ประลัย, ปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคกับปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้นๆ แล้วอนุภาคทั้งสองหายไปกลายเป็นรังสีแกมมาพลังงานเท่ากันเคลื่อนที่ออกไปในทิศทางตรงข้ามกัน เช่นการรวมตัวของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอน ได้รังสีแกมมาพลังงานรวม 1.02 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (ดู Antimatter ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์]
รังสีชนิดก่อไอออน, รังสีหรืออนุภาคใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตอนที่มีความเร็วสูง รังสีเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต <br>(ดู beta particle ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
ภาษีทางตรง, Example:ภาษีเรียกเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆ ของบุคคลหรืองค์กรนิติบุคคล โดยทั่วไปภาษีทางตรงได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทรัพย์สินต่างๆ จะเรียกเก็บจากรายได้หรือความมั่งคั่ง ของบุคคลหรือองค์กรที่จัดเก็บ ซึ่งตรงกันข้ามกับภาษีทางอ้อม(indirect tax) ได้แก่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ค่าธรรมเนียมอากรต่างๆ ที่จะเรียกเก็บจากรายจ่ายของบุคคลโดยมิได้พิจารณาฐานะความมั่นคั่งของบุคคล นั้น [สิ่งแวดล้อม]
หมายถึง สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้มีผลบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1963 ประเทศที่ลงนามเริ่มแรกในสนธิสัญญาได้แก่ อังกฤษ สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา รวมสามประเทศจุดมุ่งหมายสำคัญของสนธิสัญญาคือ รัฐบาลของประเทศทั้งสาม ต้องการให้มีการทำความตกลงกันเป็นผลสำเร็จเกี่ยวกับการลดอาวุธ หรือปลดกำลังอาวุธทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ตามความมุ่งประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติหรือเลิกการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และกำจัดมิให้มีเหตุจูงใจที่จะผลิตและทดสอบอาวุธไม่ว่าชนิดใดทั้งหมด รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ ยังเสาะแสวงหาที่จะให้หยุดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ไปตลอดชั่วกาลนานสนธิ สัญญานี้มีข้อความอยู่ 5 มาตรา และไม่จำกัดอายุเวลา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ ทั้งหลายเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีได้ ในทางตรงกันข้าม ประเทศภาคีก็มีสิทธิใช้อธิปไตยแห่งชาติได้เพื่อถอนตัวจากสนธิสัญญา ถ้าหากประเทศนั้น ๆ เห็นว่า ประโยชน์อันสูงสุดของประเทศตนต้องตกอยู่ในอันตราย และแจ้งล่วงหน้าสามเดือนให้ประเทศภาคีอื่น ๆ ทั้งหมดทราบการตกลงใจนั้น[การทูต]
รังสีชนิดก่อไอออน, คือ พลังงานในรูปแม่เหล็กไฟฟ้า หรืออนุภาครังสีใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตรอนที่มีความเร็วสูง รังสีชนิดนี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต[พลังงาน]
เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ[พลังงาน]
การบัญชีต้นทุนทางตรง[การบัญชี]
ค่าแรงงานทางตรง[การบัญชี]
ชั่วโมงค่าแรงทางตรง[การบัญชี]
ต้นทุนวัสดุทางตรง[การบัญชี]
ค่าใช้จ่ายทางตรง[การบัญชี]
การเคลื่อนไหวในทางตรง[การแพทย์]
ทิศทางตรงกันข้าม, แอนตี้พาราเลล[การแพทย์]
ความสัมพันธ์ทางตรง[การแพทย์]
ความสัมพันธ์ทางตรงเกี่ยวกับสาเหตุ[การแพทย์]
การสัมผัสโดยตรง, วิธีการติดตามโดยทางตรง, การติดต่อทางสัมผัส, การติดต่อโดยตรง[การแพทย์]
ในทางตรงข้ามกัน[การแพทย์]
การกรอกตาทั้งสองในทิศทางตรงกันข้ามกัน[การแพทย์]
สภาวะตรงกันข้าม, ลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อ 2 ชุดที่ทำงานประสานกันในทางตรงกันข้าม คือ ถ้าชุดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกชุดหนึ่งจะคลายตัวในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ที่หดตัว กล้ามเนื้อเอกเทนเซอร์จะคลายตัว ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
คลื่นนิ่ง, คลื่นที่เกิดจากการรวมของคลื่น 2 ขบวนที่มีความยาวคลื่นและความถี่เท่ากัน เคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้าม คลื่นนิ่งมีตำแหน่งบัพและปฏิบัพคงที่[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แรงปฏิกิริยา, แรงกระทำตอบของวัตถุต่อแรงกิริยา (แรงที่มากระทำ) และมีขนาดเท่ากับ แรงกิริยาแต่ทิศทางตรงกันข้าม[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
หม้อสะสมไฟฟ้า, เซลล์ไฟฟ้าแบบทุติยภูมิซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าชนิดอาศัยปฏิกิริยาเคมี หลังจากใช้ไฟฟ้าไปบ้างแล้วก็สามารถประจุไฟฟ้ากลับคืนได้ โดยการผ่านไฟฟ้ากระแสตรงจากแหล่งกำเนิดอื่นที่มีความต่างศักย์สูงกว่าเข้าไปในทิศทางตรงข้าม[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ข้อเท็จจริง, หลักฐานหรือประจักษ์พยานต่าง ๆ ที่เป็นจริง ซึ่งสามารถสังเกตได้โดยทางตรงคือการใช้อวัยวะสัมผัสหรือโดยทางอ้อมคือการใช้เครื่องวัด[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ภาวะหนีแสง, ภาวะที่สิ่งมีชีวิตเอนหรือเคลื่อนหนีแสงสว่าง เช่น ในรากพืชด้านที่ได้รับแสงจะเจริญมากกว่าด้านที่ไม่ได้รับแสง จึงทำให้รากโค้งงอไปในทางตรงข้ามกับแสง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย, การเคลื่อนที่ของวัตถุกลับไปมาซ้ำทางเดิมผ่านตำแหน่งสมดุล โดยมีขนาดของความเร่งเป็นสัดส่วนกับขนาดของการกระจัด แต่มีทิศทางตรงข้าม[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แรงคู่ควบ, แรงสองแรงที่มีขนาดเท่ากัน แนวแรงทั้งสองขนานกัน แต่มีทิศทางตรงข้าม[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เฟืองตรง, ชุดเฟืองที่ทำงานโดยการหมุนเฟืองตัวหนึ่งรอบแกนเพลาและส่งแรงหมุนนั้นไปยังเฟืองอีกตัวหนึ่งผ่านทางฟันของเฟืองทั้งสองที่สบกัน เฟืองที่ต่ออยู่กับต้นกำเนิดของแรงเรียกว่า เฟืองขับ ส่วนเฟืองที่สบอยู่แล้วหมุนตามเรียกว่า เฟืองตาม โดยเฟืองทั้งสองตัวจะหมุนในทิศทางตรงก[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]