ไม่่ปรากฏชื่อผู้แต่ง[เทคโนโลยีการศึกษา]
ผู้แต่ง[เทคโนโลยีการศึกษา]
ดัชนีผู้แต่ง[เทคโนโลยีการศึกษา]
บรรณานุกรมของผู้แต่ง[เทคโนโลยีการศึกษา]
ไม่่ปรากฏชื่อผู้แต่ง[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ผู้แต่ง, Example:เป็นบุคคลหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่หรือมีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตผลงาน ซึ่งชื่อผู้แต่งจะถูกพิมพ์ปรากฏอยู่บนหน้าปกในหรือแห่งอื่นๆ ของผลงานนั้นๆ อาจจะประกอบด้วยผู้แต่ง 2 คนหรือมากกว่านั้นเป็นผู้แต่งร่วม ในการลงรายการของห้องสมุด มีคำหลายคำที่สื่อถึงผู้แต่งอยู่หลายคำ โดยรวมถึงคำว่า บรรณาธิการ ผู้เรียบเรียง ผู้ประสานงานเสียง ผู้สร้างสรรค์ เป็นต้น <p> <p><img src="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/201103-bookpr-10.jpg" alt="Author"> <p> หนังสือที่มีผู้แต่งทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ <p> ปกป้อง จันวิทย์, บรรณาธิการ. ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : Openbooks, 2554. <p><img src="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/201103-bookpr-12.jpg" alt="Author"> <p> หนังสือที่มีผู้แต่งในนามของหน่วยงานหรือนิติบุคคล <p>สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาาน. รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน, 2554. <p><img src="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/201103-bookpr-13.jpg" alt="Author"> <p> หนังสือที่มีผู้แต่งรับผิดชอบเพียง 1 คน <p> นราทิพย์ จั่นสกุล. แผนแบบการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม R. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2552.[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
บรรณานุกรมของผู้แต่ง, บรรณานุกรมของผู้แต่ง, Example:เป็นรายชื่อผลงานของผู้แต่งที่รวบรวมขึ้น <p> <p>ตัวอย่าง บรรณานุกรมของผู้แต่ง <p> <p> 1. บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) <p> 2. บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน <p> 3. บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน และพระสารประเสริฐ <p> 4. บรรณานุกรมงานนิพนธ์ของ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล <p> 5. บรรณานุกรมงานส่วนบุคคลของศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร <p> 6. บรรณานุกรมประกอบบรรณนิทัศน์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว <p> 7. บรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และเรื่องที่เกี่ยวข้อง <p> 8. เรียงร้อยบรรณรัตน์ : บรรณานุกรมและดรรชนีพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี <p> 9. รายชื่อหนังสือพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
บัตรผู้แต่ง[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ดัชนีผู้แต่ง, Example:<p><img src="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/20120416-Author-Index1.jpg" alt="Author Index"> <p>เป็นการนำชื่อผู้แต่ง ซึ่งอาจเป็นชื่อบุคคล นิติบุคคล หรือ หน่วยงาน องค์กร สถาบัน ลงเป็นรายการหลัก จะปรากฏในดัชนีซึ่งแบ่งตามลักษณะของสิ่งพิมพ์ที่นำมาจัดทำดัชนี ได้แก่ ดัชนีวารสาร ดัชนีหนังสือพิมพ์ และดัชนีหนังสือท้ายเล่ม[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
เลขผู้แต่ง, Example:<p>เลขผู้แต่ง หรือ เลขหนังสือ (Book number) หมายถึง สัญลักษณ์ประจำตัวทรัพยากรสารสนเทศ ใช้เลขประตัวผู้แต่งหรือผู้รับผิดชอบเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละชื่อเรื่องนั้น เลขผู้แต่ง ประกอบด้วย อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง ซึ่งเลขประจำตัวชื่อผู้แต่งนั้น ได้มีการกำหนดเป็นตารางเลขสำเร็จรูปไว้แล้ว <p>กรณีที่ทรัพยากรสารสนเทศไม่มีชื่อผู้รับผิดชอบ จะลงรายการหลักด้วยชื่อเรื่อง ซึ่งประกอบด้วยอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องและเลขประจำอักษรตัวถัดของชื่อเรื่อง นอกจากนี้ อาจจะมีสัญลักษณ์ที่ระบุถึงเล่มที่ ฉบับที่ ตอนที่ ปีพิมพ์ เพิ่มขึ้นมาอีกด้วย <p>ส่วนตารางเลขผู้แต่งภาษาต่างประเทศนั้น ใช้ตารางเลขผู้แต่งคัตเตอร์-แซนบอร์น (Cutter-Sanborn Table) ซึ่งเป็นคัตเตอร์ของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ส่วนสำหรับเลขผู้แต่งชาวไทย จะมีตารางเลขผู้แต่งชาวไทยของหอสมุดแห่งชาติ <p>ตัวอย่าง ตารางเลขผู้แต่งคัตเตอร์-แซนบอร์น <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110228-Cutter.JPG" width="640" height="200" alt="Cutter">[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
งานที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง, หนังสือแบบฉบับที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
รายการจำแนกผู้แต่ง[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
รายการชื่อผู้แต่ง, การลงชื่อผู้แต่ง[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ผู้แต่งทำนองเพลง[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การลงรายการชื่อสถาบันเป็นผู้แต่ง[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ผู้แต่งร่วม[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ[การทูต]
งานเขียนที่ไม่ระบุชื่อผู้แต่ง, Example:<p>Anonymous work หมายถึง งานเขียนที่ไม่ระบุชื่อผู้แต่งไว้ในเล่ม และไม่สามารถค้นหาชื่อผู้แต่งได้จากตัวเล่มหรือจากแหล่งสืบค้นอื่นใด ดังนั้น ในการทำบัตรรายการหรือการทำบรรณานุกรมจะลงรายการที่ชื่อสิ่งพิมพ์เป็นรายการหลัก ตัวอย่างเช่น <p> ประมวลรัษฎากร ฉบับสมบูรณ์ ปี 2548. 2548. กรุงเทพฯ: ธรรมนิติการบัญชีและภาษีอากร. <p> สงกรานต์สานใจไทย. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. <p> Thailand: a traveller’s companion. 2000. Singapore: Editions Didier Miller Pte. <p> Great sporting graphics. 1995. Rockport, Mass.: Rockport Pub. <p> สำหรับข้อความเกี่ยวกับชื่อผู้แต่งหรือผู้อื่นที่ไม่ได้รับผิดชอบในฐานะผู้แต่ง เช่น ผู้แปล ผู้รวบรวม บรรณาธิการ เป็นต้น ที่สืบค้นได้จากที่อื่น เมื่อนำมาใช้ลงรายการในบัตรหรือรายการบรรณานุกรม ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยมเพื่อให้เห็นชัดเจน ดังตัวอย่าง <p> ประเพณีโบราณ / [ รวบรวมโดยลุงรัถ ] <p> ล่าข้ามโลก / [ แปลโดยพจน์ ] [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ภาพผู้แต่งหนังสือ, Example:<p> Author portrait หมายถึง ภาพของผู้แต่งหนังสือแบบเต็มหน้า ที่อยู่ในหน้าซ้ายมือก่อนหน้าชื่อเรื่อง หรือในบางครั้งจะอยู่ในหน้าชื่อเรื่องของหนังสือ ซึ่งโดยทั่วไปเป็นภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ โดยปกติหนังสือส่วนใหญ่ที่จัดพิมพ์ในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 จะแสดงภาพใบหน้าส่วนศีรษะถึงช่วงไหล่ของผู้แต่งหนังสือพร้อมด้วยชื่อและที่มาของภาพนั้นไว้ในหนังสือด้วย หนังสือที่เขียนด้วยลายมือในสมัยกลาง บางครั้งจะวาดภาพของผู้แต่งหนังสือเป็นภาพขนาดเล็กไว้ในงานเขียนของผู้แต่ง เพื่อช่วยผู้อ่านในการระบุงานเขียนนั้น สำหรับหนังสือสมัยใหม่จะมีรูปภาพเล็ก ๆ ของผู้แต่งพิมพ์ไว้ที่ด้านหลังใบหุ้มปกของหนังสือปกแข็งพร้อมด้วยชีวประวัติโดยย่อ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]