ว. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น ถามเรื่องหนึ่ง แต่พูดยักเยื้องไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง, ดัดแปลง เช่น ทำยักเยื้อง, เยื้องยัก ก็ว่า.
ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, เยื้องย่าง ก็ว่า.
ก. เอี้ยว, ย้ายไป, เดินอย่างไว้ท่าทาง, เช่น เดินเยื้องตัวแล้วซัดแขนอย่างละครรำ.
ว. เฉียงจากจุดตรงข้ามเล็กน้อย เช่น ประตูวิมานเทเวศร์อยู่เยื้องกับประตูเข้ามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ.
ก. เดินอย่างมีท่างาม เช่น นางแบบเยื้องกรายมาทีละคน ๆ
เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายในการตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้).
น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งตั้งวงสูง แขนตึง ระดับไหล่ มืออีกข้างหนึ่งหงายจีบระดับชายพก เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่ตั้งวง.
ก. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, ดัดแปลง, ยักเยื้อง ก็ว่า.
ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, ย่างเยื้อง ก็ว่า.
น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง เป็นไม้ท่อนยาว ปลายด้านหัวมีสากสำหรับตำข้าว ปลายด้านหางทำเป็นที่เหยียบ เจาะรูที่ด้านข้างเยื้องไปทางปลายด้านหาง และมีไม้เป็นแกนสอดตรึงติดกับเสาหรือหลักให้หมุนได้ เมื่อเหยียบที่ข้างหางและกดลง หัวจะกระดกขึ้น เมื่อปล่อยเท้าหัวก็จะกระแทกลง
แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
น. ชื่องูพิษขนาดเล็กชนิด Calloselasma rhodostoma (Boie) ในวงศ์ Viperidae ตัวยาว ๕๐-๘๐ เซนติเมตร สีน้ำตาลอมแดงลายสีนํ้าตาลเข้ม บนหลังมีลายรูปสามเหลี่ยมสีนํ้าตาลแก่เรียงสลับเยื้องกันเป็นคู่ ๆ จมูกงอน ริมฝีปากเหลือง และมีแนวสีเหลืองพาดบนลูกตาถึงมุมปาก, ตัวที่มีสีคลํ้าเรียก งูปะบุก.
ก. ยก, ย่าง, เยื้อง, เช่น กะยุบาทไคลคลา (เสือโค), กะยุบาทเบื้องปลายตีน (พิชัยสงคราม).
การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อบูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี (กามนิต).
น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิด Batrachoides grunniers (Bloch) และ Batrachomoeus trispinosus (Günther) ในวงศ์ Batrachoididae ปากกว้าง หัวทู่แบนลง ลำตัวกลมยาว มีสีนํ้าตาลเป็นด่างดวงทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ครีบท้องอยู่เยื้องไปข้างหน้าครีบอก หางกลม เฉพาะชนิดแรกมีรูที่มุมบนด้านในของครีบอก อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล, กบ บู่ทะเล ผีหลอก หรือ อุบ ก็เรียก.
(จอระ-) ก. เดินเยื้องกราย.
น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, จังหล่อ จั้นหล่อ จำหลอ หรือ ผนบบ้านหล่อ ก็เรียก.
ก. ยกชูตัวหนังตะลุงขึ้นทาบหลังจอ ให้เงาเคลื่อนไหวไปตามบทพากย์, ยกชูตัวหนังใหญ่ขึ้นทาบหน้าจอ แล้วผู้เชิดเยื้องกรายประกอบไปตามบทพากย์.
น. ตำหนัก, เรือนของเจ้านาย, เช่น ผิธยลเยื้องไพรพระดำหนัก เจ้าจอมจักรจงบอกรา (ม. คำหลวง ชูชก).
(ถะหฺงาด) ก. ทำท่าเผ่น, เยื้องท่า, ชะโงก, เงื้อม, ผ่านไป.
ก. เยื้องกราย, กรีดกราย, เช่น งามหัตถ์งามกรช่างอ่อนระทวย ช่างนาดช่างนวยสวยยั่วนัยนา (ฉุยฉายพราหมณ์)
(-คาวะ-) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์ไปทางซ้าย (เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย).
(บะหฺรัด) ก. แต่ง. น. เครื่องแต่ง, เครื่องประดับ เช่น ทรงบรัดผัดหน้า แต่งแง่ทรงสะอิ้งผ้า ย่างเยื้องมาหา แม่รา (ลอ.), โบราณเขียนเป็น บรัส ก็มี เช่น เครื่องพิษยศรีกษัตริย์ อนนควรบรัสแห่งพระองค์ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
ว. อาการที่เคี้ยวสิ่งของทำปากเยื้องไปมา เช่น หยิบพานมาว่าจะกินหมาก มันผิดปากส่งไพล่ไปรูหู เคี้ยวเล่นไบ่ไบ่ได้แต่พลู เพื่อนบ่าวเขารู้หัวเราะฮา (ขุนช้างขุนแผน).
(-แพฺลง) ว. ยักเยื้องถ่ายเทเป็นอย่างอื่น ๆ, ที่เปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากแบบปรกติธรรมดา, เช่น พูดพลิกแพลง ทำพลิกแพลง เล่นพลิกแพลง เตะตะกร้อท่าพลิกแพลง.
(พิลาด) ก. กรีดกราย, เยื้องกราย
น. เรียกสิ่งที่มีรูปอย่างฟันปลา, เรียกลักษณะที่สับหว่างสลับเยื้องกันอย่างฟันปลา ว่า สลับฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา ยืนสลับฟันปลา
น. มุมที่เกิดจากเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นขนานคู่หนึ่ง อยู่เยื้องกันคนละข้างของเส้นตัดภายในเส้นขนานคู่นั้น รวมกันแล้วได้ ๑๘๐ องศา หรือ ๒ มุมฉาก.
อาการที่ของบางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง
ว. เช่น, ใช้ว่า เยื่อง ก็มี.
น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา
ว. สับหว่างสลับเยื้องกันอย่างฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา ยืนสลับฟันปลา.
ว. เยื้องระหว่างแถว จะเป็น ๒ แถวหรือหลายแถวก็ได้ เช่น นั่งสับหว่าง ยืนสับหว่าง.
(-แผฺลง) น. เส้นที่เยื้องไปเยื้องมามีลักษณะเหมือนฟันปลา ใช้เขียนแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ในงานจิตรกรรมฝาผนัง.