คอมพิวเตอร์เอนกประสงค์หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบขึ้นใช้เพื่อให้ทำงานสนองความต้องการได้หลายวัตถุประสงค์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่อาจใช้วิธีการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้ทำงานได้ด้วยภาษาต่าง ๆ หลายภาษา (คอมพิวเตอร์ที่พูดถึงโดยทั่วไปในปัจจุบันนี้ ส่วนมากจะเป็นคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ทั้งสิ้นดู special purpose computer เปรียบเทียบ
เมนูลูกแอปเปิลหมายถึง โปรแกรมต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์แมคอินทอช ที่สามารถสั่งให้ทำงานในระหว่างที่เครื่องกำลังทำโปรแกรมอื่นอยู่ได้ โปรแกรมเหล่านี้จะรวมอยู่ในเมนูที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปลูกแอปเปิลแหว่ง (แทนที่จะมีชื่อเมนูตามปรกติ) และจะอยู่เป็นรายการแรกซ้ายมือสุดบนแถบเมนู เมนูนี้จะประกอบด้วยรายการย่อยอีกหลายรายการด้วยกัน เช่น นาฬิกา, เครื่องคำนวณ, แผงควบคุม ฯ รวมทั้งที่สำคัญที่สุด คือ แฟ้มภาพ ที่เรียกว่า scrapbook เป็นต้น
(ซินเดอเรล'ละ) n. สาวงามในนิทานเด็กที่ถูกแม่เลี้ยงใช้ให้ทำงานหนักอยู่กับกากถ่านหิน ต่อมาเทวดามาช่วยให้สมรสกับเจ้าชาย, ลูกเมียน้อย
ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ1. ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง ส่วนตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ 2. ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงโปรแกรมต่าง ๆ หรือชุดคำสั่งทั่เครื่องสั่งให้ทำงานตามความประสงค์3. บุคลากรคอมพิวเตอร์ (peopleware) หมายถึงแรงงานบุคคลที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานจนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์หมายถึง คำสั่งคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง ๆ ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) หรือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ฯ คำ "โปรแกรม" นี้ อาจจะเรียกเป็นชื่ออื่นก็ได้ เช่น ซอฟต์แวร์ (software) หรือ แอพพลิเคชัน (application) โปรแกรมนั้น แบ่งได้เป็นหลายประเภท ประเภทแรกคือประเภทที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการ กับอีกประเภทหนึ่งมีคนทำสำเร็จรูปไว้ขาย เช่น โปรแกรมสำหรับวาดภาพ (graphics) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) โปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) นอกจากนั้น ยังมีโปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีบางส่วนติดตั้งมาจากโรงงานที่ผลิตเลย และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่จะทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานให้ประสานกัน สรุปว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทุกอย่าง แต่คนเขียนคำสั่งต้องเข้าใจขั้นตอน วิธี (algorithm) และภาษาที่จะใช้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเขียนสั่งเครื่องให้ทำงานได้
วิทยาการคอมพิวเตอร์สาขาวิชาทางคอมพิวเตอร์สาขาหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกำหนดรูปแบบ และการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มาใช้งาน หรือสั่งให้ทำงานให้ตามความประสงค์ เป็นต้นว่า กระบวนการต่าง ๆ ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศ (information) ฯ อนึ่ง ศัพท์นี้ในภาษาไทยมีใช้กันอยู่หลายคำ เป็นต้นว่า คอมพิวเตอร์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ วิทยาการคอมพิวเตอร์
โปรแกรมขับอุปกรณ์หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถสั่งให้ทำงานด้วยคำสั่งที่ผ่านทางคอมพิวเตอร์ ได้ เช่น หากจะใช้เครื่องพิมพ์ยี่ห้ออะไรก็จะต้องติดตั้ง "driver" สำหรับเครื่องพิมพ์ยี่ห้อนั้นด้วย
(เอน'เกจฺ) vt. หมั้น, ผูกมัด, นัดหมาย, สู้รบ, ต่อสู้, จ้าง, ว่าจ้าง, พัวพัน, ทำให้ทำงานในด้าน, ทำงานอยู่, เชื่อมต่อกับ., See Also:engager n. ดูengage, Syn.bind
โปรแกรมกระทำการหมายถึง โปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล หรือควบคุมการกระทำการ (execution) ของคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ดูแลการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล (input/output unit) การดำเนินการและกำหนดการใช้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ (memory unit) ให้ทำงานให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบทำงานแบบหลายชุดคำสั่ง หรือระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) ชุดคำสั่งชุดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (operating system) มีหน้าที่หลักในการดูแลไม่ให้การประมวลผล โปรแกรมทีละหลาย ๆ โปรแกรม เกิดความสับสนกัน มีความหมายเหมือน supervisor
แผ่นวงจรส่วนขยายหมายถึง แผ่นวงจรที่ออกแบบพิเศษให้ใช้เสียบเข้ากับบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง ให้ทำงานเพิ่มขึ้นได้ในด้านต่าง ๆ เช่น ทำให้หน่วยความจำของเครื่องมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือทำให้เครื่องใช้กับซีดีรอม (CD ROM) ได้ หรือทำให้ใช้เป็นโมเด็มภายใน (internal modem) ได้ เป็นต้น
การศึกษาความเป็นไปได้ในวิชาคอมพิวเตอร์หมายถึง การศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการมีหรือใช้คอมพิวเตอร์ โดยคำนึงถึงกำไรและต้นทุน ช่วงเวลา กำลังเงินและกำลังคน เพื่อให้ทำงานตามโครงการใด ๆ ที่กำหนด โดยปรกติในการศึกษาความเป็นไปได้ จะมีข้อเสนอแนะทางเลือกอื่นที่เหมาะสมไว้ด้วยเสมอ
(แฮค'นี) n. รถม้าให้เช่า, รถให้เช่า, คนที่ถูกว่าจ้างให้ทำงานหนัก, ม้าที่ถูกใช้งานหนัก, รถแท็กซี่. adj. ให้เช่า. vt. ทำให้เป็นธรรมดา, ทำให้เก่าเนื่องจากการถูกใช้, ทำให้เป็นรถเช่า., See Also:hackneyism n.
(จอก) { jogged, jogging, jogs } vt., n. (การ) ชนเบา ๆ , กระทุ้งเบา ๆ , ผลักเบา ๆ , เขย่าเบา ๆ , ทำให้ทำงาน, โดยการกระทุ้งเบา ๆ , กระตุ้น, เตือน, กระทุ้งให้ม้าวิ่งเหยาะ ๆ vt. เดินเหยาะ, ย่าง, เดินเอื่อย ๆ , ย่ำต๊อก, เดินเนิบ ๆ , วิ่งเหยาะย่าง (ม้า) . -S.jar, shake
หมายถึง บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้นว่า1. วิศวกรคอมพิวเตอร์ (computer engineer) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องการบำรุงรักษาตัวเครื่อง หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับส่วนตัวเครื่อง (hardware) 2. นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst) คือ ผู้ที่จะวิเคราะห์ระบบงานที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล3. นักเขียนชุดคำสั่งหรือผู้ทำโปรแกรม (programmer) คือผู้ที่จะเขียนคำสั่งต่าง ๆ ให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม4. ผู้ควบคุมเครื่อง (operator) คือผู้ที่จะบังคับควบคุมคอมพิวเตอร์ ด้วยการกดปุ่มบนแผงหน้าปัด ให้ทำงานตามคำสั่ง5. ผู้เตรียมข้อมูล (data entry operator) หมายถึงผู้ที่นำข้อมูลลงในสื่อชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แถบบันทึก จานบันทึกมีความหมายเหมือน peopleware
บัสเฉพาะที่เป็นช่องว่างที่จะใช้เสียบแผ่นวงจร แผ่นวงจรที่เสียบนี้จะต่อตรงไปยังตัวประมวลผลโดยตรง ทำให้ทำงานได้รวดเร็วกว่าแผ่นวงจรอื่น ๆ เช่น แผ่นวงจรวีดิทัศน์ที่ใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ (hard disk)
จัดรูปแบบอย่างต่ำหมายถึง การจัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ของจานบันทึกว่าจะต้องจัดรูปแบบ การบันทึกแบบนี้เมื่อเราใช้จานแข็งเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น ก็ต้องใช้คำสั่งFORMAT ในระบบดอสเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับจานอ่อน (floppy disk) นั้น เราไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามกระบวนการนี้
การผสานจ่าหน้า (จดหมาย) หมายถึง กระบวนการในการนำชื่อและที่อยู่ของผู้รับซึ่งเก็บรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูลไว้ มาผนวกกับจดหมายที่ทำเป็นต้นแบบ จดหมายแต่ละฉบับที่สั่งพิมพ์ออกมา ก็จะมีชื่อผู้รับแต่ละคน จากรายชื่อที่เก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลรายชื่อนั้น ใช้ในการทำจดหมายเวียน โปรแกรมประเภทประมวลผลคำ (word processing) เกือบทุกโปรแกรมจะต้องมีคำสั่งให้ทำงานประเภทนี้ได้
ป้อนด้วยมือหมายถึง การทำด้วยมือแทนการสั่งให้ทำงานอัตโนมัติ เป็นต้นว่า การส่งกระดาษเข้าไปในเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) ทีละแผ่นด้วยมือ แทนที่จะให้เครื่องพิมพ์ดึงกระดาษเองจากถาดใส่กระดาษ (tray) โดยปกติ จะใช้วิธีนี้ เมื่อต้องสั่งพิมพ์งานที่ไม่ใช้กระดาษขนาดมาตรฐาน เช่น ซองจดหมายฯ
คอมพิวเตอร์งานขนานหมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ทำงานทางตรรกะ หรือทางคณิตศาสตร์หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจาก คอมพิวเตอร์นั้นมีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หลายตัว แต่ละตัวทำงานแต่ละอย่าง และสามารถทำไปพร้อม ๆ กันได้ โดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) ทำหน้าที่ดูแลให้ทำงานประสานกันดู serial computer เปรียบเทียบ
คำสั่งเอกสิทธิ์หมายถึง คำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งจำกัดโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ให้ทำงานผิดแนวทาง โดยปกติ คำสั่งเอกสิทธิ์จะประกอบด้วย คำสั่งข้อจำกัดการใช้ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยรับข้อมูลเข้า หน่วยแสดงผล การป้องกันหน่วยความจำ การหยุดชะงักการทำงานของเครื่อง และปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุม และการกำหนดเวลา คำสั่งนี้ผู้ใช้เครื่องธรรมดาไม่มีสิทธิใช้ และจะทำงานได้เฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะการใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system mode)
หมายถึง หน่วยความจำที่สร้างขึ้นไว้ภายในเครื่องพิมพ์ หรืออาจดึงออกมาจากหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทำงานประสานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องพิมพ์
(สเวท) { sweat/sweated, sweating, sweats } n. เหงื่อ, การที่เหงื่อออก, ความกังวลใจ, หยาดน้ำ, ความเหนื่อยยาก, การทำงานหนัก, งานหนัก, ความกังวล. vi. เหงื่อออก, กังวลใจ, ทำงานหนัก, รับทุกข์ vt. ขับเหงื่อ, หลั่งเหงื่อ, เค้นออก, ทำให้ทำงานหนัก, ใช้งานหนักแต่ให้ค่าจ้างต่ำ, sweat
(สเวท'เทอะ) n. ผู้ที่ทำงานหนัก, เสื้อกีฬาทำด้วยขนสัตว์, เครื่องทำให้เหงื่อออก, ยาขับเหงื่อ, นายจ้างที่ใช้คนงานให้ทำงานหนักมากแต่ให้ค่าจ้างต่ำ
(ทาสค) n. งาน, งานหนัก, เรื่องที่ยาก, ภาระหน้าที่, vt. ทำให้ทำงานหนักมากหรือเกินไป, ใช้สมองหนัก, ทำให้เหน็ดเหนื่อย. -Phr. (take to task ประณามหรือตำหนิ), Syn.job, work, burden
ย่อจากคำเต็มว่า Microsoft Windows เป็นชื่อของโปรแกรมระบบวินโดว์สของบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งทำงานภายใต้ระบบไมโครซอฟต์ดอส (Microsoft DOS) ที่เขียนโดยบริษัทเดียวกัน ถือว่าเป็นโปรแกรมระบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิป 80286 ขึ้นไป สามารถใช้ระบบวินโดว์สได้ ระบบวินโดว์ได้พัฒนาตลอดมา ปัจจุบัน กำลังอยู่ระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะเปลี่ยนจากวินโดว์ส 3.1 เป็นวินโดว์ส 95 วินโดว์ส 97 และวินโดว์ส 2000 ต่อไป ระบบวินโดว์นี้จะรวมเอาโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) ต่าง ๆ ไว้ให้อย่างพร้อมมูล นอกจากนั้น หลายบริษัทยังสร้างโปรแกรมสำเร็จต่าง ๆ ให้ทำงานบนระบบวินโดว์สนี้ เช่น Aldus PageMaker, Freelance ทุกโปรแกรมจะมีวิธีการใช้พื้นฐานคล้ายคลึงกัน ทำให้ง่ายในการเรียนรู้ เพราะเรียนรู้โปรแกรมหนึ่ง ก็ทำให้มีแนวที่จะเรียนโปรแกรมอื่นง่ายขึ้น ระบบวินโดว์สนี้ จะเน้นในเรื่องการใช้ภาพเป็นสื่อ มีการใช้เมาส์ ใช้เมนู มีรายการเลือกต่าง ๆ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสะดวกขึ้นมาก