บทความ
Premium
Word Game
CTA
เกี่ยวกับ
Classic version
ภาษาไทย
Log in
Log in
แปลศัพท์
PopThai
แปลศัพท์
US
/แน้ เฉอะ เหนิ่ล บิ บลี่ ย้า เกรอะ ฝี่/
/N AE1 SH AH0 N AH0 L B IH2 B L IY0 AA1 G R AH0 F IY0/
/nˈæʃənəl bˌɪbliːˈɑːgrəfiː/
ฝึกออกเสียง
5
ผลลัพธ์ สำหรับ
National bibliography
ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น:
-national bibliography-
,
*national bibliography*
ภาษา
อังกฤษ-ไทย:
คลังศัพท์ไทย
โดย
สวทช.
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
National bibliography
บรรณานุกรมแห่งชาติ
,
Example:
หมายถึง บรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์ขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมทั้งบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าสิ่งพิมพ์นั้นจะตีพิมพ์ในประเทศใด แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตหรือสื่อสำหรับบันทึกความรู้ก้าวหน้าไปมาก ขอบเขตของการรวบรวมสิ่งพิมพ์ในบรรณานุกรมแห่งชาติขยายขอบเขตของสื่อบันทึกความรู้ออกตามไปด้วย <p>การจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ เป็นหน้าที่หนึ่งของหอสมุดแห่งชาติแต่ละประเทศ การจัดหาสิ่งพิมพ์หรือวัสดุเพื่อนำมาจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ ทำได้โดย <p>1. การขอความร่วมมือจากสำนักพิมพ์ในการส่งสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นๆ มาให้ แต่เนื่องจากสิ่งพิมพ์อาจจะมีการผลิตโดยมิได้ผ่านสำนักพิมพ์ อาจจะเป็นกระบวนการที่ทำให้หอสมุดแห่งชาติไม่สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ในส่วนนี้ได้ หอสมุดแห่งชาติต้องมีการติดตามสิ่งพิมพ์หรือวัสดุอื่นๆ อย่างใกล้ชิด <p>2. จัดหาตัวแทนให้ทำหน้าที่รวบรวมหนังสือและวัสดุที่ออกใหม่โดยสำนักพิมพ์ทั้งหมดในประเทศและที่ออกโดยส่วนราชการและโดยเอกชน <p>3. ออกกฎหมายกำหนดให้สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์หรือผู้ผลิตส่งสิ่งพิมพ์หรือวัสดุอื่นๆ มาให้หอสมุดแห่งชาติเพื่อจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ <p>หอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน เป็นตัวอย่างของหอสมุดแห่งชาติในการรวบรวมสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์ (United States Copyright Office) ที่จะต้องส่งสิ่งพิมพ์อย่างน้อยจำนวน 2 ฉบับให้กับหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน ส่งผลให้กลายเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยการจัดเก็บหนังสือที่ผลิตใน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ถึงจำนวน 126 ล้านรายการ [ 1 ] และด้วยระบบการจัดทำ Cataloging ของหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน ที่มีความสมบูรณ์ในกระบวนการจัดทำรายการบรรณานุกรมของหนังสือ กล่าวคือ สำนักพิมพ์จะต้องส่งแบบฟอร์มการลงรายการบรรณานุกรม (CIP Data Application form) พร้อมเอกสารฉบับเต็มมายังหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน ซี่งเจ้าหน้าที่ของงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศกำหนดการลงรายการบรรณานุกรม พร้อมส่งกลับไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อจัดพิมพ์ข้อมูลบรรณานุกรมดังกล่าวลงในหน้าหลังหน้าปกใน (Verso) ซึ่งรูปแบบรายการบรรณานุกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ ก็จะถูกส่งออกไปยังห้องสมุด และร้านค้าหนังสือทั่วโลก แต่กระบวนการกำหนดข้อมูลบรรณานุกรมยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์จนกว่าสำนักพิมพ์ จะส่งหนังสือกลับมายังงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศอีกครั้งเพื่อเติมข้อมูล ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น จำนวนหน้า ขนาดและตรวจสอบความถูกต้องจากการพิมพ์ของสำนักพิมพ์อีกครั้ง หลังจากการตรวจสอบ รูปแบบรายการบรรณานุกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้จะถูกเผยแพร่อีกครั้ง จากกระบวนการดังกล่าวนี้เอง ทำให้หอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน สามารถจัดเก็บหนังสือทุกเล่มที่ผลิตในประเทศ และเป็นการควบคุมบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ อย่างครบถ้วน <p>หอสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ประสบผลสำเร็จในการจัดทำฐานข้อมูลบรรณานุกรมแห่งชาติ ด้วยกรอบของวิธีการ 2 แนวทาง [ 2 ] กล่าวคือ กฎหมายการพิมพ์ที่ให้ความสำคัญกับหอสมุดแห่งชาติในการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ของ ประเทศ และการแบ่งปันรายการบรรณานุกรมระหว่างห้องสมุดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของหอสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย ก็คือ การกำหนดข้อมูลบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ซึ่งมีกระบวนการที่ไม่ต่างจากหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกันเท่าใดนัก นับตั้งแต่สำนักพิมพ์ส่งงานที่จะพิมพ์พร้อมเลข ISBN ที่ได้รับมาจากตัวแทนออกเลข ISBN จนถึงส่งมาให้หอสมุดแห่งชาติออสเตรเลียจัดทำข้อมูลบรรณานุกรมแห่งชาติ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการจัดทำ CIP คือ การส่งสิ่งพิมพ์ดังกล่าวเข้าหอสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย <p>ส่วนหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (The British Library) [ 3, 4 ]ทำหน้าที่ในการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่ผลิตในสหราชอาณาจักรและสาธารณ รัฐไอแลนด์ และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ โดยสำนักพิมพ์ในสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐไอแลนด์จะต้องส่งสิ่งพิมพ์แก่ The Legal Deposit Office ของ หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (Copyright acts) โดยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2493 สำหรับสื่อตีพิมพ์ และ ปี พ.ศ. 2546 สำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ “The Legal Deposit Libraries Shared Cataloging Programme : LDLSCP” ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันในการจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ และการแบ่งปันข้อมูลระหว่างห้องสมุด เฉพาะเดือน เม.ย. พ.ศ. 2546 ถึง เดือน มี.ค. พ.ศ. 2547 ทำให้มีจำนวนข้อมูลบรรณานุกรม 87, 764 รายการ โดยเฉลี่ยแต่ละปีมีจำนวนรายการข้อมูลเพิ่มขึ้น 50, 000 รายการ <p>ขณะที่ สำนักพิมพ์ และร้านหนังสือที่จัดพิมพ์หนังสือใหม่ [ 5 ]ซึ่งต้องการข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ (Cataloguing-in-Publication - CIP) รวมถึงห้องสมุดที่ต้องการข้อมูลหนังสือใหม่เพื่อแจ้งไปยังผู้ใช้บริการในรูป แบบของ Alert servicees จะต้องติดต่อขอรับบริการข้อมูล CIP ที่ Bibliographic Data Services Limited - BDSL ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำ CIP ซึ่งมีมาตรฐานตามที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษกำหนด ด้วยการติดต่อตรงไปยัง BDSL หรือติดต่อผ่านไปที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ทั้งนี้ข้อมูล CIP ที่ได้อาจใช้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นในการลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรม จนกว่าหอสมุดแห่งชาติอังกฤษจะได้รับตัวเล่มจากสำนักพิมพ์ จึงจะมีการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศอีกครั้งเพื่อเพิ่มเติมข้อมูลให้ครบ ถ้วน เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงที่ถาวรต่อไป <p>หอสมุดแห่งชาติของไทย เริ่มจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 โดยร่วมกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และสามารถรวบรวมบรรณานุกรมแห่งชาติเป็นรูปเล่มเพียงเล่มเดียวสำหรับ พ.ศ. 2502 งานจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติประสบอุปสรรค เนื่องจากจุดอ่อนของพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2474 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2485 มีการกำหนดให้ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาส่งสิ่งพิมพ์ให้แก่หอสมุดแห่งชาติจำนวน 2 ฉบับ ภายใน 7 วันนับแต่มีการพิมพ์ ผู้ฝ่าฝืนถูกปรับไม่เกิน 12 บาท แต่ไม่มีผลบังคับใช้กับหน่วยงานราชการที่ผลิตสิ่งพิมพ์ หอสมุดแห่งชาติได้รับสิ่งพิมพ์ของหน่วยราชการไว้ไม่ถึงครึ่ง และผู้พิมพ์จำหน่ายพอใจที่จะถูกปรับมากกว่าจะส่งให้แก่หอสมุดแห่งชาติ <p>หอสมุดแห่งชาติได้เริ่มกลับมาดำเนินงานจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติอย่างจริงจัง อีกครั้ง ด้วยความช่วยเหลือขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ ส่งผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำ [ 6 ] ได้แก่ เสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยงานสำหรับกำหนดเลขประจำหนังสือตามมาตรฐานสากล (International Standard Book Number - ISBN) ด้วยความร่วมมือกับสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือ ส่งเสริมให้มีการบันทึกข้อมูลแบบ MARC เป็นต้น <p>รายการบรรณานุกรมแห่งชาติของไทย http://www.nlt.go.th/th_tnb.htm <p>รายการอ้างอิง: <p>[ 1 ] United States Copyright Office. [ ออนไลน์ ] http://en.wikipedia.org/wiki/United_States_Copyright_Office. Accessed: 20100628 : 00.07. <p>[ 2 ] Haddad, Peter. 1999.
National bibliography
in Australia: moving into the next millennium. [ ออนไลน์ ] http://archive.ifla.org/IV/ifla65/papers/016-123e.htm. Accessed: 20100629 : 09.50. <p>[ 3 ] Bibliographic Data Services Limited. [ ออนไลน์ ]. http://www.bibliographicdata.co.uk. Accessed: 20100629 : 17.30. <p>[ 4 ]Nielsen UK ISBN Agency. [ ออนไลน์ ] http://www.isbn.nielsenbook.co.uk/controller.php?page=121. Accessed: 20100629 : 14.25. <p>[ 5 ]The British National Bibliography. [ ออนไลน์ ] http://www.bl.uk/bibliographic/natbib.html. Accessed: 20100629 : 13:00. <p>[ 6 ] สุนทรี หังสสูต. การควบคุมทางบรรณานุกรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2523.
[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Japanese-English:
EDICT
Dictionary
EDICT JP-EN Dictionary
国際書誌
[こくさいしょし, kokusaishoshi]
(n) inter
national bibliography
[Add to Longdo]
全国書誌
[ぜんこくしょし, zenkokushoshi]
(n)
national bibliography
[Add to Longdo]
Japanese-English:
COMPDICT
Dictionary
COMPDICT JP-EN Dictionary
国際書誌
[こくさいしょし, kokusaishoshi]
inter
national bibliography
[Add to Longdo]
全国書誌
[ぜんこくしょし, zenkokushoshi]
national bibliography
[Add to Longdo]
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ