(-หฺลาบ) น. ชื่อไม้พุ่มในสกุล Rosa วงศ์ Rosaceae ต้นตรงหรือทอดเลื้อย ลำต้นและกิ่งมีหนาม ขอบใบจัก ดอกสีต่าง ๆ กลิ่นหอม มีมากชนิดและมากพันธุ์ เรียกชื่อต่าง ๆ กัน ดอกของกุหลาบบางชนิด เช่น กุหลาบมอญหรือยี่สุ่น ( R. damascena Mill.) ใช้กลั่นนํ้าหอม.
ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กในสกุล Rhododendron วงศ์ Ericaceae ขึ้นตามป่าเขาในระดับสูง เช่น กุหลาบแดง ( R. simsii Planch.) กุหลาบขาว ( R. ludwigianum Hoss.).
ก. เข็ด, ขยาดกลัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข็ด เป็น เข็ดหลาบ.
ก. เข็ดจนไม่กล้าทำอีกต่อไป.
น. แผ่นโลหะที่ทำเป็นแผ่นคล้ายใบลาน ใช้ในการจารึก เช่น หลาบเงิน คือ หิรัญบัฏ หลาบคำ คือ สุพรรณบัฏ.
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk. ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พรวดใหญ่ หรือ พรวดกินลูก ก็เรียก.
น. กลุ่มของต้นไม้ที่เกิดจากต้นหรือเหง้าเดียวกัน เช่น กอไผ่ กอตะไคร้ กอบัว, พืชที่ขึ้นหรือปลูกเป็นกลุ่ม เช่น กอหญ้า กอกุหลาบ.
(-หฺราบ) ก. ทำให้เข็ดหลาบ, ทำให้กลัว, ทำให้สิ้นพยศ, ทำให้สิ้นฤทธิ์.
ก. กลัวจนไม่กล้าทำเช่นนั้นอีก เพราะเคยได้รับผลร้ายมาแล้ว, หลาบจำ, ไม่กล้าสู้, เช่นในคำว่า เข็ดข้อ เข็ดข้อเข็ดลำ เข็ดเขี้ยว.
ก. หลาบจำไม่อยากหรือไม่กล้าทำอีก.
ชื่อกุหลาบพันธุ์ Rosa ‘Queen Sirikit’ ในวงศ์ Rosaceae เป็นลูกผสม กำเนิดในฝรั่งเศส ดอกสีเหลืองสด ปลายและขอบกลีบสีแดงเรื่อ กลิ่นหอม.
น. กุหลาบ เช่น งามฉวีคือชวาน่าใคร่ (กนกนคร).
ก. ถูกตีมากจนชินเลยไม่รู้จักหลาบจำ.
ว. ดื้อมากแม้จะถูกลงโทษ ติเตียน หรือตำหนิหลายครั้ง ก็ไม่เข็ดหลาบหรือไม่ยอมฟัง.
ก. รู้สึกชาชินต่อการถูกตีหรือถูกเฆี่ยน (ใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้ดื้อไม้ ตีไปก็เท่านั้นไม่เคยหลาบจำ.
น. หัวนํ้าหอมทำจากดอกกุหลาบชนิดหนึ่ง.
น. ชื่อชมพู่ชนิด Syzygium jambos (L.) Alston ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง เนื้อบาง กลิ่นหอมเหมือนกุหลาบ.
น. การลงโทษที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่ควรปราบเพื่อให้เข็ดหลาบ.
(-หฺงา) น. ดอกไม้, ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ มีมะลิ กระดังงา กุหลาบ เป็นต้น ที่ปรุงด้วยเครื่องหอมแล้วบรรจุในถุงผ้าโปร่งเล็ก ๆ ทำเป็นรูปร่างต่าง ๆ. (ตัดมาจาก บุหงารำไป).
น. ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ มีมะลิ กระดังงา กุหลาบ เป็นต้น ที่ปรุงด้วยเครื่องหอมแล้วบรรจุในถุงผ้าโปร่งเล็ก ๆ ทำเป็นรูปร่างต่าง ๆ, มักเรียกย่อว่า บุหงา.
น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Campephagidae มีเสียงร้องไพเราะและสีสันสวยงาม ตัวผู้สีแดง ตัวเมียสีเหลือง ทำรังด้วยใบไม้และใยแมงมุมเป็นรูปถ้วยขนาดเล็กตามกิ่งไม้ อยู่รวมกันเป็นฝูงตามยอดไม้ กินแมลง เช่น พญาไฟสีกุหลาบ [ Pericrocotus roseus (Vieilld) ] พญาไฟใหญ่ [ P. flammeus (Forster) ] พญาไฟสีเทา [ P. divaricatus (Raffles) ].
น. เพชรที่เจียระไนให้มีเหลี่ยมมุมลักษณะต่าง ๆ เช่น เหลี่ยมเกสร เหลี่ยมกุหลาบ.
ก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.
ก. อาการที่ดอกไม้ค่อย ๆ เหี่ยวแห้งและเริ่มหลุดร่วงไป เช่น ดอกไม้โรย ดอกจำปาโรย, อาการที่กลีบหรือเกสรดอกไม้ค่อย ๆ หลุดร่วงไป เช่น กลีบกุหลาบโรย เกสรบัวโรย
ก. แทงด้วยประตัก (ใช้แก่วัวควาย), โดยปริยายหมายความว่า ทำโทษหรือดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นเพื่อให้หลาบจำ.
น. ผู้ที่เคยศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น งานชุมนุมศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย.
เค้นหรือแยกเอาออกมา เช่น สกัดนํ้ามัน สกัดน้ำหอมจากดอกกุหลาบ.
น. บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจำนวนมาก เช่น สวนทุเรียน สวนยาง สวนกุหลาบ สวนผัก, โดยปริยายหมายถึงสถานที่ซึ่งมีลักษณะเช่นนั้นในบางกรณี เช่น สวนสัตว์ สวนงู.
น. ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน กุหลาบแดงเป็นสื่อของความรัก, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำเพื่อให้ชายหญิงได้แต่งงานกัน ว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ
ว. เล็ก (ใช้เฉพาะพรรณไม้บางอย่างที่มีพันธุ์เล็กหรือของบางอย่างชนิดเล็ก) เช่น กุหลาบหนู แตงหนู หม้อหนู.