องค์การแห่งชาติสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการมาตรฐานสารสนเทศ[เทคโนโลยีการศึกษา]
สถาบันแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยการมาตรฐาน (ANSI)[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
สถาบันแห่งชาติสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการมาตรฐาน[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
องค์การแห่งชาติสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการมาตรฐานสารสนเทศ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
หอสมุดแห่งชาติ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การประกันสุขภาพแห่งชาติ[เศรษฐศาสตร์]
สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน, Example:สถาบันที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้สะดวกแก่ผู้ใช้งาน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นตามมาตรฐาน ANSI จะมีลักษณะการทำงานแบบเดียวกัน โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐาน จะสามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ที่ยอมรับภาษานั้น[คอมพิวเตอร์]
เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศไทย[การจัดการความรู้]
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
อุทยานแห่งชาติ, Example:พื้นที่ซึ่งรัฐบาลเห็นว่ามีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจสมควรสงวนไว้เป็นพิเศษ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมธรรมชาติให้คงเดิมถาวรตลอดไป เพื่อประโยชน์ในการท่องเที่ยว พักผ่อน หย่อนใจและเพื่อศึกษาค้นหาความรู้ อุทยานแห่งชาติที่อยู่ในระดับมาตรฐานสากลจะต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 10 ตารางกิโลเมตรหรือ 3, 250 ไ ร่ที่บริหารโดยหน่วยงานของรัฐบาลกลาง และมีเจ้าหน้าที่เพียงพอที่จะคุ้มครองป้องกันพื้นที่อนุรักษ์ให้รอดพ้นจากการบุกรุกทำลาย[สิ่งแวดล้อม]
สภาแห่งชาติแอฟริกัน[TU Subject Heading]
บรรณานุกรมแห่งชาติ[TU Subject Heading]
กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซาปาติสต้า (เม็กซิโก)[TU Subject Heading]
โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ[TU Subject Heading]
รางวัลคุณภาพแห่งชาติมัลคัม บัลดริจ[TU Subject Heading]
อุทยานแห่งชาติทางทะเล[TU Subject Heading]
วันเด็กแห่งชาติ[TU Subject Heading]
ประกันสุขภาพแห่งชาติ[TU Subject Heading]
การวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน[TU Subject Heading]
อุทยานแห่งชาติ[TU Subject Heading]
ระบบเขตคุ้มครองแห่งชาติ[TU Subject Heading]
ความมั่นคงแห่งชาติ[TU Subject Heading]
สังคมนิยมแห่งชาติ[TU Subject Heading]
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ[TU Subject Heading]
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ แปซิฟิก, Example:องค์กรถาวรของสหประชาชาติ มีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม เอสแคปกำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2517 สาขาของงานที่เอสแคปให้ลำดับความสำคัญมาก มี 6 สาขา ได้แก่ อาหารและการเกษตร พลังงาน วัตถุดิบ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดหาเงินทุนเพื่อการพัฒนาชนบท เอสแคปมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ มีสมาชิกในภูมิภาครวม 39 ประเทศ [สิ่งแวดล้อม]
ป่าสงวนแห่งชาติ, Example:พื้นที่ป่าที่ได้รับการสงวนและคุ้มครองไว้ ภายใต้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติปี พ.ศ.2507 โดยตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมนั้น ป่าสงวนแห่งชาติ คือ พื้นที่ที่รัฐบาลต้องการเก็บรักษาไว้ให้มีสภาพเป็นป่าไม้ เพื่อประโยชน์ในหลายรูปแบบ ทั้งในด้านผลผลิตเนื้อไม้และของป่า การเป็นป่าป้องภัยธรรมชาติ รักษาต้นน้ำลำธาร สภาพแวดล้อม และสร้างความสมดุลในระบบนิเวศ อาจแยกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ป่าสงวนที่มุ่งการใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ และป่าอนุรักษ์จริงๆ ที่ยังคงอยู่ในรูปป่าสงวนแห่งชาติ โดยที่ป่าสงวนฯ ในส่วนนี้จะยังมีสภาพที่อุดมสมบูรณ์อยู่มาก จึงได้รับการกันไว้จากการใช้ประโยชน์อื่นๆ เพื่อให้เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ[สิ่งแวดล้อม]
อุทยานแห่งชาติ, Example:พื้นที่ของรัฐที่มีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว เป็นพื้นที่ธรรมชาติดั้งเดิม ไม่เคยถูกรบกวนจากมนุษย์ อยู่ห่างไกลจากชุมชน ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งสงวนและคุ้มครอง สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการค้นคว้าวิจัย นันทนาการ และการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ อุทยานแห่งชาติที่ได้รับการประกาศจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจนถึงเดือน มิถุนายน 2538 มีจำนวนทั้งสิ้น 79 แห่ง เป็นอุทยานแห่งชาติทางบก 61 แห่ง และเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล 18 แห่ง มีเนื้อที่รวมกัน (ทั้งพื้นดินและพื้นน้ำ) 25.14 ล้านไร่ หรือราวร้อยละ 7.84 ของพื้นที่ประเทศ [สิ่งแวดล้อม]
คณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม เป็นกลไกการหารือระหว่างวิสาหกิจแห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประกอบ กิจการด้านปิโตรเลียม มีการประชุมปีละ 2-3 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแสวงหาความร่วมมือระหว่างกัน[การทูต]
ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ[การทูต]
เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและการเดินทางของผู้แทน ทางการทูต โดยปกติ รัฐผู้รับย่อมอนุญาตโดยเสรีแก่ผู้แทนทางการทูต ที่จะเคลื่อนย้ายและเดินทางไปไหนมาไหนได้ทั่วประเทศ แต่ระหว่างสงครามเย็นที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการทูตของกลุ่ม ประเทศคอมมิวนิสต์บางแห่ง ได้แก่ สหภาพโซเวียต บัลแกเรีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี รูเมเนีย และโปแลนด์ นัยว่าสหรัฐฯ ได้กำหนดเขตแขวงในดินแดนของตน 355 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นเขตห้ามเข้าสำหรับผู้แทนทางการทูตของประเทศเหล่านั้นในทำนองเดียวกัน กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ดังกล่าวก็ได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการ ทูตของสหรัฐฯ เช่นกัน สำหรับเสรีภาพการเคลื่อนย้ายนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในข้อ 26 ว่า?ภายในบังคับของกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตหวงห้ามหรือวางระเบียบไว้ โดยเหตุผลของความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันแก่สมาชิกทั้งมวลของคณะเกี่ยวกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน?[การทูต]
เสรีภาพในการเคลื่อนไหวของบุคคลในสถานที่ทำการทาง กงสุล เรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ในข้อ 34 ว่า?ภายในบังคับแห่งกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตซึ่งเป็นที่หวงห้าม หรือที่ได้กำหนดระเบียบไว้ เพราะเหตุผลในทางความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน แก่บุคคลทั้งปวงในสถานที่ทำการทางกงสุล?[การทูต]
เรื่องสืบราชการลับ กล่าวอย่างกว้าง ๆ คือ เรื่องลับไม่ว่าชนิดใด โดยเฉพาะที่จะมีประโยชน์แก่ผู้กำหนดนโยบาย หรือฝ่ายทหารที่มีหน้าที่ว่างนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ ถือว่าเป็น Intelligence ทั้งสิ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกามีองค์กรสืบราชการลับอยู่หลายแห่ง เช่น CIA (สำนักงานสืบราชการลับกลาง) The NSA (National Security Agency หรือองค์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ) G-2 (ฝ่ายสืบราชการลับของกองทัพบก) FBI (Federal Bureau of Investigation หรือหน่วยสืบสวนของรัฐบาลกลาง) Bureau of Intelligence and Research of the State Department หรือหน่วยสืบราชการลับและวิจัยของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รวมทั้งฝ่ายสืบราชการลับของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ ส่วนในโซเวียตรัสเซีย (ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่ารัสเซีย) แต่เดิมมีองค์การสืบราชการลับอยู่จำนวนหนึ่ง ที่สำคัญๆ ได้แก่ ฝ่ายสืบราชการลับทางทหารของกระทรวงกลาโหม หรือที่เรียกว่า YRU (Ylavnoe Razdevyvatelnoe Uptavlenie) และ KGB (Kommissariat Gosudatstvennoie Bezopastnotsi หรือ Commisariat of State Security) ในประเทศอังกฤษ มีฝ่ายสืบราชการลับเรียกว่า M15 (British Counter Intelligence) M16 เป็นหน่วยสาขาซึ่งทำงานด้านจารกรรมในต่างประเทศ และ M18 เป็นฝ่ายสืบราชการฝ่ายทหาร (Cryptographic Bureau of Military Intelligence)[การทูต]
คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[การทูต]
แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (ในฟิลิปปินส์)[การทูต]
การปรองดองแห่งชาติ หมายถึง กระบวนการสร้างสันติภาพ และเอกภาพภายในชาติ โดยให้กลุ่มต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันได้มีส่วนร่วมในการกระบวนการดังกล่าว[การทูต]
แผนปฏิบัติการแห่งชาติด้านปัญหาหมอกควัน " ในกรอบความ ร่วมมืออาเซียน "[การทูต]
หมายถึง สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้มีผลบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1963 ประเทศที่ลงนามเริ่มแรกในสนธิสัญญาได้แก่ อังกฤษ สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา รวมสามประเทศจุดมุ่งหมายสำคัญของสนธิสัญญาคือ รัฐบาลของประเทศทั้งสาม ต้องการให้มีการทำความตกลงกันเป็นผลสำเร็จเกี่ยวกับการลดอาวุธ หรือปลดกำลังอาวุธทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ตามความมุ่งประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติหรือเลิกการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และกำจัดมิให้มีเหตุจูงใจที่จะผลิตและทดสอบอาวุธไม่ว่าชนิดใดทั้งหมด รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ ยังเสาะแสวงหาที่จะให้หยุดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ไปตลอดชั่วกาลนานสนธิ สัญญานี้มีข้อความอยู่ 5 มาตรา และไม่จำกัดอายุเวลา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ ทั้งหลายเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีได้ ในทางตรงกันข้าม ประเทศภาคีก็มีสิทธิใช้อธิปไตยแห่งชาติได้เพื่อถอนตัวจากสนธิสัญญา ถ้าหากประเทศนั้น ๆ เห็นว่า ประโยชน์อันสูงสุดของประเทศตนต้องตกอยู่ในอันตราย และแจ้งล่วงหน้าสามเดือนให้ประเทศภาคีอื่น ๆ ทั้งหมดทราบการตกลงใจนั้น[การทูต]
สังคมเปิดและเอื้ออาทร เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 ที่ได้เล็งเห็นว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวมในปีดังกล่าวจะมีสังคมเปิดที่ประชาชน ยึดมั่นในเอกสักษณ์แห่งชาติของตนและเข้าถึงโอกาสของการพัฒนาความเป็นมนุษย์ อย่างสมบูรณ์ได้อย่างเท่าเทียมกัน และจะเป็นสังคมเอื้ออาทรที่ความหิวโหยทุกข์โภชนาการ การสูญเสียและความยากจนจะไม่ใช่ปัญหาพื้นฐาน และเป็นสังคมที่มีสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง[การทูต]
คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่อนบ้าน มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2546 ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (อพบ.) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้มีคำสั่งที่ 4 / 2547 เมื่อ 6 พฤษภาคม 2547 จัดตั้ง อพบ. แล้ว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชนเป็นอนุกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับกรมเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเป็นอนุกรรมการและฝ่ายเลขานุการ อพบ. มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเสนอแนะนโยบาย แผนงานและโครงการตามแผนงานการจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและการพัฒนาความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงาน ACMECS ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ ACMECS มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วย งานหลักในการประสานกับหน่วยงานภายในของไทยให้ดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติ การ และกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับประเทศ สมาชิก ACMECS[การทูต]
งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก[การทูต]
เชื้อเพลิง, หมายความรวมถึง ถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงสังเคราะห์ ฟืน ไม้ แกลบ กากอ้อย ขยะและสิ่งอื่น ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา[พลังงาน]
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ , คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ[พลังงาน]
บรรณานุกรมแห่งชาติ, Example:หมายถึง บรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์ขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมทั้งบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าสิ่งพิมพ์นั้นจะตีพิมพ์ในประเทศใด แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตหรือสื่อสำหรับบันทึกความรู้ก้าวหน้าไปมาก ขอบเขตของการรวบรวมสิ่งพิมพ์ในบรรณานุกรมแห่งชาติขยายขอบเขตของสื่อบันทึกความรู้ออกตามไปด้วย <p>การจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ เป็นหน้าที่หนึ่งของหอสมุดแห่งชาติแต่ละประเทศ การจัดหาสิ่งพิมพ์หรือวัสดุเพื่อนำมาจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ ทำได้โดย <p>1. การขอความร่วมมือจากสำนักพิมพ์ในการส่งสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นๆ มาให้ แต่เนื่องจากสิ่งพิมพ์อาจจะมีการผลิตโดยมิได้ผ่านสำนักพิมพ์ อาจจะเป็นกระบวนการที่ทำให้หอสมุดแห่งชาติไม่สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ในส่วนนี้ได้ หอสมุดแห่งชาติต้องมีการติดตามสิ่งพิมพ์หรือวัสดุอื่นๆ อย่างใกล้ชิด <p>2. จัดหาตัวแทนให้ทำหน้าที่รวบรวมหนังสือและวัสดุที่ออกใหม่โดยสำนักพิมพ์ทั้งหมดในประเทศและที่ออกโดยส่วนราชการและโดยเอกชน <p>3. ออกกฎหมายกำหนดให้สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์หรือผู้ผลิตส่งสิ่งพิมพ์หรือวัสดุอื่นๆ มาให้หอสมุดแห่งชาติเพื่อจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ <p>หอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน เป็นตัวอย่างของหอสมุดแห่งชาติในการรวบรวมสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์ (United States Copyright Office) ที่จะต้องส่งสิ่งพิมพ์อย่างน้อยจำนวน 2 ฉบับให้กับหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน ส่งผลให้กลายเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยการจัดเก็บหนังสือที่ผลิตใน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ถึงจำนวน 126 ล้านรายการ [ 1 ] และด้วยระบบการจัดทำ Cataloging ของหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน ที่มีความสมบูรณ์ในกระบวนการจัดทำรายการบรรณานุกรมของหนังสือ กล่าวคือ สำนักพิมพ์จะต้องส่งแบบฟอร์มการลงรายการบรรณานุกรม (CIP Data Application form) พร้อมเอกสารฉบับเต็มมายังหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน ซี่งเจ้าหน้าที่ของงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศกำหนดการลงรายการบรรณานุกรม พร้อมส่งกลับไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อจัดพิมพ์ข้อมูลบรรณานุกรมดังกล่าวลงในหน้าหลังหน้าปกใน (Verso) ซึ่งรูปแบบรายการบรรณานุกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ ก็จะถูกส่งออกไปยังห้องสมุด และร้านค้าหนังสือทั่วโลก แต่กระบวนการกำหนดข้อมูลบรรณานุกรมยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์จนกว่าสำนักพิมพ์ จะส่งหนังสือกลับมายังงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศอีกครั้งเพื่อเติมข้อมูล ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น จำนวนหน้า ขนาดและตรวจสอบความถูกต้องจากการพิมพ์ของสำนักพิมพ์อีกครั้ง หลังจากการตรวจสอบ รูปแบบรายการบรรณานุกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้จะถูกเผยแพร่อีกครั้ง จากกระบวนการดังกล่าวนี้เอง ทำให้หอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน สามารถจัดเก็บหนังสือทุกเล่มที่ผลิตในประเทศ และเป็นการควบคุมบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ อย่างครบถ้วน <p>หอสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ประสบผลสำเร็จในการจัดทำฐานข้อมูลบรรณานุกรมแห่งชาติ ด้วยกรอบของวิธีการ 2 แนวทาง [ 2 ] กล่าวคือ กฎหมายการพิมพ์ที่ให้ความสำคัญกับหอสมุดแห่งชาติในการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ของ ประเทศ และการแบ่งปันรายการบรรณานุกรมระหว่างห้องสมุดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของหอสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย ก็คือ การกำหนดข้อมูลบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ซึ่งมีกระบวนการที่ไม่ต่างจากหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกันเท่าใดนัก นับตั้งแต่สำนักพิมพ์ส่งงานที่จะพิมพ์พร้อมเลข ISBN ที่ได้รับมาจากตัวแทนออกเลข ISBN จนถึงส่งมาให้หอสมุดแห่งชาติออสเตรเลียจัดทำข้อมูลบรรณานุกรมแห่งชาติ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการจัดทำ CIP คือ การส่งสิ่งพิมพ์ดังกล่าวเข้าหอสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย <p>ส่วนหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (The British Library) [ 3, 4 ]ทำหน้าที่ในการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่ผลิตในสหราชอาณาจักรและสาธารณ รัฐไอแลนด์ และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ โดยสำนักพิมพ์ในสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐไอแลนด์จะต้องส่งสิ่งพิมพ์แก่ The Legal Deposit Office ของ หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (Copyright acts) โดยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2493 สำหรับสื่อตีพิมพ์ และ ปี พ.ศ. 2546 สำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ “The Legal Deposit Libraries Shared Cataloging Programme : LDLSCP” ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันในการจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ และการแบ่งปันข้อมูลระหว่างห้องสมุด เฉพาะเดือน เม.ย. พ.ศ. 2546 ถึง เดือน มี.ค. พ.ศ. 2547 ทำให้มีจำนวนข้อมูลบรรณานุกรม 87, 764 รายการ โดยเฉลี่ยแต่ละปีมีจำนวนรายการข้อมูลเพิ่มขึ้น 50, 000 รายการ <p>ขณะที่ สำนักพิมพ์ และร้านหนังสือที่จัดพิมพ์หนังสือใหม่ [ 5 ]ซึ่งต้องการข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ (Cataloguing-in-Publication - CIP) รวมถึงห้องสมุดที่ต้องการข้อมูลหนังสือใหม่เพื่อแจ้งไปยังผู้ใช้บริการในรูป แบบของ Alert servicees จะต้องติดต่อขอรับบริการข้อมูล CIP ที่ Bibliographic Data Services Limited - BDSL ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำ CIP ซึ่งมีมาตรฐานตามที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษกำหนด ด้วยการติดต่อตรงไปยัง BDSL หรือติดต่อผ่านไปที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ทั้งนี้ข้อมูล CIP ที่ได้อาจใช้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นในการลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรม จนกว่าหอสมุดแห่งชาติอังกฤษจะได้รับตัวเล่มจากสำนักพิมพ์ จึงจะมีการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศอีกครั้งเพื่อเพิ่มเติมข้อมูลให้ครบ ถ้วน เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงที่ถาวรต่อไป <p>หอสมุดแห่งชาติของไทย เริ่มจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 โดยร่วมกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และสามารถรวบรวมบรรณานุกรมแห่งชาติเป็นรูปเล่มเพียงเล่มเดียวสำหรับ พ.ศ. 2502 งานจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติประสบอุปสรรค เนื่องจากจุดอ่อนของพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2474 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2485 มีการกำหนดให้ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาส่งสิ่งพิมพ์ให้แก่หอสมุดแห่งชาติจำนวน 2 ฉบับ ภายใน 7 วันนับแต่มีการพิมพ์ ผู้ฝ่าฝืนถูกปรับไม่เกิน 12 บาท แต่ไม่มีผลบังคับใช้กับหน่วยงานราชการที่ผลิตสิ่งพิมพ์ หอสมุดแห่งชาติได้รับสิ่งพิมพ์ของหน่วยราชการไว้ไม่ถึงครึ่ง และผู้พิมพ์จำหน่ายพอใจที่จะถูกปรับมากกว่าจะส่งให้แก่หอสมุดแห่งชาติ <p>หอสมุดแห่งชาติได้เริ่มกลับมาดำเนินงานจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติอย่างจริงจัง อีกครั้ง ด้วยความช่วยเหลือขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ ส่งผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำ [ 6 ] ได้แก่ เสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยงานสำหรับกำหนดเลขประจำหนังสือตามมาตรฐานสากล (International Standard Book Number - ISBN) ด้วยความร่วมมือกับสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือ ส่งเสริมให้มีการบันทึกข้อมูลแบบ MARC เป็นต้น <p>รายการบรรณานุกรมแห่งชาติของไทย http://www.nlt.go.th/th_tnb.htm <p>รายการอ้างอิง: <p>[ 1 ] United States Copyright Office. [ ออนไลน์ ] http://en.wikipedia.org/wiki/United_States_Copyright_Office. Accessed: 20100628 : 00.07. <p>[ 2 ] Haddad, Peter. 1999. National bibliography in Australia: moving into the next millennium. [ ออนไลน์ ] http://archive.ifla.org/IV/ifla65/papers/016-123e.htm. Accessed: 20100629 : 09.50. <p>[ 3 ] Bibliographic Data Services Limited. [ ออนไลน์ ]. http://www.bibliographicdata.co.uk. Accessed: 20100629 : 17.30. <p>[ 4 ]Nielsen UK ISBN Agency. [ ออนไลน์ ] http://www.isbn.nielsenbook.co.uk/controller.php?page=121. Accessed: 20100629 : 14.25. <p>[ 5 ]The British National Bibliography. [ ออนไลน์ ] http://www.bl.uk/bibliographic/natbib.html. Accessed: 20100629 : 13:00. <p>[ 6 ] สุนทรี หังสสูต. การควบคุมทางบรรณานุกรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2523. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
องค์การอวกาศแห่งชาติของประเทศอเมริกา[Climate Change]
บรรณานุกรมแห่งชาติ[การแพทย์]
พ.ร.บ.อาหารยาและเครื่องสำอางแห่งชาติ[การแพทย์]