โรคเอดส์หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม, Example:<p>โรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า human immunodeficiency virus หรือเรียกย่อๆ ว่า HIV (เอชไอวี) โดยเชื้อไวรัสจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวซึ่งมีความสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำลง จึงทำให้ร่างกายติดเชื้อโรคฉวยโอกาสได้ง่าย เช่น เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และโรคต่างๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด <p> <p>เชื้อเอชไอวีติดต่อได้หลายวิธีดังนี้<br/> - การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ทั้งในรักร่วมเพศและรักต่างเพศ<br/> - การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะในผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นที่มักใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน<br/> - การรับเลือดและองค์ประกอบของเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ การผสมเทียม<br/> - ทารกติดเชื้อจากมารดา โดยทารกอาจได้รับเชื้อแพร่มาตามเลือดสายสะดือ หรือติดเชื้อขณะคลอดจากเลือดและเมือกในช่องคลอด หรือติดเชื้อในระยะเลี้ยงดูโดยได้รับเชื้อจากน้ำนม <p> <p>อาการของโรค<br/> ภายหลังได้รับเชื้อในระยะแรกผู้ติดเชื้อบางรายมีอาการไข้และมีต่อมน้ำเหลืองโตตามซอกคอและซอกรักแร้ อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ไม่นานและหายไปได้เอง เมื่อการติดเชื้อดำเนินต่อไปอีกหลายปี ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันเสื่อมลง ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย ต่อมาเริ่มมีอาการ เช่น ไข้เรื้อรัง ท้องร่วงเรื้อรัง มีฝ้าขาวในปาก เมื่อถึงระยะเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น ผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อฉวยโอกาสและจะเป็นมะเร็งชนิดที่ไม่ค่อยพบในคนทั่วไป นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีอาการทางระบบประสาท เช่น เฉื่อยชา ความจำเสื่อม ผู้ป่วยจะมีน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว <p> <p>ระยะตั้งแต่เชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายจนถึงระยะแสดงอาการโรคเอดส์เต็มขั้นจะกินเวลานานหลายปี ในระหว่างนี้ถ้าต้องการจะทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่สามารถทำได้โดยการตรวจเลือด <p> <p>การรักษา<br/> 1. การดูแลผู้ป่วยโดยทั่วไป เช่น การให้อาหารที่เพียงพอ<br/> 2. การรักษาตามอาการ<br/> 3. การรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาส<br/> 4. การให้ยาต้านเชื้อเอชไอวีเพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส<br/> 5. การให้ยากระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน <br> <br>แหล่งข้อมูล<br> ประเสริฐ ทองเจริญ จันทพงษ์ วะสี และรวงผึ้ง สุทเธนทร์. (2539). กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมหรือโรคเอดส์. ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (เล่มที่ 20, หน้า 242-269). กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
เชื้อไวรัสเอชไอวี[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การรักษาด้วยการก่อภูมิคุ้มกัน[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
อาร์ไอเอ, เทคนิคการหาปริมาณสารต่างๆ ในสิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ โดยใช้สารประกอบติดฉลากรังสีเป็นตัวติดตามผลของปฏิกิริยาจำเพาะระหว่างสารก่อภูมิต้านทาน(antigen) และสารภูมิต้านทาน(antibody)[นิวเคลียร์]
กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม[TU Subject Heading]
วิทยาภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน[TU Subject Heading]
เอนไซม์-ลิงค์ อิมมูโนซอร์เบนท์ แอสเซย์[TU Subject Heading]
เทคนิคทางอิมมูโนเอนไซม์[TU Subject Heading]
พันธุศาสตร์ภูมิคุ้มกัน[TU Subject Heading]
อิมมูโนโกลบุลิน เอ็ม[TU Subject Heading]
อิมมูโนโกลบุลินชนิดกระตุ้นต่อมไทรอยด์[TU Subject Heading]
วิธีอิมมูโนฮิสโตเคมี[TU Subject Heading]
กลุ่มอาการขาดภูมิคุ้มกัน[TU Subject Heading]
โรคภูมิคุ้มกัน[TU Subject Heading]
การเฝ้าระวังโรคทางภูมิคุ้มกันวิทยา[TU Subject Heading]
เทคนิคทางภูมิคุ้มกัน[TU Subject Heading]
การทดสอบทางภูมิคุ้มกันวิทยา[TU Subject Heading]
แง่ภูมิคุ้มกันวิทยา[TU Subject Heading]
นักวิทยาภูมิคุ้มกัน[TU Subject Heading]
อิมมูโนแอสเซย์[TU Subject Heading]
การรักษาด้วยการก่อภูมิคุ้มกัน[TU Subject Heading]
ภูมิคุ้มกันวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์[TU Subject Heading]
กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม, โรคภูมิต้านทานบกพร่อง, ภูมิคุ้มกันบกพร่องภายหลัง, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง, เอดส์, โรคเอดส์, โรคภูมิต้านทานเสื่อม[การแพทย์]
วิทยาภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน; ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน, วิทยา[การแพทย์]
แอนติบอดีย์ต่ออิมมูโนโกลบุลิน[การแพทย์]
เซลล์ที่สามารถตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น[การแพทย์]
เคาน์เตอร์อิมมุโนอิเล็กทรอฟอเรซิส[การแพทย์]
เอ็นซัยม์-ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนท์แอสเซย์[การแพทย์]
การตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา[การแพทย์]
ประสบการณ์เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของโรคมาก่อน[การแพทย์]
แกรนูโลมาเกิดจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน[การแพทย์]
การทำวัคซีนป้องกันโรค[การแพทย์]
อิมมิวโนเอสเสย์[การแพทย์]
อิมมูโนบลาสติคลิมฟะดีโนพาธี[การแพทย์]
วิธีทางอิมมิวโนวิทยา[การแพทย์]
เคมีภูมิคุ้มกัน, ภูมิคุ้มกันเคมี[การแพทย์]
การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันยังดีอยู่[การแพทย์]
ลิมโฟซัยต์ที่มีสมรรถภาพทางภูมิคุ้มกัน[การแพทย์]
วิธีอิมมูนโนซัยโตเคมี[การแพทย์]
ความบกพร่องทางอิมมูน, ภาวะพร่องทางภูมิคุ้มกัน, การขาดภูมิคุ้มกัน[การแพทย์]
ภาวะบกพร่องของภูมิต้านทาน[การแพทย์]
การกดภูมิคุ้มกัน[การแพทย์]
การตรวจทางภูมิคุ้มกันน้ำเหลืองวิทยา[การแพทย์]
การวินิจฉัยมะเร็งโดยอาศัยอิมมูโนวิทยา[การแพทย์]
แอนติบอดีย์ในแอนติซีรั่มซึมผ่านเนื้อวุ้นเข้าหาก[การแพทย์]
อิมมุโนอีเล็คโตรฟอเรซิส; อิมมูโนอิเล็กโตรฟอเรซิส, วิธีการ[การแพทย์]
อิมมุโนเอ็นซัยม์, เทคนิคทาง[การแพทย์]