้โมเด็มนั้น ต้องใช้ซอฟต์แวร์ร่วมด้วย การรับข้อมูลจากระบบเครือข่ายก็ต้องมีโมเด็ม โมเด็มนั้นอาจจะทำติดมาอยู่ภายในตัวเครื่อง หรือนำมาติดเพิ่มภายหลังก็ได้
แผงหลักหมายถึง แผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อุปกรณ์ต่าง ๆ จะเข้าไปเชื่อมต่อด้วยอีกทีหนึ่ง เช่น ซีพียู (CPU) , รอม (ROM) , แรม (RAM) , ชิป (chip) และยังรวมถึงช่องที่เตรียมไว้เสียบแผ่นวงจรพิเศษที่อาจจะเพิ่มมาภายหลัง ที่เรียกว่า "แผงวงจรลูก" ดู daughterboard ประกอบ
เครื่องอ่านรหัสแท่งด้วยแสงหมายถึง เครื่องมือที่ใช้แสงผ่านตัวรหัสแท่ง แล้วสามารถนำรหัสเหล่านี้มาแยกออกว่า เป็นรหัสของสินค้าอะไร ราคาเท่าใด บางบริษัทอาจจะใช้เป็นตัวควบคุมบัญชีพัสดุได้
การสลับกลุ่มข้อมูลในเรื่องการสื่อสารข้อมูล (data communications) หมายถึงเทคนิคในการแบ่งข้อมูลออ, ล้นมากเกินเก็บหมายถึง ปรากฏการณ์ที่หน่วยความจำไม่สามารถรับข้อมูลเข้าไปได้อีก เพราะเกินขนาดความจุ เหมือนน้ำล้นฝายกั้น อาจจะมีผลทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงานไปเลยก็ได้
ข่ายงานแบบสลับกลุ่มข้อมูลใช้ตัวย่อว่า PSN (อ่านว่า พีเอสเอ็น) หมายถึง วิธีส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง โดยการแบ่งสายข้อมูลเป็นกลุ่ม (packet) แล้วส่งไปยังปลายทาง ฉะนั้น กลุ่มข้อมูลอาจจะไปในทิศทางต่าง ๆ กันได้ และไม่จำเป็นต้องถึงปลายทางตามลำดับที่ส่งออก เครื่องปลายทาง (terminal) จะทำหน้าที่รวบรวมกลุ่มข้อมูล แล้วจัดกลับเป็นสายข้อมูลเอง
พารามิเตอร์ตัวแปรเสริมหมายถึง ค่า ซึ่งอาจจะเป็นจำนวนเลข หรือตัวอักขระ ที่ใช้ในการสร้างสมการหรือคำสั่ง (statement) ข้อความที่จะเห็นบนจอภาพบ่อย ๆ เช่น "parameter missing" หมายความว่า ใส่ข้อความไม่ครบ เช่น ให้ย้ายแฟ้มข้อมูล A แต่ไม่บอกว่าย้ายไปที่หน่วยบันทึกใด (เช่น จะให้ไปที่ a : หรือ b:)