ก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทำบุญทำกุศล ก็ว่า.
ก. ทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย.
น. การทำบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชนิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทำเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน คนใช้ เป็นต้น.
ก. ตาย เช่น เมื่ออาทิตย์ที่แล้วเขายังมาทำบุญที่วัด วันนี้กลับบ้านเก่าไปเสียแล้ว.
ก. เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้, เด็ดดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า.
ก. ทำบุญกุศลโดยวิธีนำหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ทรายเป็นต้นที่วัด, (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม.
น. สำรับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทำบุญนำไปให้ผู้ที่นับถือด้วยไมตรีจิต.
น. ข้าวที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย.
ก. ยกของขึ้นหรือพนมมือเหนือหน้าผากเพื่อตั้งใจอุทิศให้เวลาทำบุญทำทาน
ก. แม่น, ปรากฏ, เที่ยง, แข็งแรง, เปรื่องปราด, ศักดิ์สิทธิ์, สำคัญ, เช่น อันหนึ่งให้จำหุดให้กระทำบุญ (ไตรภูมิ).
(ฉะหฺลอง) ก. ทำบุญหรือบูชาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นงานเอิกเกริกเพื่อแสดงความปีติยินดี เช่น ฉลองพระ ฉลองหนังสือ ฉลองอายุ, จัดงานเอิกเกริกเพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เช่น ฉลองปริญญา, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ เฉลิม เป็น เฉลิมฉลอง.
น. ระยะ เช่น สูง ๓ ชั่วลำตาล, ระยะเวลา, สมัย, ครั้ง, เช่น ครอบครัวเราทำบุญที่วัดนี้มาชั่วปู่ย่าตายาย ชั่วอายุผมไม่เคยเห็นอะไรอย่างนี้เลย.
น. คฤหัสถ์ที่ไปทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมที่วัดเป็นประจำ.
ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า “เปรต” ในงานทำบุญวันสารทเดือน ๑๐ เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าเครื่องเซ่นเหล่านั้นเป็นมงคล.
น. เรียกงานพิธีทำบุญวันสารทเดือน ๑๐ ว่า พิธีชิงเปรต.
น. วันที่มีอายุครบ ๕ รอบนักษัตร คือ ๖๐ ปีบริบูรณ์ตามคติของจีน, เรียกการทำบุญในวันเช่นนั้นว่า ทำบุญแซยิด.
ก. เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้, เก็บดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า.
น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทำบุญทำทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้าที่หลั่งลงให้แทนสิ่งของซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ อย่างวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น.
น. การให้ของทำบุญแก่ทักขิไณยบุคคล.
น. คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท
(ไทยะทำ) น. ของทำบุญต่าง ๆ, ของถวายพระ.
น. แหล่งที่ควรแก่การทำบุญ เช่น พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ.
ก. บอกชักชวนให้ทำบุญเช่นในการสร้างโบสถ์ทอดกฐิน.
การกระทำดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เช่น ไปทำบุญที่วัด
ความดี เช่น ปล่อยนกปล่อยปลาเอาบุญ, คุณงามความดี เช่น เขาทำบุญช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก, ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เช่น คนใจบุญ, ผลของการทำความดีจากชาติปางก่อน เช่น เขามีบุญจึงเกิดมาบนกองเงินกองทอง.
(บุนยะ-) น. ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำความดี, หลักการทำความดี, ทางทำความดี, มี ๑๐ ข้อ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุ-กรรม, โดยย่อมี ๓ ข้อ ได้แก่ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย.
(บุนยะ-) น. เนื้อนาบุญ, แหล่งที่ควรแก่การทำบุญ เช่น พระสงฆ์.
ก. แยกไว้เฉพาะเป็นหมู่เป็นพวก เช่น ของทำบุญจัดให้เป็นสัดเป็นส่วน.
(พะลี) น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตามแบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, เปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษีอากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ).
(มงคน, มงคนละ-) น. เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล
(มะตะกะพัด) น. ข้าวที่ทำบุญอุทิศให้คนตาย.
(มักคะนายก) น. “ผู้นำทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด.
น. “ผู้นำทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด.
น. การทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
(มาน, มาระ-, มานระ-) น. เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ
ก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้าน ร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะเดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติ มีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม.
ก. ขอร้องให้ช่วยออกเงินทำบุญเป็นต้นตามสมัครใจ เช่น เรี่ยไรสงเคราะห์เด็กกำพร้า.
ก. ทำพิธีหรือประกอบความดีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อล้างความซวยให้หมดไป เช่น อาบน้ำมนต์ล้างซวย ทำบุญล้างซวย.
น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
(สาดทะ-, สาด) น. การทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว.
(สาดทะพฺรด) น. พิธีทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว.
น. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยมสร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.
น. อาคารที่ปลูกไว้ในวัดสำหรับทำบุญและศึกษาเล่าเรียนเป็นต้น.
น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทำบุญ
ทำให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เช่น ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์.