ระบบแยกสถานะ, Example:เป็นระบบที่ใช้แยกก๊าซ น้ำมันและน้ำ ออกจากกัน โดยใช้หลักการของความแตกต่างของสถานะของสสารรวมถึงค่าความถ่วงจำเพาะในกรณีที่เป็นของเหลวเหมือนกัน เช่น แยกน้ำออกจากน้ำมัน ทั้งนี้ขึ้นกับการออกแบบอุปกรณ์ของแต่ละระบบ[ปิโตรเลี่ยม]
การสลาย(กัมมันตรังสี), การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration[นิวเคลียร์]
การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration[นิวเคลียร์]
สถานะถูกกระตุ้น, สถานะของนิวเคลียส อิเล็กตรอน อะตอม หรือโมเลกุล ขณะเมื่อมีพลังงานสูงกว่าระดับปกติ พลังงานส่วนเกินของนิวเคลียสมักถูกปลดปล่อยเป็นรังสีแกมมา สำหรับพลังงานส่วนเกินของโมเลกุลอาจปรากฏในลักษณะการเรืองแสงหรือความร้อน (ดู ground state ประกอบ)[นิวเคลียร์]
ต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก, วัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่เป็นไปตามคำนิยามของต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก เช่น วัสดุกัมมันตรังสีไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดๆ ที่ไม่ได้มีการบรรจุหรือห่อหุ้มปิดผนึกด้วยโลหะหรือวัสดุอื่นใดอย่างมิดชิดถาวร การใช้ต้นกำเนิดรังสีชนิดนี้ อาจเกิดการแพร่กระจาย ฟุ้งกระจาย หกเปรอะเปื้อน ซึมรั่ว ออกจากภาชนะที่บรรจุได้[นิวเคลียร์]
กากกัมมันตรังสี, วัสดุที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือ แก๊ส ที่เป็น หรือประกอบด้วย หรือปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสีที่มีค่ากัมมันตภาพรังสีสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งผู้ครอบครองวัสดุนั้นไม่ประสงค์จะใช้งานอีกต่อไป และให้หมายความรวมถึงวัสดุอื่นใดที่คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กำหนดให้เป็นกากกัมมันตรังสีด้วย <br>(ดู clearance level ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิ วไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration[นิวเคลียร์]
ตัวอักษรที่มักแสดงต่อท้ายตรงหมายเลขสิทธิบัตร เป็นการแสดงถึงสถานะของเอกสารสิทธิบัตรที่ยื่นขอ, ตัวอักษรที่มักแสดงต่อท้ายตรงหมายเลขสิทธิบัตร เป็นการแสดงถึงสถานะของเอกสารสิทธิบัตรที่ยื่นขอ, Example:ตัวอย่าง DE1234A1 หมายถึงคำโฆษณาที่ยื่นขอเปิดเผยให้สาธารณะตรวจสอบ ส่วน DE1234C1 หมายถึงเอกสารสิทธิบัตรที่ได้รับอนุมัติของสำนักงานสิทธิบัตรเยอรมนี[ทรัพย์สินทางปัญญา]
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบให้น้ำภายใต้ความดันสูงในแกนเครื่อง ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ แล้วถ่ายโอนความร้อนไปให้น้ำอีกระบบหนึ่งกลายเป็นไอไปหมุนกังหันเพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า[นิวเคลียร์]
ภาวะวิกฤตพรอมต์, สถานะของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ปฏิกิริยาลูกโซ่ของการแบ่งแยกนิวเคลียสสามารถคงอยู่ต่อไปโดยพรอมต์นิวตรอนเท่านั้น, Example: [นิวเคลียร์]
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบให้น้ำภายใต้ความดันสูงในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ แล้วถ่ายโอนความร้อนไปให้น้ำอีกระบบหนึ่งกลายเป็นไอไปหมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า, Example: [นิวเคลียร์]
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบให้น้ำภายใต้ความดันสูงในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ แล้วถ่ายโอนความร้อนไปให้น้ำอีกระบบหนึ่งกลายเป็นไอไปหมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า[นิวเคลียร์]
<p>ฟลิป-ฟลอป</p>วงจรซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะกลับไปกลับมาระหว่างสถานะสองแบบได้เมื่อได้รับสัญญาณพัลส์[คอมพิวเตอร์]
ไอโซเมอร์, นิวไคลด์ที่มีจำนวนนิวตรอนและโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากัน แต่มีสถานะพลังงานต่างกัน เช่น Tc-99m เป็นไอโซเมอร์กับ Tc-99[นิวเคลียร์]
สถานะพื้น , สถานะของนิวเคลียส อิเล็กตรอน อะตอม หรือโมเลกุล ขณะมีระดับพลังงานปกติ ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุด <br>(ดู excited state ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
แก๊สฟิชชัน, <font color="#8b0000">ผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส</font>ที่มีสถานะเป็นแก๊ส เช่น คริปทอนและซีนอน ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า[นิวเคลียร์]
อนุมูลเสรี, อนุมูลอิสระ, ธาตุ หรือ หมู่ธาตุที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว (unpaired electron) อยู่ในโครงสร้าง เกิดขึ้นจากการกระตุ้นโมเลกุลของสารด้วยปฏิกิริยาเคมีหรือพลังงานบางชนิด ส่วนใหญ่มีความไวในการทำปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากต้องการจับคู่กับอิเล็กตรอนอื่นเพื่อเข้าสู่สถานะเสถียร อนุมูลเสรีใช้จุดทึบเป็นสัญลักษณ์ เช่น H•, Example: [นิวเคลียร์]
การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ, Example:การตรวจสอบและประเมินทรัพย์สินตลอดจนหนี้สินของบริษัทว่ามีมูลค่าถูกต้องครบถ้วนตามบัญชีและมีอยู่จริง ซึ่งในการตรวจสอบและประเมินมูลค่าดังกล่าว ผู้กระทำได้ใช้ความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเพียงพอวิธีการนี้มักจะใช้ในกรณีซื้อขายหรือเลิกกิจการ[ตลาดทุน]
การแปลงสถานะ (ฟิสิกส์เชิงสถิติ)[TU Subject Heading]
อิเล็กทรอนิกส์สถานะของแข็ง[TU Subject Heading]
ฟิสิกส์สถานะของแข็ง[TU Subject Heading]
ออกไซด์ของโลหะเปลี่ยนสถานะ[TU Subject Heading]
สมดุลสถานะระหว่างของเหลวกับไอ[TU Subject Heading]
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ[การทูต]
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีสมาชิกทั้งหมด 59 ประเทศ (สถานะเมื่อ เดือนตุลาคม 2543) แบ่งเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 43 ประเทศ (รวมทั้งไทย) และประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคอีก 16 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์[การทูต]
เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว[การทูต]
สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-สหรัฐอเมริกา " โดยตกลงให้มีการช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อถูกคุกคามจากประเทศนอกภาคี ปัจจุบัน ANZUS ยังคงสถานะอยู่แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ (non-operational) เนื่องจากความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับนิวซีแลนด์ยุติลง โดยนิวซีแลนด์ยังไม่ละทิ้งสนธิสัญญา ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าอาจจะมีการรื้อฟื้นขึ้นอีก "[การทูต]
กฎบัตรอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมาก ยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชน เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551[การทูต]
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้รับการรับรองจากสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2532 โดยอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2533 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็ก (บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี) เพื่อให้ได้รับการศึกษา การดูแล ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือกระทำทารุณกรรม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 191 ประเทศ คงเหลือโซมาเลียและสหรัฐอเมริกาที่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กด้วยการภาคยานุวัติ อนุสัญญาฯ มีผลปังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 ขณะนี้ไทยยังคงมีข้อสงวน 2 ข้อ คือ ข้อ 7 เรื่องสัญชาติ และ ข้อ 22 เรื่องการให้สถานะเป็นผู้ลี้ภัย[การทูต]
ประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่[การทูต]
กงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน "[การทูต]
บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ มีความเกี่ยวเนื่องกับธนาคารโลก แม้ว่าจะมีสถานะเป็นองค์กรแยก ต่างหาก IFC มีหน้าที่สนับสนุนภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ[การทูต]
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ มีสถานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน โดยการตั้งมาตรฐานในด้านค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน เงื่อนไขการว่าจ้าง และการประกันสังคม[การทูต]
เป็นเอกสารรับรองว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย กระทรวงการต่างประเทศไทยไม่มีข้อขัดข้องสำหรับบุคคลที่จะนำเอกสารนี้ไปใช้ เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาของต่างประเทศตามคำร้องขอของรัฐบาล ปากีสถาน หรือใช้ในการขอเปลี่ยนแปลงสถานะวีซ่าจากประเภทหนึ่งไปยังอีกประเภทหนึ่งตาม ที่ต่างประเทศนั้น ๆ เป็นผู้กำหนด กรณีนักศึกษาไทยไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาโดยวีซ่านักเรียน แต่ภายหลังประสงค์จะขอเปลี่ยนวีซ่าเป็นวีซ่าทำงานตามกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง ของสหรัฐอเมริกา[การทูต]
หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา[การทูต]
บุคคลในความห่วงใย หมายถึง ผู้หนีภัยจากการประหัตประหารที่มิได้มีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย หรือผู้พลัดถิ่น แต่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จะดูแลช่วยเหลือโดยมีสถานะพิเศษตามที่ได้ตกลงกับประเทศผู้รับ[การทูต]
การกำหนดใจตนเอง หมายถึง สิทธิและเสรีภาพในการที่จะให้ชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในประเทศใดประเทศหนึ่ง ตัดสินหรือกำหนดสถานะด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของตน โดยเลือกที่จะอยู่อย่างเดิมหรือแยกตัวออกไป[การทูต]
การเยือน " - State Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในระดับประมุขของรัฐ หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญของต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ ที่มีสถานะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี โดยเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐผู้รับ รัฐผู้รับจะจัดพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Official Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ รัฐบาล หมายถึง การเยือนเป็นทางการของประมุขของรัฐ มกุฎราชกุมาร หัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่ง เทียบเท่า โดยเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาล และจัดพิธีการรับรองต่าง ๆ อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Visit as Guest of the Royal Thai Government การเยือนในฐานะแขกของรัฐบาล หมายถึง การเยือนของประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้า องค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าซึ่งไม่ได้เดินทางมาเยือนอย่าง เป็นทางการหรือเพื่อเจรจาทำงาน รวมทั้งการเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์ รองประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า ซึ่งรัฐบาลไทยปรารถนาที่จะแสดงไมตรีจิตโดยเชิญให้มาเยือนประเทศไทยในฐานะแขก ของรัฐบาล และจัดการต้อนรับให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเยือนในแต่ละกรณี - Working Visit การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เจรจาในปัญหาหรือประเด็นใดเป็นการเฉพาะในระยะเวลาอันสั้น - Visit as Guest of Their Majesties the King and Queen of Thailand การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ หมายถึง การเสด็จเยือนของพระราชวงศ์ต่างประเทศ หรือการเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วน พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - Private Visit การเยือนส่วนตัวหรือแวะผ่าน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ พระราชวงศ์ หัวหน้ารัฐบาล หรือผู้นำองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่า และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเยือนเป็นการส่วนตัวหรือการแวะผ่านประเทศในระยะเวลา อันสั้น รัฐผู้รับจะจัดการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ตามความเหมาะสม "[การทูต]
ต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก, หมายถึง วัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่เป็นไปตามคำนิยามของต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก ได้แก่ วัสดุกัมมันตรังสี ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดๆ ที่ไม่ได้มีการบรรจุหรือห่อหุ้มปิดผนึกด้วยโลหะ หรือวัสดุอื่นใดอย่างมิดชิดถาวร การใช้ต้นกำเนิดรังสีชนิดนี้ อาจเกิดการแพร่กระจาย ฟุ้งกระจายหกเปรอะเปื้อน ซึมรั่วออกจากภาชนะบรรจุได้[พลังงาน]
ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติและจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ดิบในโรงกลั่นน้ำมัน มีจุดเดือดอยู่ระหว่าง –420C – 0.50C เป็นของผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอน 3-4 อะตอม มีสถานะเป็นก๊าซ ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน ยานพาหนะ และในโรงงานอุตสาหกรรม[ปิโตรเลี่ยม]
จุดหยด, จุดหยด อุณหภูมิที่ทำให้จาระบีเปลี่ยนแปลงจากสถานะกึ่งของแข็งเป็นของเหลว จาระบีที่มีส่วนผสมของ Thickeners ที่แตกต่างกัน จะมีอุณหภูมิการเปลี่ยนแปลงสถานะที่แตกต่างกัน ดังนั้นจุดหยดของจาระบีสามารถใช้จำแนกประเภทของจาระบีได้ มีประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพของจาระบี[ปิโตรเลี่ยม]
ยางรีเคลมได้มาจากการนำเอาผลิตภัณฑ์ยางเก่าที่ใช้แล้ว เช่น ยางล้อรถยนต์ ยางในรถยนต์ หรือยางคงรูปที่เป็นของเสียซึ่งเกิดระหว่างกระบวนการผลิต มาผ่านกรรมวิธีโดยความร้อนและเคมี ยางจะเกิดการดีพอลิเมอไรซ์ (depolymerize) เปลี่ยนจากสภาพคงรูป (vulcanized) และมีความยืดหยุ่น (elasticity ) กลับคืนไปสู่สถานะแรกเริ่ม คือ ไม่มีความคงรูป (unvulcanised) และไม่มีความยืดหยุ่น (plasticity )* ได้เป็นยางรีเคลมที่มีลักษณะกึ่งของแข็งและของเหลว (paste-like ) ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ปกติจะใช้ยางรีเคลมผสมกับยางธรรมชาติสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่คำนึงถึงความ แข็งแรงและความ ทนทานมากนัก *Plasticity คือ ความโน้มเอียงของวัสดุที่จะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างถาวรเมื่อได้รับ แรงกระทำ[เทคโนโลยียาง]
จำนวนกรดไขมันระเหย หมายถึง ปริมาณของกรดไขมันระเหยที่เกิดขึ้นโดยการไฮโดรไลซิสของคาร์โบไฮเดรตในเซรุ่ม ของน้ำยาง กรดเหล่านี้ประกอบด้วยกรดแอซิติก กรดฟอร์มิก และกรดพรอพิโอนิก เป็นส่วนใหญ่ หรือหมายถึง จำนวนกรัมของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่ทำให้กรดไขมันระเหยทั้งหมดในน้ำยางที่ มีปริมาณของแข็งทั้งหมด 100 กรัม เป็นกลาง ค่า VFA No. เป็นค่าที่บ่งชี้ถึงสถานะการเสียสภาพ ถ้าค่า VFA No. สูง แสดงว่าน้ำยางถูกเชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายมาก เกิดกรดไขมันระเหยมาก ทำให้สูญเสียสภาพการเป็นคอลลอยด์ เกิดการบูดเน่าและจับเป็นก้อนได้[เทคโนโลยียาง]
กลับจากสถานะโลดสู่สถานะปกติ[การแพทย์]
สถานะกระตุ้นอิเล็กทรอนิก[การแพทย์]
สถานะกระตุ้น, สภาวะเร่งเร้า[การแพทย์]
สถานะที่ทำให้เกิดความกลัว[การแพทย์]
การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน ในกลุ่มคนที่มีความเฉพาะตามสถานะหรือบทบาท, Example:ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น เอดส์ มะเร็ง เบาหวาน หรือ ผู้พิการ ผู้ต้องขัง และผู้ประสบภัย เป็นต้น ซึ่งจะเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะในการดำเนินงาน อีกทั้งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีผู้ที่คอยช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านั้นในการปรับตัว ด้วย แน่นอนว่าจะต้องดำเนินงานกับกลุ่มผู้ที[สุขภาพจิต]