การประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุกๆ 18 - 24 เดือน โดยหัวหน้าคณะ ผู้แทนของออสเตรเลียและประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่ อาวุโส (ปลัดกระทรวงฯ) และเป็นประธานร่วมของการประชุม เพื่อหารือและกำกับดูแลความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน[การทูต]
ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market)[การทูต]
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ[การทูต]
คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโตเกียว ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตอาเซียน 10 ประเทศซึ่งประจำที่กรุง โตเกียว มีการหารือเป็นประจำทุก 1-2 เดือน หรือตามความจำเป็น[การทูต]
การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีพาณิชย์หรือรัฐมนตรีด้านการ ค้าต่างประ- เทศ ปกติจัดขึ้นปีละครั้งประมาณเดือนกันยายน/ตุลาคมของทุกปี เพื่อหารือ ทบทวนและพิจารณากำหนดแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน[การทูต]
การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิก อาเซียน 10 ประเทศ กับรัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรป 15 ประเทศ จัดขึ้นทุก 18-24 เดือน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน[การทูต]
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน จัดขึ้นปีละครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาได้มีการจัดการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับญี่ปุ่น (AFMM + Japan) เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและความช่วยเหลือที่ ญี่ปุ่นให้แก่อาเซียน อาทิ แผนมิยาซาวา ควบคู่กันไปด้วย[การทูต]
การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับผู้แทนจากจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ในช่วงการประชุม ประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่กรุงมะนิลา และได้ ตกลงในหลักการที่จะจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาค และร่วมมือหามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์การเงินในภูมิภาค ผลงานที่สำคัญคือ ข้อตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative)[การทูต]
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีคลัง เพื่อหารือและติดตามการดำเนินงาน ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ปกติจะจัดขึ้นประมาณปีละครั้ง ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน[การทูต]
การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน " จัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อหารือและกำหนดแนวทางความร่วมมือด้านการ ขนส่งในอาเซียน อาทิ เส้นทาง ประเภท/ขนาดรถยนต์ การประกันภัยรถยนต์ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ การตรวจทางศุลกากร การขนส่งสินค้าผ่านแดน การขนส่งสินค้าข้ามแดน และการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน"[การทูต]
คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-อินเดีย เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุก ๆ 18-24 เดือน โดยอินเดียและประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนสลับกันเป็นเจ้าภาพ เพื่อหารือและกำกับดูแลความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับอินเดีย[การทูต]
การประชุมอาเซียน-ญี่ปุ่น " เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงฯ เดิมจัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ 18-24 เดือน ต่อมาได้ตกลงกันที่จะจัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อหารือเกี่ยวกับ ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายในทุกด้าน "[การทูต]
คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น เป็นกรอบการหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนกับกระทรวงการค้าต่าง ประเทศและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น จัดประชุมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2541[การทูต]
การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อหารือ กำหนดนโยบาย และติดตามผลความคืบหน้าของความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม[การทูต]
การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี " จัดขึ้นเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อหารือ กำหนดนโยบาย และติดตามผลความคืบหน้าของการดำเนินงานความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยในช่วงกลางระหว่างสามปีดังกล่าวจะมีการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่เป็นทางการด้วย "[การทูต]
กรอบการหารือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วย ผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่น และผู้โยกย้ายถิ่น[การทูต]
คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเฉพาะด้านอาเซียน-ปากีสถาน เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุก ๆ 18-24 เดือน โดยปากีสถานและประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนสลับกันเป็นเจ้าภาพ เพื่อหารือและกำกับดูแลความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับปากีสถาน[การทูต]
การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) "[การทูต]
คณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม เป็นกลไกการหารือระหว่างวิสาหกิจแห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประกอบ กิจการด้านปิโตรเลียม มีการประชุมปีละ 2-3 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแสวงหาความร่วมมือระหว่างกัน[การทูต]
เวทีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายทหารในกรอบ การประชุม อาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก[การทูต]
สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างหอการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน มีการประชุมประจำปี ๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงประมาณเดือนเมษายนและตุลาคมของทุกปี โดยหารือเรื่องความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนในอาเซียนและความร่วมมือ กับภาคเอกชนนอกภูมิภาค[การทูต]
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-สหภาพยุโรป เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนกับ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป จัดขึ้นทุก 12-18 เดือน เพื่อหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ[การทูต]
การประชุมอาเซียน-สหรัฐอเมริกา " เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (ปลัดกระทรวงต่างประเทศ) จัดขึ้นทุก 18 เดือน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ "[การทูต]
ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ "[การทูต]
การหารือด้านการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศ ซึ่งริเริ่มโดยรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2544[การทูต]
คณะกรรมการประสานงานการดำเนินงานตามพันธกรณีภายใต้ CEPT ของ AFTA เป็นกรอบการหารือในระดับผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการคลัง เพื่อ ติดตามและประสานงานการดำเนินการตามพันธกรณีการลดอัตราภาษีศุลกากรที่เท่ากัน ของเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งปกติจัดขึ้นประมาณปีละ 3-4 ครั้ง[การทูต]
เวทีหารือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา " ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศจาก ภูมิภาคลาตินอเมริกา 12 ประเทศ เม็กซิโก ปานามา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา เปรู บราซิล ชิลี อาร์เจนตินา อุรุกวัย ปารากวัย และโบลิเวีย "[การทูต]
เวทีเพื่อการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบในอินโดจีน เป็นความริเริ่มโดยกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นที่จะให้มีเวทีปรึกษาหารือ เพื่อช่วยพัฒนาประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม กลไกประกอบด้วยคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะที่ปรึกษาภาคเอกชนโดยเน้นบทบาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาภาค เอกชนตลอดจนการสร้างความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมือ (GMS)[การทูต]
เวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเม ริกา สมาชิก 32 ประเทศ จากภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา โดยมีสมาชิก จากฝ่ายเอเชีย 15 ประเทศ คือ กลุ่ม ASEAN (10 ประเทศ) จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และจากฝ่ายลาตินอเมริกา 17 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา นิการากัว คิวบา ปานามา เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา บราซิล โบลิเวีย เอกวาดอร์ ปารากวัย อุรุกวัย อาร์เจนตินา และชิลี วัตถุประสงค์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่าง -ประเทศทุก 2 ปี ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ปีละ 2 ครั้ง และคณะทำงาน 3 คณะ ปีละ 2 ครั้ง (คณะทำงานด้านการเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา / ด้านเศรษฐกิจและสังคม / และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเวทีปรึกษาหารือและร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศเอเชียและ ลาตินอเมริกา โดยมีเป้าหมายไปที่การดำเนินโครงการความร่วมมือในทุกสาขาที่ประเทศสมาชิกมี ความสนใจร่วมกัน[การทูต]
ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน "[การทูต]
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาที่ลงนามในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2503 และมีผลบังคับใช้ วันที่ 30 กันยายน 2504 มีสมาชิก 29 ประเทศ (ส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว) เป็นเวทีหารือระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส[การทูต]
การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ[การทูต]
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของคู่เจรจาเป็น รายประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศ ของคู่เจรจา (PMC) ในลักษณะของการแยกหารือในประเด็นของความสัมพันธ์ระหว่างสิบประเทศสมาชิกอา เซียนกับแต่ละคู่เจรจา[การทูต]
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของคู่เจรจาทั้ง หมด เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศ ของคู่เจรจา (PMC) ในลักษณะของการหารือร่วมกันทั้งหมดระหว่างสิบประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศ คู่เจรจาในประเด็นที่มีความกังวลร่วมกันหรือปรารถนาที่จะมีความร่วมมือ ระหว่างกัน[การทูต]
การประชุมหารืออย่างเป็นกันเอง ปัจจุบันมีทั้งในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และระดับปลัดกระทรวง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการหารือเป็นการเฉพาะระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ติดตามและไม่มีระเบียบวาระที่แน่นอน แต่จะเปิดกว้างให้มีการหารือได้ในทุก ๆ ประเด็น[การทูต]
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงพาณิชย์ จัดขึ้นปีละ 5-6 ครั้ง เพื่อหารือทบทวน และพิจารณากำหนดแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน[การทูต]
เวทีหารือของกลุ่มประเทศในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 ประเทศสมาชิกประกอบด้วย ออสเตรเลีย หมู่เกาะคุก ไมโครนีเซีย คีรีบาส หมู่เกาะมาร์แชล เนารู นิวซีแลนด์ นุย ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู ซามัวตะวันตก วานูอาตู ตองกา ฟิจิ "[การทูต]
องค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อทำการปรึกษาหารือกัน ระหว่างรัฐสภาของประเทศเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน รวมทั้งรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ เกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องปฎิบัติร่วมกัน กฎข้อบังคับของคณะรัฐมนตรี (Council) ซึ่งประกอบด้วยประเทศเหล่านี้ ได้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 คณะมนตรีประกอบด้วยผู้แทนซึ่งได้รับการเลือกตั้ง 69 คน รวมทั้งผู้แทนของรัฐบาลด้วย คณะมนตรีนี้ไม่มีสำนักงานถาวร และไม่มีสำนักเลขาธิการระหว่างประเทศ การประชุมได้กระทำกันโดยหมุนเวียนไปตามนครหลวงของประเทศสมาชิก[การทูต]
การประชุม "เวทีเศรษฐกิจโลก" นาย Klaus Schwab ได้ริเริ่มให้มีการประชุมครั้งแรกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2514 นาย Schwab ได้จัดตั้งเป็น European Management Forum ในลักษณะขององค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และเปิดให้นักธุรกิจชั้นนำ รวมทั้งนักการเมืองระดับสูงเป็นสมาชิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น World Economic Forum และเปิดรับสมาชิกจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีสำนักงานตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กิจกรรมสำคัญประจำปี ได้แก่ การประชุมประจำปีที่เมืองดาวอส (มกราคม หรือ กุมภาพันธ์) การจัดพิมพ์ World Competitiveness Report และการจัดประชุมเพื่อหารือประเด็นเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในประเทศต่าง ๆ[การทูต]
หัวหน้างานแบบปรึกษาหารือ[การแพทย์]
การปรึกษาหารือร่วมกัน, การประชุมแบบปรึกษาหารือ, ประชุมกลุ่ม, การประชุมปรึกษาหารือ[การแพทย์]
การประชุมปรึกษาหารือกัน[การแพทย์]
ขาดการติดต่อหรือขาดการหารือกันก่อนปฏิบัติงาน[การแพทย์]