(ข้าพฺระพุดทะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบบังคมทูล กราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ก. อ้างพุทธพจน์ผิด ๆ ถูก ๆ.
น. นํ้าที่เข้าพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้อาบ กิน หรือ ประพรมเป็นต้น ถือกันว่าเป็นมงคล, น้ำมนต์ ก็เรียก.
(ปัดเจกกะ-) น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น.
น. คำเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา, ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระพุทธเจ้าเสือ.
น. คำขานรับพระมหากษัตริย์.
น. คำเรียกพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตแล้ว, คำเต็มว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง.
น. คำเรียกพระมหากษัตริย์.
ส. คำเรียกพระพุทธเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
(พุด, พุดทะ-) น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็นพระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญว่า พระพุทธเจ้า.
น. สมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่, พุทธสมัย ก็ใช้, (ปาก) ช่วงระยะเวลาที่เชื่อกันว่าหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ ๕, ๐๐๐ ปี.
น. คุณของพระพุทธเจ้าอย่างย่อที่สุด มี ๓ ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ.
น. อำนาจปกครองคณะสงฆ์ทางพระพุทธศาสนา, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความว่า อำนาจปกครองทางบ้านเมือง.
น. เจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า มี ๔ ชนิด คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุเทสิกเจดีย์.
ถ้อยคำของสมเด็จพระสังฆราช.
(-ตันตฺระ) น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำหลักพิธีกรรมของฮินดูตันตระมาผสมกับหลักปรัชญาปารมิตาของนิกายมาธยมิกะหรือศูนยวาท.
น. รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, มักใช้ย่อเป็น ปฏิมา หรือ ปฏิมากร.
(-มามะกะ) น. ผู้ประกาศตนว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาของตน, ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา.
(-สักกะหฺราด) น. ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานมา.
(-สาสะนิกกะชน, -สาดสะนิกกะชน) น. ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา.
น. สมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่.
ส. หมายถึงองค์พระพุทธเจ้า ใช้ว่า พระพุทธ-องค์.
น. หน่อพระพุทธเจ้า คือผู้ที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า.
น. ช่วงเวลาที่โลกว่างพระพุทธศาสนา คือ ช่วงเวลาที่ศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งสูญสิ้นแล้ว และพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ยังไม่อุบัติ.
น. ชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ.
น. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกำแพงกันไว้ต่างหากจากส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่า สังฆาวาส, วัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตน-ศาสดาราม (วัดพระแก้ว).
(พุดทุบบาดทะกาน) น. ช่วงเวลาที่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก.
(พุดทะ-) น. ชื่อไม้เถาชนิด Jasminum auriculatum Vahl ในวงศ์ Oleaceae ดอกสีขาวกลิ่นหอม, บุหงาประหงัน ก็เรียก.
(พุดทะ-) น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าหลายชนิดในสกุล Canna วงศ์ Cannaceae ขึ้นเป็นกอ ดอกสีต่าง ๆ.
น. การศึกษาที่เน้นในเรื่องการสอนให้เกิดความรู้ความคิดอย่างมีเหตุผล.
น. พระนามพระพุทธเจ้าผู้มีเชื้อสายศากยวงศ์.
น. ผู้รู้พร้อม, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้สว่างแล้ว
น. ประมวลกฎหมายโบราณของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง.
(กะถิน, กะถินนะ-) น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร
(กะมันทะ-) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ ว่า ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง (เสือโค).
(กัน-) ก. ร้องไห้ เช่น สมเด็จพระบรม-บพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทราบแล้วทรงพระกรรแสง (ประชุมพงศ. ๖๔).
ดอกไม้ประดิษฐ์เป็นรูปกระแตเกาะติดกับช่อใบแก้ว ทำด้วยดอกพุทธชาดเป็นต้น ใช้เป็นของชำร่วย.
(กฺรุ) น. ห้องที่ทำไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น ๆ, โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำ โดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
น. กลดชนิดหนึ่ง ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สำหรับใช้กับเจ้านายหรือพระพุทธรูป.