น. ขันเชิงสำหรับใส่ข้าวตักบาตร.
น. อาหารเหลือจากพระฉันแล้วที่ศิษย์วัดได้อาศัยกิน.
น. ข้าวสารเก่าหุงในน้ำเดือดเพื่อให้สวยเป็นตัวสำหรับตักบาตร, เรียกขันเชิงสำหรับใส่ข้าวตักบาตร ว่า ขันข้าวบาตร.
ก. ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น.
น. ฐานรูปเชิงบัวหน้ากระดาน.
(ตะหฺลก-) น. ถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า (สายโยก), ถลกบาตร ก็ว่า.
ก. จะให้อะไรแก่ผู้ที่เต็มใจรับอยู่แล้ว ไม่ควรถาม.
(ถะหฺลกบาด) น. ถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า (สายโยก), ตลกบาตร ก็ว่า.
(ถะหฺลกบาด) ดู กะทกรก (๒).
น. คนที่ทำอะไรตามเขาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว.
(ทูปะบาด) น. ภาชนะสำหรับเผาเครื่องหอม.
(บาด) น. ภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต.
น. บาตรใหญ่ ๓ ใบ ถักเชือกรอบนอก ในพระราชพิธีกัตติเกยา.
น. เรียกของที่ใส่ฝาบาตรถวายพระเวลาตักบาตร ว่า ของปากบาตร.
(-บาด, -บาดตฺรา) น. กระบวนทัพ.
(ยุระบาด) ก. เดิน, ใช้ว่า ยะยุรบาตร ก็มี.
ก. รมบาตรให้ดำเป็นมันเพื่อกันสนิมด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น เอากำมะถันและนํ้ามันทาบาตรแล้วรมไฟให้ร้อน.
น. ศาลาที่ลักษณะเป็นโรงยาว มีฐานสำหรับตั้งบาตรได้หลายลูก มักปลูกไว้ในย่านกลางหมู่บ้านที่อยู่ไกลวัด ในเวลาเทศกาลที่นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ ก็จะตั้งบาตรเรียงไว้ที่ศาลานั้นเพื่อให้ประชาชนได้ตักบาตร.
น. สังฆกรรมที่คณะสงฆ์ประกาศยกโทษให้แก่คฤหัสถ์ที่เคยถูกประกาศคว่ำบาตรมาแล้ว ด้วยการยอมรับบิณฑบาตเหมือนเดิม.
น. อำนาจที่ใช้ในทางข่มขี่ เช่น ถือว่ามีอำนาจบาตรใหญ่รังแกใครได้ก็ตามใจชอบ.
ชื่อไม้เถาชนิด Passiflora foetida L. ในวงศ์ Passifloraceae มีมือเกาะ ใบป้อมมี ๓ หยัก ดอกสีขาว ผลกลม เมื่อสุกสีเหลืองกินได้ มีใบประดับเป็นฝอยหุ้ม ยอดนำมาต้มใช้เป็นผัก, กระโปรงทอง เงาะป่า ถลกบาตร เถาเงาะ เถาสิงโต หรือ หญ้ารกช้าง ก็เรียก.
น. ข้าวสุกที่อยู่ในส่วนบนสุดของหม้อ ยังไม่มีใครตักกิน ใช้ตักบาตร หรือใช้เป็นข้าวในการตั้งเครื่องสังเวยพลีกรรมต่าง ๆ.
(จีวอน, จีวอนระ-) น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว ].
น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.
ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น เชียรเชียรใบบาตรนํ้า (แช่งนํ้า).
(-เคฺรียว) น. ถุงที่ทำด้วยผ้าหรือถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นตาถี่ ๆ มีหูรูดใช้ใส่อาหารแห้งเป็นต้นเวลาเดินทาง เช่น สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม (ระเด่นลันได), ถุงที่ถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นต้น เป็นตาถี่ มีหูรูด สำหรับหุ้มถลกบาตรหรือบาตร, เรียกว่า ถุงตะเครียว หรือ ถุงตะเคียว.
บุให้เข้ารูป เช่น ตีขัน ตีบาตร
น. ถุงที่ถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นต้น เป็นตาโปร่ง มีหูรูด สำหรับหุ้มถลกบาตร (ใช้เฉพาะในพิธีอุปสมบท).
ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ถือศีล ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ
ว. เรียกเจดีย์รูปทรงกรวยกลม มีฐานล่างเป็นฐานเขียงหรือฐานบัวเชิงบาตร กับมีฐานบัวลูกแก้ว องค์ครรภธาตุมีรูปทรงคล้ายระฆังควํ่า ตอนบนเป็นที่ตั้งของรัตนบัลลังก์ มียอดประดับด้วยปล้องไฉนและปลี.
ก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทำบุญทำกุศล ก็ว่า.
น. เรียกวิธีทำนายอย่างหนึ่งโดยจุดเทียนติดไว้ที่ขอบปากบาตรเป็นต้นแล้วนั่งเพ่งดูนํ้าในบาตร แล้วทำนายไปตามลักษณะหยดเทียนที่ปรากฏในนํ้านั้น
(บอริขาน) น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก.
น. ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที, โบราณเขียนเป็น บาตร ก็มี เช่น ย่ำรุ่งสองนาลิกา เสษสังขยาห้าบาตร (ตะเลงพ่าย).
ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานำมาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึง กิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน.
ก. อบด้วยควันหรือไอไฟ เช่น ใช้ควันรมปลากะพงให้หอม ใช้ควันอ้อยรมเป็ดให้หอม รมผึ้งให้หนีหรือให้เมา, ทำให้ควันไฟหรือไอไฟเป็นต้นเกาะติดอยู่ เช่น รมบาตร รมปลาย่างให้แห้ง.
น. ลูกที่ทำกลม ๆ ประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหิน ใช้ฝังเป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Cetacea อันดับย่อย Odontoceti มีหลายชนิด หลายวงศ์ ลำตัวใหญ่ บางชนิดปลายจะงอยปากยื่นแหลม บางชนิดหัวกลมมน มีฟัน หางแบนเพื่อช่วยในการพุ้ยน้ำ มักมีครีบหลัง ๑ ครีบ หายใจด้วยปอด อาศัยอยู่ในทะเล เช่น โลมาขาวเทา [ Sotalia plumbea (Cuvier) ] ในวงศ์ Stenidae โลมาหัวขวด (Delphinus delphis Linn.) โลมาอิระวดี [ Orcaella brevirostris (Gray) ] อาศัยอยู่ได้ในน้ำจืด เช่น ทะเลสาบในจังหวัดพัทลุง และแม่น้ำโขง ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Delphinidae โลมาหัวบาตร [ Neophocaena phocaenoides (Cuvier) ] ในวงศ์ Phocaenidae, ปลาโลมา ก็เรียก.
น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), อัฐบริขาร ก็เรียก.
น. สายถลกบาตรสำหรับคล้องที่ไหล่.
น. หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่า ถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาดกลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง
น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), สมณบริขาร ก็เรียก.
(-ทาน) น. เครื่องคํ้าจุน, ฐานที่รองรับ, เช่น ปัตตาธาร = เชิงบาตร, ตีนบาตร คุณาธาร = ฐานที่รองรับคุณความดี