ก. กินอาหารแสลงไข้ ทำให้โรคกำเริบ.
ก. แสดง, ทำให้เห็นปรากฏ, เช่น สำแดงฤทธิ์ สำแดงเดช ปีศาจสำแดงตน.
น. ของแสลงที่ทำให้โรคกำเริบ, สำแลง ก็ว่า, ใช้ในคำว่า ผิดสำแดง หรือ ผิดสำแลง.
คำกล่าวประกอบชื่อผู้อื่นซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า, เป็นสำนวนแปลบาลีเก่า ใช้ในที่ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวก เช่น สำแดงอานนท์.
(กฺลืน) ก. อาการที่ทำให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลำคอลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ ในความหมายเช่นทำให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สำแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.
น. ภาวะอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในสรรพสัตว์ แต่ยังไม่ได้สำแดงให้ปรากฏ.
น. ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทำให้รู้สึกชอบหรือไม่ชอบตั้งแต่แรกพบกัน เช่น ถูกชะตากัน ไม่ถูกชะตากัน, ลักษณะที่บังเกิดสำแดงเหตุดีและร้าย เช่น ชะตาดีชะตาร้าย, ชาตา ก็ว่า.
น. ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทำให้รู้สึกชอบหรือไม่ชอบตั้งแต่แรกพบกัน เช่น ถูกชาตากัน ไม่ถูกชาตากัน, ลักษณะที่บังเกิดสำแดงเหตุดีและร้าย เช่น ชาตาดีชาตาร้าย, ชะตา ก็ว่า.
ก. เสนอหน้า, สำแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้ (ไกรทอง)
(ปฺรากด) ก. สำแดงออกมาให้เห็น.
(ปฺรากดกาน, ปฺรากดตะกาน) น. การสำแดงออกมาให้เห็น.
น. ของแสลงที่ทำให้โรคกำเริบ, สำแดง ก็ว่า, ใช้ในคำว่า ผิดสำแลง หรือ ผิดสำแดง.
ก. สำแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นำออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่องต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
ก. สำแดงคุณหรือโทษให้ปรากฏ เช่น ยาออกฤทธิ์ ยาพิษออกฤทธิ์