ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์.
ก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมฝั่ง, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.
ว. มากมายเหลือล้น เช่น ได้คะแนนเสียงท่วมท้น.
ว. มีรูปร่างอ้วนน้อย ๆ เช่น ผู้หญิงคนนี้ท้วม
พอสมควร, พอประมาณ, เช่น พอท้วม ๆ.
ก. พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย.
ก. พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น.
(กฺรด) น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C. B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่นํ้าท่วม เช่น ตามฝั่งนํ้าลำคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดำ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก
น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งขึ้นในป่าตํ่าตามที่นํ้าท่วม มักขึ้นปะปนกับเถากรด ซึ่งดูผาด ๆ คล้ายคลึงกัน ใบคู่ ขอบใบตอนบนที่ใกล้หรือติดกับก้านมีต่อมข้างละต่อม ผลนัยว่าแบน ๆ รูปสามเหลี่ยม ไม้ใช้ทำฟืน.
น. ท่อที่ต่อจากสูบไปเป่าเปลวไฟไปท่วมเบ้า.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Barringtonia วงศ์ Lecythidaceae ขึ้นในที่ชุ่มชื้นและที่นํ้าท่วมถึง ดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีแดงมักออกเป็นช่อยาวห้อยเป็นระย้า เช่น จิกนา [ B. acutangula (L.) Gaertn. ] จิกบ้านหรือจิกสวน [ B. racemosa (L.) Spreng. ] จิกเล [ B. asiatica (L.) Kurz ].
ว. อาการที่เกาะ จับ หรือนั่งอย่างหงอยเหงา เช่น นกจับเจ่า นั่งเจ่า, อยู่ในที่จำกัดไปไหนมาไหนไม่ได้ เช่น นํ้าท่วมต้องนั่งเจ่าอยู่กับบ้าน.
น. พื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง ตรงข้ามกับที่ลุ่ม, ที่เขิน, เนิน, โคก, โขด
ก. กันไว้, กั้นไว้, ทำให้นํ้าท่วมท้นขึ้นมาด้วยทำนบเป็นต้น เช่น ทดนํ้า
ก. ยกเท้าก้าวสูง ๆ ไปในที่น้ำท่วมตื้น ๆ ในคำว่า ท่องน้ำ, เที่ยวไป เช่น ท่องยุโรป ท่องราตรี.
น. บึงหรือที่ราบลุ่ม มีนํ้าท่วมเป็นครั้งคราว.
น. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ข้าวขึ้นน้ำ” เนื่องจากมีรากยาว สามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อและที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมีระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร, นาเมือง ก็เรียก.
น. นํ้าที่เกิดท่วมในที่ตํ่าโดยฉับพลันทันทีและไหลลดลงอย่างรวดเร็ว เกิดจากฝนตกชุกในที่สูงบริเวณเทือกเขาหรือในป่า เมื่อสะสมไว้มีปริมาณมากขึ้นก็จะไหลบ่าสู่ที่ต่ำ.
สัน. เพราะเหตุที่ เช่น โรงเรียนปิดเนื่องจากนํ้าท่วม เนื่องด้วยเขาป่วย จึงมาไม่ได้ เนื่องแต่เหตุนั้นนั่นเอง.
ก. จำเพาะพอดี, สบเหมาะ, บังเอิญพบ, เช่น นํ้าเหนือหลากมาประจวบกับนํ้าทะเลหนุน นํ้าเลยท่วม.
ก. เคลื่อนพ้นจากจุดใดจุดหนึ่งไป (ใช้แก่เวลา สถานที่ เหตุการณ์ เป็นต้น) เช่น เวลาผ่านไป ๕ ปี เขาเดินผ่านสนามหลวง รถสายนี้ผ่านสามย่าน สีลม เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ผ่านไป ๓ ปีแล้ว
น. คราว เช่น เมื่อพักที่น้ำท่วม การจราจรติดขัดมาก, ช่วงระยะเวลา เช่น เดินไปพักหนึ่ง หยุดเป็นพัก ๆ.
(พาวะ-) น. ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ.
ว. อาการที่น้ำท่วมหัวเรือจนมิด เช่น หัวเรือมิดน้ำ.
ก. พูนให้เป็นเนินเป็นโคก เช่น มูนดินขึ้นกันน้ำท่วม.
ว. รุนแรง เช่น น้ำท่วมทำให้บ้านเมืองเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง, ร้ายมาก เช่น ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง.
ก. รู้ถึงเหตุการณ์หรือความคิดของบุคคลอื่นไม่เพลี่ยงพล้ำเสียเปรียบ เช่น รู้ทันว่าน้ำจะท่วมจึงขนของหนีเสียก่อน รู้ทันความคิดของเพื่อนว่าจะหักหลังเรื่องผลประโยชน์, รู้เท่าทัน ก็ว่า.
น. โรงที่ชาวนาสร้างขึ้นเป็นที่อยู่อาศัย มักจะสร้างบนเนินดินที่สูงกว่าพื้นนากันน้ำท่วม ด้านหนึ่งมียกพื้นสำหรับนอน มีที่ทำครัว และมีที่ว่างสำหรับไว้วัวควายด้วย.
ได้รับความเสียหายมากเพราะน้ำท่วมหรือพายุพัดเป็นต้น เช่น นาล่ม สวนล่ม โป๊ะล่ม
ว. ตํ่า (ใช้แก่ลักษณะพื้นดินซึ่งรับนํ้าที่ไหลท่วมได้หรือนํ้าขึ้นถึง) เช่น ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม, ตรงข้ามกับ ดอน.
ก. แพร่ข่าวกันแซ่ เช่น เขาเล่าลือกันว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่.
ว. โล่งกว้างทำให้ว้าเหว่ใจ เช่น ทะเลเวิ้งว้าง น้ำท่วมไร่นาล่มหมดจนดูเวิ้งว้าง.
(ส้อย) น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cyprinidae มีพฤติกรรมรวมกันเป็นฝูงในลำน้ำใหญ่ในฤดูนํ้า และว่ายทวนนํ้าขึ้นไปหากินหรือสืบพันธุ์ในแหล่งน้ำที่ไหลเอ่อนองหรือท่วมขังในตอนกลางและปลายฤดูน้ำหลาก ส่วนใหญ่ลำตัวสีขาวเงินและมีจุดคลํ้าหรือจุดดำบนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามยาวอยู่ข้างตัว, กระสร้อย ก็เรียก.
คำพวกที่เชื่อมประโยคให้เกี่ยวเนื่องกัน เช่น เขาชอบสีเหลือง แต่ฉันชอบสีแดง น้ำท่วมเพราะฝนตกหนัก.
น. ภัยที่เกิดแก่คนหมู่มากอย่างไฟไหม้ น้ำท่วม เช่น หน่วยบรรเทาสาธารณภัย.
ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนตกหนัก น้ำท่วมไร่นาเสียหายหมด, เสีย ก็ว่า.
น. ผลหมากที่เกิดจากการนำหมากสุกมาลอกผิวนอกออก บรรจุลงในไหให้เต็ม เติมน้ำสะอาดพอท่วม ปิดฝาให้แน่น ทิ้งไว้จนเปลือกเน่า เพื่อเก็บไว้กินแรมปี.
น. ภัยอันตรายที่เกิดจากนํ้าท่วม.
ในพระพุทธศาสนาหมายถึงกิเลสที่ท่วมทับจิตใจของหมู่สัตว์ มี ๔ อย่าง คือ ๑. กาโมฆะ = โอฆะ คือ กาม ๒. ภโวฆะ = โอฆะ คือ ภพ ๓. ทิฏโฐฆะ = โอฆะ คือ ทิฐิ ๔. อวิชโชฆะ = โอฆะ คือ อวิชชา.